ขออนุญาตแชร์มาครับ

กระทู้สนทนา
มุทิตา หรือ เวทนา " พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณาจารย์ "

ช่วงสองทุ่มเศษ น้องที่ทำงานโทรศัพท์มาหาผม บอกเล่าเรื่องบางเรื่อง เมื่อสิ้นสุดการสนทนาผมมานั่งคิดว่าควรจะเขียนอะไรสักชิ้น ไม่ใช่เพราะจะโหนกระแสนะครับ แต่เพราะบางครั้งบางทีบางคนอาจจะลืมอะไรไปก็ได้ โดยอาจจะถือว่าตนมีอำนาจ วาสนา บารี จะทำอะไรก็ไม่ต้องคำนึงถึงกฎ ระเบียบ จารีต หรือธรรมเนียมปฏิบัติใดๆ จึงทำให้สังคมมองอย่างสงสัยว่าสงฆ์หมู่มากจะเป็นอย่างนี้ด้วยหรือไม่ บทความนี้จึงเป็นความเห็นส่วนของผมทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับหน้าที่การงานหรือองค์ที่ทำผมงานอยู่

" รอง 1 ถามผมว่าพี่หรือปล่าวที่นักข่าวพูดถึงแหล่งข่าวใน พศ. " นี่คือประโยคคำถามของรุ่นน้องที่โทรศัพท์มาหาผม จริงๆแล้ว ผมอ่านหัวข้อข่าวที่สื่อต่างๆเอามาลงว่ามีแหล่งข่าวจาก พศ.ให้ข่าวกรณีการแต่งตั้ง " สมณศักดิ์ " ของพระครูปลัดฐานานุกรมชั้นเอกสมเด็จพระราชาคณะ ผมเองค่อนข้างจะงงๆนิดหน่อย เพราะว่ามีนักข่าวจากสื่อหนังสือพิมพ์ท่านหนึ่งที่เคารพชอบพอกันโทรศัพท์มาถาม ว่าจริงหรือไม่เรื่องมีการแต่งตั้ง คนในเครือญาติของอดีตนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน เป็น " พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ " ทั้งๆที่บวชได้เพียงวันเดียวและมีกำหนดการลาสิขาบทในวันที่ 11 มีนาคม ที่จะถึงนี้ ผมไม่ทราบข้อมูล จึงได้ตอบท่านไปว่ายังไม่ทราบเลย แต่หากจะให้แสดงความเห็น ก็คงจะเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วก็คุยสนทนาในเรื่องจารีต ขั้นตอน การแต่งตั้งกัน จนกระทั่งข่าวสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับเอาไปลงว่ามีแหล่งข่าวจาก พศ.ว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนี้

แม้กระทั่งท่านพระมหานรินทร์ จาก alittlebuddha.com ท่านก็ยังทราบข้อมูลช้ากว่าบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ในประเด็นที่ใครจะให้ข่าวหรือข่าวจะเร็วจะช้า อย่าไปให้ความสนใจเลยครับ มามองในมุมของผมที่จะนำเสนอดีกว่า จากประเด็นการแต่งตั้ง " สมณศักดิ์ " พระฐานานุกรม ในราชทินนาม ที่ "  พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณาจารย์ "  พระครูปลัดฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค1-2-3-12-13 ( ธรรมยุต ) และกรรมการมหาเถรสมาคม

ก็เป็นที่แน่ชัดแล้ว เพราะจาการให้สัมภาษณ์ของ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณาจารย์ ( พายัพ เขมคุโณ  ) ทางโทรศัพท์ ท่านยืนยันว่าท่านได้รับการแต่งแต่งให้ดำรงสมณศักดิ์ พระครูปลัดฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค1-2-3-12-13 ( ธรรมยุต ) และกรรมการมหาเถรสมาคม จริง ส่วนจะยินดีหรือไม่ก็แล้วแต่ท่านจะพูดเอา ซึ่งถ้าหากท่านว่าท่านไม่ยินดี แค่รับๆไว้เท่านั้นก็แสดงว่าท่านไม่ได้ไว้หน้า สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) องค์อุปัชฌาย์เลย แม้แต่น้อยเพราะเสมือนหนึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ( สมชาย ) เอาสมณศักดิ์ไปยัดเยียดให้เสียอย่างนั้น ตอนนี้ร้อนไปถึงมหาเถรสมาคมที่เข็น เอา ผอ.พศ.ให้ออกมาชี้แจงแทน มส.แล้ว ซึ่ง ท่าน ผอ.เอง ก็อ้ำๆอึ้ง ตอบอ้อมๆแอ้มๆว่าต้องรอท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) กลับมาจากปฏิบัติศาสนกิจเสียก่อนในวันที่ 23 ก.พ.นี้ จะได้เตี๊ยม เอ้ย สอบถามข้อมูลให้ชัดแจ้ง

