ทำไมงบประมาณสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพุ่งกระฉูดหกหมื่นล้าน จนถูกสั่งลดยาข้าราชการ..ข่าวนี้มีคำตอบ

โรงพยาบาลคิดค่ายาตัวเดียวกัน ของผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยข้าราชการต่างกันราวฟ้ากับเหว !!!

แฉขบวนการหาประโยชน์จากคนไข้ “ข้าราชการ” ถูกเรียกเก็บค่ายาสูงเวอร์!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กุมภาพันธ์ 2556 18:47 น.    



       แฉขบวนการสร้างราคายาของ รพ.รัฐ พบ 3 กลุ่ม “ผู้บริหาร-เภสัชกร-บริษัทยา” กุมชะตาผู้ป่วย ระบุ “ต้นทุน-ราคาขาย” แต่ละสิทธิ 2 มาตรฐาน คิดกำไรเท่าตัว เก็บสิทธิราชการเต็มอัตรา จ่ายสูงเวอร์! ขณะเดียวกันมีการลักลอบขนยา รพ.รัฐสู่ร้านยาขนาดใหญ่ในพื้นที่สร้างผลประโยชน์กันทั่วหน้า จับตาวงการแพทย์เตรียมปรับราคาตามโรงพยาบาลรัฐ ชี้คลินิกจ่อขึ้นราคาค่ารักษา 10-15% ส่วนโรงพยาบาลเอกชน แนะ “คนไข้” เก็บใบเสร็จไว้ตรวจสอบเพราะอาจซ่อนมาในรูปต่างๆ
       
       กระแสความไม่เท่าเทียม และความไม่โปร่งใสในการกำหนดราคาจำหน่ายยาของโรงพยาบาลรัฐในแต่ละแห่ง ก่อให้เกิดข้อกังขาถึงความไม่ชัดเจน และหลักเกณฑ์การคิดราคา โดยเฉพาะราคาขายยาให้คนไข้ในกลับบ้าน-เบิกได้ หรือสิทธิข้าราชการที่พบว่ากำหนดราคายาหลายตัวสูงเป็นเท่าตัว เหลื่อมล้ำกับผู้ป่วยประเภทอื่นๆ มาก ซึ่งข้าราชการหลายท่านเห็นถึงความผิดปกติ และทราบดีว่า “จ่ายแพง” กว่าผู้ป่วยทั่วๆ ไป แต่ก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญ หรือเรียกร้องอะไร เพราะเห็นว่ายังอยู่ในอัตราที่ตนเบิกได้
       
       ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในวงการสาธารณสุข จึงส่งผลเรื้อรังถึงการจำหน่ายยาทั้งระบบ
       
       และใครบ้างมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการสร้างราคายา!
       

       3 กลุ่มกำหนดชะตาราคายา
       
       
       แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การกำหนดราคาขายยาของโรงพยาบาลรัฐให้กับประชาชนในแต่ละกลุ่ม และแต่ละแห่งจะมีอัตราการคิดราคายาที่ไม่เท่ากัน ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถกำหนดราคายาได้เอง โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจในการดูแลระบบยา เพียง 3 กลุ่มที่ทราบถึงข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงของยาในแต่ละประเภท ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารในโรงพยาบาล มีอำนาจในการตัดสินใจ 2. เภสัชกร ผู้ที่ติดต่อกับตัวแทนบริษัทยา และ 3. บริษัทยา หรือตัวแทน (รีเทลยา) ในการเข้าเจรจาตกลง
       
       ขณะที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถทราบได้เลยว่ายาที่ได้รับตัวเดียวกัน แต่คนละสิทธิในการรักษาจะมีราคาต่างกันมาก นอกเสียจากจะยื่นเรื่องสอบถามกับทางโรงพยาบาลนั้นๆ
       
       “ส่วนต่างของราคายาที่จ่ายให้สิทธิข้าราชการในอัตราสูง ซึ่งมักกำหนดราคาขายให้ชนเพดานที่สิทธิสามารถเบิกได้ โดยบางโรงพยาบาลใช้ข้ออ้างว่านำมาใช้ทดแทนสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า แม้จำหน่ายให้ผู้ป่วยทั่วไปก็ได้บวกค่ายาเอาไว้แล้วเหมือนกัน”
       

       ข้าราชการจ่าย “ค่ายา” สูงเวอร์!
       
       อย่างไรก็ดี มีโรงพยาบาลของรัฐจำนวนไม่น้อยที่จ่ายยาให้ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการ โดยอิงการกำหนดราคาในอัตราที่เบิกสูงที่สุดเป็นเกณฑ์ มากกว่าที่จะกำหนดด้วยมาตรฐานเดียวกันกับผู้ป่วยปกติทั่วไป โดยยาตัวเดียวกัน แต่กลับขายในราคาที่ต่างกัน ซึ่งโรงพยาบาลรัฐจะแบ่งบัญชีการเบิกจ่ายยาเป็นราคาขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) ทั่วไป, ราคาขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) เบิกได้, ราคาขายคนไข้ในกลับบ้าน, คนไข้ในกลับบ้าน เบิกได้ หรือสิทธิราชการ

       ยกตัวอย่างการจ่ายยาของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใน กทม. กรณีการใช้ยาฉีด(ดิบ) ALBUMIN 20% 50 ml ราคาทุนอยู่ที่ 688 บาท ขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) ราคา 802 บาท, ราคาขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) เบิกได้ ขายราคา 802 บาท, ราคาขายคนไข้ในกลับบ้านอยู่ที่ 802 บาท และราคาขายคนไข้ในกลับบ้าน เบิกได้ หรือสิทธิราชการราคา 1,473บาท เนื่องจากสิทธิราชการสามารถเบิกได้สูงสุด 900 บาท
       
       สำหรับ HINGE SHORT L/XL ใส่หัวเข่า มีอะลูมิเนียมแข็งแรง ราคาทุนอยู่ที่ 1,264 บาท ขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) ราคา 1,451 บาท, ราคาขายงานผู้ป่วยนอก (Out patient Department หรือ OPD) เบิกได้ ขายราคา 1,451 บาท, ราคาขายคนไข้ในกลับบ้านอยู่ที่ 1,451 บาท และราคาขายคนไข้ในกลับบ้าน เบิกได้ หรือสิทธิราชการราคา 5,000 บาท เนื่องจากสิทธิราชการสามารถเบิกได้สูงสุด 5,000 บาท ....



อ่านต่อที่นี่เลยจ้ะ http://astv.mobi/A4pmqkb
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่