“เจริญ” ติดปีกขยายอาณาจักร โรดแมพ สู่ “โกลบอลมาร์เก็ต”
โดยคุณ knowledge_trader Stock2morrow
กว่า 6 เดือน จากวันแรกในยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” ล่าสุด บอร์ดบริหารของบริษัทเอฟแอนด์เอ็นทั้ง 9 คน ซึ่งรวมถึง ลี เซียน หยาง ประธานเอฟแอนด์เอ็น เตรียมประกาศลาออกและขายหุ้นที่เหลืออยู่ เพื่อเปิดทางให้กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ และทีซีซีแอสเซ็ท เข้ามาบริหารแบบเบ็ดเสร็จ
ดีลการซื้อขายกิจการครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ให้ตระกูลสิริวัฒนภักดี ไม่ใช่แค่มูลค่าเม็ดเงินกว่า 3 แสนล้านบาท การต่อสู้ช่วงชิงหุ้นกับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่อย่างไฮเนเก้น โอยูอี และคิรินกรุ๊ป แต่ยังเป็นจังหวะก้าวสำคัญในการติดปีกขยายอาณาจักรธุรกิจตามโรดแมพ “Go to Global Company, Go to Global Market” ซึ่งเจริญวางนโยบายไว้อย่างชัดเจน
ปัจจุบัน ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ “ทีทีซีกรุ๊ป” ของเจริญ แบ่งโครงสร้างธุรกิจหลัก 5 สาย คือ สายธุรกิจเครื่องดื่ม มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” บริหารบริษัทในเครือจำนวน 106 บริษัท ครอบคลุม 4 ธุรกิจหลัก คือ กลุ่มธุรกิจสุรา กลุ่มธุรกิจเบียร์ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มธุรกิจอาหาร มีรายได้รวมต่อปีมากกว่า 130,000 ล้านบาท
สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีบริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด เป็นตัวหลัก โดยให้ วัลลภา ลูกสาวและสามี คือ โสมพัฒน์ ไตรโสรัส เป็นผู้บริหารบริษัทในเครืออย่างทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ ยูนิเวนเจอร์ โกลเด้นแลนด์ ซึ่งทุกบริษัทเตรียมแผนลงทุนโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งโรงแรม ออฟฟิศทาวเวอร์ ศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม
สายธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม มีบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวขยายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม โดยมีฐาปนี ลูกสาวคนที่ 4 กับสามี คือ อัศวิน เตชะเจริญวิกุล เป็นผู้บริหาร ซึ่งเบอร์ลี่ยุคเกอร์ กำลังเร่งบุกตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียน ล่าสุดเพิ่งเปิดโรงงานผลิตขวดแก้วที่ประเทศเวียดนาม
สายธุรกิจประกัน มี “อาคเนย์ประกันภัย” เป็นธุรกิจหลัก และโชติพัฒน์ พีชานนท์ เขยใหญ่ของตระกูลเข้ามาบริหารจัดการจนกระทั่งธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ส่วนสายธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร หรือ “พรรณธิอร กรุ๊ป” ดูแลธุรกิจด้านการเกษตร ปุ๋ย น้ำตาล ปาล์ม ไบโอดีเซล ซึ่งเจริญมอบหมายให้ ปณต ลูกชายคนเล็กดูแลและเข้าไปขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มหลายแห่งในพม่า กัมพูชา
ทั้งนี้ เจริญกำหนดทิศทางและประกาศให้ผู้บริหารระดับสูงทุกคนในทุกธุรกิจรับทราบอย่างชัดเจนตั้งแต่หลายปีก่อนว่า จะต้องเป็นผู้นำตลาดในทุกไลน์สินค้า ทั้งในประเทศและในอาเซียน+6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ดังนั้น เมื่อโอกาสในอาเซียนเปิดกว้างมากขึ้นตามกำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เป้าหมายการเร่งบุกจึงพุ่งไปที่ 10 ประเทศอาเซียนและการยึดครองตลาดประชากรมากกว่า 600-700 ล้านคน โดยเฉพาะแผนการซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นที่ถูกจัดวางไว้และต้องประสบความสำเร็จ แม้การลงทุนครั้งนี้มีมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาทและต้องล้มเลิกความพยายามซื้อหุ้นไฮเนเก้น แต่เจริญคิดบวกลบข้อดีข้อเสียแล้วต้องได้ผลตอบแทนมากกว่าหลายเท่า
