TOT3G รู้ตัวสู้การตลาดเอกชนไม่ได้(เอกชนก็ไม่ใช่มูลนิธิ บีบมากไม่ได้)ติดปัญหาหาเอกชนมารับผิดชอบMVNOไม่ได้ เพื่อแบ่งรายได้

04 กุมภาพันธ์ 2556 TOT3G รู้ตัวสู้การตลาดเอกชนไม่ได้ ( เอกชนก็ไม่ใช่มูลนิธิ บีบมากไม่ได้ )ติดปัญหาหาเอกชนมารับผิดชอบ MVNO ไม่ได้ เพื่อแบ่งรายได้และสิทธิในการทำการทำการตลาด
ประเด็นหลัก


อย่างไรก็ดี ยังติดปัญหาที่การหาเอกชนมารับผิดชอบเอ็มวีเอ็นโอ ยังไม่สามารถสรุปได้ในเรื่องการแบ่งรายได้และการให้สิทธิทำตลาดตามปริมาณความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ที่ขอเข้ามา เพราะต้องยอมรับ ทีโอที เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การเจรจากับเอกชนเรื่องส่วนแบ่งต้องดำเนินอย่างรอบคอบไม่ให้องค์กรเสียประโยชน์ แต่ในทางกลับกันก็ต้องมองโอกาสการทำตลาดของเอกชนด้วย

“ผมให้นโยบายไปแล้วว่า ต้องนึกถึงใจเขาใจเรา เอกชนก็ไม่ใช่มูลนิธิ หากเราไปบีบเขามาก ต้องจำกัดส่วนแบ่งเท่านี้ให้ได้ตัวเลขที่เราพอใจ การเจรจาหาคนทำเอ็มวีเอ็นโอใน 3G จะไม่จบ และพอเปิดให้บริการจริงครบ 5,320 ไซต์ ในเดือนพฤษภาคม 2556 การตลาดจะสู้ 3 ค่ายมือถือรายใหญ่ในตลาดไม่ได้” นายอุดม กล่าว




ข่าวที่เกี่ยวข้อง
19 กรกฎาคม 2554 365 MVNO โต้!!! วีธีการเลือกMVNOไม่ต่างสัปทาน//40-20-20 ไม่ส่งเสริมให้MVNOโตเพิ่มแค่เพิ่มปริมาณ
http://somagawn.blogspot.com/2012/10/19-2554-365-mvno-mvno40-20-20-mvnoto.html


12 ธันวาคม 2554 (( เรื่องใหญ่มาก )) แหล่งข่าว++365 ฟ้อง TOT (รวมยื่นฟ้องผู้บริหารทั้ง 4 คน)//ไม่สอดรับการแข่งขันมานานแล้ว-ไม่เท่าเทียม
http://somagawn.blogspot.com/2012/10/12-2554-365-tot-4_2.html


29 มกราคม 2555 TOT3G ชัดเจน ( ใต้องให้บริการ MVNO แข่งกันได้โดยตัวเองจะไม่ไปแข่งขันด้วย ) // การคัดเลือก MVNO ใหม่จะไม่ใช้การประมูล
http://somagawn.blogspot.com/2012/10/29-2555-tot3g-mvno-mvno.html


26 มีนาคม 2555 <ไร้ความเป็นธรรม>365ฟ้องTOT3G 1264ลบ./กีดกันการแข่งขัน i mobileรายเดียวทำโปรUnlimited(ราคาต่ำกว่าทุน)ได้แต่365ไม่อนุมัติ
http://somagawn.blogspot.com/2012/10/26-2555-365tot3g-1264-i.html


23 มกราคม 2556 I-Mobile3GX (เตรียมเซ็นMVNOฉบับใหม่ก.พ.นี้)จะทำตลาดระยะยาว 12ปี)2.8ล้านเลขหมายหรือ40%ของโครงข่ายทั้งหมด // กว่าติดเสร็จครบ 5,320 สถานีฐานเดือน5
http://somagawn.blogspot.com/2013/01/23-2556-i-mobile3gx-mvno-122840-5320-5.html










