ความจริงของกระทู้ “ ข้อเท็จจริงว่าด้วยการกำเนิดของ มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ที่คนบางคนอาจจะไม่รู้ “ นั้นมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่หลายประการมาก จึงอยากจะขอใช้กระทู้นี้อธิบายที่มาและความถูกต้องของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นะครับ
เริ่มจากที่มาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เกิดจากแนวคิดของคุณสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อคุณอภิรักษ์ โกษะโยธินได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จึงได้ทำการสานต่อแนวคิดของคุณสมัครอีกครั้ง โดยได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... และต่อมาโครงการนี้ได้สานต่อโดยผู้ว่าฯกรุงเทพคนต่อมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"แทนนามเดิม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครได้เปิดสอนอยู่ 2 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ซึ่งอดีตคือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณ ซึ่งมาจากวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ และทั้ง 2 คณะเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งคู่ ไม่ใช่ตามที่คุณโบกกรักกล่าวไว้เพียงแค่คณะพยาบาลฯคณะเดียว จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครนั้นไม่ได้แปลกไปจากมหาวิทยาลัยอื่น กล่าวคือมีการเปิดสอนวิชาเป็นของตัวเอง และอนาคตจะมีการเปิดสอนวิชาเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบันมีที่ทำการสำนักงานอธิการบดีชั่วคราวอยู่ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เหตุผลที่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเองอันเนื่องมาจากความพร้อม ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยเพิ่งที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และความจำเป็นทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เพิ่งเกิดใหม่ ทำให้ต้องมีการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการจัดตั้งสำนักงานอธิการบดี ที่ต้องทำให้โปร่งใสที่สุดจึงทำให้ตัวมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นได้ช้ามาก
การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นั้น เริ่มแรกมีแนวคิดที่จะจัดตั้งอยู่หลายที่นะครับ เนื่องจากหากจะพัฒนามหาวิทยาลัยภายในเมืองนั้น เต็มไปด้วยข้อจำกัดทั้งด้านพื้นที่และทรัพยากร ทำให้ต้องมีการจัดตั้งตัวมหาวิทยาลัยไว้ที่อื่น ที่หนองจอกนั้นเป็นที่ของกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้นการจะจัดตั้งตัวมหาวิทยาลัยที่นี้จึงไม่ต้องใช้เงินซื้อที่ดินเลย และการเลือกสถานที่หนองจอกแห่งนี้ เกิดก่อนความคิดที่จะสร้างสนามฟุตซอลซะอีก และการสร้างสนามฟุตซอลนี้ไม่มีส่วนไหนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมหาวิทยาลัยเลย จะเกี่ยวกันก็คือพื้นที่ก่อสร้างทั้งสองนั้นอยู่ใกล้ๆกันเท่านั้น
ปัจจุบันผู้ที่เป็นอธิการบดีประจำมหาวิทยาลัย คือ คุณพิจิตต รัตตกุล แม้ว่าคุณพิจิตตจะเคยอยู่พรรคประชาธิปัตย์มาก่อน แต่หากยังจำกันได้นั้น สมัยที่คุณพิจิตตลงเลือกตั้งแล้วเป็นผู้ว่ากทม. ตอนนั้นคุณพิจิตตได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และลงรับสมัครในนามอิสระ หลังจากนั้นก็มิได้ไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์อีกเลย รวมถึงการเลือกตั้งครั้งถัดมาที่ลงสมัครในนามอิสระอีกเช่นเดิม แต่ต้องสอบตกไป หากจะกล่าวคุณพิจิตตเป็นอธิการบดีเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์ คุณสมัครก็เป็นนายกรัฐมนตรีเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์ คุณสนั่นก็เป็นรองนายกเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน
มาถึงเรื่องที่เป็นการทุจริตแล้วนะครับ ผมอยากจะให้ทุกคนทราบว่าการทุจริตนั้นเกิดจากคณะผู้บริหารเดิมตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์อยู่เลยนะครับ มันเกิดมานานมากก่อนที่คุณสุขุมพันธ์จะมาเป็นผู้ว่าเสียอีก แต่ปัญหาดังกล่าวได้ถูกปกปิดไว้ เพิ่งจะมาแดงก็ในสมัยของคุณสุขุมพันธ์นี่แหละครับ จะเห็นได้ว่าเรื่องการทุจริตนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใดเลย มันเป็นเรื่องของผู้บริหารที่กินไม่รู้จักพอ การฟ้องร้องที่เกิดขึ้นก็เกิดกับผู้บริหาร อย่ามาโยงและใช้ประโยชน์กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเลยนะครับ เดียวผมจะไล่เรียงลำดับ ตามคุณโบกกรักกล่าวไว้เลยนะครับ
เรื่องทุจริตการจัดซื้อเครื่องซักผ้าที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ยังเป็น วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลอยู่เลยนะครับ มีผู้อำนวยการคือ นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี ไม่ใช่เพิ่งเกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ตามที่โบกกรักกล่าว จากหลักฐานการจัดซื้อเครื่องซักผ้าวงเงิน 34 ล้านนั้น พบว่าส่อฮั้วประมูลจริงครับ พบทั้งการลดสเป็คเงื่อนไขประกวดราคา การแก้ TOR รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้คำว่าเครื่องจักร 1 ระบบ และอื่นๆอีกตามคุณโบกกรักกล่าวเลย ซึ่งการประมูลเครื่องซักผ้านี้เกิดเมื่อปี 2547-2548 ตรงกับสมัยคุณอภิรักษ์พอดี และจากการตรวจสอบของ DSI ที่มีคุณธาริต เพ็งดิษฐ์เป็นอธิบดี DSI แล้ว ได้มีการยื่นเอกสารแก่ปปช.เพื่อชี้มูลความผิดแก่นพ.ชัยวัน แต่กลับไม่มีคนจากพรรคประชาธิปัตย์เลยนะครับ หรือหากจะโทษด้วยก็คงเป็นคุณอภิรักษ์ ไม่ใช่ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ครับ ขณะเดียวกัน DSI ก็ยื่นเอกสารแก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์เช่นเดียวกัน ซึ่งม.ร.ว.สุขุมพันธ์ก็ประกาศชัดเจน หากผิดจริงยังไงก็ไม่เอาไว้แน่ครับ
จะสังเกตุเห็นว่านโยบายเปิดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่สุขุมพันธ์จากประชาธิปัตย์เป็นผู้ว่ากทม.จะต้องเกิดเรื่องเท่านั้น หากเป็นผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยหรือพรรคพลังประชาชน ยังไงเรื่องก็ต้องเกิดเหมือนกันครับ และนโยบายมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครจะกล่าวเป็นของม.ร.ว.สุขุมพันธ์คนเดียวก็ไม่ถูกนะครับ ควรจะให้เครดิตคุณอภิรักษ์ และคุณสมัครผู้ริเริ่มแนวคิดด้วยนะครับ
ต่อมาเป็นเรื่องโครงการสร้างห้องผ่าตัด ที่ได้รับงบประมาณปี 2545-2546 เป็นเงิน 100 ล้านบาท โดยนพ.ชัยวัน เป็นผู้รับผิดชอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยเปิดให้บริการกับผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าเกิดในสมัยท่านสมัครเป็นผู้กทม.ด้วยซ้ำไปนะครับ แต่คุณโบกกรักกลับโทษแต่คุณสุขุมพันธ์อย่างเดียว หากดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นเรื่องของผู้บริหารอย่างเดียวล้วนๆไม่เกี่ยวกับผู้ว่ากทม.เลยรวมทั้งท่านสมัครด้วย แม้ว่านพ.ไวกูรฐ์จะมีการร้องเรียนไปยังผู้ว่ากทม. (ม.ร.ว.สุขุมพันธ์) และ ผู้บริหารระดับสูงกทม. แต่เรื่องกลับเงียบเฉย หรือว่าช้ามากๆ อันนี้ต้องตำหนิผู้ว่ากทม.เลยครับที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการตรวจสอบครั้งนี้
สุดท้ายนะครับที่ไล่เรียงตามทีคุณโบกกรักกล่าวมานั้น ผมเพียงแค่อยากให้อย่าใช้เรื่องดังกล่าวมาเป็นประโยชน์เครื่องมือในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะไม่ว่าประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทยเป็นรัฐบาลหรือเป็นผู้ว่ากทม. การตรวจสอบเรื่องนี้ต้องดำเนินต่อไป โดนเฉพาะกับนพ.ชัยวันและคนอื่นๆที่อาจรวมไปถึงคุณอภิรักษ์ด้วยก็ตาม
