ทำไมต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีท
วันนี้ขอสรุปข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับคาร์ซีทที่เคยศึกษามาให้เพื่อนๆ ฟังกันสักหน่อยแล้วกันนะคะ ขอบอกว่าเราเป็นคนให้ความสำคัญกับการที่ลูกต้องนั่งคารฺ์ซีททุกครั้งมากถึงมากที่สุด เพราะเราเชื่อว่า
1.
"อุบัติเหตุ เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา เราไม่ประมาท คนอื่นก็ประมาทได้" ดังนั้น ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด ตามสถิติที่เคยอ่านมา อุบัติเหตุเกิดใกล้บ้านมากกว่าไกลบ้านเสียอีก ดังนั้นไม่ใช่แค่ว่าให้นั่งเฉพาะเดินทางไกลหรอกนะ ต้องนั่งตลอดนี่ล่ะ ฝึกให้เขาชิน ว่าต้องนั่่งทุกครั้งที่ขึ้นรถจะฝึกง่ายกว่าด้วย ไม่ใช่ระยะทางใกล้ไม่ต้องนั่ง พอเที่ยวไกลๆ ค่อยจับนั่ง นอกจากจะเป็นความคิดที่ประมาทแล้ว ยังจะทำให้ลูกไม่ยอมนั่งด้วยเพราะชิน
2.
"รักลูกต้องรักให้ถูกทาง บางเรื่องใจอ่อนไม่ได้" ถ้าเขาร้องเพราะไม่ยอมนั่งคาร์ซีท เราก็ต้องยอมให้ร้องไป เพราะ
ร้องไห้ไปจนคอแตกก็ไม่ตาย แต่คอหักเพราะไม่นั่งคาร์ซีทแล้วเกิดอุบัติเหตุนี่ถึงตายได้นะจ๊ะ!! เดี๋ยววิธีหลอกล่อเด็กให้ยอมนั่งจะเขียนคราวหน้านะ
3.
ความคิดที่ว่าการให้ลูกนั่งตักเราปลอดภัยกว่า เพราะเกิดอะไรขึ้น เราจะกอดลูกไว้ได้ เป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะจากข้อมูล ถ้าคุณกอดลูกไว้ ขณะเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่เกิด จะมีได้ 2 อย่าง คือ หนึ่ง ลูกจะกลายเป็นแอร์แบคให้คุณแทน เพราะเค้าจะรับทั้งน้ำหนักตัวคุณและแรงกระแทกแทนคุณเสร็จเลย หรือสอง ลูกจะกระเด็นจากตักคุณไปยามที่คุณตกใจและไม่ได้ตั้งตัว ซึ่งเค้าก็อาจกระเด็นไปอัดกับกระจก อัดกับคอนโซลรถ หรือกระเด็กทะลุกระจกออกนอกรถ อันนั้นก็แล้วแต่ดวงเค้าแล้วค่ะ ว่าแข็งแค่ไหน ถามจริงๆ ว่ารู้อย่างนี้แล้ว คุณอยากให้ลูกคุณนั่งคาร์ซีทขึ้นมาบ้างหรือยัง
4.
ความคิดที่ว่าให้เข็มขัดนิรภัยรถก็เพียงพอแล้ว ก็ไม่ถูก เพราะเด็กยังตัวเล็กมาก หากรัดเข็มขัดนิรภัยที่มากับรถ ก็จะเป็นการรัดเข็มขัดที่ไม่ถูกตำแหน่ง เช่นเด็กเตี้ยไป พอรัดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ที่มากับรถ เวลาเกิดอุบัติเหตุอาจไปรัดคอเด็กแทน
5.
