โดย สิรนันท์ ห่อหุ้ม มติชน 10 ก.พ.56
เดินร้านหนังสือช่วงนี้ ไม่ว่าจะหยุดอยู่ที่หมวดใด เป็นต้องได้เห็นหนังสือที่ว่าด้วย "ประชาคมอาเซียน" ที่มีกันอยู่มากมาย แถมหลายเล่มยังขึ้นอันดับขายดี จึงคาดว่ามีแนวโน้มที่จะครองตลาดอีกนาน และความนิยมจะคงอยู่จนกว่าไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างเต็มตัวนั่นล่ะ
และถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าหนังสืออาเซียนส่วนใหญ่ จะเทน้ำหนักไปยังหมวดเด็กและเยาวชน ซึ่งจะมาในรูปหนังสือการ์ตูน หรือมีรูปประกอบอ่านง่าย พร้อมแพกเกจน่ารัก มีตุ๊กตาอาเซียนสวยๆ มาช่วยดึงดูดใจคนเลือกซื้อ อาทิ "ท่องโลกอาเซียน", "อาเซียน 360 องศา We are Asian", "มารู้จักอาเซียนกันเถอะ" ฯลฯ รองลงมาก็จะเป็นหนังสือเชิงท่องเที่ยว เล่าประสบการณ์ ความรู้เชิงหลักการ ศิลปวัฒนธรรม อาทิ "อาเซียน รู้ไว้ได้เปรียบแน่" โดย "ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ", "วิถีไทยในเงาอาเซียน" โดย "ปิยมิตร ปัญญา" จาก สนพ.มติชน ที่นำผู้อ่านเปิดประตูความคิดสู่อาเซียน ผ่านมุมมองคมคายแสดง "จุดต่าง" และ "จุดร่วม" ในเส้นทางที่ทุกประเทศในเขตอาเซียนจะต้องสัมพันธ์กัน โดยปรากฏทั้งสายตาที่ "มองอาเซียน" เพื่อเจาะลึกเรื่องราวและสภาพปัญหาของประเทศเพื่อนบ้าน และ "เห็นไทย" นำเสนอบทวิเคราะห์ประเทศไทย สรุปรวมเรื่องราวปัญหาในบ้านที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ
"เป็นลักษณะที่เรียกว่าอาเซียนฟีเวอร์ก็น่าจะได้" "รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ" กก.ผจก.สำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ ที่สร้างหนังสือชุดขายดิบขายดีอย่าง "Hello อาเซียน" ซึ่งตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอาเซียนให้เด็กๆ ได้รู้มาตั้งแต่ช่วงแรกของการฟีเวอร์ และจนถึงวันนี้ก็มีหนังสือว่าด้วยอาเซียนออกมาถึง 20 กว่าปกแล้ว กล่าวด้วยรอยยิ้ม
คนเลือกซื้อส่วนใหญ่เขาว่านอกจากจะเป็นพ่อแม่ ยังมีบรรณารักษ์ห้องสมุด เพราะหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องนี้ ถือเป็นไฟต์บังคับที่ทุกห้องสมุดจำเป็นต้องมี
"เป็นเพราะรัฐบาลรณรงค์ให้คนสนใจเรื่องอาเซียนมากขึ้น แล้วเน้นไปที่โรงเรียนเลยว่าต้องเตรียมความพร้อมให้เด็ก"
ห้องสมุดจำนวนหลักหมื่นในประเทศ ซึ่งผูกติดกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวง จึงเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญที่ทุกสำนักพิมพ์จับตา
และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าหลายสำนักพิมพ์พากันจัดทำหนังสือภาพหรือการ์ตูนความรู้ที่จะดึงความสนใจจากเด็ก
"ตอนนี้คนทำหนังสืออะไรก็พยายามโยงเรื่องอาเซียนเข้าไปด้วย" รุ่งโรจน์บอก
ดูเผินๆ แล้วน่ากลัวว่าจะเกิดสภาวะหนังสืออาเซียนเฟ้อ แต่รุ่งโรจน์ยืนยันว่ายังมีช่องว่างทางการตลาดอยู่อีก
