นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์สำหรับปี 2556 ว่า บริษัทจะมุ่งเน้นการเพิ่มความถี่เที่ยวบินแทนการเพิ่มเส้นทางบินใหม่ จากปัจจุบันบินไป-กลับ 174 เที่ยวบินต่อวัน ใน 3 ตลาดหลัก ได้แก่ 1.เส้นทางหลักที่ได้รับความนิยมในประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดหรือมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 50% ได้แก่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงใหม่ รวมถึงกระบี่ที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์เฉลี่ยตลาดในประเทศอยู่ที่ 37% โดยสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์สูงกว่า 40% ส่วนเป้าหมายระยะยาวภายใน 3 ปีนับจากนี้ จะดันมาร์เก็ตแชร์ทุกเส้นทางบินในประเทศ รวมเส้นทางบินเชียงราย อุดรธานี อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส ให้สูงกว่า 50%
ตลาดรองลงมาคือ 2.เส้นทางบินเข้าอินโดจีน หลังจากเปิดเส้นทางใหม่ และเพิ่มความถี่บินเข้าโฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม) รวมถึงมัณฑะเลย์และย่างกุ้งของพม่า เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ซึ่งนับว่าไทยมีจุดยุทธศาสตร์เรื่องทำเลที่ตั้ง โดยเชื่อว่าผู้โดยสารกว่า 50% ต้องมาต่อเครื่องที่กรุงเทพฯเพื่อเดินทางเข้าเมืองอื่น ๆ ในอินโดจีน และ 3.เส้นทางบินตรงเข้าจีน
ปีนี้เราจะเพิ่มความถี่ให้มากกว่า 1 เที่ยวบินต่อวัน ในเส้นทางไปเซินเจิน กว่างโจว ฉงชิ่ง อู่ฮั่น และซีอาน เพื่อขนนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีกำลังซื้อสูง และเที่ยวเชื่อมโยงจากไทยไปเดสติเนชั่นอื่น ๆ ในอาเซียน
สำหรับการเพิ่มเส้นทางบินใหม่นั้นจะลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเพิ่ม 4 เส้นทางบิน ได้แก่ เดสติเนชั่นในจีน 2 เมือง โดยเส้นทางที่กำลังศึกษาอยู่คือคุนหมิง และหนานหนิง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาสที่ 2-3, เดสติเนชั่นในกลุ่มประเทศอินโดจีน 1 เส้นทาง และอีก 1 เส้นทางไปเนปาล หรือภูฏาน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าไทยแอร์เอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ต้องการเดินทางไปเดสติเนชั่นใหม่ ๆ น่าดึงดูดใจ
"เป้าหมายของไทยแอร์เอเชียคือการดันมาร์เก็ตแชร์ทุกเส้นทางเติบโต 15-20% จากปัจจุบันเฉลี่ยมากกว่า 35% ด้วยการเพิ่มปริมาณที่นั่งจากแผนทยอยรับมอบเครื่องบินในปีนี้จำนวน 7 ลำ แบ่งเป็นซื้อเอง 4 ลำ และเช่า 3 ลำ ทำให้สิ้นปีนี้ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินเพิ่มเป็น 34 ลำ จากปีที่แล้วที่มี 27 ลำ โดยสัดส่วนปริมาณที่นั่งมากกว่า 50% ของเครื่องบินที่รับในปีนี้ จะเป็นของเส้นทางบินในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นของเส้นทางอินโดจีนและเมืองจีน"
สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2555 จะเติบโต 2 หลัก ทั้งในแง่รายได้และจำนวนผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีรายได้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท จากที่ผ่านมาเราขยายตัวมากกว่า 20% ต่อปี โดยจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ ตั้งเป้าที่ 10 ล้านคน เติบโตจากปีที่แล้วซึ่งมี 8.3 ล้านคน ส่วนโหลดแฟ็กเตอร์ คาดอยู่ที่ 82% ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยปัจจัยที่หนุนให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นคือแนวโน้มการเติบโตของภาคท่องเที่ยวในเอเชีย-แปซิฟิกที่น่าจะโตเกือบ 20% ทั้งปริมาณการสั่งซื้อและส่งมอบเครื่องบินในเอเชียอย่างต่อเนื่อง และไทยยังได้รับอานิสงส์จากข้อพิพาทระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่