บางบ้าน ที่ลูกไม่ได้นั่งคาร์ซีทน่ะ ก็ปล่อยให้ลูกเดินหรือกลิ้งเล่นในรถ แค่ให้กลิ้งเล่นอยู่เบาะหลังก็น่ากังวลแทนเด็กจะแย่ เพราะเวลาเกิดอุบัติเหตุเด็กจะกระเด็นไปตรงไหนได้บ้างก็ไม่อยากคิดแทน แต่พวกที่ยอมให้ลูกมานั่งเบาะหน้า ปีนไปปีนมาแถวคนขับ หรือเล่นเกียร์รถยนต์นี่ มันน่าโมโหมาก คิดความประมาทของคุณน่ะ นอกจากจะทำให้ลูกคุณเกิดอุบัติเหตุได้แล้ว ยังจะไปทำให้รถคันอื่นต้องพลอยซวยไปด้วยเพราะความประมาทของคุณอีก
เราเคยเห็นหลายบ้านที่ให้ลูกหลานมานั่งตักเวลาขับรถ หรือที่น่ากลัวกว่านั้น คือเราเคยเห็นแม่ให้นมลูกอ่อนไปและขับรถไปเลยทีเดียว พวกนี้ขาดสามัญสำนึกขั้นต่ำและมักง่ายที่สุดอ่ะ คนประเภทนี้ เราถือว่าเป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบอย่างสุดๆ ทั้งต่อตัวเอง และต่อผู้อื่นเลยทีเดียว ตัวอย่างอีกเรื่องคือ พ่อของคนรู้จัก เค้าให้หลาน 3.5 ขวบ ยืนเบาะหน้าข้างคนขับ เพราะถือว่าแค่ขับในซอย ระยะทางใกล้ๆ หลานไม่ยอมรัดเข็มขัดก็ตามใจ สรุปเจอมอเตอร์ไซค์ตัดหน้ารถ เบรคกะทันหัน หลานกระเด็นหัวทิ่มกระจกหน้า กระจกร้าวเลยทีเดียว โชคดีที่ชนไม่แรงมาก หลานเลยไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าชนแรงกว่านี้อาจจะกระเด็นออกไปแล้วก็ได้นะ ตั้งแต่นั้นมาหลานเค้าเลยยอมรัดเข็มขัดรถทุกครั้งเพราะเข็ด (แต่จริงๆ ก็ไม่ถูกอยู่ดี เพราะเข็มขัดรถมันอยู่ผิดตำแหน่ง เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อาจรัดคอเด็กเป็นอันตรายได้ ไม่นับถ้าด้านหน้ารถมีแอร์แบค เวลาเกิดอุบัติเหตุ แอร์แบคกระแทคหน้าหรือหน้าอกเด็กอย่างแรงก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน ปกติเค้าถึงให้เด็กนั่งคาร์ซีทที่เบาะหลังเพราะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด)
6.
คาร์ซีทถูกออกแบบมาให้รองรับแรงกระแทกได้บางส่วนแทนเด็ก ทั้งด้านข้างลำตัวและศีรษะเด็ก จึงมีความปลอดภัยสูงกว่ารัดเข็มขัดนิรภัยรถมาก นอกจากนี้ เด็กยังตัวเล็ก เตี้ยกว่าเรามาก ดังนั้นการให้เด็กรัดเข็มขัดนิรภัยรถนั้น ก็ผิดมหันต์เช่นเดียวกัน เพราะมันจะไปรัดผิดตำแหน่ง เช่นตำแหน่งที่ต้องรัดไหล่กับหน้าอก พอเด็กมารัด จะกลายเป็นตำแหน่งแถวคอแทน เป็นต้น เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อันตรายอีกนะ
ตำแหน่งการติดตั้งคาร์ซีทที่ปลอดภัย
ตามสถิติแล้ว
ตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดในการติดตั้งคาร์ซีท คือ เบาะหลังตรงกลางแต่ถ้ารถคุณไม่มีเข็มขัดนิรภัย 3 จุดที่เบาะกลาง แนะนำให้ติด
ตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดรองลงมา คือเบาะหลังด้านขวา (หลังคนขับ) เพราะข้อมูลบอกว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุน่ะ คนขับจะหักด้านตัวเองหลบก่อนตามสัญชาตญาณไง ตำแหน่งนี้จึงปลอดภัยเป็นอันดับ 2 ถ้าคุณคิดว่าตำแหน่งนี้เวลาเอาลูกลงจากรถจะไม่ปลอดภัย คุณก็เอาลูกลงจากฝั่งซ้ายแทนได้นะคะ
