วัฒนธรรมองค์กร (เขียนเมื่อ 17 ก.ค.2555)
E-Mail : siam_shinsengumi@hotmail.com
Facebook : Siam Shinsengumi
สัปดาห์ก่อนที่ผมหายไป เนื่องด้วยงานเยอะมาก (ช่วงหลังกลางปีกับช่วงก่อนปีใหม่จะเป็นอะไรที่หนักแบบนี้ประจำ) เรียกว่าทำงานเช้าๆ กลับบ้านค่ำๆ ตลอด เออ! แต่ไม่มีโอทีนะครับ ทำใจไปเถอะ อย่างน้อยก็ยังไม่ตกงาน ไม่เหมือนหลายๆ คนที่ตกงาน หรือโดนตัดโอที ตัดสวัสดิการต่างๆ ไปแล้วตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา หลัง “สามร้อย” ทำพิษจนแม้แต่มนุษย์เงินเดือนบางคนก็บ่นแล้วว่าขอสองร้อยห้าสิบแบบเมื่อก่อนเถอะ แล้วไปวัดกันที่โอทีเอา (หลายท่านที่ไม่ได้รับค่าจ้างรายวันอาจจะไม่รู้ว่าแรงงานเหล่านี้อยู่ไม่ได้ด้วยค่าแรงปกติ แต่จะอยู่ได้หรือมีเงินเก็บก็ต่อเมื่อมีโอทีเยอะๆ ครับ บางคนทำงานแปดโมงเช้ากลับกันสามทุ่มสี่ทุ่มหรือมากกว่านั้นก็มี)
เห็นผมบ่นเรื่องค่าแรง ก็ไม่ได้จะมาพูดเรื่องเศรษฐกิจหรือแรงงานหรอกครับ แต่ยังคงบ่นเรื่องอะไรๆ ที่น่าเบื่อของบ้านเราที่ต่อเนื่องจาก 2 ตอนที่แล้วเหมือนเดิม ก็ไม่พ้นปัญหาความบกพร่องของภาครัฐที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายหรือยากที่จะเชื่อมั่นในระบบราชการนั่นละครับ นั่นคือเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร”
ไม่นานมานี้ผมกับทีมช่างไปติดตั้งอุปกรณ์ที่หน้างานใน จ.แห่งหนึ่งที่ไม่ไกลจาก กทม. มากนัก เอาเป็นว่าถ้าออกจาก กทม. เช้าหน่อย เสร็จงานสักบ่ายแก่ๆ ก็สามารถขับรถกลับมา กทม. ได้ในเวลาไม่ดึกมากนัก หลังจากเสร็จภารกิจการงาน ก็แวะกินข้าวกันที่ร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่ง ที่นี่เราพบคุณป้าที่เป็นเจ้าของร้าน แกอายุ 50 เศษๆ ละครับ แต่ก็ดูไม่แก่มากนัก ฝีมือทำกับข้าวแกก็ใช้ได้ แต่ที่น่าสนใจจนผมต้องเก็บมาเล่าให้ทุกท่านฟัง เพราะอดีตของแกไม่ธรรมดาครับ
นอกจากด้านหน้าร้านที่เป็นจุดตั้งโต๊ะทำกับข้าวที่มีตู้และถังแก๊สตามปกติของร้านอาหาร ภายในร้านยังมีรูปถ่ายและประกาศเกียรติคุณหลายอย่างครับ ทั้งรูปรับปริญญา หรือใบประกาศคุณงามความดีหลายๆ อย่างเพราะทุกวันนี้แกก็เป็นอาสาสมัครของท้องถิ่นด้วย และเมื่อฟังจากบางคนที่มากินข้าวในร้านดังกล่าว ก็บอกตรงกันว่าสมัยสาวๆ (เอาเป็นว่าก่อนอายุขึ้นเลขสี่) แกเคยทำงานให้หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งที่มีสาขาทั่วประเทศ และหน่วยงานนี้จะพัวพันกับเม็ดเงินงบประมาณค่อนข้างมากพอสมควร
เอาละด้วยความอยากรู้อยากเห็นของผม รวมกับโชคดีที่เวลานั้นคนไม่เยอะมากนักแกเลยไม่ค่อยยุ่ง เลยถามแกตรงๆ ถึงเรื่องในอดีต ซึ่งแกก็เล่าให้ผมและทีมช่างฟังด้วยครับ เรื่องของเรื่องคือเมื่อสิบกว่าปีก่อน สมัยป้าแกอายุสัก 30 ปลายๆ เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของหน่วยงานดังกล่าว เอาละแกสอบติดและทำงานตรงนี้มาเกือบสิบปี และได้รับความไว้วางใจทั้งจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงานมาตลอดเพราะนิสัยและการพูดจาที่