สำหรับผม ถ้าถามว่าเหมาะสมหรือไม่ อันนี้ค่อนข้างจะมองได้หลายแง่ หลายมิติ เพราะแง่มุมของคนเรามองไม่เหมือนกัน เหมือนภาพบางภาพเรามองสวยแต่บางคนมองไม่สวย อย่างนี้เป็นต้น ฉันนั้นการแต่งตั้ง พระพายัพ เขมคุโณ ( ชินวัตร ) ขึ้นดำรง " สมณศักดิ์ " ที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณาจารย์ ก็มองได้หลายมุม ในมุมของคนรักใคร่ชอบพอก็บอกว่าเป็นสิทธิ์ของสมเด็จพระธีรญาณมุนี ที่ท่านจะแต่งตั้งใครผู้ใดผู้หนึ่งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ตามฐานานุศักดิ์ของท่านที่ได้รับพระราชทานมาก็ได้ แต่ทว่าในธรรมเนียมปฏิบัติการแต่งแต่งสมณศักดิ์ฐานานุกรมนั้น ( ต้องเข้าใจนะครับว่า คำว่า ฐานานุกรม นี่คือ คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย ซึ่งภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต ไม่ใช่ " ฉายา " อย่างที่ใครออกมาให้สัมภาษณ์จนเสียภูมิหมดเลย ) ก็จะมีธรรมเนียมและจารีตในการแต่งตั้งอยู่ อาทิ

อายุพรรษา
หน้าที่การงาน
การสนองงานคณะสงฆ์
คุณประโยชน์ต่อคณะสงฆ์และพระศาสนา
บุคคลใกล้ชิดสนองงาน

เหล่านี้เป็นต้น

แทบจะไม่มีเลยที่จะแต่งตั้งพระบวชใหม่ให้มาดำรง  สมณศักดิ์สูงเช่นนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมผมจึงใช้คำว่า สมณศักดิ์สูง ก็ด้วยเพราะการจัดลำดับเรียงสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทยที่ปรับปรุงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๑ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ได้จัดเรียงไว้ดังนี้

ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๒. สมเด็จพระสังฆราช
๓. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์)

ชั้นพระราชาคณะ

๔. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ
๕. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
๖. พระราชาคณะ ชั้นธรรม
๗. พระราชาคณะ ชั้นเทพ
๘. พระราชาคณะ ชั้นราช
๙. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ
- พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯเป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค
- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.๙-๘-๗-๖-๕-๔-๓
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก

ชั้นพระครูสัญญาบัตร

๑๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
๑๑. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
๑๒. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
๑๓. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
๑๔. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
๑๕. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
๑๖. พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค
๑๗. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)
๑๘. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)
๑๙. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)
๒๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)
๒๑. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)
๒๒. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)
๒๓. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)
๒๔. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)
๒๕. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)
๒๖. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)
๒๗. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)
๒๘. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
๒๙. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
๓๐. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช
๓๑. พระเปรียญธรรม ๘ ประโยค
๓๒. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)
๓๓. พระเปรียญธรรม ๗ ประโยค
๓๔. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม
๓๕. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)
๓๖. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)
๓๗. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)
๓๘. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)
๓๙. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)
๔๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)
๔๑. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)
๔๒. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)
๔๓. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)
๔๔. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)
๔๕. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)
๔๖. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)
๔๗. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)
๔๘. พระเปรียญธรรม ๖ ประโยค
๔๙. พระเปรียญธรรม ๕ ประโยค
๕๐. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ
๕๑. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช
๕๒. พระครูวินัยธร
๕๓. พระครูธรรมธร
๕๔. พระครูคู่สวด
๕๕. พระเปรียญธรรม ๔ ประโยค
๕๖. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ
๕๗. พระเปรียญธรรม ๓ ประโยค
๕๘. พระครูรองคู่สวด
๕๙. พระครูสังฆรักษ์
๖๐. พระครูสมุห์
๖๑. พระครูใบฎีกา
๖๒. พระสมุห์
๖๓. พระใบฎีกา
๖๔. พระพิธีธรรม

