จากข่าวน้องพลอยขายเฟอร์บี้ มีการสั่งซื้อสินค้านับพันตัว เป็นเงินหลายล้าน แล้วสุดท้ายไม่ได้สินค้า ผู้ค้าหายตัวไป ตามตัวไม่ได้ ตามเงินไม่ได้
สารพัดปัญหาของการสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ เวบไซต์ โซเชียลมีเดีย มีการเจรจาผ่านอีเมล์ มือถือ หรือการติดต่อต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายออนไลน์
สิ่งที่อยากจะบอกให้สังคมได้รับทราบ และสังคมควรจะได้รู้ว่า
-- การเปิดเพจโซเชียลมีเดีย ด้วยการใช้อีเมล์ที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลอะไรก้อได้ ซึ่งมันไม่มีอะไรที่ยืนยันความมีตัวตน ความเป็นเจ้าของในทาง กม.เลย
-- ร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ที่เปิดโดยไม่มีการจดทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ถือว่าเป็นร้านค้าที่ไม่รองรับด้วย กม.
-- อีเมล์ ที่ให้บริการฟรี ต่าง ๆ เป็นอีเมล์ที่ไม่สามารถจะนำมาเป็นหลักฐาน และสืบเพื่อใช้ในการติดตามหนี้ หรือตัวบุคคลได้ เพราะ ไม่รองรับด้วย กม. เพราะมันถูกลงทะเบียนด้วยข้อมูลอะไรก้อได้ และให้บริการจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่จะอ้างว่า เราไม่สามารถขอให้ ฮอตเมล์มาเป็นพยาน ขึ้นศาลในไทยได้
---- เวบไซต์ ที่จดทะเบียน แบบ co.th และใช้อีเมล์ ที่นามสกุลเป็นชื่อโดเมน และจดทะเบียนกับกรมพาณิชย์ เท่านั้น ถึงจะเป็นร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากกรมพาณิชย์ และรองรับด้วย กม. ซึ่ง การจดทะเบียนต้องมีการยื่นเอกสารความเป็นเจ้าของชัดเจน อีเมล์ที่ใช้เป็นระบบภายใน ยากที่จะแฮกอีเมล์ได้ และยังสามารถตรวจสอบ สืบสวน และดำเนินการทาง กม. ได้ เอาผิดได้ชัดเจน ถ้ามีคดีแล้วโอกาสที่จะชนะมีสูง
--- การใช้อีเมล์ฟรี แพลฟอร์มบนโซเชียลมีเดียระดับโลกแบบฟรี ๆ นั้น ถามว่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลนั้น ๆ เป็นข้อมูลจริง
--- การค้าที่เปิดขายด้วยบริการฟรี ๆ เหล่านั้น อยู่นอกราชอาณาจักรไทย ย่อมใช้ กม. ไทยในการบังคับคดี ยากมาก ความจริงคือ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
--- อีเมล์ฟรี ๆ เหล่านั้น แฮกอีเมล์ได้แสนจะง่ายดาย าีสินตามเวบไซต์ เด็ก ป. 4 ก้อแฮกได้ เสรีมาก ๆ ที่ใครจะปล่อยเครื่องมือ ใครจะเข้ามาแสบยอดขายสวมรอยรับออเดอร์ โดยที่คุณจะไม่มีทางรู้ได้เลย ง่ายมาก ๆ ไม่เชื่อถามอากู๋ได้เลย