“ตรงไปตรงมา”
จนกระทั่งเหตุการณ์ที่ทำให้แกต้องออกจากราชการ เพราะในช่วงนั้นแกไปพบว่ากรรมการบริหารหรือที่เราๆ ท่านๆ ชอบเรียกติดปากว่าบอร์ดบริหารนั่นละครับ ซึ่งก็มีทั้งคนนอกและข้าราชการประจำ ด้วยความเป็นคนตรงของแก วันหนึ่งมีงบพิเศษจากส่วนกลางลงมา แกกับอดีตหัวหน้าของแก (ซึ่งโชคดีกว่าเพราะหลังจบคดีนี้ แกก็เกษียณพอดีไม่ต้องลาออก ได้เงินบำนาญไปตามปกติ) คุยกันแล้วว่าจะเอางบก้อนนี้มาทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับองค์กร โดยจะไม่ “งุบงิบ” กันไว้เองแม้แต่บาทเดียว ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพวกกรรมการบริหาร และบรรยายเจ้านายอื่นๆ บางคนที่ต่างก็ได้รับรู้เรื่องงบก้อนนี้ และเตรียมตัว “แบ่งเค้ก” กันแล้ว (ซึ่งป้าแกกับหัวหน้าก็จะได้รับส่วนแบ่งด้วย หารเท่ากันหมดในหมู่บอร์ดบริหารกับหัวหน้าทีมการเงิน)
พอแกกับหัวหน้าบอกว่า “ไม่เอาด้วย” ไม่เอาด้วยไม่พอ ยังหอบข้อมูลดังกล่าวไปบอกทั้งแรงงานจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและตำรวจ เรียกว่าฟ้องมันให้หมดละครับ ทีนี้ก็เป็นเรื่อง ในทางใต้ดินแกถูกขู่ฆ่า ขณะที่ในทางบนดิน แกถูกเพื่อนร่วมงานและเจ้านายยศตำแหน่งสูงๆ คนอื่นๆ มองเป็น “แกะดำ” เพราะเอาความลับในองค์กรไปเปิดเผย และแม้ว่าท้ายที่สุดแกจะชนะคดี พวกบอร์ดบริหารโดนตั้งกรรมการสอบสวนและถูกเด้งไปตามๆ กัน แต่หลังจากนั้นแกก็อยู่ไม่ได้ครับ เพราะแกมี “ภาพลบ” เป็นพวกนอกคอกในสายตาเพื่อนร่วมงานไปเสียแล้ว ทำให้ต้องลาออก แล้วก็มาเปิดร้านอาหารตามสั่งอย่างที่เล่าไปตอนต้น ถามว่าแกเสียใจไหมกับอนาคตราชการที่ต้องดับลง แกก็บอกว่าไม่เสียใจหรอก ตรงกันข้ามแกทำสิ่งที่ถูก ที่สำคัญอยู่แบบนี้ก็อิสระดี อย่างที่บอกไปแล้วว่าหากมีกิจกรรมของท้องถิ่นแล้วแกมีเวลาก็จะไปช่วยงานด้วยอยู่บ่อยๆ เสมอ
แสงแดดเริ่มลดความแรงลง นาฬิกาบอกเวลาราวบ่ายสี่โมงนิดๆ ทั้งผมและทีมช่างก็ต้องออกจากจังหวัดดังกล่าวเพื่อกลับ กทม. ให้เร็วที่สุดจะได้ไม่ดึกมาก (ไม่งั้นผมไม่ได้นอนแน่ๆ เช้าวันรุ่งขึ้นต้องเอาของเสียที่รับจากหน้างานมาแยกประเภทอีก) ในช่วงเย็นเราพบว่าคนเริ่มมาร้านแกมากขึ้นเพราะเป็นเวลาเลิกงานแล้ว ผมออกจากที่นั่นมาด้วยความรู้สึกหดหู่ จากเรื่องของป้าแก ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอีกที่หนึ่ง
แต่รายนั้นเป็นอดีต “สีกากี” ที่ออกมาทำงานเป็นครูฝึกให้กับบริษัทรักษาความปลอดภัย (ยามนั่นละครับ)