ส่วน
ตำแหน่งที่อันตรายสุดตามสถิติเวลาเกิดอุบัติเหตุ และในคู่มือคาร์ซีทก็ห้ามไว้แล้วว่าไม่ให้ติดตำแหน่งนั้น ถ้าคุณสละเวลาอ่านคู่มือสักนิด คุณจะรู้ คือ
เบาะหน้าด้านข้างคนขับค่ะ อย่างที่บอก เวลาเกิดอุบัติเหตุ ตามสัญชาตญาณคนขับจะหักด้านตัวเองหลบ และเบาะหน้านั้น มีกระจกหน้าและกระจกข้างล้อมรอบตัวลูกเลยนะ รวมถึงรถหลายรุ่นจะมีแอร์แบคอยู่ด้านหน้าฝั่งคนนั่งด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวเด็กที่นั่งตรงนั้นทั้งสิ้น
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ (จริงๆต้องดูส่วนสูงและน้ำหนักตามที่คู่มือบอกไว้ด้วยนะคะ แล้วแต่รุ่นคาร์ซีทเลย) ต้องให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะหลังตลอดนะคะ (rear-facing position) ห้ามหันหน้าออกมาเหมือนผู้ใหญ่นั่งเด็ดขาด!! เพราะเด็กเล็กยังหลังไม่แข็ง (ไม่ว่าคุณจะอ้างว่าลูกคุณนั่งได้เร็วแค่ไหนก็ตาม) เวลาเกิดอุบัติเหตุถ้านั่งหันหน้าออกมา จะอันตรายมากๆๆๆๆ ในคู่มือเขาถึงระบุไว้แล้วว่าให้นั่งหันหลังจนลูกคุณอายุ + น้ำหนักและส่วนสูงเท่าไหร่ นอกจากนี้ ตามงานวิจัยล่าสุด เค้าบอกว่าให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะให้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ เพราะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด คาร์ซีทรุ่นใหม่ๆ พวก convertible จึงสร้างกันให้เด็กสามารถหันหน้าเข้าหาเบาะได้นานมากเลย (ถ้าเด็กตัวไม่ใหญ่มาก อันหันหน้าเข้าหาเบาะได้ถึง 4 ขวบเลยนะ แต่จริงๆต้องดูน้ำหนักและส่วนสูงเด็กที่ระบุไว้ในคู่มือเป็นหลักนะ อายุแค่บอกให้เห็นภาพง่ายหน่อยเท่านั้น)
ลองอ่าน article นี้ดู จะเข้าใจขึ้นว่าทำไมเด็กควรนั่งแบบ rear facing ไปให้นานที่สุด
http://www.car-safety.org/rearface.html#ridedown
http://www.safekids.org/safety-basics/babies/on-the-way/carseat-safety-for-babies.html
ตำแหน่งการติดตั้ง chest clip และการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ปลอดภัย
คาร์ซีทที่มาจากอเมริกาจะมี chest clip ในขณะที่ คาร์ซีทของญี่ปุ่น จีน และยุโรป จะไม่มี chest clip มาให้ จริงๆ มันมีทฤษฎีที่เถียงกันระหว่างอเมริกาและประเทศอื่นว่า chest clip ดีหรือไม่ดีกันแน่ วันนี้ไม่ขอพูดถึงละกันมันยาว และเหตุผลแต่ละฝ่ายก็โอเคทั้งคู่ แต่ถ้าคุณจะให้ลูกใช้ chest clip คุณก็ต้องติดให้ถูกตำแหน่ง ตำแหน่งที่ถูกก็คือ ตรงอกลูกตำแหน่งเดียวกับรักแร้ ไม่ติดสูงหรือต่ำกว่านั้น ไม่งั้นติดต่ำไป เวลาเกิดอุบัติเหตุลูกคุณก็กระเด็นออกจากคาร์ซีทได้ และยังทำอันตรายต่ออวัยวะภายในช่องท้องได้อีกด้วย ถ้าติดสูงไปก็จะอยู่แถวคอ เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อันตรายอีก
ส่วนการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับคาร์ซีทให้ลูกนั้น คุณก็ต้องรัดไม่ให้แน่นไป และหลวมไป อ่านคู่มือดูได้ค่ะ หรืออ่านจากเวปนี้
