มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร โฆษณาหาเสียงในเอกสารแจกจ่ายของตนว่า “ผลงานสำคัญ 4 ปีที่ผ่านมา” ด้านการศึกษา จัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร?
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” มหาวิทยาลัยแห่งนี้ประหลาดกว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งคือ ไม่มีคณะเปิดสอนวิชาของตนเอง ไม่มีแม้กระทั่งอาคารของตน แต่เป็น “มหาวิทยาลัยที่มีโกงกินทุจริตกันแบบเงียบกริบ โดยอธิการบดีเชื้อสายพรรค ปชป.” คนแรก!
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ก่อตั้งขึ้นโดยรวบเอาวิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาลและโรงเรียนพยาบาลโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล มาไว้เป็นของตัวและตั้งเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ และไปดึงคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลซึ่งอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล มารวมอีกรวมเป็น 2 คณะ ไม่มีอาคารทำการอะไรของตน ไปตั้งฝากไว้กับที่วชิรพยาบาล
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีอธิการบดีคนแรก อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ชื่อ “ดร.พิจิตต รัตตกุล”
สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนั้น บังเอิญเหลือโคตรจะบังเอิญ เมื่อเราตรวจสอบพบว่า กรุงเทพมหานครมีแนวคิดให้สำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยนี้ ไปตั้งที่ “เขตหนองจอก” ตรงไหนเหรอครับ ก็ตรงไกล้ๆ “ศูนย์อบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีแผนจะสร้างอาคารคณะต่างๆ หอพัก โรงพยาบาลและ “สนามฟุตซอลขนาดใหญ่” เอ๊ะ! คุ้นๆๆ
แปลภาษาไทยง่ายๆ มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะไปตั้งติดกับสนามฟุตซอลบางกอกอารีนา ที่สุดอึ้อฉาว!
มหาวิทยาลัยที่เงียบกริบแห่งนี้ แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ แต่อาการ “มูมมาม” ภายใต้การบริหารดูแลของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ นั้นสุดแสนจะโจ๋งครึมจนมีคดีเข้า DSI ทั้งที่ยังนับหัวบัณฑิตที่จบไม่เจอ
22 กุมภาพันธ์ 2555 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีข่าวฉาวโฉ่เรื่องการทุจริต จัดซื้อเครื่องซักผ้า มูลค่า 43 ล้านบาท ทั้งลดสเป็คเงื่อนไขการประกวดราคา ทั้งแก้ไขทีโออาร์ ทั้งผิดระเบียบเรื่องการพัสดุ ที่หากมีโครงการใดจัดซื้อมีวงเงินสูงกว่า 1 ล้านบาท ต้องให้สำนักงานการแพทย์กรุงเทพมหานครเป็นผู้อนุมัติ และทั้งแอบเปลี่ยนชื่อ “เครื่องซักผ้า” เป็น “เครื่องจักร” โดยเขียนว่า “การประกวดราคาเครื่องจักร 1 ระบบ” โดยผู้เข้าร่วมประมูลทั่วไปย่อมไม่ทราบว่า “เครื่องจักร 1 ระบบ” นั้นหมายถึงอะไร แต่มีเฉพาะคนในที่รู้ว่าเขาต้องการซื้อ “เครื่องซักผ้า” เท่านั้นที่ทราบสำหรับกรณีการจัดซื้อเครื่องจักร 1 ระบบ เป็นการใช้คำที่เจตนาให้ผู้ประกอบการรายอื่น ไม่ทราบว่า เป็นเครื่องจักรประเภทใด ทั้งที่จริงเป็นการประกวดราคาเครื่องซักผ้า สลัดผ้าอัตโนมัติ เครื่องอบผ้าระบบอุโมงค์ และเครื่องกำเนิดไอน้ำ
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกทม. กรณีไม่นำบัญชีมาตรฐานของสำนักงบประมาณ มาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด เช่น เครื่องอบผ้าขนาด 200 ปอนด์ ราคามาตรฐานเครื่องละ 485,000 บาท แต่มีการจัดซื้อในราคาเครื่องละ 3,247,142 บาท ส่งผลให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เสียหายเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท อีกทั้งกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการอื่นเข้าร่วมแข่งราคา