นักท่องเที่ยวจีนและญี่ปุ่นนึกถึง นอกจากนี้สภาวะอากาศโลกส่งผลให้คนยุโรปหนีหนาวมาพักผ่อนในภูมิภาคนี้มากขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวไทย กัมพูชา เวียดนามขยายตัวสูง
ส่วนปัจจัยที่น่ากังวลในปีนี้อย่างราคาน้ำมัน ประเมินว่าปีนี้น่าจะทรงตัวที่ระดับ 125-127 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากปีที่แล้วเป็นปีแรกที่ราคาน้ำมันไม่ขยับมาก ทั้งนี้ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 แบบใหม่ซึ่งออกแบบให้มีปลายปีกแบบชาร์กเลต ซึ่งรับมอบไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 3% ส่วนปัจจัยด้านการเมือง เชื่อว่าสถานการณ์จะนิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี
นายทัศพลกล่าวว่า ปีที่แล้วถือเป็นปีที่ไทยแอร์เอเชียเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำหุ้นภายใต้ชื่อเอเชียเอวิเอชั่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อ 31 พฤษภาคม การย้ายฐานปฏิบัติการบินมาที่สนามบินดอนเมืองวันที่ 1 ตุลาคม และเปิดเส้นทางบินใหม่ทั้งในและระหว่างประเทศรวม 9 เส้นทาง โดยเฉพาะการบุกตลาดเมืองจีน ได้แก่ ดอนเมืองไปฉงชิ่ง อู่ฮั่น ซีอาน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก เห็นได้จากอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟ็กเตอร์) สูงถึง 81-82% และเชียงใหม่ไปมาเก๊าสูงกว่า 80% ส่วน 2 เส้นทางบินที่ยกเลิกให้บริการไปคือนิวเดลี (อินเดีย) และโคลอมโบ (ศรีลังกา) ที่เปิดให้บริการได้ไม่ถึงปี ก็ต้องยกเลิกไป เพราะขาดทุน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1360225056&grpid=00&catid=19&subcatid=1900
แบบนี้ ไต้หวัน กับ เว้ ที่ผมรอก็คงอีกนาน.....
"ไทยแอร์เอเชีย"มุ่งเพิ่มตลาดในปท. ชะลอขยายเส้นทางบินใหม่-ลั่นอีก2ปีแชร์ทะลุ50%
ตลาดรองลงมาคือ 2.เส้นทางบินเข้าอินโดจีน หลังจากเปิดเส้นทางใหม่ และเพิ่มความถี่บินเข้าโฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม) รวมถึงมัณฑะเลย์และย่างกุ้งของพม่า เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ซึ่งนับว่าไทยมีจุดยุทธศาสตร์เรื่องทำเลที่ตั้ง โดยเชื่อว่าผู้โดยสารกว่า 50% ต้องมาต่อเครื่องที่กรุงเทพฯเพื่อเดินทางเข้าเมืองอื่น ๆ ในอินโดจีน และ 3.เส้นทางบินตรงเข้าจีน
ปีนี้เราจะเพิ่มความถี่ให้มากกว่า 1 เที่ยวบินต่อวัน ในเส้นทางไปเซินเจิน กว่างโจว ฉงชิ่ง อู่ฮั่น และซีอาน เพื่อขนนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีกำลังซื้อสูง และเที่ยวเชื่อมโยงจากไทยไปเดสติเนชั่นอื่น ๆ ในอาเซียน
สำหรับการเพิ่มเส้นทางบินใหม่นั้นจะลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเพิ่ม 4 เส้นทางบิน ได้แก่ เดสติเนชั่นในจีน 2 เมือง โดยเส้นทางที่กำลังศึกษาอยู่คือคุนหมิง และหนานหนิง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาสที่ 2-3, เดสติเนชั่นในกลุ่มประเทศอินโดจีน 1 เส้นทาง และอีก 1 เส้นทางไปเนปาล หรือภูฏาน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าไทยแอร์เอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ต้องการเดินทางไปเดสติเนชั่นใหม่ ๆ น่าดึงดูดใจ