http://baby.about.com/od/Car-Seat-Safety/tp/Car-Seat-Harness-Correct-Use.htm
และในคู่มือจะมีบอกด้วยนะ ว่าถ้าลูกนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะหลัง rear facing หรือหันออกจากเบาะนี่ สายรัดต้องอยู่สูงหรือต่ำกว่าไหล่ลูก ถึงจะเป็นตำแหน่งที่ถูก ขอไม่บอกตรงนี้ ยาวมาก ไปอ่านคู่มือกันเองนะจ๊ะ ไม่ก็ดูคร่าวๆ จากเวปนี้ก็ได้
http://www.orbitbaby.com/en/articles/harness-safety/
แต่ในเวปนี้จะเป็นตำแหน่งสายรัดสำหรับ rear-facing อย่างเดียวนะ
ขอย้ำหน่อยว่าเมื่อเลือกซื้อคาร์ซีทได้แล้วกรุณาสละเวลาอ่านคู่มือการติดตั้งคาร์ซีทกับสักนิด อย่าช่วยให้สถิติที่ว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละ 6 บรรทัด เป็นจริงไปนานกว่านี้เลย
เราเขียนบทความนี้มาด้วยความเป็นห่วงเด็กๆ จากใจจริง แต่ถ้าคุณอ่านกันแล้วยังไม่เห็นความสำคัญของคาร์ซีทกันอีก เราคงทำอะไรไม่ได้ และไม่อยากดราม่ากับใคร ดังนั้นกรุณาอย่ามาดราม่ากับเรา "ลูกใครลูกมันค่ะ ความปลอดภัยของลูกคุณอยู่ในมือของคุณเอง" สำหรับเรา เราขอให้ลูกเราปลอดภัย และเราชอบป้องกันไว้ก่อนก็เท่านั้น เราคงไปบังคับความคิดใครไม่ได้ เราอาจเขียนบางส่วนแรงไปบ้าง แต่นั่นเพราะความหวังดีจริงๆ
ตอนหน้าจะมาเขียนเรื่องประเภทต่างๆ ของคาร์ซีท ข้อแตกต่างระหว่างคาร์ซีทกับบู๊ทเตอร์ซีท กับเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยหัดลูกให้นั่งคาร์ซีทได้ วันนี้ชักยาวละ เดี๋ยวจะตาลายจนขี้เกียจอ่านกัน
เพิ่มเติม
ตอนที่ 2 เขียนจบแล้วนะคะ เป็นเรื่องประเภทต่างๆ ของคาร์ซีท และวิธีหัดลูกให้นั่งคาร์ซีทค่ะ ^^ ตามลิงค์ข้างล่างไปได้ค่ะ
http://ppantip.com/topic/30143313
ข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกซื้อและติดตั้งคาร์ซีท ตอนที่ 1
วันนี้ขอสรุปข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับคาร์ซีทที่เคยศึกษามาให้เพื่อนๆ ฟังกันสักหน่อยแล้วกันนะคะ ขอบอกว่าเราเป็นคนให้ความสำคัญกับการที่ลูกต้องนั่งคารฺ์ซีททุกครั้งมากถึงมากที่สุด เพราะเราเชื่อว่า
1. "อุบัติเหตุ เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา เราไม่ประมาท คนอื่นก็ประมาทได้" ดังนั้น ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด ตามสถิติที่เคยอ่านมา อุบัติเหตุเกิดใกล้บ้านมากกว่าไกลบ้านเสียอีก ดังนั้นไม่ใช่แค่ว่าให้นั่งเฉพาะเดินทางไกลหรอกนะ ต้องนั่งตลอดนี่ล่ะ ฝึกให้เขาชิน ว่าต้องนั่่งทุกครั้งที่ขึ้นรถจะฝึกง่ายกว่าด้วย ไม่ใช่ระยะทางใกล้ไม่ต้องนั่ง พอเที่ยวไกลๆ ค่อยจับนั่ง นอกจากจะเป็นความคิดที่ประมาทแล้ว ยังจะทำให้ลูกไม่ยอมนั่งด้วยเพราะชิน
2. "รักลูกต้องรักให้ถูกทาง บางเรื่องใจอ่อนไม่ได้" ถ้าเขาร้องเพราะไม่ยอมนั่งคาร์ซีท เราก็ต้องยอมให้ร้องไป เพราะร้องไห้ไปจนคอแตกก็ไม่ตาย แต่คอหักเพราะไม่นั่งคาร์ซีทแล้วเกิดอุบัติเหตุนี่ถึงตายได้นะจ๊ะ!! เดี๋ยววิธีหลอกล่อเด็กให้ยอมนั่งจะเขียนคราวหน้านะ
