'หมากกะโหล่งโปงลาง'อาชีวะบนเส้นทางเสียงเพลง : โดย...นิรมล สถานเมือง
"ผมอยากจะหากิจกรรมให้เด็กๆ ได้ทำ เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือเกม ด้วยความชอบโปงลางมาตั้งแต่เด็กๆ และเมื่อผมชอบผมก็จะทุ่มเทใจลงไปกับสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคิดที่จะทำวงโปงลางขึ้นมา และพยายามให้เด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง เพราะตอนนี้การที่เขาได้เข้ามาช่วยงานในวง การที่มาฝึกซ้อมทุกวันก็ทำให้เขาเกิดความรับผิดชอบที่ดี หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น" อักษรศิลป์ แก้วมหาวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ กล่าว
ด้วยความที่อยากเห็นเด็กนักเรียนอาชีวะที่ใครหลายๆ คนมองว่าไม่สามารถเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นเด็กที่เรียนมาทางสายช่างฝีมือไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายดนตรี เมื่อมีโอกาสได้ย้ายมาเป็น ผอ.ที่วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ผอ.อักษรศิลป์ก็ก่อตั้งวงโปงลางขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หมากกะโหล่งโปงลาง" แม้วงโปงลางที่ จ.ศรีสะเกษ จะมีเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความชื่นชอบและรักที่จะทำบวกกับหน้าที่ของการเป็นครู จึงอยากที่จะหากิจกรรมให้เด็กๆได้ทำร่วมกัน โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เด็กๆ ได้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง จึงซื้อเครื่องดนตรีโปงลางและว่าจ้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านโปงลางมาช่วยสอนวิธีการเล่นให้กับเด็กๆ
"ช่วงแรก ผอ.ยอมรับว่ามีความยากลำบากในการที่จะดึงให้เด็กเข้ามาเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เพราะเด็กบางคนยังเกิดความรู้สึกเขินอายอยู่บ้าง จึงต้องนำเอาเครื่องดนตรีสากลเข้ามาเป็นส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังคงกลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านไว้ให้มากที่สุด เมื่อเด็กเกิดความสนิทใจก็จะนำเครื่องดนตรีสากลออก เพราะเกรงว่ากลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านจะถูกกลืนหายไป และสนุกในที่สุด และค่อยๆเป็นวงอย่างสมบูรณ์" ผอ.อักษรศิลป์ กล่าว
องค์ประกอบของวงหมากกะโหล่งโปงลาง มีเครื่องดนตรีที่ได้แก่ โปงลาง พิณ แคน กลองยาวอีสาน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ หมากกะโหล่ง หรือกั๊บแก๊บ ไหซอง สองอย่างหลังนี้จะมีไว้เพื่อเป็นตัวชูโรง แต่ความจริงจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักๆของวงโปงลางทั่วไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากจะมีเพียงแค่นาฏศิลป์ก็จะทำให้เกิดความซ้ำซาก จำเจ คนดูก็จะรู้สึกเบื่อได้ง่าย จึงพัฒนาให้วงโปงลางที่นอกจากจะมีเพียงแค่ดนตรี ยังมีในส่วนของแดนเซอร์ นักร้องขึ้นมาเพิ่มเติม ลักษณะคล้ายกับวงโปงลางชื่อดังอย่าง โปงลางสะออน รวมทั้งยังมีการเพิ่มเติมในส่วนของตัวตลกขึ้นมาเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
สมทบ ทรัพย์ศาสตร์ นักเรียนชั้น ปวช.ปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ตัวแทนสมาชิกจากวงหมากกะโหล่งโปงลาง เล่าถึงเหตุผลในการเข้าร่วมกับวงโปงลาง เพราะความชื่นชอบ และถือเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อมีเวลาว่างจากการเรียนก็จะมาซ้อมโปงลางกับเพื่อนๆ และรุ่นพี่ในวงเสมอ ขณะนี้เข้าร่วมได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว ทำให้พ่อแม่รู้สึกดีใจและสบายใจที่เราหันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
หลายๆ ครั้งเราจะเห็นวงโปงลาง วงนาฏศิลป์ส่วนใหญ่จะมาจากนักเรียนที่เรียนทางด้านสายสามัญศึกษา แต่ทางสายอาชีวะจะพบน้อยมาก ความจริงแล้วก่อนที่จะมาเป็นเด็กอาชีวะทุกคนจะต้องผ่านการเรียนการสอนในสายสามัญมาก่อน และหลายๆ คนก็มีพื้นฐานในด้านการเล่นดนตรีพื้นบ้านมาบ้างไม่มากก็น้อย เพียงแต่ขาดการต่อยอด ทำให้เขาหลงลืมและขาดโอกาสที่จะได้แสดงออกในส่วนนี้ไป
คมชัดลึก
เยี่ยม
เพจ "ข่าวดี
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5/125262077559921