--- โซเชียลมีเดียนั้น ๆ ถูกเปิดใช้งานด้วยอีเมล์ อะไรก้อได้ และใส่ข้อมูลอะไรก้อได้ มันจะไ้ม่มีอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น ที่จะสามารถยืนยันว่า ใครเป็นเจ้าของตัวจริง นอกจากนั้น อีเมล์ฟรี ๆ ที่แฮกได้ง่าย ๆ ก้อสามารถเข้ามาใช้โซเชียลร้านค้าได้แบบง่าย ๆ โดยการสวมรอยง่าย ๆ และลบร่องรอยง่าย ๆ โดยที่เจ้าของร้านไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป แถม ไอ้การจะไปตามว่ามันผู้ใดทำยิ่งเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เลย
--- คุณทราบหรือไม่ว่า ระบบจ่ายเงินที่ว่าปลอดภัยนัก ถูกลงทะเบียนด้วยอีเมล์อะไรก้อได้ ซึ่งใช้ข้อมูลปลอม ๆ ของใครก้อได้ ผูกกับ บัญชีแบงค์ แค่สามารถหักเงินได้จริง ทั้ง ๆ อีเมล์ ฟรี ๆ เหล่านั้น ให้บริการอยู่นอกราชอาณาจักรไทย และไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
-- คุณทราบหรือไม่ว่า ประเทศเราใส่ใจกับการปิดเวบไซต์ หมิ่น มากมายมหาศาล แต่กลับปล่อยให้มีการสอนการแฮกอีเมล์ สอนการดักไวไฟ และปช่อยเครื่องมือที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลอย่างเสรีมากๆๆๆ จนขนาดที่ว่า หาของได้ง่าย ๆ มากมายไม่รู้กี่เวบไซต์
--- คุณทราบหรือไม่ว่า ปอท. หรือกองปราบปราม อาญชากรรมทางเทคโนโลยีนั้น กลับมา พระราชกฎก สักฉบับกระมังที่ระบุว่า ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบในการทำคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโน แต่เรื่องจะถูกส่งกลับไปให้ท้องที่ทำคดีเอง โดยที่ เจ้าหน้าที่สน.บางคน ยังปิดคอมด้วยปุ่ม เปิดเครื่องอยู่เลย
ในฐานะที่มีประสบการณ์ลึกลับ และซับซ้อน อยากจะบอกท่านทั้งหลายจริง ๆ ว่า บ้านเรานั้น ยังมีอะไรมากมายที่ยังไม่รองรับด้วย กม. เลย ต่อให้เขารับแจ้งความดำเนินคดี ต้องมาสู้ด้วยหลักฐานทางเทคโนโลยีนั้น ยิ่งแทบจะพิสูจน์ได้ยากมาก ส่วน ไอซีทีนั้น อย่าได้หวัง เขาตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งยากจะอธิบาย แต่สุดท้ายแล้ว ถ้าจะซื้อขายออนไลน์ แล้วต้องมีการโอนเงินจำนวนมากมานมหาศาลเหล่านั้น ไม่สมควรอย่างเด็ดขาดทีจะทำธุรกรรมกับร้านค้าที่เปิดด้วยแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบฟรี ๆ ต้องจดทะเบียนกับกรมพาณิชย์เท่านั้น หรือต้องมีการติดตามว่ามีการจดทะเบียนร้านค้าหรือไม่ ควรจะไปทำธุรกรรมที่มีความชัดเจน แน่ใจจริง ๆนะจ๊ะ
เคยมีเคสที่คู่กรณีเป็นคู่ค้าจากประเทศใหญ่ ๆ ประเทศนึง ทำการซื้อขายผ่านอีเมล์ ร่วมครึ่งล้านบาท เสร็จแล้วปิดเพจหนีไปเลย แม้ทางตำรวจประเทศนั้นจะช่วยเหือ ยังไงซะ โอกาสที่ตะได้รู้ว่าเขาเป็นใคร จะดำเนินคดี ติดตามเงินนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย จขกท. ต้องบอกให้ทำใจสถานเดียว เริ่มใหม่ง่ายกว่าพลิกแผ่นดินล่า