สีกากีคนที่ว่าไม่ได้ยศสูงหรอกครับ ก่อนจะลาออกจากราชการก็เป็นแค่จ่าแก่ๆ คนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแกบอกว่าออกจากราชการแล้วเหมือนโล่งอก แม้จะคาใจกับบางเรื่องอยู่บ้าง นั่นก็คือวัฒนธรรมองค์กรที่ว่า “จะไม่มีการจี้พวกเดียวกัน” กล่าวคือแม้จะรู้ว่าเจ้านาย พรรคพวกหรือลูกน้องทำผิด แต่จะไม่มีการจี้จับซึ่งกันและกัน และไม่ต้องรอให้มีการ “ขวาง” แบบกรณีของป้าข้างต้น แค่ในหน่วยงานของคุณ “รับผลประโยชน์” แล้วคุณเป็นคนส่วนน้อยที่ “ไม่ยอมรับ” ถึงจะไม่ไปขัดคอพวกเขา แต่คุณก็จะอยู่ลำบากแล้วครับ เพราะจะถูกมองอย่างไม่ไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน ว่าจะเอาเรื่องนี้ไป “แฉ” เมื่อไร?
เออ มันก็แปลกดี 2 เรื่องที่ต่างกันในรายละเอียด แต่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือคำว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ในระบบราชการไทย ที่ไม่ว่าคนในหน่วยงานจะทำผิดจริงหรือไม่ก็ตาม หากคุณนำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็น ปปช. , สตง. , ตำรวจหรืออะไรก็ช่าง แม้กระทั่งการส่งข้อมูลให้สื่อมวลชน ลงท้ายไม่ว่าคดีจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่คนที่ทำเรื่องดังกล่าวจะต้องถูกเพื่อนร่วมงานมองในทางลบ และไม่ไว้วางใจอยู่ร่ำไป
ลงท้ายในเรื่องนี้ จ่าแก่ๆ คนดังกล่าวยังบอกอีกว่า เอาละถึงแม้จะจี้จับกันเองโดยตรงไม่ได้ แต่แกบอกว่า มีเพียง “สื่อมวลชน” เท่านั้นที่เป็นความหวังสุดท้าย ถ้าคุณส่งข้อมูลให้สื่อนำไปรายงานจนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น นั่นล่ะครับทุกหน่วยงานจะเต้นกันเป็นเจ้าเข้า ตัวสั่นริกๆ กระดิกพลิกตัวทำงานกันเต็มที่เลยทีเดียว ในทางกลับกัน ถ้าเรื่องไม่ถึงสื่อมวลชนก็อย่าหวังว่างานจะเดิน เพราะนี่เป็นเรื่องปกติของระบบภาครัฐของบ้านเรา
ฟังแล้วก็เหนื่อยครับ แล้วก็เลยไม่แปลกใจว่าทำไมในช่วงมหาอุทกภัย 2554 ที่ผ่านมา พิธีกรรายการเล่าข่าวคนหนึ่งถึงถูกสื่อต่างประเทศเข้าใจผิดว่าเป็นผู้นำประเทศ เพราะลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง (ขณะที่ทั้งนายกฯ และ ครม. หายหัวไปไหนหมด ซึ่งภาพนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาล “หนุ่มหล่อ” ก่อนหน้า มาจนถึงรัฐบาล “สาวสวย” ในปัจจุบัน) ไม่นับในสถานการณ์ปกติ ที่ทุกวันนี้ชาวบ้านพูดกันว่า “ทุกข์ร้อนของประชาชน ร้องเรียนได้ที่พระรามสี่” ซึ่งผมว่าเป็นตลกร้าย ที่บ้านนี้เมืองนี้ผู้คนไม่เชื่อในรัฐบาล ไม่เชื่อในข้าราชการ แต่ดันเชื่อในสื่อมวลชนแทน มีเรื่องอะไรก็ไปร้องกับสื่อดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ และมักจะได้ผลเสียด้วย
ตลกไหมล่ะครับ?...ผมก็ตลก แต่เป็นตลกที่ขำไม่ออกจริงๆ
.........................................