"หมากกะโหล่งโปงลาง" โปงลางเทคนิคศรีสะเกษ
"ผมอยากจะหากิจกรรมให้เด็กๆ ได้ทำ เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือเกม ด้วยความชอบโปงลางมาตั้งแต่เด็กๆ และเมื่อผมชอบผมก็จะทุ่มเทใจลงไปกับสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคิดที่จะทำวงโปงลางขึ้นมา และพยายามให้เด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง เพราะตอนนี้การที่เขาได้เข้ามาช่วยงานในวง การที่มาฝึกซ้อมทุกวันก็ทำให้เขาเกิดความรับผิดชอบที่ดี หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น" อักษรศิลป์ แก้วมหาวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ กล่าว
ด้วยความที่อยากเห็นเด็กนักเรียนอาชีวะที่ใครหลายๆ คนมองว่าไม่สามารถเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นเด็กที่เรียนมาทางสายช่างฝีมือไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายดนตรี เมื่อมีโอกาสได้ย้ายมาเป็น ผอ.ที่วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ผอ.อักษรศิลป์ก็ก่อตั้งวงโปงลางขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หมากกะโหล่งโปงลาง" แม้วงโปงลางที่ จ.ศรีสะเกษ จะมีเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความชื่นชอบและรักที่จะทำบวกกับหน้าที่ของการเป็นครู จึงอยากที่จะหากิจกรรมให้เด็กๆได้ทำร่วมกัน โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เด็กๆ ได้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง จึงซื้อเครื่องดนตรีโปงลางและว่าจ้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านโปงลางมาช่วยสอนวิธีการเล่นให้กับเด็กๆ
"ช่วงแรก ผอ.ยอมรับว่ามีความยากลำบากในการที่จะดึงให้เด็กเข้ามาเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เพราะเด็กบางคนยังเกิดความรู้สึกเขินอายอยู่บ้าง จึงต้องนำเอาเครื่องดนตรีสากลเข้ามาเป็นส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังคงกลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านไว้ให้มากที่สุด เมื่อเด็กเกิดความสนิทใจก็จะนำเครื่องดนตรีสากลออก เพราะเกรงว่ากลิ่นอายของดนตรีพื้นบ้านจะถูกกลืนหายไป และสนุกในที่สุด และค่อยๆเป็นวงอย่างสมบูรณ์" ผอ.อักษรศิลป์ กล่าว
องค์ประกอบของวงหมากกะโหล่งโปงลาง มีเครื่องดนตรีที่ได้แก่ โปงลาง พิณ แคน กลองยาวอีสาน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ หมากกะโหล่ง หรือกั๊บแก๊บ ไหซอง สองอย่างหลังนี้จะมีไว้เพื่อเป็นตัวชูโรง แต่ความจริงจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักๆของวงโปงลางทั่วไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากจะมีเพียงแค่นาฏศิลป์ก็จะทำให้เกิดความซ้ำซาก จำเจ คนดูก็จะรู้สึกเบื่อได้ง่าย จึงพัฒนาให้วงโปงลางที่นอกจากจะมีเพียงแค่ดนตรี ยังมีในส่วนของแดนเซอร์ นักร้องขึ้นมาเพิ่มเติม ลักษณะคล้ายกับวงโปงลางชื่อดังอย่าง โปงลางสะออน รวมทั้งยังมีการเพิ่มเติมในส่วนของตัวตลกขึ้นมาเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
สมทบ ทรัพย์ศาสตร์ นักเรียนชั้น ปวช.ปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ตัวแทนสมาชิกจากวงหมากกะโหล่งโปงลาง เล่าถึงเหตุผลในการเข้าร่วมกับวงโปงลาง เพราะความชื่นชอบ และถือเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อมีเวลาว่างจากการเรียนก็จะมาซ้อมโปงลางกับเพื่อนๆ และรุ่นพี่ในวงเสมอ ขณะนี้เข้าร่วมได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว ทำให้พ่อแม่รู้สึกดีใจและสบายใจที่เราหันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
หลายๆ ครั้งเราจะเห็นวงโปงลาง วงนาฏศิลป์ส่วนใหญ่จะมาจากนักเรียนที่เรียนทางด้านสายสามัญศึกษา แต่ทางสายอาชีวะจะพบน้อยมาก ความจริงแล้วก่อนที่จะมาเป็นเด็กอาชีวะทุกคนจะต้องผ่านการเรียนการสอนในสายสามัญมาก่อน และหลายๆ คนก็มีพื้นฐานในด้านการเล่นดนตรีพื้นบ้านมาบ้างไม่มากก็น้อย เพียงแต่ขาดการต่อยอด ทำให้เขาหลงลืมและขาดโอกาสที่จะได้แสดงออกในส่วนนี้ไป
คมชัดลึก
เยี่ยม
เพจ "ข่าวดี
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5/125262077559921