"ในกลุ่มที่ผู้ปกครองซื้อให้ลูกถือว่าค่อนข้างแน่นแล้ว แต่ห้องสมุดยังมีช่องว่างอีกเยอะ เพราะการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี หลังจากหนังสือวาง เพราะฉะนั้นที่เห็นอยู่เต็มร้านนี่ เข้าห้องสมุดจริงๆ ประมาณ 20% เท่านั้น"
"แล้วในธุรกิจหนังสือจะมีความไม่สมดุลอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าใครให้คนอื่นจัดจำหน่ายให้จะเป็นข้อด้อย เพราะหนังสือจะวางอยู่หน้าร้านไม่เกิน 6 เดือน ขณะที่ความต้องการของห้องสมุดจะเกิดขึ้นหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ก็ต้องมาตามหากัน"
สำหรับหนังสืออาเซียนที่ขายดี รุ่งโรจน์บอกว่า คือเล่มที่รวมทุกประเทศไว้ในเล่มเดียว
รุ่งโรจน์ยังว่า ในฐานะคนทำหนังสือ เขาว่าหนังสือเหล่านี้ไม่ว่าจะเล่มไหนก็มีประโยชน์ น่าอ่านทั้งนั้น
"เดี๋ยวเราจะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น ดังนั้น การเข้าใจคนอื่นมากขึ้นเราก็จะมีความสุข และเป็นผลดีกับตัวเราเอง"
บอกข่าวสักนิดว่า ในส่วนของ สนพ.มติชนก็กำลังมีโปรเจ็กต์ดีๆ เกี่ยวกับอาเซียน ทั้งหนังสือแนวศิลปวัฒนธรรมที่จะมาอธิบายความเป็นอาเซียนแต่ละประเทศผ่านงานประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่เขียนขึ้นโดยคณาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร แล้ว ยังพร้อมด้วยงานเซอร์ไพรส์บางอย่างให้ฮาร์ดคอร์อาเซียนได้อ่านกันแบบจุใจ
"โปรดติดตามอาการต่อไปของอาเซียนฟีเวอร์"
"อาเซียนฟีเวอร์" โรคฮิตในแวดวงหนังสือ
เดินร้านหนังสือช่วงนี้ ไม่ว่าจะหยุดอยู่ที่หมวดใด เป็นต้องได้เห็นหนังสือที่ว่าด้วย "ประชาคมอาเซียน" ที่มีกันอยู่มากมาย แถมหลายเล่มยังขึ้นอันดับขายดี จึงคาดว่ามีแนวโน้มที่จะครองตลาดอีกนาน และความนิยมจะคงอยู่จนกว่าไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างเต็มตัวนั่นล่ะ
และถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าหนังสืออาเซียนส่วนใหญ่ จะเทน้ำหนักไปยังหมวดเด็กและเยาวชน ซึ่งจะมาในรูปหนังสือการ์ตูน หรือมีรูปประกอบอ่านง่าย พร้อมแพกเกจน่ารัก มีตุ๊กตาอาเซียนสวยๆ มาช่วยดึงดูดใจคนเลือกซื้อ อาทิ "ท่องโลกอาเซียน", "อาเซียน 360 องศา We are Asian", "มารู้จักอาเซียนกันเถอะ" ฯลฯ รองลงมาก็จะเป็นหนังสือเชิงท่องเที่ยว เล่าประสบการณ์ ความรู้เชิงหลักการ ศิลปวัฒนธรรม อาทิ "อาเซียน รู้ไว้ได้เปรียบแน่" โดย "ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ", "วิถีไทยในเงาอาเซียน" โดย "ปิยมิตร ปัญญา" จาก สนพ.มติชน ที่นำผู้อ่านเปิดประตูความคิดสู่อาเซียน ผ่านมุมมองคมคายแสดง "จุดต่าง" และ "จุดร่วม" ในเส้นทางที่ทุกประเทศในเขตอาเซียนจะต้องสัมพันธ์กัน โดยปรากฏทั้งสายตาที่ "มองอาเซียน" เพื่อเจาะลึกเรื่องราวและสภาพปัญหาของประเทศเพื่อนบ้าน และ "เห็นไทย" นำเสนอบทวิเคราะห์ประเทศไทย สรุปรวมเรื่องราวปัญหาในบ้านที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ
