พศ.ติงตั้งพระพายัพเป็นพระครูปลัดฯ ลั่นไม่เหมาะสม ชี้คุณสมบัติยังไม่ถึง วอนสมเด็จพระธีรญาณมุนี แจงเหตุผลด่วน!!! หวั่นกระทบการเมือง-ภาพลักษณ์วงการสงฆ์
สืบเนื่องมาจาก นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยได้รับฉายาว่า พระพายัพ เขมะคุโณ พร้อมกันนี้ได้มีกำหนดลาสิกขาวันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กรณีสมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่งตั้งพระพายัพ ภายหลังจากการอุปสมบทให้เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่ง “พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์” โดยการแต่งตั้งครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากตามธรรมเนียมปฏิบัติพระสงฆ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมต้องอุปสมบทมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 พรรษา
แหล่งข่าวระดับสูงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า การแต่งตั้งพระพายัพ เขมะคุโณ เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าในความเป็นจริงพระที่มีสมณศักดิ์สูงอย่างเช่นสมเด็จพระราชาคณะ หรือรองสมเด็จฯ สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรม หรือที่เรียกว่าพระครูปลัดฯเองได้ก็ตาม แต่การแต่งตั้งแต่ละครั้งต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและคุณสมบัติด้วย ในกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวจึงถือว่าไม่เหมาะสมจริงๆ เพราะเท่าที่ทราบพระพายัพ เขมะคุโณ บวชยังไม่ถึงพรรษา หากดูที่คุณสมบัติก็ยังไม่รู้ว่าได้ทำคุณประโยชน์อะไรให้พระพุทธศาสนาบ้าง และมีความรู้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือไม่
“จึงไม่แปลกที่การแต่งตั้งครั้งนี้จึงทำให้คนมองว่าพระผู้ใหญ่ทำไปโดยไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา และมีนัยยะทางการเมือง ผลร้ายที่สุดที่ตามมา ก็คือจะไปกระทบถึงตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนจะนำประเด็นไปใช้โจมตีในทางการเมือง ซ้ำร้ายอาจจะมองวงการสงฆ์ในแง่ร้ายว่าพระเป็นสีนั้นสีนี้ก็เป็นได้ กรณีนี้ต้องรอให้สมเด็จพระธีรญาณมุนี ออกมาชี้แจงและแก้ไขเอง ซึ่งจะเดินกลับจากอินเดียวันที่ 23 กุมภาพันธ์” แหล่งข่าวระดับสูง พศ.กล่าว
ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการพุทธศาสนา (พศ.) แสดงความเห็นว่า การแต่งตั้งพระฐานานุกรมอยู่ในการวินิจฉัยของเจ้าคณะปกครองที่มีอำนาจโดยตรง ขณะนี้สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังอยู่ระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศคงต้องรอให้ท่านกลับมาเพื่อขอความชัดเจนเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งพระฐานานุกรมตามหลักการแล้ว ฐานานุกรมคือ สมณฐานันดร ที่แต่งตั้งโดยพระบรมราชานุญาต หรือโดยพระบรมราชโองการ โปรดพระราชทานให้พระสงฆ์ผู้ดำรงสมณฐานันดรศักดิ์ ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นไป หรือที่มีตำแหน่งในทางปกครองคณะสงฆ์แล้วแต่กรณีให้มีศักดิ์ และสิทธิในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะทำงานหรือเลขานุการพระสงฆ์ผู้แต่งตั้ง
นายนพรัตน์ กล่าวว่า ส่วนจำนวนมากหรือน้อยตามแต่อิสริยยศที่ได้รับพระราชทานหรือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์ ได้พระราชทานความไว้วางพระราชหฤทัย ให้พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความมั่นคงในสมณปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสมาแต่งตั้งให้ดำรงพระฐานานุกรม โดยการแต่งตั้งพระฐานานุกรมไม่มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการที่จะได้ตั้งผู้ใดให้มาดำรงตำแหน่งฐานานุกรมในตำแหน่งต่างๆ นั้น อยู่ที่ดุลพินิจของที่จะแต่งตั้ง สำหรับจำนวนการแต่งตั้งพระฐานานุกรมนั้น ประกอบไปด้วย 1.สมเด็จพระราชาคณะ ตั้งพระฐานานุกรมได้ 10 รูป 2.รองสมเด็จพระราชาคณะ ตั้งได้ 8 รูป 3.พระราชาคณะ ชั้นธรรม ตั้งได้ 6 รูป 4.พระราชาคณะ ชั้นเทพ ตั้งได้ 5 รูป 5.พระราชาคณะ ชั้น ราช ตั้งได้ 4 รูป และ 6.พระราชาคณะชั้นสามัญ ตั้งได้ 3 รูป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมเด็จพระธีรญาณมุนี พร้อมด้วยคณะญาติโยม ได้เดินทางไปทอดผ้าป่าสามัคคีในการจัดสร้างอาคารเรียนที่มหาวิทยาลัยบีเอ็นเอช ที่เมืองพาราณสี อินเดีย มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญครั้งนี้ประมาณ 9 ล้านบาท ซึ่งการเดินทางครั้งนี้สมเด็จพระธีรญาณมุนี เดินทางมาตามโครงการบวชและเดินทางมาสักการะสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย
อ้างอิง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020784
พศ.ติงตั้ง “พระพายัพ” เป็นพระครูปลัดฯ ลั่นคุณสมบัติไม่ถึง
สืบเนื่องมาจาก นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยได้รับฉายาว่า พระพายัพ เขมะคุโณ พร้อมกันนี้ได้มีกำหนดลาสิกขาวันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กรณีสมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่งตั้งพระพายัพ ภายหลังจากการอุปสมบทให้เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่ง “พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์” โดยการแต่งตั้งครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากตามธรรมเนียมปฏิบัติพระสงฆ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมต้องอุปสมบทมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 พรรษา
แหล่งข่าวระดับสูงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า การแต่งตั้งพระพายัพ เขมะคุโณ เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าในความเป็นจริงพระที่มีสมณศักดิ์สูงอย่างเช่นสมเด็จพระราชาคณะ หรือรองสมเด็จฯ สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรม หรือที่เรียกว่าพระครูปลัดฯเองได้ก็ตาม แต่การแต่งตั้งแต่ละครั้งต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและคุณสมบัติด้วย ในกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวจึงถือว่าไม่เหมาะสมจริงๆ เพราะเท่าที่ทราบพระพายัพ เขมะคุโณ บวชยังไม่ถึงพรรษา หากดูที่คุณสมบัติก็ยังไม่รู้ว่าได้ทำคุณประโยชน์อะไรให้พระพุทธศาสนาบ้าง และมีความรู้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือไม่
“จึงไม่แปลกที่การแต่งตั้งครั้งนี้จึงทำให้คนมองว่าพระผู้ใหญ่ทำไปโดยไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา และมีนัยยะทางการเมือง ผลร้ายที่สุดที่ตามมา ก็คือจะไปกระทบถึงตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนจะนำประเด็นไปใช้โจมตีในทางการเมือง ซ้ำร้ายอาจจะมองวงการสงฆ์ในแง่ร้ายว่าพระเป็นสีนั้นสีนี้ก็เป็นได้ กรณีนี้ต้องรอให้สมเด็จพระธีรญาณมุนี ออกมาชี้แจงและแก้ไขเอง ซึ่งจะเดินกลับจากอินเดียวันที่ 23 กุมภาพันธ์” แหล่งข่าวระดับสูง พศ.กล่าว
ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการพุทธศาสนา (พศ.) แสดงความเห็นว่า การแต่งตั้งพระฐานานุกรมอยู่ในการวินิจฉัยของเจ้าคณะปกครองที่มีอำนาจโดยตรง ขณะนี้สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังอยู่ระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศคงต้องรอให้ท่านกลับมาเพื่อขอความชัดเจนเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งพระฐานานุกรมตามหลักการแล้ว ฐานานุกรมคือ สมณฐานันดร ที่แต่งตั้งโดยพระบรมราชานุญาต หรือโดยพระบรมราชโองการ โปรดพระราชทานให้พระสงฆ์ผู้ดำรงสมณฐานันดรศักดิ์ ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นไป หรือที่มีตำแหน่งในทางปกครองคณะสงฆ์แล้วแต่กรณีให้มีศักดิ์ และสิทธิในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะทำงานหรือเลขานุการพระสงฆ์ผู้แต่งตั้ง
นายนพรัตน์ กล่าวว่า ส่วนจำนวนมากหรือน้อยตามแต่อิสริยยศที่ได้รับพระราชทานหรือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์ ได้พระราชทานความไว้วางพระราชหฤทัย ให้พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความมั่นคงในสมณปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสมาแต่งตั้งให้ดำรงพระฐานานุกรม โดยการแต่งตั้งพระฐานานุกรมไม่มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการที่จะได้ตั้งผู้ใดให้มาดำรงตำแหน่งฐานานุกรมในตำแหน่งต่างๆ นั้น อยู่ที่ดุลพินิจของที่จะแต่งตั้ง สำหรับจำนวนการแต่งตั้งพระฐานานุกรมนั้น ประกอบไปด้วย 1.สมเด็จพระราชาคณะ ตั้งพระฐานานุกรมได้ 10 รูป 2.รองสมเด็จพระราชาคณะ ตั้งได้ 8 รูป 3.พระราชาคณะ ชั้นธรรม ตั้งได้ 6 รูป 4.พระราชาคณะ ชั้นเทพ ตั้งได้ 5 รูป 5.พระราชาคณะ ชั้น ราช ตั้งได้ 4 รูป และ 6.พระราชาคณะชั้นสามัญ ตั้งได้ 3 รูป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมเด็จพระธีรญาณมุนี พร้อมด้วยคณะญาติโยม ได้เดินทางไปทอดผ้าป่าสามัคคีในการจัดสร้างอาคารเรียนที่มหาวิทยาลัยบีเอ็นเอช ที่เมืองพาราณสี อินเดีย มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญครั้งนี้ประมาณ 9 ล้านบาท ซึ่งการเดินทางครั้งนี้สมเด็จพระธีรญาณมุนี เดินทางมาตามโครงการบวชและเดินทางมาสักการะสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย
อ้างอิง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020784