จากกระทู้ " ข้อเท็จจริงว่าด้วยการกำเนิดของ "มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร" ที่คนบางคนอาจจะไม่รู้ " ขออธิบายครับ
เริ่มจากที่มาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เกิดจากแนวคิดของคุณสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อคุณอภิรักษ์ โกษะโยธินได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ จึงได้ทำการสานต่อแนวคิดของคุณสมัครอีกครั้ง โดยได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.... และต่อมาโครงการนี้ได้สานต่อโดยผู้ว่าฯกรุงเทพคนต่อมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"แทนนามเดิม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครได้เปิดสอนอยู่ 2 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ซึ่งอดีตคือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณ ซึ่งมาจากวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ และทั้ง 2 คณะเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งคู่ ไม่ใช่ตามที่คุณโบกกรักกล่าวไว้เพียงแค่คณะพยาบาลฯคณะเดียว จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครนั้นไม่ได้แปลกไปจากมหาวิทยาลัยอื่น กล่าวคือมีการเปิดสอนวิชาเป็นของตัวเอง และอนาคตจะมีการเปิดสอนวิชาเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบันมีที่ทำการสำนักงานอธิการบดีชั่วคราวอยู่ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เหตุผลที่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเองอันเนื่องมาจากความพร้อม ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยเพิ่งที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และความจำเป็นทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เพิ่งเกิดใหม่ ทำให้ต้องมีการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการจัดตั้งสำนักงานอธิการบดี ที่ต้องทำให้โปร่งใสที่สุดจึงทำให้ตัวมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นได้ช้ามาก
การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นั้น เริ่มแรกมีแนวคิดที่จะจัดตั้งอยู่หลายที่นะครับ เนื่องจากหากจะพัฒนามหาวิทยาลัยภายในเมืองนั้น เต็มไปด้วยข้อจำกัดทั้งด้านพื้นที่และทรัพยากร ทำให้ต้องมีการจัดตั้งตัวมหาวิทยาลัยไว้ที่อื่น ที่หนองจอกนั้นเป็นที่ของกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้นการจะจัดตั้งตัวมหาวิทยาลัยที่นี้จึงไม่ต้องใช้เงินซื้อที่ดินเลย และการเลือกสถานที่หนองจอกแห่งนี้ เกิดก่อนความคิดที่จะสร้างสนามฟุตซอลซะอีก และการสร้างสนามฟุตซอลนี้ไม่มีส่วนไหนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมหาวิทยาลัยเลย จะเกี่ยวกันก็คือพื้นที่ก่อสร้างทั้งสองนั้นอยู่ใกล้ๆกันเท่านั้น
ปัจจุบันผู้ที่เป็นอธิการบดีประจำมหาวิทยาลัย คือ คุณพิจิตต รัตตกุล แม้ว่าคุณพิจิตตจะเคยอยู่พรรคประชาธิปัตย์มาก่อน แต่หากยังจำกันได้นั้น สมัยที่คุณพิจิตตลงเลือกตั้งแล้วเป็นผู้ว่ากทม. ตอนนั้นคุณพิจิตตได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และลงรับสมัครในนามอิสระ หลังจากนั้นก็มิได้ไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์อีกเลย รวมถึงการเลือกตั้งครั้งถัดมาที่ลงสมัครในนามอิสระอีกเช่นเดิม แต่ต้องสอบตกไป หากจะกล่าวคุณพิจิตตเป็นอธิการบดีเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์ คุณสมัครก็เป็นนายกรัฐมนตรีเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์ คุณสนั่นก็เป็นรองนายกเชื้อสายพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน
มาถึงเรื่องที่เป็นการทุจริตแล้วนะครับ ผมอยากจะให้ทุกคนทราบว่าการทุจริตนั้นเกิดจากคณะผู้บริหารเดิมตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์อยู่เลยนะครับ มันเกิดมานานมากก่อนที่คุณสุขุมพันธ์จะมาเป็นผู้ว่าเสียอีก แต่ปัญหาดังกล่าวได้ถูกปกปิดไว้ เพิ่งจะมาแดงก็ในสมัยของคุณสุขุมพันธ์นี่แหละครับ จะเห็นได้ว่าเรื่องการทุจริตนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใดเลย มันเป็นเรื่องของผู้บริหารที่กินไม่รู้จักพอ การฟ้องร้องที่เกิดขึ้นก็เกิดกับผู้บริหาร อย่ามาโยงและใช้ประโยชน์กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเลยนะครับ เดียวผมจะไล่เรียงลำดับ ตามคุณโบกกรักกล่าวไว้เลยนะครับ
เรื่องทุจริตการจัดซื้อเครื่องซักผ้าที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ยังเป็น วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลอยู่เลยนะครับ มีผู้อำนวยการคือ นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี ไม่ใช่เพิ่งเกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ตามที่โบกกรักกล่าว จากหลักฐานการจัดซื้อเครื่องซักผ้าวงเงิน 34 ล้านนั้น พบว่าส่อฮั้วประมูลจริงครับ พบทั้งการลดสเป็คเงื่อนไขประกวดราคา การแก้ TOR รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้คำว่าเครื่องจักร 1 ระบบ และอื่นๆอีกตามคุณโบกกรักกล่าวเลย ซึ่งการประมูลเครื่องซักผ้านี้เกิดเมื่อปี 2547-2548 ตรงกับสมัยคุณอภิรักษ์พอดี และจากการตรวจสอบของ DSI ที่มีคุณธาริต เพ็งดิษฐ์เป็นอธิบดี DSI แล้ว ได้มีการยื่นเอกสารแก่ปปช.เพื่อชี้มูลความผิดแก่นพ.ชัยวัน แต่กลับไม่มีคนจากพรรคประชาธิปัตย์เลยนะครับ หรือหากจะโทษด้วยก็คงเป็นคุณอภิรักษ์ ไม่ใช่ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ครับ ขณะเดียวกัน DSI ก็ยื่นเอกสารแก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์เช่นเดียวกัน ซึ่งม.ร.ว.สุขุมพันธ์ก็ประกาศชัดเจน หากผิดจริงยังไงก็ไม่เอาไว้แน่ครับ
จะสังเกตุเห็นว่านโยบายเปิดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่สุขุมพันธ์จากประชาธิปัตย์เป็นผู้ว่ากทม.จะต้องเกิดเรื่องเท่านั้น หากเป็นผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยหรือพรรคพลังประชาชน ยังไงเรื่องก็ต้องเกิดเหมือนกันครับ และนโยบายมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครจะกล่าวเป็นของม.ร.ว.สุขุมพันธ์คนเดียวก็ไม่ถูกนะครับ ควรจะให้เครดิตคุณอภิรักษ์ และคุณสมัครผู้ริเริ่มแนวคิดด้วยนะครับ
ต่อมาเป็นเรื่องโครงการสร้างห้องผ่าตัด ที่ได้รับงบประมาณปี 2545-2546 เป็นเงิน 100 ล้านบาท โดยนพ.ชัยวัน เป็นผู้รับผิดชอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยเปิดให้บริการกับผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าเกิดในสมัยท่านสมัครเป็นผู้กทม.ด้วยซ้ำไปนะครับ แต่คุณโบกกรักกลับโทษแต่คุณสุขุมพันธ์อย่างเดียว หากดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นเรื่องของผู้บริหารอย่างเดียวล้วนๆไม่เกี่ยวกับผู้ว่ากทม.เลยรวมทั้งท่านสมัครด้วย แม้ว่านพ.ไวกูรฐ์จะมีการร้องเรียนไปยังผู้ว่ากทม. (ม.ร.ว.สุขุมพันธ์) และ ผู้บริหารระดับสูงกทม. แต่เรื่องกลับเงียบเฉย หรือว่าช้ามากๆ อันนี้ต้องตำหนิผู้ว่ากทม.เลยครับที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการตรวจสอบครั้งนี้
สุดท้ายนะครับที่ไล่เรียงตามทีคุณโบกกรักกล่าวมานั้น ผมเพียงแค่อยากให้อย่าใช้เรื่องดังกล่าวมาเป็นประโยชน์เครื่องมือในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะไม่ว่าประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทยเป็นรัฐบาลหรือเป็นผู้ว่ากทม. การตรวจสอบเรื่องนี้ต้องดำเนินต่อไป โดนเฉพาะกับนพ.ชัยวันและคนอื่นๆที่อาจรวมไปถึงคุณอภิรักษ์ด้วยก็ตาม