________________________________________



ชงกนร.พลิกฟื้น‘ทีโอที-กสท’ ตั้ง2บริษัทใหม่ให้บริการเช่าโครงข่าย



“อนุดิษฐ์” เสนอที่ประชุม คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ หรือ กนร.ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ หาทางรอดให้“กสท-ทีโอที” ขณะที่แผนเปิดให้บริการ?3G เฟสใหม่ยังไม่ลงตัว เอกชนตั้งเงื่อนไขขอส่วนแบ่งเพิ่ม

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)?กล่าวว่า ในการประชุม คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ทางไอซีทีเตรียมเสนอแผนธุรกิจรองรับในกรณีที่สัญญาสัมปทาน บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดลง โดยเฉพาะสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ทำไว้กับ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จะเริ่มสิ้นสุดก่อนในปลายปีนี้ ทำให้รายได้จากสัมปทานหายไปจำนวนหนึ่ง


อย่างไรก็ดี เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วทีโอที กับ กสท จะได้รับการโอนทรัพย์สินคืนจากบริษัทคู่สัญญา ทั้งบริษัทแอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) ตามสัญญาสร้าง โอน ให้บริการ(บีทีโอ) ซึ่งจะทำให้ กสท กับ ทีโอที มีสถานีฐานรวมกันกว่า 4 หมื่นสถานีฐาน

ดังนั้น แนวทางที่จะเสนอ กนร.คือ ให้ ทีโอทีและกสท จัดตั้ง 2 บริษัทขึ้นใหม่ ประกอบด้วย บริษัทให้เช่าใช้บริการสถานีฐาน และเสาโทรคมนาคม โดยบริษัทใหม่ที่ตั้งขึ้นมาไอซีที มีนโยบายให้ ทีโอที และ กสท เข้าไปถือหุ้น และดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมและดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ขณะเดียวกันมีความเป็นไปได้ที่จะว่าจ้างให้บริษัทต่างชาติเข้ามาบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้าน นายอุดม พัวสกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที?จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เปิดเผยแผนการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ?3G บนคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการหารายได้เพิ่มของ ทีโอทีว่า ในการประชุมบอร์ดทีโอที ต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะมีการรายงานความคืบหน้าโครงการ ในประเด็นการร่างสัญญารายละเอียดการจัดหาผู้ทำตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายของ ทีโอที หรือสัญญาเอ็มวีเอ็นโอ ในการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) นี้ ซึ่งขณะนี้ ฝ่ายบริหารแจ้งแล้วว่า ในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ทีโอทีจะมีการเปิดให้บริการ 3G จำนวนเพิ่มเป็น 4,000 สถานีฐาน และจะมีการทดสอบการให้บริการ 4G (แอลทีอี)ในย่านความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)

อย่างไรก็ดี ยังติดปัญหาที่การหาเอกชนมารับผิดชอบเอ็มวีเอ็นโอ ยังไม่สามารถสรุปได้ในเรื่องการแบ่งรายได้และการให้สิทธิทำตลาดตามปริมาณความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ที่ขอเข้ามา เพราะต้องยอมรับ ทีโอที เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การเจรจากับเอกชนเรื่องส่วนแบ่งต้องดำเนินอย่างรอบคอบไม่ให้องค์กรเสียประโยชน์ แต่ในทางกลับกันก็ต้องมองโอกาสการทำตลาดของเอกชนด้วย

“ผมให้นโยบายไปแล้วว่า ต้องนึกถึงใจเขาใจเรา เอกชนก็ไม่ใช่มูลนิธิ หากเราไปบีบเขามาก ต้องจำกัดส่วนแบ่งเท่านี้ให้ได้ตัวเลขที่เราพอใจ การเจรจาหาคนทำเอ็มวีเอ็นโอใน 3G จะไม่จบ และพอเปิดให้บริการจริงครบ 5,320 ไซต์ ในเดือนพฤษภาคม 2556 การตลาดจะสู้ 3 ค่ายมือถือรายใหญ่ในตลาดไม่ได้” นายอุดม กล่าว

มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับความคืบหน้าของการเปิดให้เอกชนมาทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอนั้น ฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างร่างสัญญา คาดว่าจะสามารถสรุปร่างสัญญา และกำหนดร่างทีโออาร์ได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้


แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/40142
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่