พากล้องไปเที่ยว แถม Review สั้นๆ Olympus mZD 17 mm. f/1.8

กระทู้สนทนา
เมื่อครั้งแรกที่ผมเห็นข่าวของเลนส์นี้ตอนเปิดตัวคือ มันเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสใกล้ๆ กับเลนส์ mZD 12 mm f/2 ซึ่งผมปลาบปลื้มมาก
ผมสงสัยว่าเวลาใช้งาน มันจะต่างกับ 12 mm f/2 สักแค่ไหนอย่างไร ในราคาถูกกว่าตั้งหมื่นนึง
แต่พอได้ลองใช้ลองเล่นอย่างเป็นจริงเป็นจังแล้ว ผมพบว่าสิ่งที่เหมือนกันคือมันเป็น Prime มุมกว้าง ช่องรับแสงกว้างเหมือนกัน
แต่ความเหมือนก็จบลงแค่นั้น ในการใช้งานแล้ว 17 mm f/2.8 มันต่างกับ 12 mm f/2 อย่างมาก ชนิดจัดเป็นเลนส์คนละกลุ่มเลย

วัดไชยวัฒนาราม โหมดพาโนราม่า ต่อด้วย Auto Panorama ใน OV2 ก่อนครอป ปรับแสงนิดหน่อย


12 mm จะเหมาะกับการถ่ายทิวทัศน์แบบมีฉากหน้าประกอบ
หรือไม่ก็งาน street/documentary photography ระยะประชิดชนิดไหล่ชนไหล่ มือเอื้อมถึง หรือระยะประมาณถ่ายข้ามรถเข็นส้มตำ แผงผัก  
พวกช็อตประมาณ sholder by sholder, over the sholder แบบที่แนวสารคดีเค้าชอบน่ะ มันใช่เลย

ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัวของผม ในงานอย่างหลังนี่ ถ้าจับคู่กับ OM-D E-M5 แล้ว ผมยังไม่เห็นว่าจะมีอุปกรณ์เซ็ตไหนกินมันลง
ไฟล์เยี่ยม โฟกัสเร็ว แม่น ใช้สะดวกรวดเร็ว คล่องตัว ไม่เป็นที่สังเกต ล่องหนหายตัวได้ในฝูงชน
...ไลก้าก็ไลก้าเถอะ

เซ็นทรัลพระรามเก้า ถ่ายจากตึกฟอร์จูนฝั่งตรงข้าม โหมดพาโนราม่า ต่อด้วย Auto Panorama ใน OV2 ก่อนครอป ปรับแสงนิดหน่อย


ในขณะที่ 17 mm จัดเป็นเลนส์สารพัดประโยชน์ ด้วยความที่มันไม่กว้างเกินไป ทำให้มันจัดองค์ประกอบภาพได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันมาก วางระนาบกล้องเบี้ยวนิดเบี้ยวหน่อย ก็ยังดูไม่น่าเกลียด ฉากหน้าไม่ต้องดีนัก หรือไม่ต้องมีเลยภาพก็ยังดูดีได้
(ซึ่งเราทำแบบนี้กับ 12 mm ไม่ได้ ถ้าไม่มีฉากหน้า หรือเส้นนำสายตาภาพมันจะโล่ง โหวงเหวงทันที)

บ้านศิลปิน คลองบางหลวง ครอป ปรับแสงสี


คลองบางหลวง ภาพเดิมๆ


เวลาถ่ายคนใกล้ๆ ก็ยังทำให้ฉากหลังเบลอได้หน่อย ถึงไม่ขาดมากนัก แต่ก็ไม่ได้รบกวนสายตา และพอจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทำให้มันเหมาะที่จะเอาไปใช้เป็นเลนส์ติดกล้องท่องเที่ยว

หนูโย พระราชวังบางปะอิน


หนูโย Amazon Coffee


ด้วยความที่ว่าภาพแนวนอนมันจะได้มุมมองแคบกว่าเลนส์ทางยาวโฟกัส 35 mm ของกล้องฟอร์แมท 135 นิดหน่อย
เทียบองศารับภาพแนวทแยงมันได้ประมาณ 34 mm ในกล้อง 135 แต่ถ้าดูในนอนแล้ว อาจจะใกล้ๆ เลนส์ 38-40 mm
ใกล้ความเลนส์นอร์มอลมากกว่า 50 mm ของฟอร์แมท 135 ด้วยซ้ำ และมันยังเป็นเลนส์ไวแสงอีกต่างหาก
ทำให้เอาไปถ่ายอะไรก็ได้ ในแทบทุกสถานการณ์ ได้มุมภาพคุ้นๆ ตา ที่ไม่ประหลาดมากนัก