3. ความคิดที่ว่าการให้ลูกนั่งตักเราปลอดภัยกว่า เพราะเกิดอะไรขึ้น เราจะกอดลูกไว้ได้ เป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะจากข้อมูล ถ้าคุณกอดลูกไว้ ขณะเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่เกิด จะมีได้ 2 อย่าง คือ หนึ่ง ลูกจะกลายเป็นแอร์แบคให้คุณแทน เพราะเค้าจะรับทั้งน้ำหนักตัวคุณและแรงกระแทกแทนคุณเสร็จเลย หรือสอง ลูกจะกระเด็นจากตักคุณไปยามที่คุณตกใจและไม่ได้ตั้งตัว ซึ่งเค้าก็อาจกระเด็นไปอัดกับกระจก อัดกับคอนโซลรถ หรือกระเด็กทะลุกระจกออกนอกรถ อันนั้นก็แล้วแต่ดวงเค้าแล้วค่ะ ว่าแข็งแค่ไหน ถามจริงๆ ว่ารู้อย่างนี้แล้ว คุณอยากให้ลูกคุณนั่งคาร์ซีทขึ้นมาบ้างหรือยัง
4. ความคิดที่ว่าให้เข็มขัดนิรภัยรถก็เพียงพอแล้ว ก็ไม่ถูก เพราะเด็กยังตัวเล็กมาก หากรัดเข็มขัดนิรภัยที่มากับรถ ก็จะเป็นการรัดเข็มขัดที่ไม่ถูกตำแหน่ง เช่นเด็กเตี้ยไป พอรัดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ที่มากับรถ เวลาเกิดอุบัติเหตุอาจไปรัดคอเด็กแทน
5. บางบ้าน ที่ลูกไม่ได้นั่งคาร์ซีทน่ะ ก็ปล่อยให้ลูกเดินหรือกลิ้งเล่นในรถ แค่ให้กลิ้งเล่นอยู่เบาะหลังก็น่ากังวลแทนเด็กจะแย่ เพราะเวลาเกิดอุบัติเหตุเด็กจะกระเด็นไปตรงไหนได้บ้างก็ไม่อยากคิดแทน แต่พวกที่ยอมให้ลูกมานั่งเบาะหน้า ปีนไปปีนมาแถวคนขับ หรือเล่นเกียร์รถยนต์นี่ มันน่าโมโหมาก คิดความประมาทของคุณน่ะ นอกจากจะทำให้ลูกคุณเกิดอุบัติเหตุได้แล้ว ยังจะไปทำให้รถคันอื่นต้องพลอยซวยไปด้วยเพราะความประมาทของคุณอีก เราเคยเห็นหลายบ้านที่ให้ลูกหลานมานั่งตักเวลาขับรถ หรือที่น่ากลัวกว่านั้น คือเราเคยเห็นแม่ให้นมลูกอ่อนไปและขับรถไปเลยทีเดียว พวกนี้ขาดสามัญสำนึกขั้นต่ำและมักง่ายที่สุดอ่ะ คนประเภทนี้ เราถือว่าเป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบอย่างสุดๆ ทั้งต่อตัวเอง และต่อผู้อื่นเลยทีเดียว ตัวอย่างอีกเรื่องคือ พ่อของคนรู้จัก เค้าให้หลาน 3.5 ขวบ ยืนเบาะหน้าข้างคนขับ เพราะถือว่าแค่ขับในซอย ระยะทางใกล้ๆ หลานไม่ยอมรัดเข็มขัดก็ตามใจ สรุปเจอมอเตอร์ไซค์ตัดหน้ารถ เบรคกะทันหัน หลานกระเด็นหัวทิ่มกระจกหน้า กระจกร้าวเลยทีเดียว โชคดีที่ชนไม่แรงมาก หลานเลยไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าชนแรงกว่านี้อาจจะกระเด็นออกไปแล้วก็ได้นะ ตั้งแต่นั้นมาหลานเค้าเลยยอมรัดเข็มขัดรถทุกครั้งเพราะเข็ด (แต่จริงๆ ก็ไม่ถูกอยู่ดี เพราะเข็มขัดรถมันอยู่ผิดตำแหน่ง เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อาจรัดคอเด็กเป็นอันตรายได้ ไม่นับถ้าด้านหน้ารถมีแอร์แบค เวลาเกิดอุบัติเหตุ แอร์แบคกระแทคหน้าหรือหน้าอกเด็กอย่างแรงก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน ปกติเค้าถึงให้เด็กนั่งคาร์ซีทที่เบาะหลังเพราะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด)