เหตุผลข้อแรก ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ ดำเนินกิจการยาวนานกว่า 120 ปี เอฟแอนด์เอ็นมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งในสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งสามารถต่อยอดช่องทางการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ช้าง และนอนแอลกอฮอล์ที่ไทยเบฟฯ กำลังเร่งขยายตลาดอย่างหนักหน่วง ทั้งกลุ่มโออิชิ กาแฟสำเร็จรูป โซดาและน้ำดื่มช้าง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง แรงเยอร์ และกลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมแบรนด์ใหม่ “เอส” ของบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ที่รอโอกาสการเดินเกมโกอินเตอร์เทียบชั้นแบรนด์ข้ามชาติ ทั้งเป๊ปซี่และโค้ก
เหตุผลข้อต่อมา เอฟแอนด์เอ็นมีสินค้าที่สามารถเข้ามาเติมเต็มพอร์ตเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ 100 PLUS, ชาผลไม้ F&N SEASONS, น้ำผลไม้ F&N FRUIT TREE FRESH, นมถั่วเหลือง F&N NUTRISOY, ซาสี่, ไอศกรีม รวมถึงเครื่องดื่มที่เคยเป็นรู้จักอยู่แล้วในเมืองไทย เช่น นมตราหมี ไมโล เรียกว่าครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มอายุ ทุกเซกเมนต์ และทุกตลาด
ล่าสุด เพิ่งขยายเครือข่ายธุรกิจเบียร์เข้าไปยังพม่าผ่านบริษัท เมียนมาร์ บริวเวอรี่ ซึ่งเอฟแอนด์เอ็นร่วมลงทุนกับรัฐบาลเมียนมาร์ โดยดูแลการทำตลาดให้เบียร์หลายแบรนด์ เช่น Myanmar Beer, Myanmar Double Strong และ Andaman Gold for Beer รวมถึงเบียร์ไทเกอร์ ที่ขายให้ค่ายไฮเนเก้น
นอกจากนี้ เอฟแอนด์เอ็นยังมีอสังหาริมทรัพย์ในพอร์ต มูลค่ากว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยบริหารอาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยหลายพันแห่งในกรุงลอนดอน ปารีส ดูไบ รวมถึงห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ทั้งหมดล้วนสอดรับและเอื้อประโยชน์ในการขยายอาณาจักรของเจริญ โดยเฉพาะการตอบโจทย์การขยายตลาดเครื่องดื่มของไทยเบฟ ซึ่งฐาปนยืนยันไว้ตั้งแต่ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ว่า เป้าหมายของไทยเบฟฯ ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศ เขาตั้งบริษัทย่อย คือ International Beverage Holdings Limited (IBHL) ลุยขยายธุรกิจไปต่างประเทศและเปิดสำนักงานใน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา จีน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย โดยมีแม่โขง เบียร์ช้าง และสก๊อตวิสกี้เป็นสินค้านำร่องลุยตลาดหลัก ๆ
แผนขั้นต่อไปอยู่ที่การขยายตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยตั้งบริษัท โออิชิ อินเตอร์เนชั่นแนล จดลิขสิทธิ์แบรนด์ “โออิชิ” เพื่อบุกตลาดทั่วโลก แต่แผนไม่ใช่แค่ชาเชียวเท่านั้น เพราะยังมีเครื่องดื่มในไลน์การผลิตอีกหลายตัว รวมถึงพอร์ตเครื่องดื่มไลน์ใหม่ๆ จากเอฟแอนด์เอ็น
เหตุผลสำคัญที่สุด ก็คือการขยายตลาดต่างประเทศเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ทั้งในแง่การทำกำไรที่มีส่วนต่างมากกว่าในตลาดไทย กลุ่มเป้าหมายมากกว่าหลายเท่า เฉพาะตลาดอาเซียนเปลี่ยนตัวเลขจำนวนประชากรจาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้น การทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสขยายตัวและไม่โดนกฎระเบียบคุมเข้มเหมือนในประเทศไทย โดยไทยเบฟฯ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศให้ได้ 30% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5% และต้องพึ่งพารายได้จากตลาดในประเทศเกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม จังหวะก้าวตามโรดแมพของเจริญต้องดูความสำเร็จของไทยเบฟฯ ในการยึดครองตลาดอาเซียนและยังเป็นดัชนีชี้วัดว่า การทุ่มทุนซื้อเอฟแอนด์เอ็นคุ้มค่าหรือไม่
