พระจี้กง อิคคิวซัง ผิดศีลกระจุย แต่ทำไมชาวบ้านนับถือยกย่อง

กระทู้คำถาม
พระนิกายเซนทั้งคู่ พระจี้กงบวชที่วัดในหังโจว กินเนื้อทั้งที่พระสายนี้ห้ามกินเนื้อ กินเหล้า ผมหาเรื่องที่ช่วยคน สอนคนไม่เห็นเจอเจอแต่เรื่องแต่ง คนหังโจวกลับยกให้เป็นอรหันต์
อิคคิวซังยิ่งแล้ว มีเมียด้วย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ประวัติอิคคิวซัง
ประวัติอิคคิวซัง

อิ๊กคิวซังมีชื่อในวัยเด็กว่า "เซนงิกามารุ" เกิด 1 ม.ค. ค.ศ.1349 หรือ พ.ศ.1892 เมืองซะกะโน ใกล้เมืองเกียวโต

พ่อเป็นจักรพรรดิฝ่ายเหนือ แม่เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ฝ่ายใต้ซึ่งถูกขับจากวังตั้งแต่อิ๊กคิวซังยังไม่คลอด

เพราะถูกฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายป้ายสี ต่อมาทรงให้อิ๊กคิวซังบวชที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง

ได้ฉายาว่า "ชูเคน"

ท่านตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุ

ในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสมของพระภิกษุนิกายหนึ่ง

ที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน

พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ"หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูน

อายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังได้ออกจากวัดอังโกะกุจิฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ"ที่วัดไซกอนจิ

ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนักและต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียเป็นส่วนใหญ่

ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพอิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด"อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน

สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย

ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า

"ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ

แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ"

ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด"เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ"

อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง

หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ"คะโซ"แห่งวัดโคอัน

ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

และหนักหน่วงอิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว

อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น

ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ

แต่อิ๊กคิวซังก็อดทนในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ

เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น

และที่นี่เองที่"พระโชจุน"ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน"หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน"

อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรม เมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา

เพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ"เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิต

ล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา"คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ

เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม

และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอดแต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า

"ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ"ท่านจึงออกธุดงค์

กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง

และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน

อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมมสกปรก

จีวรหลุดลุ่ยพร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีลเพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย

ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนาแต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ

นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะสามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ


อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรงและทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติเช่นดื่มสุรา เล่นการพนัน

ฉันเนื้อสัตว์(????)ไม่โกนผมและหนวดเคราเดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น

การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอาย

กับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติเคยแบ่งส้มจากบาตรให้

เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม

เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ

ท่านได้พบกับ"โมริ" ศิลปินขอทานตาบอดซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยาทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว

โมริก็หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิว

อีกหนเพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม

เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น

เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่งแต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิ

ที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปีท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในท่านั่งสมาธิ

ในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี


===================เขาไม่ใช่พุทธเถรวาท



อักษรจีน:    济公活佛
ภาษาจีนกลาง:    จี้กงหัวฝัว
(Jì​ Gōng​ Huó​fó)

ความหมายของชื่อ:

济    =    
Jì​​ อ่านว่า จี้
แปลว่า ช่วยเหลือ, บรรเทา
公    =    
Gōng​ อ่านว่า กง
แปลว่า สาธารณชน, ปรมาจารย์

活佛    =    Huó​fó อ่านว่า หัวฝัว
แปลว่า ลามะ, พระอรหันต์
    
         
พระอรหันต์ “จี้กง”  เดิมมีแซ่ว่า “หลี่” (李) ชื่อ “ซิวหยวน” (修元) เกิดในสมัยราชวงค์ซ่งใต้ (พ.ศ. 1670 – 1822) ประเทศจีน ณ ตำบลหย่งหนิง อำเภอเทียนถาย มณฑลเจ้อเจียง บิดาของท่านเป็นนายทหารคุมทหารอยู่ชายแดน มีนามว่า “หลี่เหมาชุน” และมารดามีแซ่ว่า “หวาง” บิดามารดาของท่านนั้นเป็นคนโอบอ้อมอารี ท่านหลี่ระหว่างคุมทหารอยู่ชายแดน เพราะเป็นคนมีเมตตา หละหลวมในการคุมทหาร จึงถูกทางการปลดออกจากราชการทหาร กลับคืนสู่ภูมิลำเนา บิดาของ ท่านชอบทำบุญศุลทาน ซ่อมถนน เสริมสะพาน ช่วยผู้คนตกทุกข์ได้ยาก ใครๆก็ขานเรียกท่าน “นักบุญหลี่”


วันหนึ่ง ท่านหลี่ได้ไปธุระในตลาด ได้ยินชาวบ้านวิพากษ์วิจารณ์ท่านว่า “มิใช่นักบุญจริง ถ้าเป็นนักบุญจริง ทำไมไม่มีลูก สืบตระกูล” ท่านหลี่ได้ฟังคำนินทาเหล่านั้น ก็เกิดความรู้สึกกลัดกลุ้มใจ กลับมาบ้าน ภรรยาเห็นเข้า จึงได้ถามไถ่ท่าน ว่า ท่านเป็นอะไรไป ท่านหลี่จึงได้เล่าเรื่องที่ชาวบ้านพูดคุยกันให้ภรรยาฟัง เมื่อฟังจบ ภรรยาของท่านก็เสนอให้ ท่านหลี่นั้น ขอภรรยาน้อยมาสืบตระกูล แต่ท่านหลี่ไม่เห็นด้วย