6. คาร์ซีทถูกออกแบบมาให้รองรับแรงกระแทกได้บางส่วนแทนเด็ก ทั้งด้านข้างลำตัวและศีรษะเด็ก จึงมีความปลอดภัยสูงกว่ารัดเข็มขัดนิรภัยรถมาก นอกจากนี้ เด็กยังตัวเล็ก เตี้ยกว่าเรามาก ดังนั้นการให้เด็กรัดเข็มขัดนิรภัยรถนั้น ก็ผิดมหันต์เช่นเดียวกัน เพราะมันจะไปรัดผิดตำแหน่ง เช่นตำแหน่งที่ต้องรัดไหล่กับหน้าอก พอเด็กมารัด จะกลายเป็นตำแหน่งแถวคอแทน เป็นต้น เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อันตรายอีกนะ
ตำแหน่งการติดตั้งคาร์ซีทที่ปลอดภัย
ตามสถิติแล้ว ตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดในการติดตั้งคาร์ซีท คือ เบาะหลังตรงกลางแต่ถ้ารถคุณไม่มีเข็มขัดนิรภัย 3 จุดที่เบาะกลาง แนะนำให้ติดตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดรองลงมา คือเบาะหลังด้านขวา (หลังคนขับ) เพราะข้อมูลบอกว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุน่ะ คนขับจะหักด้านตัวเองหลบก่อนตามสัญชาตญาณไง ตำแหน่งนี้จึงปลอดภัยเป็นอันดับ 2 ถ้าคุณคิดว่าตำแหน่งนี้เวลาเอาลูกลงจากรถจะไม่ปลอดภัย คุณก็เอาลูกลงจากฝั่งซ้ายแทนได้นะคะ
ส่วนตำแหน่งที่อันตรายสุดตามสถิติเวลาเกิดอุบัติเหตุ และในคู่มือคาร์ซีทก็ห้ามไว้แล้วว่าไม่ให้ติดตำแหน่งนั้น ถ้าคุณสละเวลาอ่านคู่มือสักนิด คุณจะรู้ คือ เบาะหน้าด้านข้างคนขับค่ะ อย่างที่บอก เวลาเกิดอุบัติเหตุ ตามสัญชาตญาณคนขับจะหักด้านตัวเองหลบ และเบาะหน้านั้น มีกระจกหน้าและกระจกข้างล้อมรอบตัวลูกเลยนะ รวมถึงรถหลายรุ่นจะมีแอร์แบคอยู่ด้านหน้าฝั่งคนนั่งด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวเด็กที่นั่งตรงนั้นทั้งสิ้น
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ (จริงๆต้องดูส่วนสูงและน้ำหนักตามที่คู่มือบอกไว้ด้วยนะคะ แล้วแต่รุ่นคาร์ซีทเลย) ต้องให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะหลังตลอดนะคะ (rear-facing position) ห้ามหันหน้าออกมาเหมือนผู้ใหญ่นั่งเด็ดขาด!! เพราะเด็กเล็กยังหลังไม่แข็ง (ไม่ว่าคุณจะอ้างว่าลูกคุณนั่งได้เร็วแค่ไหนก็ตาม) เวลาเกิดอุบัติเหตุถ้านั่งหันหน้าออกมา จะอันตรายมากๆๆๆๆ ในคู่มือเขาถึงระบุไว้แล้วว่าให้นั่งหันหลังจนลูกคุณอายุ + น้ำหนักและส่วนสูงเท่าไหร่ นอกจากนี้ ตามงานวิจัยล่าสุด เค้าบอกว่าให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะให้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ เพราะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด คาร์ซีทรุ่นใหม่ๆ พวก convertible จึงสร้างกันให้เด็กสามารถหันหน้าเข้าหาเบาะได้นานมากเลย (ถ้าเด็กตัวไม่ใหญ่มาก อันหันหน้าเข้าหาเบาะได้ถึง 4 ขวบเลยนะ แต่จริงๆต้องดูน้ำหนักและส่วนสูงเด็กที่ระบุไว้ในคู่มือเป็นหลักนะ อายุแค่บอกให้เห็นภาพง่ายหน่อยเท่านั้น)