เห็นหมู่นี้คนบ่นถึงตำรวจ (และข้าราชการอื่นๆ) เยอะมาก ประมาณว่าถ้าไม่ใช่คนดัง อย่าหวังว่าอะไรๆ จะคืบหน้า แต่ถ้าอยากให้คืบหน้า ให้ไปแจ้งนักข่าวดีกว่า
ถ้านักข่าวมา ยิ่งถ้ามาจากช่อง 3 รับรองว่าแม้แต่นายกฯ หรือ ผบ. ต่างๆ ก็ต้องนั่งไม่ติดเก้าอี้
เลยเอางานเก่ามา Post อีกรอบครับ เผื่อคนไทยจะได้ "ทำใจ" กับประเทศนี้ได้เสียที (เพราะวัฒนธรรมองค์กรของราชการไทย มันเป็นแบบนี้แหละครับ)
--------------------
Siam Shinsengumi
ประเทศนี้ "คนธรรมดาๆ" อยู่ยากนะครับ ว่าไหม?
E-Mail : siam_shinsengumi@hotmail.com
Facebook : Siam Shinsengumi
สัปดาห์ก่อนที่ผมหายไป เนื่องด้วยงานเยอะมาก (ช่วงหลังกลางปีกับช่วงก่อนปีใหม่จะเป็นอะไรที่หนักแบบนี้ประจำ) เรียกว่าทำงานเช้าๆ กลับบ้านค่ำๆ ตลอด เออ! แต่ไม่มีโอทีนะครับ ทำใจไปเถอะ อย่างน้อยก็ยังไม่ตกงาน ไม่เหมือนหลายๆ คนที่ตกงาน หรือโดนตัดโอที ตัดสวัสดิการต่างๆ ไปแล้วตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา หลัง “สามร้อย” ทำพิษจนแม้แต่มนุษย์เงินเดือนบางคนก็บ่นแล้วว่าขอสองร้อยห้าสิบแบบเมื่อก่อนเถอะ แล้วไปวัดกันที่โอทีเอา (หลายท่านที่ไม่ได้รับค่าจ้างรายวันอาจจะไม่รู้ว่าแรงงานเหล่านี้อยู่ไม่ได้ด้วยค่าแรงปกติ แต่จะอยู่ได้หรือมีเงินเก็บก็ต่อเมื่อมีโอทีเยอะๆ ครับ บางคนทำงานแปดโมงเช้ากลับกันสามทุ่มสี่ทุ่มหรือมากกว่านั้นก็มี)
เห็นผมบ่นเรื่องค่าแรง ก็ไม่ได้จะมาพูดเรื่องเศรษฐกิจหรือแรงงานหรอกครับ แต่ยังคงบ่นเรื่องอะไรๆ ที่น่าเบื่อของบ้านเราที่ต่อเนื่องจาก 2 ตอนที่แล้วเหมือนเดิม ก็ไม่พ้นปัญหาความบกพร่องของภาครัฐที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายหรือยากที่จะเชื่อมั่นในระบบราชการนั่นละครับ นั่นคือเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร”
ไม่นานมานี้ผมกับทีมช่างไปติดตั้งอุปกรณ์ที่หน้างานใน จ.แห่งหนึ่งที่ไม่ไกลจาก กทม. มากนัก เอาเป็นว่าถ้าออกจาก กทม. เช้าหน่อย เสร็จงานสักบ่ายแก่ๆ ก็สามารถขับรถกลับมา กทม. ได้ในเวลาไม่ดึกมากนัก หลังจากเสร็จภารกิจการงาน ก็แวะกินข้าวกันที่ร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่ง ที่นี่เราพบคุณป้าที่เป็นเจ้าของร้าน แกอายุ 50 เศษๆ ละครับ แต่ก็ดูไม่แก่มากนัก ฝีมือทำกับข้าวแกก็ใช้ได้ แต่ที่น่าสนใจจนผมต้องเก็บมาเล่าให้ทุกท่านฟัง เพราะอดีตของแกไม่ธรรมดาครับ