ปฏิมากรรม พระราชวังบางปะอิน


วัดใหญ่ชัยมงคล


ใช้ง่าย ถ่ายง่าย สารพัดจะใช้ จะถ่ายสาว ถ่ายเด็ก หมา แมว วิว ดอกไม้ ใบไม้ ทะเล น้ำตก เดินตลาด หน้าบ้าน ในบ้าน มาโคร ฯลฯ
มันรับได้หมด ยกขึ้นมากดง่ายๆ เป็นอันได้รูปแบบใช้ได้
แต่อย่างที่บอกคือ มันเป็นเลนส์กว้างแบบกลางๆ ภาพก็เลยออกมากลางๆ ไม่ตื่นตาตื่นใจเหมือนเลนส์มุมกว้างอื่นๆ
และไม่สามารถบีบความสนใจไปที่จุดใดจุดหนึ่งได้เหมือนเทเลฯ

น้องพอใจ


โดยส่วนตัวที่นิยมเลนส์มุมกว้างมาแต่ไหนแต่ไร ผมว่ามันกว้างไม่พอกับการใช้งานปกติของผม
ใช้เจ้านี่แล้วได้ความรู้สึกเหมือนใช้เลนส์นอร์มอลมากกว่าเลนส์มุมกว้างแฮะ

น้องเพ่ย เพ่ย


น้องขวัญข้าว ลูกสาวน้า BlueBoat





คุณภาพทางออพติกส์อื่นๆ

Chromatic Aberration ...เป็นไงหว่า ใช้มาไม่เคยเห็น
Vignette/Light fall off ...ไม่มีเลยจริงๆ

Bokeh ส่วนที่พ้นระยะชัดก็นุ่มนวลไม่รบกวนสายตา แต่ก็ไม่ถึงขนาดจัดเป็นข้อเด่น
เรียกว่าไม่ดี ไม่เลว กลางๆ งั้นๆ ไม่มีอะไรสมควรต้องพูดถึง



Distortion แบบ Barrel
เป็นเรื่องใหญ่ของเลนส์นี้ ถ้าเอา RAW ไปผ่านโปรแกรม Raw Converter อื่นๆ ละก็ มากันอลังการบานตะไท
ชนิดที่นึกไม่ออกว่าเลนส์ Prime ราคาสองหมื่นอะไรมันจะเบี้ยวกันได้ขนาดนี้

หลังจากมาเอาจริงเอาจังกับ micro Four Thirds แล้ว โอลิมปัสก็ทิ้งเลนส์ Telecentric กับการแก้ความคลาดต่างๆ ด้วยเลนส์ไปเสียหมด
โยนภาระทุกอย่างไปให้ซอฟท์แวร์จัดการ (พานาโซนิคก็ทำแบบนี้เหมือนกัน)
ทำให้ JPEG จากกล้อง หรือแปลง RAW ด้วย Olympus Viewer มันจะกำจัด barrel distortion จนเหี้ยนเตียนไม่มีเหลือ
แทบจะเป็นเลนส์ distortion free กันเลยทีเดียว
ก็ต้องรอกันต่อไปว่าในโปรแกรมอื่นมันจะมี Distortion Profile ของเลนส์ตัวนี้เมื่อไหร่ ไม่งั้นก็ต้องลงมือจัดการความคลาดต่างๆ เองด้วยมือ
หากไม่ต้องการภาพเบี้ยวๆ