บางเคส ถูกขโมยโดเมนไป แถมจดทะเบียนถูกต้องด้วย หุ้นส่วนเปลี่ยนชื่อเจ้าของไปหน้าด้าน ๆ ติด seo อันดับ 1 ยอดขายหลายแสนอยู่ สืบสวนก้อน่าจะชัดเจน แต่คุณลุงเจ้าของยังต้องถอดใจเลย เพราะการสู่คดีในเรื่องดิจิตอล ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และทำสำนวนให้สั่งฟ้อง เหนื่อยยากมาก เรื่องเกี่ยวกับค้าออนไชน์ มีแต่คนเบือนหน้าหนี ไม่มีใครอยากรับ รับแล้วดองกันเป็นปี ๆ
ก่อนคุณจะซื้อขายสินค้าด้วยยอด เงินที่สูงมาก ๆ นั้น คุณต้องพร้อมที่จะเสี่ยง คุณต้องทราบว่า การสู้คดี ยากและมีความวุ่นวายมากกว่าหาเงินก้อนนั้นใหม่ง่ายกว่า และคุณต้องเข้าใจว่า บ้านเราบุคคลากรมีความรู้ที่จะช่วยเหลือเรา มีอยู่น้อย การไลล่าสู้คดีนั้น อาจไม่สำเร็จ อาจไม่ได้รับความยุติธรรมได้ ขอให้ตระหนักว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางเทคโลโลยีน้อยมากๆ คนไทยแทบจะไม่มีความรู้เรื่อง อาชญากรรมทางเทคโนโลยีเลย เราเริ่มมีการทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น เรามีโอกาสมาก ที่จะถูกหลอก ถูกโจรกรรม ถูกขโมย ปลอมแปลง สวมรอย แอบอ้าง ได้อย่างง่ายดาย การเจาะระบบ การแฮกเวบไซต์ ติดตามยอดขายของเรา และขโมยลูกค้าของเราไป และที่น่าเศร้าคือ เราอาจจะไม่มีทางได้รู้เลยว่า เรากำลังถูกขโมยอยู่ ขอให้คุณ เริ่มใส่ใจศึกษา และเตรียมพร้อมรับมือกับมาโจมตี การโจรกรรม การคุกคาม จากภัย นอกประเทศ และเชื่อเถอะว่ามันใกล้ตัวมาก รอแค่เวลาเท่านั้น
กรณีเฟอร์บี้ กับธุรกิจค้าขายออนไลน์ อยากจะขอฝากไว้เป็นความรู้ก่อนตัดสินใจซื้อของออนไลน์
สารพัดปัญหาของการสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ เวบไซต์ โซเชียลมีเดีย มีการเจรจาผ่านอีเมล์ มือถือ หรือการติดต่อต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายออนไลน์
สิ่งที่อยากจะบอกให้สังคมได้รับทราบ และสังคมควรจะได้รู้ว่า
-- การเปิดเพจโซเชียลมีเดีย ด้วยการใช้อีเมล์ที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลอะไรก้อได้ ซึ่งมันไม่มีอะไรที่ยืนยันความมีตัวตน ความเป็นเจ้าของในทาง กม.เลย
-- ร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ที่เปิดโดยไม่มีการจดทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ถือว่าเป็นร้านค้าที่ไม่รองรับด้วย กม.