ลองย้อนขึ้นไปดูในชั้น " พระครูสัญญาบัตร " ลำดับที่ 15 ดูซิครับ อะไรเอ่ย ... นั่นคือ ตำแหน่งสมณศักดิ์พระครูปลัดฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระราชาคณะใช่หรือไม่ ยังสูงกว่า พระมหาเปรียญธรรม 9 ประโยค สูงกว่าพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท ,พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก,พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก,พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี ,พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ดูซิครับ ไม่นับพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าคณะอำเภอ,เจ้าคณะตำบลอีกนับสิบๆชั้นนะ ดังนั้นการแต่งตั้งสมณศักดิ์ฐานานุกรมของสมเด็จพระราชาคณะในชั้นนี้จึงจำเป็นต้องรอบคอบกว่านอื่นๆเขา เพราะจะมีเสียงติฉินนินทาทำให้เสื่อมเสียแก่หมู่คณะได้ หรือจะลองมาย้อนดูกัน ว่าตำแหน่งฐานานุกรมพระปลัดในสมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จพระราชาคณะนั่น จะรุ่งแค่ไหน ก็ดูเอาจากตัวอย่างของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี เองท่านอาจจะรู้ดีที่สุด เพราะท่านเองก็เคยเป็นพระครูปลัดฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ ในราชทินนามที่ พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ มาก่อน หลังจากนั้นก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ตำแหน่งพระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะจึงถือเป็นก้าวสำคัญของพระสงฆ์ที่จะข้ามไปสู่สมณศักดิ์พระราชาคณะ การยกให้พระบวชใหม่ที่มีกำหนดสึกแน่นอนแล้วจึงเป็นเรื่องที่ดูขัดหูขัดตา คนวัดนะครับ

ต่อมาเหล่าบรรดากู ( ไม่ ) รู ทั้งหลายต่างพากันมาตีปีกป้องและแสดงความเห็น ผมขออนุญาตหยิบมาวิเคราะห์ดังนี้

1.คุณนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้สัมภาษณ์ กรณีพระพายัพ เขมคุโณ หรือนายพายัพ ชินวัตร ว่า เป็นสิทธิ และอำนาจสมเด็จพระธีรญาณมุนี ไม่เกี่ยวกับ พศ. ส่วนเหตุผลการแต่งตั้งเป็นวิจารณญาณของสมเด็จพระธีรญาณมุนีเชื่อว่าท่านคงมีเหตุผลในการตั้ง ที่ผ่านมาท่านเคยแต่งตั้งพระรูปอื่นเป็นพระฐานานุกรม เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะทำงาน แต่ไม่มีใครสนใจ แต่คราวนี้พระพายัพ นามสกุลชินวัตร เลยถูกจับตามองจากสังคม

- คุณนิวัฒน์นี่ก็แปลกนะครับ ทำไมไม่พูดให้หมดว่า ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ท่านตั้งพระครูฐานานุกรมของท่านตาม ฐานานุศักดิ์ที่ท่านได้รับพระราชทานมาทั้ง 10 รูป นั้น ท่านตั้งให้พระบวชใหม่เพียงวันเดียวด้วยหรือ เท่าที่ผมทราบและมีข้อมูลพระฐานานุกรมของท่านประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ล้วนแล้วแต่รับใช้สนองงานท่านมานานและอายุพรรษาก็เลย นวกะไปหมดแล้วด้วย สำหรับหากคุณนิวัฒน์จะเอาคำอ้างของท่านพระครูปลัดฯพายัพมาอ้างว่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ท่านแต่งตั้งนั้น เป็นกรณีพิเศษที่สมเด็จพระธีรญาณมุนีท่านเห็นว่าพระครูปลัดฯพายัพ สร้างวัดมามาก ทำนุบำรุงศาสนาและปฏิบัติธรรมมาเยอะ ซึ่งเป็นความเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนา ตำแหน่งดังกล่าวก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา อนุเคราะห์หมู่สงฆ์ต่อไป ผมว่าคุณนิวัฒน์คงทราบว่าการปูนบำเหน็จแก่การพระศาสนาแบบนี้ ยังมีอีกทางหนึ่งนั่นคือการขอพระราชทานเสมาธรรมจักรผู้ทำคุณประโยชน์ในกับพระพุทธศาสนา ทำไมไม่ใช้ช่องทางนั้นเล่าครับ ใครจะไปขัดขวาง ก็ในเมื่อคนของท่านคุมกรม กระทรวงที่ดูแลรับผิดชอบไปหมดแล้ว ไม่ใช่หรือ

[img]http://f.ptcd
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่