รวมกระทู้ " กระต่ายป่า " ( 5 กุมภาพันธ์ 2556 )
โดยคุณ knowledge_trader Stock2morrow
กว่า 6 เดือน จากวันแรกในยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” ล่าสุด บอร์ดบริหารของบริษัทเอฟแอนด์เอ็นทั้ง 9 คน ซึ่งรวมถึง ลี เซียน หยาง ประธานเอฟแอนด์เอ็น เตรียมประกาศลาออกและขายหุ้นที่เหลืออยู่ เพื่อเปิดทางให้กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ และทีซีซีแอสเซ็ท เข้ามาบริหารแบบเบ็ดเสร็จ
ดีลการซื้อขายกิจการครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ให้ตระกูลสิริวัฒนภักดี ไม่ใช่แค่มูลค่าเม็ดเงินกว่า 3 แสนล้านบาท การต่อสู้ช่วงชิงหุ้นกับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่อย่างไฮเนเก้น โอยูอี และคิรินกรุ๊ป แต่ยังเป็นจังหวะก้าวสำคัญในการติดปีกขยายอาณาจักรธุรกิจตามโรดแมพ “Go to Global Company, Go to Global Market” ซึ่งเจริญวางนโยบายไว้อย่างชัดเจน
ปัจจุบัน ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ “ทีทีซีกรุ๊ป” ของเจริญ แบ่งโครงสร้างธุรกิจหลัก 5 สาย คือ สายธุรกิจเครื่องดื่ม มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” บริหารบริษัทในเครือจำนวน 106 บริษัท ครอบคลุม 4 ธุรกิจหลัก คือ กลุ่มธุรกิจสุรา กลุ่มธุรกิจเบียร์ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มธุรกิจอาหาร มีรายได้รวมต่อปีมากกว่า 130,000 ล้านบาท
สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีบริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด เป็นตัวหลัก โดยให้ วัลลภา ลูกสาวและสามี คือ โสมพัฒน์ ไตรโสรัส เป็นผู้บริหารบริษัทในเครืออย่างทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ ยูนิเวนเจอร์ โกลเด้นแลนด์ ซึ่งทุกบริษัทเตรียมแผนลงทุนโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งโรงแรม ออฟฟิศทาวเวอร์ ศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม
สายธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม มีบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวขยายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม โดยมีฐาปนี ลูกสาวคนที่ 4 กับสามี คือ อัศวิน เตชะเจริญวิกุล เป็นผู้บริหาร ซึ่งเบอร์ลี่ยุคเกอร์ กำลังเร่งบุกตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียน ล่าสุดเพิ่งเปิดโรงงานผลิตขวดแก้วที่ประเทศเวียดนาม
สายธุรกิจประกัน มี “อาคเนย์ประกันภัย” เป็นธุรกิจหลัก และโชติพัฒน์ พีชานนท์ เขยใหญ่ของตระกูลเข้ามาบริหารจัดการจนกระทั่งธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ส่วนสายธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร หรือ “พรรณธิอร กรุ๊ป” ดูแลธุรกิจด้านการเกษตร ปุ๋ย น้ำตาล ปาล์ม ไบโอดีเซล ซึ่งเจริญมอบหมายให้ ปณต ลูกชายคนเล็กดูแลและเข้าไปขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มหลายแห่งในพม่า กัมพูชา
ทั้งนี้ เจริญกำหนดทิศทางและประกาศให้ผู้บริหารระดับสูงทุกคนในทุกธุรกิจรับทราบอย่างชัดเจนตั้งแต่หลายปีก่อนว่า จะต้องเป็นผู้นำตลาดในทุกไลน์สินค้า ทั้งในประเทศและในอาเซียน+6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ดังนั้น เมื่อโอกาสในอาเซียนเปิดกว้างมากขึ้นตามกำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เป้าหมายการเร่งบุกจึงพุ่งไปที่ 10 ประเทศอาเซียนและการยึดครองตลาดประชากรมากกว่า 600-700 ล้านคน โดยเฉพาะแผนการซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นที่ถูกจัดวางไว้และต้องประสบความสำเร็จ แม้การลงทุนครั้งนี้มีมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาทและต้องล้มเลิกความพยายามซื้อหุ้นไฮเนเก้น แต่เจริญคิดบวกลบข้อดีข้อเสียแล้วต้องได้ผลตอบแทนมากกว่าหลายเท่า