นอกจากด้านหน้าร้านที่เป็นจุดตั้งโต๊ะทำกับข้าวที่มีตู้และถังแก๊สตามปกติของร้านอาหาร ภายในร้านยังมีรูปถ่ายและประกาศเกียรติคุณหลายอย่างครับ ทั้งรูปรับปริญญา หรือใบประกาศคุณงามความดีหลายๆ อย่างเพราะทุกวันนี้แกก็เป็นอาสาสมัครของท้องถิ่นด้วย และเมื่อฟังจากบางคนที่มากินข้าวในร้านดังกล่าว ก็บอกตรงกันว่าสมัยสาวๆ (เอาเป็นว่าก่อนอายุขึ้นเลขสี่) แกเคยทำงานให้หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งที่มีสาขาทั่วประเทศ และหน่วยงานนี้จะพัวพันกับเม็ดเงินงบประมาณค่อนข้างมากพอสมควร
เอาละด้วยความอยากรู้อยากเห็นของผม รวมกับโชคดีที่เวลานั้นคนไม่เยอะมากนักแกเลยไม่ค่อยยุ่ง เลยถามแกตรงๆ ถึงเรื่องในอดีต ซึ่งแกก็เล่าให้ผมและทีมช่างฟังด้วยครับ เรื่องของเรื่องคือเมื่อสิบกว่าปีก่อน สมัยป้าแกอายุสัก 30 ปลายๆ เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของหน่วยงานดังกล่าว เอาละแกสอบติดและทำงานตรงนี้มาเกือบสิบปี และได้รับความไว้วางใจทั้งจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงานมาตลอดเพราะนิสัยและการพูดจาที่ “ตรงไปตรงมา”
จนกระทั่งเหตุการณ์ที่ทำให้แกต้องออกจากราชการ เพราะในช่วงนั้นแกไปพบว่ากรรมการบริหารหรือที่เราๆ ท่านๆ ชอบเรียกติดปากว่าบอร์ดบริหารนั่นละครับ ซึ่งก็มีทั้งคนนอกและข้าราชการประจำ ด้วยความเป็นคนตรงของแก วันหนึ่งมีงบพิเศษจากส่วนกลางลงมา แกกับอดีตหัวหน้าของแก (ซึ่งโชคดีกว่าเพราะหลังจบคดีนี้ แกก็เกษียณพอดีไม่ต้องลาออก ได้เงินบำนาญไปตามปกติ) คุยกันแล้วว่าจะเอางบก้อนนี้มาทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับองค์กร โดยจะไม่ “งุบงิบ” กันไว้เองแม้แต่บาทเดียว ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพวกกรรมการบริหาร และบรรยายเจ้านายอื่นๆ บางคนที่ต่างก็ได้รับรู้เรื่องงบก้อนนี้ และเตรียมตัว “แบ่งเค้ก” กันแล้ว (ซึ่งป้าแกกับหัวหน้าก็จะได้รับส่วนแบ่งด้วย หารเท่ากันหมดในหมู่บอร์ดบริหารกับหัวหน้าทีมการเงิน)