"เป้าหมายของไทยแอร์เอเชียคือการดันมาร์เก็ตแชร์ทุกเส้นทางเติบโต 15-20% จากปัจจุบันเฉลี่ยมากกว่า 35% ด้วยการเพิ่มปริมาณที่นั่งจากแผนทยอยรับมอบเครื่องบินในปีนี้จำนวน 7 ลำ แบ่งเป็นซื้อเอง 4 ลำ และเช่า 3 ลำ ทำให้สิ้นปีนี้ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินเพิ่มเป็น 34 ลำ จากปีที่แล้วที่มี 27 ลำ โดยสัดส่วนปริมาณที่นั่งมากกว่า 50% ของเครื่องบินที่รับในปีนี้ จะเป็นของเส้นทางบินในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นของเส้นทางอินโดจีนและเมืองจีน"
สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2555 จะเติบโต 2 หลัก ทั้งในแง่รายได้และจำนวนผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีรายได้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท จากที่ผ่านมาเราขยายตัวมากกว่า 20% ต่อปี โดยจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ ตั้งเป้าที่ 10 ล้านคน เติบโตจากปีที่แล้วซึ่งมี 8.3 ล้านคน ส่วนโหลดแฟ็กเตอร์ คาดอยู่ที่ 82% ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยปัจจัยที่หนุนให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นคือแนวโน้มการเติบโตของภาคท่องเที่ยวในเอเชีย-แปซิฟิกที่น่าจะโตเกือบ 20% ทั้งปริมาณการสั่งซื้อและส่งมอบเครื่องบินในเอเชียอย่างต่อเนื่อง และไทยยังได้รับอานิสงส์จากข้อพิพาทระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่
นักท่องเที่ยวจีนและญี่ปุ่นนึกถึง นอกจากนี้สภาวะอากาศโลกส่งผลให้คนยุโรปหนีหนาวมาพักผ่อนในภูมิภาคนี้มากขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวไทย กัมพูชา เวียดนามขยายตัวสูง
ส่วนปัจจัยที่น่ากังวลในปีนี้อย่างราคาน้ำมัน ประเมินว่าปีนี้น่าจะทรงตัวที่ระดับ 125-127 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากปีที่แล้วเป็นปีแรกที่ราคาน้ำมันไม่ขยับมาก ทั้งนี้ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 แบบใหม่ซึ่งออกแบบให้มีปลายปีกแบบชาร์กเลต ซึ่งรับมอบไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 3% ส่วนปัจจัยด้านการเมือง เชื่อว่าสถานการณ์จะนิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี
นายทัศพลกล่าวว่า ปีที่แล้วถือเป็นปีที่ไทยแอร์เอเชียเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำหุ้นภายใต้ชื่อเอเชียเอวิเอชั่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อ 31 พฤษภาคม การย้ายฐานปฏิบัติการบินมาที่สนามบินดอนเมืองวันที่ 1 ตุลาคม และเปิดเส้นทางบินใหม่ทั้งในและระหว่างประเทศรวม 9 เส้นทาง โดยเฉพาะการบุกตลาดเมืองจีน ได้แก่ ดอนเมืองไปฉงชิ่ง อู่ฮั่น ซีอาน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก เห็นได้จากอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟ็กเตอร์) สูงถึง 81-82% และเชียงใหม่ไปมาเก๊าสูงกว่า 80% ส่วน 2 เส้นทางบินที่ยกเลิกให้บริการไปคือนิวเดลี (อินเดีย) และโคลอมโบ (ศรีลังกา) ที่เปิดให้บริการได้ไม่ถึงปี ก็ต้องยกเลิกไป เพราะขาดทุน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1360225056&grpid=00&catid=19&subcatid=1900
แบบนี้ ไต้หวัน กับ เว้ ที่ผมรอก็คงอีกนาน.....