Festival Walk ถ.เกษตร-นวมินทร์



คุณภาพอื่นๆ ก็เป็นเลนส์ที่ contrast สูงกว่าเลนส์ทั่วๆ ไป แต่ก็ไม่มากนัก ยังด้อยกว่า 12 mm พอให้เห็นได้
detail เยอะ แต่ไม่เยอะระยิบระยับเต็มตาน่าตื่นตะลึงอย่าง mZD 75 mm หรือ mZD 60 mm macro
ที่ผมชอบอีกอย่างคือเป็นเลนส์ที่ gradation สูงมากจากมืดไปสว่างไล่โทนได้ยาวเหยียดทีเดียว
โดยรวมๆ บุคลิกของภาพจะไปในแนว ZD 50 mm f/2 macro, mZD 45 mm f/1.8 และ mZD 60 mm f/2.8 macro


Note:
Contrast ในภาษาเลนส์ ใช้เรียกความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดต่างๆ ออกจากกัน
(ไม่ตรงนัก แต่ก็ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับคำว่า sharpness ในภาษาการแต่งภาพประมาณนึง)
และเพื่อให้เลนส์มี Contrast สูงๆ มักจะต้องแลกมาด้วย Detail ที่จะต้องลดลงไปหน่อย
ส่วน Gradation ในภาษาเลนส์จะมีความหมายคล้ายๆ กับ Contrast ในภาษานักแต่งภาพ



ด้านหน้า เมเจอร์รัชโยธิน


ข้อดีอย่างหนึ่งของเลนส์นี้คือมันสามารถจัดการกับแฟลร์ได้ดีมาก จะย้อนแสงยังไง แสงเข้าหน้าเลนส์หนักหนาแค่ไหน มันก็ยังจำกัดแสงไว้เป็นวง ไม่ฟุ้งไปทั่วภาพได้
ทุกครั้งที่มีโอกาส ผมพยายามจะแกล้งให้มันแฟลร์ในหลายรูปแบบ มันก็เอาตัวรอดได้ทุกที อันนี้เริ่ดมว๊าากกก ประทับใจจุงเบย

วัดใหญ่ชัยมงคล





สรุปโดยรวมๆ
Olympus mZD 17 mm f/1.8 เป็นเลนส์ prime คุณภาพดีสมราคา ได้ภาพใส เคลียร์ สีสันชัดเจนสดใส ความคมชัดดี รายละเอียดดี ตามประสาเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวดีๆ
เหมาะกับการใช้เป็นเลนส์ติดกล้อง ในสถานการณ์ทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการอะไรเป็นพิเศษ ใช้ง่าย ถ่ายง่าย ไม่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวช่างภาพมากนัก
แต่ราคามันไปอยู่ตรงจุดที่ตัดสินใจซื้อได้ไม่ง่ายนัก เหมือนจะแพง เหมือนจะไม่แพงยังไงชอบก๊ล






ภาพเกือบทั้งหมด เป็นภาพดิบๆ แปลง RAW จากกล้องด้วย Olympus Viewer 2 บางภาพปรับเพิ่มแสงนิดนึง
แต่ไม่ได้แก้ Tone Curve ใช้ Distortion Correction แบบออโต้ทุกภาพ
ที่เหลือไม่ได้เซ็ตอะไรเกินไปกว่าที่ทำได้จาก SCP พยายามถ่ายด้วยโหมด P, ISO 200, WB Auto,
สี Portrait กับ Natural เป็นหลัก (ISO อาจจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์บางภาพ ตามจำเป็น)
เอามาย่อใน Photoshop ให้เหลือความสูง 700 Pixel ใส่ smart sharpen นิดๆ

ภาพพาโนราม่า ก็ใช้โหมดพาโนราม่าจากกล้อง เอามาเข้า Auto Panorama ใน OV2
ปรับโทนเคิร์ฟให้สว่างขึ้น ย่อให้กว้าง 1,500 พิกเซล ในโฟโต้ช็อป ไม่ได้ชาร์พ

อาจจะมีบางภาพลงมือแบบพิสดารบ้าง แต่ก็ไม่ได้กระทบสาระสำคัญของรีวิวนี้



คำประกาศลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ทั้งหมดในบทความ และภาพ เป็นของ NickDhapana (https://www.facebook.com/dhapana) a.k.a. อะธีลาส (http://mister-gray.bloggang.com) หากอ้างอิงลิ๊งค์มายังกระทู้นี้ ผู้เขียนอนุญาตให้เผยแพร่ จำหน่าย จ่าย แจก อ้างอิง ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด
...ดั้ยตามจัยเบย



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่