พอแกกับหัวหน้าบอกว่า “ไม่เอาด้วย” ไม่เอาด้วยไม่พอ ยังหอบข้อมูลดังกล่าวไปบอกทั้งแรงงานจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและตำรวจ เรียกว่าฟ้องมันให้หมดละครับ ทีนี้ก็เป็นเรื่อง ในทางใต้ดินแกถูกขู่ฆ่า ขณะที่ในทางบนดิน แกถูกเพื่อนร่วมงานและเจ้านายยศตำแหน่งสูงๆ คนอื่นๆ มองเป็น “แกะดำ” เพราะเอาความลับในองค์กรไปเปิดเผย และแม้ว่าท้ายที่สุดแกจะชนะคดี พวกบอร์ดบริหารโดนตั้งกรรมการสอบสวนและถูกเด้งไปตามๆ กัน แต่หลังจากนั้นแกก็อยู่ไม่ได้ครับ เพราะแกมี “ภาพลบ” เป็นพวกนอกคอกในสายตาเพื่อนร่วมงานไปเสียแล้ว ทำให้ต้องลาออก แล้วก็มาเปิดร้านอาหารตามสั่งอย่างที่เล่าไปตอนต้น ถามว่าแกเสียใจไหมกับอนาคตราชการที่ต้องดับลง แกก็บอกว่าไม่เสียใจหรอก ตรงกันข้ามแกทำสิ่งที่ถูก ที่สำคัญอยู่แบบนี้ก็อิสระดี อย่างที่บอกไปแล้วว่าหากมีกิจกรรมของท้องถิ่นแล้วแกมีเวลาก็จะไปช่วยงานด้วยอยู่บ่อยๆ เสมอ
แสงแดดเริ่มลดความแรงลง นาฬิกาบอกเวลาราวบ่ายสี่โมงนิดๆ ทั้งผมและทีมช่างก็ต้องออกจากจังหวัดดังกล่าวเพื่อกลับ กทม. ให้เร็วที่สุดจะได้ไม่ดึกมาก (ไม่งั้นผมไม่ได้นอนแน่ๆ เช้าวันรุ่งขึ้นต้องเอาของเสียที่รับจากหน้างานมาแยกประเภทอีก) ในช่วงเย็นเราพบว่าคนเริ่มมาร้านแกมากขึ้นเพราะเป็นเวลาเลิกงานแล้ว ผมออกจากที่นั่นมาด้วยความรู้สึกหดหู่ จากเรื่องของป้าแก ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอีกที่หนึ่ง แต่รายนั้นเป็นอดีต “สีกากี” ที่ออกมาทำงานเป็นครูฝึกให้กับบริษัทรักษาความปลอดภัย (ยามนั่นละครับ)
สีกากีคนที่ว่าไม่ได้ยศสูงหรอกครับ ก่อนจะลาออกจากราชการก็เป็นแค่จ่าแก่ๆ คนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแกบอกว่าออกจากราชการแล้วเหมือนโล่งอก แม้จะคาใจกับบางเรื่องอยู่บ้าง นั่นก็คือวัฒนธรรมองค์กรที่ว่า “จะไม่มีการจี้พวกเดียวกัน” กล่าวคือแม้จะรู้ว่าเจ้านาย พรรคพวกหรือลูกน้องทำผิด แต่จะไม่มีการจี้จับซึ่งกันและกัน และไม่ต้องรอให้มีการ “ขวาง” แบบกรณีของป้าข้างต้น แค่ในหน่วยงานของคุณ “รับผลประโยชน์” แล้วคุณเป็นคนส่วนน้อยที่ “ไม่ยอมรับ” ถึงจะไม่ไปขัดคอพวกเขา แต่คุณก็จะอยู่ลำบากแล้วครับ เพราะจะถูกมองอย่างไม่ไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน ว่าจะเอาเรื่องนี้ไป “แฉ” เมื่อไร?