ลองอ่าน article นี้ดู จะเข้าใจขึ้นว่าทำไมเด็กควรนั่งแบบ rear facing ไปให้นานที่สุด
http://www.car-safety.org/rearface.html#ridedown
http://www.safekids.org/safety-basics/babies/on-the-way/carseat-safety-for-babies.html
ตำแหน่งการติดตั้ง chest clip และการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ปลอดภัย
คาร์ซีทที่มาจากอเมริกาจะมี chest clip ในขณะที่ คาร์ซีทของญี่ปุ่น จีน และยุโรป จะไม่มี chest clip มาให้ จริงๆ มันมีทฤษฎีที่เถียงกันระหว่างอเมริกาและประเทศอื่นว่า chest clip ดีหรือไม่ดีกันแน่ วันนี้ไม่ขอพูดถึงละกันมันยาว และเหตุผลแต่ละฝ่ายก็โอเคทั้งคู่ แต่ถ้าคุณจะให้ลูกใช้ chest clip คุณก็ต้องติดให้ถูกตำแหน่ง ตำแหน่งที่ถูกก็คือ ตรงอกลูกตำแหน่งเดียวกับรักแร้ ไม่ติดสูงหรือต่ำกว่านั้น ไม่งั้นติดต่ำไป เวลาเกิดอุบัติเหตุลูกคุณก็กระเด็นออกจากคาร์ซีทได้ และยังทำอันตรายต่ออวัยวะภายในช่องท้องได้อีกด้วย ถ้าติดสูงไปก็จะอยู่แถวคอ เวลาเกิดอุบัติเหตุก็อันตรายอีก
ส่วนการรัดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับคาร์ซีทให้ลูกนั้น คุณก็ต้องรัดไม่ให้แน่นไป และหลวมไป อ่านคู่มือดูได้ค่ะ หรืออ่านจากเวปนี้
http://baby.about.com/od/Car-Seat-Safety/tp/Car-Seat-Harness-Correct-Use.htm
และในคู่มือจะมีบอกด้วยนะ ว่าถ้าลูกนั่งหันหน้าเข้าหาเบาะหลัง rear facing หรือหันออกจากเบาะนี่ สายรัดต้องอยู่สูงหรือต่ำกว่าไหล่ลูก ถึงจะเป็นตำแหน่งที่ถูก ขอไม่บอกตรงนี้ ยาวมาก ไปอ่านคู่มือกันเองนะจ๊ะ ไม่ก็ดูคร่าวๆ จากเวปนี้ก็ได้
http://www.orbitbaby.com/en/articles/harness-safety/
แต่ในเวปนี้จะเป็นตำแหน่งสายรัดสำหรับ rear-facing อย่างเดียวนะ
ขอย้ำหน่อยว่าเมื่อเลือกซื้อคาร์ซีทได้แล้วกรุณาสละเวลาอ่านคู่มือการติดตั้งคาร์ซีทกับสักนิด อย่าช่วยให้สถิติที่ว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละ 6 บรรทัด เป็นจริงไปนานกว่านี้เลย
เราเขียนบทความนี้มาด้วยความเป็นห่วงเด็กๆ จากใจจริง แต่ถ้าคุณอ่านกันแล้วยังไม่เห็นความสำคัญของคาร์ซีทกันอีก เราคงทำอะไรไม่ได้ และไม่อยากดราม่ากับใคร ดังนั้นกรุณาอย่ามาดราม่ากับเรา "ลูกใครลูกมันค่ะ ความปลอดภัยของลูกคุณอยู่ในมือของคุณเอง" สำหรับเรา เราขอให้ลูกเราปลอดภัย และเราชอบป้องกันไว้ก่อนก็เท่านั้น เราคงไปบังคับความคิดใครไม่ได้ เราอาจเขียนบางส่วนแรงไปบ้าง แต่นั่นเพราะความหวังดีจริงๆ
ตอนหน้าจะมาเขียนเรื่องประเภทต่างๆ ของคาร์ซีท ข้อแตกต่างระหว่างคาร์ซีทกับบู๊ทเตอร์ซีท กับเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยหัดลูกให้นั่งคาร์ซีทได้ วันนี้ชักยาวละ เดี๋ยวจะตาลายจนขี้เกียจอ่านกัน
เพิ่มเติม
ตอนที่ 2 เขียนจบแล้วนะคะ เป็นเรื่องประเภทต่างๆ ของคาร์ซีท และวิธีหัดลูกให้นั่งคาร์ซีทค่ะ ^^ ตามลิงค์ข้างล่างไปได้ค่ะ
http://ppantip.com/topic/30143313