-- อีเมล์ ที่ให้บริการฟรี ต่าง ๆ เป็นอีเมล์ที่ไม่สามารถจะนำมาเป็นหลักฐาน และสืบเพื่อใช้ในการติดตามหนี้ หรือตัวบุคคลได้ เพราะ ไม่รองรับด้วย กม. เพราะมันถูกลงทะเบียนด้วยข้อมูลอะไรก้อได้ และให้บริการจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่จะอ้างว่า เราไม่สามารถขอให้ ฮอตเมล์มาเป็นพยาน ขึ้นศาลในไทยได้
---- เวบไซต์ ที่จดทะเบียน แบบ co.th และใช้อีเมล์ ที่นามสกุลเป็นชื่อโดเมน และจดทะเบียนกับกรมพาณิชย์ เท่านั้น ถึงจะเป็นร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากกรมพาณิชย์ และรองรับด้วย กม. ซึ่ง การจดทะเบียนต้องมีการยื่นเอกสารความเป็นเจ้าของชัดเจน อีเมล์ที่ใช้เป็นระบบภายใน ยากที่จะแฮกอีเมล์ได้ และยังสามารถตรวจสอบ สืบสวน และดำเนินการทาง กม. ได้ เอาผิดได้ชัดเจน ถ้ามีคดีแล้วโอกาสที่จะชนะมีสูง
--- การใช้อีเมล์ฟรี แพลฟอร์มบนโซเชียลมีเดียระดับโลกแบบฟรี ๆ นั้น ถามว่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลนั้น ๆ เป็นข้อมูลจริง
--- การค้าที่เปิดขายด้วยบริการฟรี ๆ เหล่านั้น อยู่นอกราชอาณาจักรไทย ย่อมใช้ กม. ไทยในการบังคับคดี ยากมาก ความจริงคือ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
--- อีเมล์ฟรี ๆ เหล่านั้น แฮกอีเมล์ได้แสนจะง่ายดาย าีสินตามเวบไซต์ เด็ก ป. 4 ก้อแฮกได้ เสรีมาก ๆ ที่ใครจะปล่อยเครื่องมือ ใครจะเข้ามาแสบยอดขายสวมรอยรับออเดอร์ โดยที่คุณจะไม่มีทางรู้ได้เลย ง่ายมาก ๆ ไม่เชื่อถามอากู๋ได้เลย
--- โซเชียลมีเดียนั้น ๆ ถูกเปิดใช้งานด้วยอีเมล์ อะไรก้อได้ และใส่ข้อมูลอะไรก้อได้ มันจะไ้ม่มีอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น ที่จะสามารถยืนยันว่า ใครเป็นเจ้าของตัวจริง นอกจากนั้น อีเมล์ฟรี ๆ ที่แฮกได้ง่าย ๆ ก้อสามารถเข้ามาใช้โซเชียลร้านค้าได้แบบง่าย ๆ โดยการสวมรอยง่าย ๆ และลบร่องรอยง่าย ๆ โดยที่เจ้าของร้านไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป แถม ไอ้การจะไปตามว่ามันผู้ใดทำยิ่งเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เลย
--- คุณทราบหรือไม่ว่า ระบบจ่ายเงินที่ว่าปลอดภัยนัก ถูกลงทะเบียนด้วยอีเมล์อะไรก้อได้ ซึ่งใช้ข้อมูลปลอม ๆ ของใครก้อได้ ผูกกับ บัญชีแบงค์ แค่สามารถหักเงินได้จริง ทั้ง ๆ อีเมล์ ฟรี ๆ เหล่านั้น ให้บริการอยู่นอกราชอาณาจักรไทย และไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
-- คุณทราบหรือไม่ว่า ประเทศเราใส่ใจกับการปิดเวบไซต์ หมิ่น มากมายมหาศาล แต่กลับปล่อยให้มีการสอนการแฮกอีเมล์ สอนการดักไวไฟ และปช่อยเครื่องมือที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลอย่างเสรีมากๆๆๆ จนขนาดที่ว่า หาของได้ง่าย ๆ มากมายไม่รู้กี่เวบไซต์