เออ มันก็แปลกดี 2 เรื่องที่ต่างกันในรายละเอียด แต่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือคำว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ในระบบราชการไทย ที่ไม่ว่าคนในหน่วยงานจะทำผิดจริงหรือไม่ก็ตาม หากคุณนำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็น ปปช. , สตง. , ตำรวจหรืออะไรก็ช่าง แม้กระทั่งการส่งข้อมูลให้สื่อมวลชน ลงท้ายไม่ว่าคดีจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่คนที่ทำเรื่องดังกล่าวจะต้องถูกเพื่อนร่วมงานมองในทางลบ และไม่ไว้วางใจอยู่ร่ำไป
ลงท้ายในเรื่องนี้ จ่าแก่ๆ คนดังกล่าวยังบอกอีกว่า เอาละถึงแม้จะจี้จับกันเองโดยตรงไม่ได้ แต่แกบอกว่า มีเพียง “สื่อมวลชน” เท่านั้นที่เป็นความหวังสุดท้าย ถ้าคุณส่งข้อมูลให้สื่อนำไปรายงานจนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น นั่นล่ะครับทุกหน่วยงานจะเต้นกันเป็นเจ้าเข้า ตัวสั่นริกๆ กระดิกพลิกตัวทำงานกันเต็มที่เลยทีเดียว ในทางกลับกัน ถ้าเรื่องไม่ถึงสื่อมวลชนก็อย่าหวังว่างานจะเดิน เพราะนี่เป็นเรื่องปกติของระบบภาครัฐของบ้านเรา
ฟังแล้วก็เหนื่อยครับ แล้วก็เลยไม่แปลกใจว่าทำไมในช่วงมหาอุทกภัย 2554 ที่ผ่านมา พิธีกรรายการเล่าข่าวคนหนึ่งถึงถูกสื่อต่างประเทศเข้าใจผิดว่าเป็นผู้นำประเทศ เพราะลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง (ขณะที่ทั้งนายกฯ และ ครม. หายหัวไปไหนหมด ซึ่งภาพนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาล “หนุ่มหล่อ” ก่อนหน้า มาจนถึงรัฐบาล “สาวสวย” ในปัจจุบัน) ไม่นับในสถานการณ์ปกติ ที่ทุกวันนี้ชาวบ้านพูดกันว่า “ทุกข์ร้อนของประชาชน ร้องเรียนได้ที่พระรามสี่” ซึ่งผมว่าเป็นตลกร้าย ที่บ้านนี้เมืองนี้ผู้คนไม่เชื่อในรัฐบาล ไม่เชื่อในข้าราชการ แต่ดันเชื่อในสื่อมวลชนแทน มีเรื่องอะไรก็ไปร้องกับสื่อดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ และมักจะได้ผลเสียด้วย
ตลกไหมล่ะครับ?...ผมก็ตลก แต่เป็นตลกที่ขำไม่ออกจริงๆ
.........................................
เห็นหมู่นี้คนบ่นถึงตำรวจ (และข้าราชการอื่นๆ) เยอะมาก ประมาณว่าถ้าไม่ใช่คนดัง อย่าหวังว่าอะไรๆ จะคืบหน้า แต่ถ้าอยากให้คืบหน้า ให้ไปแจ้งนักข่าวดีกว่า
ถ้านักข่าวมา ยิ่งถ้ามาจากช่อง 3 รับรองว่าแม้แต่นายกฯ หรือ ผบ. ต่างๆ ก็ต้องนั่งไม่ติดเก้าอี้
เลยเอางานเก่ามา Post อีกรอบครับ เผื่อคนไทยจะได้ "ทำใจ" กับประเทศนี้ได้เสียที (เพราะวัฒนธรรมองค์กรของราชการไทย มันเป็นแบบนี้แหละครับ)
--------------------
Siam Shinsengumi