ในส่วนของบริษัทที่ชนะการประมูลคือบริษัท เครน มาเก็ตติ้ง จำกัด จากการตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติของผู้เสนอราคา เนื่องจากใช้เอกสารปลอมในการประกวดราคา และทุนการจัดตั้งบริษัทต่ำเพียง 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอได้ส่งข้อมูลให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีในความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเดียวกันยังได้ส่งหนังสือถึงม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
นี่แค่น้ำจิ้ม เพิ่งเปิดมหาวิทยาลัยในนโยบายของสุขุมพันธุ์ ก็โกงเครื่องซักผ้า ยังมีอีกรายการ ลองฟังดู
หลังจากนำคณะแพทย์ศาสตรวชิรพยาบาล มารวมกับมหาวิทยาลัยตามความต้องการของสุขุมพันธุ์แล้ว การบริหารที่ดีขึ้นกลับแย่ลงกล่าวคือ มีคดีที่อาจารย์หมอ นพ.ไวกูรฐ์ สถาปนาวัตร ตำแหน่งศัลยแพทย์วชิรพยาบาล ต้องมาร้องเรียนกับดีเอสไอ แฉให้ฟังว่า ตั้งแต่ผู้บริหารของคณะแพทย์ศาสตรวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานครมาดูแลนั้น ปรากฏว่ามีการทุจริตอย่างมากมายอีก นพ.ไวกูรฐ์กล่าวต่อว่า ผู้บริหารได้นำเงินงบประมาณ ที่ปกติควรจะใช้ซื้อหยูกยาดูแลคนไข้ แต่ปรากฏว่าผู้บริหารนำเงินไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีราคาสูงกว่าราคาตลาดถึง 3 เท่ามาใช้ ห้องผ่าตัดใหม่ที่สร้าง มาใหม่แพงมหาศาล ใช้เงินมากกว่า 100 ล้านบาท จนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถเปิดใช้งาน กรุงเทพมหานครไม่เคยดูแลคนทำงานในองค์กร แต่กลับนำเงินไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย จนทำให้การบริหารงานภายในโรงพยาบาลนั้นเป็นอุปสรรคต่อแพทย์และพยาบาล ส่งผลให้แพทย์ และพยาบาลทยอยลาออก โดยเฉพาะแพทย์ห้องผ่าตัด เอกซเรย์ ลาออกไปเหลือแค่ 4 คน และกำลังทยอยลาออกตอนสิ้นเดือนทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ห้องผ่าตัดกลายเป็นห้องร้างไปแล้ว
นพ.ฐากูรฐ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ร้องเรียนไปผู้ว่าฯ กทม. ผู้บริหารระดับสูง กทม. แล้วแต่เงียบเฉย จนตนต้องนำเอกสารทุจริตทั้งหมดมาให้กับดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ทั้งหมดของคดีดังกล่าวนั้น อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ DSI แล้ว
อยากเห็นตอที่ใหญ่กว่านี้ พวกเราต้องพยายามให้น้ำลดให้มากที่สุดเท่าที่พวกเราชาวกรุงเทพมหานครจะทำได้
ข้อเท็จจริงว่าด้วยการกำเนิดของ "มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร" ที่คนบางคนอาจจะไม่รู้
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” มหาวิทยาลัยแห่งนี้ประหลาดกว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งคือ ไม่มีคณะเปิดสอนวิชาของตนเอง ไม่มีแม้กระทั่งอาคารของตน แต่เป็น “มหาวิทยาลัยที่มีโกงกินทุจริตกันแบบเงียบกริบ โดยอธิการบดีเชื้อสายพรรค ปชป.” คนแรก!
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ก่อตั้งขึ้นโดยรวบเอาวิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาลและโรงเรียนพยาบาลโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล มาไว้เป็นของตัวและตั้งเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ และไปดึงคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลซึ่งอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล มารวมอีกรวมเป็น 2 คณะ ไม่มีอาคารทำการอะไรของตน ไปตั้งฝากไว้กับที่วชิรพยาบาล
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีอธิการบดีคนแรก อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ชื่อ “ดร.พิจิตต รัตตกุล”
สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนั้น บังเอิญเหลือโคตรจะบังเอิญ เมื่อเราตรวจสอบพบว่า กรุงเทพมหานครมีแนวคิดให้สำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยนี้ ไปตั้งที่ “เขตหนองจอก” ตรงไหนเหรอครับ ก็ตรงไกล้ๆ “ศูนย์อบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีแผนจะสร้างอาคารคณะต่างๆ หอพัก โรงพยาบาลและ “สนามฟุตซอลขนาดใหญ่” เอ๊ะ! คุ้นๆๆ
แปลภาษาไทยง่ายๆ มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะไปตั้งติดกับสนามฟุตซอลบางกอกอารีนา ที่สุดอึ้อฉาว!