--- คุณทราบหรือไม่ว่า ปอท. หรือกองปราบปราม อาญชากรรมทางเทคโนโลยีนั้น กลับมา พระราชกฎก สักฉบับกระมังที่ระบุว่า ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบในการทำคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโน แต่เรื่องจะถูกส่งกลับไปให้ท้องที่ทำคดีเอง โดยที่ เจ้าหน้าที่สน.บางคน ยังปิดคอมด้วยปุ่ม เปิดเครื่องอยู่เลย
ในฐานะที่มีประสบการณ์ลึกลับ และซับซ้อน อยากจะบอกท่านทั้งหลายจริง ๆ ว่า บ้านเรานั้น ยังมีอะไรมากมายที่ยังไม่รองรับด้วย กม. เลย ต่อให้เขารับแจ้งความดำเนินคดี ต้องมาสู้ด้วยหลักฐานทางเทคโนโลยีนั้น ยิ่งแทบจะพิสูจน์ได้ยากมาก ส่วน ไอซีทีนั้น อย่าได้หวัง เขาตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งยากจะอธิบาย แต่สุดท้ายแล้ว ถ้าจะซื้อขายออนไลน์ แล้วต้องมีการโอนเงินจำนวนมากมานมหาศาลเหล่านั้น ไม่สมควรอย่างเด็ดขาดทีจะทำธุรกรรมกับร้านค้าที่เปิดด้วยแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบฟรี ๆ ต้องจดทะเบียนกับกรมพาณิชย์เท่านั้น หรือต้องมีการติดตามว่ามีการจดทะเบียนร้านค้าหรือไม่ ควรจะไปทำธุรกรรมที่มีความชัดเจน แน่ใจจริง ๆนะจ๊ะ
เคยมีเคสที่คู่กรณีเป็นคู่ค้าจากประเทศใหญ่ ๆ ประเทศนึง ทำการซื้อขายผ่านอีเมล์ ร่วมครึ่งล้านบาท เสร็จแล้วปิดเพจหนีไปเลย แม้ทางตำรวจประเทศนั้นจะช่วยเหือ ยังไงซะ โอกาสที่ตะได้รู้ว่าเขาเป็นใคร จะดำเนินคดี ติดตามเงินนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย จขกท. ต้องบอกให้ทำใจสถานเดียว เริ่มใหม่ง่ายกว่าพลิกแผ่นดินล่า
บางเคส ถูกขโมยโดเมนไป แถมจดทะเบียนถูกต้องด้วย หุ้นส่วนเปลี่ยนชื่อเจ้าของไปหน้าด้าน ๆ ติด seo อันดับ 1 ยอดขายหลายแสนอยู่ สืบสวนก้อน่าจะชัดเจน แต่คุณลุงเจ้าของยังต้องถอดใจเลย เพราะการสู่คดีในเรื่องดิจิตอล ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และทำสำนวนให้สั่งฟ้อง เหนื่อยยากมาก เรื่องเกี่ยวกับค้าออนไชน์ มีแต่คนเบือนหน้าหนี ไม่มีใครอยากรับ รับแล้วดองกันเป็นปี ๆ
ก่อนคุณจะซื้อขายสินค้าด้วยยอด เงินที่สูงมาก ๆ นั้น คุณต้องพร้อมที่จะเสี่ยง คุณต้องทราบว่า การสู้คดี ยากและมีความวุ่นวายมากกว่าหาเงินก้อนนั้นใหม่ง่ายกว่า และคุณต้องเข้าใจว่า บ้านเราบุคคลากรมีความรู้ที่จะช่วยเหลือเรา มีอยู่น้อย การไลล่าสู้คดีนั้น อาจไม่สำเร็จ อาจไม่ได้รับความยุติธรรมได้ ขอให้ตระหนักว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางเทคโลโลยีน้อยมากๆ คนไทยแทบจะไม่มีความรู้เรื่อง อาชญากรรมทางเทคโนโลยีเลย เราเริ่มมีการทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น เรามีโอกาสมาก ที่จะถูกหลอก ถูกโจรกรรม ถูกขโมย ปลอมแปลง สวมรอย แอบอ้าง ได้อย่างง่ายดาย การเจาะระบบ การแฮกเวบไซต์ ติดตามยอดขายของเรา และขโมยลูกค้าของเราไป และที่น่าเศร้าคือ เราอาจจะไม่มีทางได้รู้เลยว่า เรากำลังถูกขโมยอยู่ ขอให้คุณ เริ่มใส่ใจศึกษา และเตรียมพร้อมรับมือกับมาโจมตี การโจรกรรม การคุกคาม จากภัย นอกประเทศ และเชื่อเถอะว่ามันใกล้ตัวมาก รอแค่เวลาเท่านั้น