เหตุผลข้อแรก ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ ดำเนินกิจการยาวนานกว่า 120 ปี เอฟแอนด์เอ็นมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งในสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งสามารถต่อยอดช่องทางการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ช้าง และนอนแอลกอฮอล์ที่ไทยเบฟฯ กำลังเร่งขยายตลาดอย่างหนักหน่วง ทั้งกลุ่มโออิชิ กาแฟสำเร็จรูป โซดาและน้ำดื่มช้าง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง แรงเยอร์ และกลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมแบรนด์ใหม่ “เอส” ของบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ที่รอโอกาสการเดินเกมโกอินเตอร์เทียบชั้นแบรนด์ข้ามชาติ ทั้งเป๊ปซี่และโค้ก
เหตุผลข้อต่อมา เอฟแอนด์เอ็นมีสินค้าที่สามารถเข้ามาเติมเต็มพอร์ตเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ 100 PLUS, ชาผลไม้ F&N SEASONS, น้ำผลไม้ F&N FRUIT TREE FRESH, นมถั่วเหลือง F&N NUTRISOY, ซาสี่, ไอศกรีม รวมถึงเครื่องดื่มที่เคยเป็นรู้จักอยู่แล้วในเมืองไทย เช่น นมตราหมี ไมโล เรียกว่าครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มอายุ ทุกเซกเมนต์ และทุกตลาด
ล่าสุด เพิ่งขยายเครือข่ายธุรกิจเบียร์เข้าไปยังพม่าผ่านบริษัท เมียนมาร์ บริวเวอรี่ ซึ่งเอฟแอนด์เอ็นร่วมลงทุนกับรัฐบาลเมียนมาร์ โดยดูแลการทำตลาดให้เบียร์หลายแบรนด์ เช่น Myanmar Beer, Myanmar Double Strong และ Andaman Gold for Beer รวมถึงเบียร์ไทเกอร์ ที่ขายให้ค่ายไฮเนเก้น
นอกจากนี้ เอฟแอนด์เอ็นยังมีอสังหาริมทรัพย์ในพอร์ต มูลค่ากว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยบริหารอาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยหลายพันแห่งในกรุงลอนดอน ปารีส ดูไบ รวมถึงห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ทั้งหมดล้วนสอดรับและเอื้อประโยชน์ในการขยายอาณาจักรของเจริญ โดยเฉพาะการตอบโจทย์การขยายตลาดเครื่องดื่มของไทยเบฟ ซึ่งฐาปนยืนยันไว้ตั้งแต่ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ว่า เป้าหมายของไทยเบฟฯ ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศ เขาตั้งบริษัทย่อย คือ International Beverage Holdings Limited (IBHL) ลุยขยายธุรกิจไปต่างประเทศและเปิดสำนักงานใน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา จีน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย โดยมีแม่โขง เบียร์ช้าง และสก๊อตวิสกี้เป็นสินค้านำร่องลุยตลาดหลัก ๆ
แผนขั้นต่อไปอยู่ที่การขยายตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยตั้งบริษัท โออิชิ อินเตอร์เนชั่นแนล จดลิขสิทธิ์แบรนด์ “โออิชิ” เพื่อบุกตลาดทั่วโลก แต่แผนไม่ใช่แค่ชาเชียวเท่านั้น เพราะยังมีเครื่องดื่มในไลน์การผลิตอีกหลายตัว รวมถึงพอร์ตเครื่องดื่มไลน์ใหม่ๆ จากเอฟแอนด์เอ็น
เหตุผลสำคัญที่สุด ก็คือการขยายตลาดต่างประเทศเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ทั้งในแง่การทำกำไรที่มีส่วนต่างมากกว่าในตลาดไทย กลุ่มเป้าหมายมากกว่าหลายเท่า เฉพาะตลาดอาเซียนเปลี่ยนตัวเลขจำนวนประชากรจาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้น การทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสขยายตัวและไม่โดนกฎระเบียบคุมเข้มเหมือนในประเทศไทย โดยไทยเบฟฯ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศให้ได้ 30% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5% และต้องพึ่งพารายได้จากตลาดในประเทศเกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม จังหวะก้าวตามโรดแมพของเจริญต้องดูความสำเร็จของไทยเบฟฯ ในการยึดครองตลาดอาเซียนและยังเป็นดัชนีชี้วัดว่า การทุ่มทุนซื้อเอฟแอนด์เอ็นคุ้มค่าหรือไม่