"เป็นลักษณะที่เรียกว่าอาเซียนฟีเวอร์ก็น่าจะได้" "รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ" กก.ผจก.สำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ ที่สร้างหนังสือชุดขายดิบขายดีอย่าง "Hello อาเซียน" ซึ่งตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอาเซียนให้เด็กๆ ได้รู้มาตั้งแต่ช่วงแรกของการฟีเวอร์ และจนถึงวันนี้ก็มีหนังสือว่าด้วยอาเซียนออกมาถึง 20 กว่าปกแล้ว กล่าวด้วยรอยยิ้ม
คนเลือกซื้อส่วนใหญ่เขาว่านอกจากจะเป็นพ่อแม่ ยังมีบรรณารักษ์ห้องสมุด เพราะหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องนี้ ถือเป็นไฟต์บังคับที่ทุกห้องสมุดจำเป็นต้องมี
"เป็นเพราะรัฐบาลรณรงค์ให้คนสนใจเรื่องอาเซียนมากขึ้น แล้วเน้นไปที่โรงเรียนเลยว่าต้องเตรียมความพร้อมให้เด็ก"
ห้องสมุดจำนวนหลักหมื่นในประเทศ ซึ่งผูกติดกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวง จึงเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญที่ทุกสำนักพิมพ์จับตา
และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าหลายสำนักพิมพ์พากันจัดทำหนังสือภาพหรือการ์ตูนความรู้ที่จะดึงความสนใจจากเด็ก
"ตอนนี้คนทำหนังสืออะไรก็พยายามโยงเรื่องอาเซียนเข้าไปด้วย" รุ่งโรจน์บอก
ดูเผินๆ แล้วน่ากลัวว่าจะเกิดสภาวะหนังสืออาเซียนเฟ้อ แต่รุ่งโรจน์ยืนยันว่ายังมีช่องว่างทางการตลาดอยู่อีก
"ในกลุ่มที่ผู้ปกครองซื้อให้ลูกถือว่าค่อนข้างแน่นแล้ว แต่ห้องสมุดยังมีช่องว่างอีกเยอะ เพราะการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี หลังจากหนังสือวาง เพราะฉะนั้นที่เห็นอยู่เต็มร้านนี่ เข้าห้องสมุดจริงๆ ประมาณ 20% เท่านั้น"
"แล้วในธุรกิจหนังสือจะมีความไม่สมดุลอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าใครให้คนอื่นจัดจำหน่ายให้จะเป็นข้อด้อย เพราะหนังสือจะวางอยู่หน้าร้านไม่เกิน 6 เดือน ขณะที่ความต้องการของห้องสมุดจะเกิดขึ้นหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ก็ต้องมาตามหากัน"
สำหรับหนังสืออาเซียนที่ขายดี รุ่งโรจน์บอกว่า คือเล่มที่รวมทุกประเทศไว้ในเล่มเดียว
รุ่งโรจน์ยังว่า ในฐานะคนทำหนังสือ เขาว่าหนังสือเหล่านี้ไม่ว่าจะเล่มไหนก็มีประโยชน์ น่าอ่านทั้งนั้น
"เดี๋ยวเราจะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น ดังนั้น การเข้าใจคนอื่นมากขึ้นเราก็จะมีความสุข และเป็นผลดีกับตัวเราเอง"
บอกข่าวสักนิดว่า ในส่วนของ สนพ.มติชนก็กำลังมีโปรเจ็กต์ดีๆ เกี่ยวกับอาเซียน ทั้งหนังสือแนวศิลปวัฒนธรรมที่จะมาอธิบายความเป็นอาเซียนแต่ละประเทศผ่านงานประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่เขียนขึ้นโดยคณาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร แล้ว ยังพร้อมด้วยงานเซอร์ไพรส์บางอย่างให้ฮาร์ดคอร์อาเซียนได้อ่านกันแบบจุใจ
"โปรดติดตามอาการต่อไปของอาเซียนฟีเวอร์"