มหาวิทยาลัยที่เงียบกริบแห่งนี้ แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ แต่อาการ “มูมมาม” ภายใต้การบริหารดูแลของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ นั้นสุดแสนจะโจ๋งครึมจนมีคดีเข้า DSI ทั้งที่ยังนับหัวบัณฑิตที่จบไม่เจอ
22 กุมภาพันธ์ 2555 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีข่าวฉาวโฉ่เรื่องการทุจริต จัดซื้อเครื่องซักผ้า มูลค่า 43 ล้านบาท ทั้งลดสเป็คเงื่อนไขการประกวดราคา ทั้งแก้ไขทีโออาร์ ทั้งผิดระเบียบเรื่องการพัสดุ ที่หากมีโครงการใดจัดซื้อมีวงเงินสูงกว่า 1 ล้านบาท ต้องให้สำนักงานการแพทย์กรุงเทพมหานครเป็นผู้อนุมัติ และทั้งแอบเปลี่ยนชื่อ “เครื่องซักผ้า” เป็น “เครื่องจักร” โดยเขียนว่า “การประกวดราคาเครื่องจักร 1 ระบบ” โดยผู้เข้าร่วมประมูลทั่วไปย่อมไม่ทราบว่า “เครื่องจักร 1 ระบบ” นั้นหมายถึงอะไร แต่มีเฉพาะคนในที่รู้ว่าเขาต้องการซื้อ “เครื่องซักผ้า” เท่านั้นที่ทราบสำหรับกรณีการจัดซื้อเครื่องจักร 1 ระบบ เป็นการใช้คำที่เจตนาให้ผู้ประกอบการรายอื่น ไม่ทราบว่า เป็นเครื่องจักรประเภทใด ทั้งที่จริงเป็นการประกวดราคาเครื่องซักผ้า สลัดผ้าอัตโนมัติ เครื่องอบผ้าระบบอุโมงค์ และเครื่องกำเนิดไอน้ำ
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกทม. กรณีไม่นำบัญชีมาตรฐานของสำนักงบประมาณ มาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด เช่น เครื่องอบผ้าขนาด 200 ปอนด์ ราคามาตรฐานเครื่องละ 485,000 บาท แต่มีการจัดซื้อในราคาเครื่องละ 3,247,142 บาท ส่งผลให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เสียหายเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท อีกทั้งกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการอื่นเข้าร่วมแข่งราคา
ในส่วนของบริษัทที่ชนะการประมูลคือบริษัท เครน มาเก็ตติ้ง จำกัด จากการตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติของผู้เสนอราคา เนื่องจากใช้เอกสารปลอมในการประกวดราคา และทุนการจัดตั้งบริษัทต่ำเพียง 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอได้ส่งข้อมูลให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีในความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเดียวกันยังได้ส่งหนังสือถึงม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
นี่แค่น้ำจิ้ม เพิ่งเปิดมหาวิทยาลัยในนโยบายของสุขุมพันธุ์ ก็โกงเครื่องซักผ้า ยังมีอีกรายการ ลองฟังดู
หลังจากนำคณะแพทย์ศาสตรวชิรพยาบาล มารวมกับมหาวิทยาลัยตามความต้องการของสุขุมพันธุ์แล้ว การบริหารที่ดีขึ้นกลับแย่ลงกล่าวคือ มีคดีที่อาจารย์หมอ นพ.ไวกูรฐ์ สถาปนาวัตร ตำแหน่งศัลยแพทย์วชิรพยาบาล ต้องมาร้องเรียนกับดีเอสไอ แฉให้ฟังว่า ตั้งแต่ผู้บริหารของคณะแพทย์ศาสตรวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานครมาดูแลนั้น ปรากฏว่ามีการทุจริตอย่างมากมายอีก นพ.ไวกูรฐ์กล่าวต่อว่า ผู้บริหารได้นำเงินงบประมาณ ที่ปกติควรจะใช้ซื้อหยูกยาดูแลคนไข้ แต่ปรากฏว่าผู้บริหารนำเงินไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีราคาสูงกว่าราคาตลาดถึง 3 เท่ามาใช้ ห้องผ่าตัดใหม่ที่สร้าง มาใหม่แพงมหาศาล ใช้เงินมากกว่า 100 ล้านบาท จนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถเปิดใช้งาน กรุงเทพมหานครไม่เคยดูแลคนทำงานในองค์กร แต่กลับนำเงินไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย จนทำให้การบริหารงานภายในโรงพยาบาลนั้นเป็นอุปสรรคต่อแพทย์และพยาบาล ส่งผลให้แพทย์ และพยาบาลทยอยลาออก โดยเฉพาะแพทย์ห้องผ่าตัด เอกซเรย์ ลาออกไปเหลือแค่ 4 คน และกำลังทยอยลาออกตอนสิ้นเดือนทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ห้องผ่าตัดกลายเป็นห้องร้างไปแล้ว
นพ.ฐากูรฐ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ร้องเรียนไปผู้ว่าฯ กทม. ผู้บริหารระดับสูง กทม. แล้วแต่เงียบเฉย จนตนต้องนำเอกสารทุจริตทั้งหมดมาให้กับดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ทั้งหมดของคดีดังกล่าวนั้น อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ DSI แล้ว
อยากเห็นตอที่ใหญ่กว่านี้ พวกเราต้องพยายามให้น้ำลดให้มากที่สุดเท่าที่พวกเราชาวกรุงเทพมหานครจะทำได้