ในที่สุด สองสามีภรรยาจึงได้ปรึกษาตกลง จำศีลกินเจอยู่สามวัน แล้วร่วมเดินทางไปยังเทียนถายซัน (เขาเทียนถาย) วัด เกวอะชิน เพื่อบูชากราบไหว้ขอพรพระที่สถิตย์ในวัดทุกองค์ จนถึง ห้องสถิตย์ของพระองค์อรหันต์ เมื่อกราบไหว้ถึงองค์ที่สี่
บัดดลนั้น พระอรหันต์ “เจี้ยงหลง” ก็ได้พลัดจากพระแท่นสู่ดิน   เจ้าอาวาส “ซิ่นคง” ก็ได้เปล่งวาจาว่า “ดีแล้วท่านหลี่ ปี หน้าจะได้บุตรชาย”

    
รูปปั้นองค์พระอรหันต์จี้กง
ณ วิหารพระโพธิสัตว์สี่ธรรมะคิรี ศรีราชา ชั้น 2
  หลังจากนั้นไม่นาน ภรรยาของท่านหลี่ก็ตั้งครรภ์ และใน เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีจีน ก็คลอดบุตรชายออกมา ซึ่งต่อมาก็ คือ พระอรหันต์ “จี้กง” นั่นเอง  เจ้าอาวาส “ซิ่นคง” ได้ทราบ ข่าวว่า ท่านหลี่ได้บุตรชาย ก็ได้มาที่บ้านท่านหลี่ เพื่อแสดง ความยินดี และขอท่านหลี่ อนุญาตให้บุตรชาย มาเป็นศิษย์ ในนามของท่าน พร้อมประทานชื่อให้ว่า “หลี่ซิวหยวน”


หลี่ซิวหยวน เป็นเด็กที่ฉลาด เมื่ออายุครบ 14 ปี ก็สามารถ อ่าน และเข้าใจหนังสือ “ซื่อซู” “อู่จิง” ซึ่งเป็นตำราโบราณ ที่ลึกซึ้งได้คล่องแล้ว เดิมทีหลี่ซิวหยวนตั้งใจจะสอบเข้ารับ ราชการ แต่บิดาไม่สบายจำต้องนอนอยู่กับที่ จึงต้องอยู่ ปรนนิบัติบิดา จนบิดาท่านเสีย อีกสองปีต่อมา มารดาก็สิ้น บุญไป


หลังจากที่พ่อแม่ได้จากไป หลี่ซิวหยวนได้มอบสมบัติของ บิดามารดาทั้งหมดให้อาเป็นผู้ดูแล แล้วออกเดินทางมายัง วัดหลิงอยิ่น จังหวัดซีหู มณฑลหังโจว และตัดสินใจแสวง หาความสว่างจากพระพุทธธรรม โดยเข้าไปกราบเจ้าอาวาส “เอี๋ยงคง” ในวัด พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์  ครั้นเจ้าอาวาส “เอี๋ยงคง” ได้สบตาหลี่ซิวหยวนครั้งแรก ก็เพ่งรู้ว่าหลี่ซิว หยวนนั้นเป็นอรหันต์เจี้ยงหลงอวตารมาสู่แดนดิน เพื่อมาโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย เจ้าอาวาสจึงรับไว้เป็นศิษย์ และโกนหัว อุปสมบทให้ทันที พร้อมทั้งใช้พระกรเคาะศีรษะหลี่ซิวหยวน ให้สามารถสำนึกตนว่ามาจากไหน และประทานนามให้ว่า “เต้าจี้”


“เต้าจี้” หลังจากเข้าสู่ประตูพระพุทธธรรม แม้ว่าลักษณะนิสัยท่านจะผิดแผกแปลกจากหลักพระธรรมวินัยของสงฆ์ไป ไม่ว่า จะเป็นการประพฤติหรือการพูดจาที่ไม่สำรวม การดื่มสุราหรือบริโภคเนื้อสัตว์ แต่เมื่อพิจารณาจากเนื้อแท้ จุดมุ่งหมาย และ ผลลัพธ์แล้ว การกระทำเหล่านั้นของท่านก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และก่อคุณประโยชน์  ด้วยอริยสติ ปราดเปรื่อง ดลรู้ทุกข์สุขใน แผ่นดินได้ ท่านได้ช่วยปัดเป่าทุกข์โรคภัยไข้เจ็บให้แก่มวลชน ช่วยเหลือคนทุกข์ทั้งหลาย คนยากคนจน ช่วยกำราบ อิทธิพลอันธพาล และช่วยปราบภูตผีปีศาจต่างๆให้กับมวลมนุษย์ จนได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนให้เป็นเสมือนเทพอีก องค์หนึ่งของคนจีน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่