การศึกษาไทย : แน่ใจหรือว่าเราจะยังคงเดินตาม “ฝรั่ง”?
E-Mail : siam_shinsengumi@hotmail.com
FaceBook : Siam Shinsengumi
ก่อนตัดสินใจเขียนบทความนี้ ผมถอนหายใจพลางส่ายหัวอีกครั้ง หลังจากที่สัปดาห์ก่อน ผมเพิ่งพูดถึงเรื่องการแข่งขัน ประชันเสื้อผ้าหน้าผมในโรงเรียน ซึ่งเครื่องแบบและทรงผมแม้ว่าจะช่วยไม่ได้ 100% แต่ก็ถือว่าได้เกินครึ่งในการจำกัดเพดานการเปรียบเทียบ ขณะที่ยังไม่พ้นสัปดาห์ นโยบายอันพิลึกพิลั่นของกระทรวงศึกษาธิการก็มาอีกแล้ว นั่นคือการ “ลดการบ้านเด็ก” เพราะกลัวเด็กเครียด ซึ่งแน่นอนว่า มันได้กลายเป็นวิวาทะต่อเนื่องบนโลกออนไลน์และโลกภายนอกทันที ระหว่างเพื่อนพ้องมิตรสหายสาย Conservative (ท่านไม่เห็นเราเป็นมิตร เราไม่ว่า) ที่เห็นบทเรียนจากการ “ริบไม้เรียว” มาแล้ว กับอริศัตรูปรปักษ์สาย Liberal (อย่างน้อยผมคนหนึ่งที่เห็นคนกลุ่มนี้เป็นศัตรู) ที่วันๆ เชิดชูแต่ “เสรีภาพส่วนบุคคล” และมองว่าทุกวันนี้มีแต่แย่ลง ดังนั้นลองเปลี่ยนดู อะไรๆ อาจจะดีขึ้นก็ได้
พูดถึงเรื่องการบ้าน ก่อนอื่นผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าการบ้านเด็กสมัยนี้เยอะจริงๆ อย่างน้อยๆ ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีก่อน สมัยที่ผมยังละอ่อนเป็นเด็กมัธยม การบ้านไม่เยอะเท่านี้ (เว้นแต่เฉพาะเด็กวิทย์-คณิต แต่ถ้าเทียบกันเฉพาะสาย เด็กวิทย์สมัยก่อน การบ้านก็ยังน้อยกว่าเด็กวิทย์สมัยนี้อยู่ดี) ทีนี้คือ อะไรทำให้ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ เด็กต้องทำการบ้านมากขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับการกวดวิชาอย่างมหาโหดแล้ว ไม่แปลกที่เด็กจะเครียด
คำตอบอยู่ที่ “กระทรวงศึกษาธิการ”
ทำไมผมถึงชี้ไปที่กระทรวงฯ ก่อนหน่วยงานอื่น? นั่นเพราะบรรดาผู้บริหารที่นั่งออกนโยบาย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ท่านได้ “เพิ่มภาระ” ให้ครูอย่างมหาศาล ในด้านเอกสารเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ และใช้มาตรฐานนี้กับทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนดังๆ ในเขตตัวเมืองแต่ละจังหวัด ไปจนถึงโรงเรียนธรรมดาๆ ในเขตห่างไกล ซึ่งผลก็เป็นอย่างที่ทุกท่านทราบดี ว่าทุกวันนี้ครูไม่มีเวลาสอนหนังสือ เพราะต้องเอาเวลาไปทำเอกสาร ทั้งของส่วนบุคคลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และของส่วนรวมตามนโยบายผู้บริหารโรงเรียน ที่นับวันมีแต่จะพยายามยกระดับโรงเรียนของตนให้เป็น A หรือ S Class ให้ได้ ยามที่มีผู้มาประเมิน (ซึ่งก็รู้กันดีว่าการประเมินทุกครั้ง มันก็แค่ภาพลวงตา คุณภาพของเด็กไม่ได้ดีจริงๆ แต่อย่างใด)
เมื่อครูไม่มีเวลาสอนหนังสือ แต่หน้าที่ “สอน” ยังเป็นหน้าที่หลักของครู ทั้งตามกฏระเบียบของกระทรวง และจากความคาดหวังของสังคม ซึ่งหวังว่าเมื่อเด็กมาเรียนแล้ว พ่อแม่ก็เสียค่าเทอมแล้ว (นโยบายเรียนฟรี ก็ยังถือว่าพ่อแม่เสียค่าเทอมทางอ้อม ในรูปของภาษี) ผลคือครูก็ต้องใช้วิธี “แจกชีท-ให้การบ้าน” แล้วให้เด็กไปทำกันเอง ผมไม่ได้ล้อเล่นนะครับ ถ้าใครเป็นคนยุคเดียวกับผม (เรียนจบ ม.6 ในหลักสูตรเก่า ซึ่งรุ่นสุดท้ายคือพวกที่จบต้นปี 2547) เชื่อเถอะครับ รุ่นพวกเราจำนวนการบ้านไม่มากไปกว่าเด็กสมัยนี้แน่นอน ถ้าท่านไม่เชื่อผม ท่านลองนึกดูก็ได้ ว่าพวกรุ่นน้องเราๆ ท่านๆ ที่ใช้หลักสูตรใหม่ ได้ชีทเอกสารวันๆ หนึ่งเท่าไร มีการบ้านทำ Powerpoint , พิมพ์รายงานเท่าไร ขณะที่รุ่นเราหรือก่อนหน้าเรา อาจจะได้จด Lecture หน้าห้อง รวมถึงอาจจะโดนอาจารย์จี้ถามเป็นรายบุคคลมากกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งผมไม่โทษครู เพราะอย่างน้อยที่แจกๆ ไป ไม่ว่าเด็กมันจะทำเองหรือลอก มันก็ยังเข้าหัวบ้างไม่มากก็น้อย ก็น่าจะมีคนได้ความรู้บ้าง (เพียงแต่มันไม่ตอบโจทย์ ในการพัฒนาความรู้ให้กับคนจำนวนมากๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการศึกษาในระดับมหภาค)
ทีนี้ผมกลับมาที่คำถามบนหัวข้อบทความ ว่าสมควรแล้วหรือ? ที่เราจะยังพยายามเดินตามฝรั่งต่อไป ซึ่งไม่ว่าใครจะตอบยังไงก็ตาม สำหรับผม..ผมว่า “พอเถอะครับ เลิกพยายามเดินตามเขาเถอะ” พูดแบบนี้บรรดาอริศัตรูของผม คงจะได้ใจและทับถมว่า “เห็นไหม มันไม่อยากเห็นการพัฒนา มันเป็นพวกศักดินาล้าหลัง” ซึ่งคำพูดแบบนี้ล่ะครับ ที่ทำให้ผมเห็นปัญหาเกี่ยวกับระบบคิดของคนกลุ่มนี้ได้ประการหนึ่ง
นั่นก็คือ “ของเดิมคือแย่ ของใหม่น่าจะดีกว่า”
เพราะคิดกันแบบนี้ เราจึงทำทุกอย่างที่จะเดินตามฝรั่ง ตั้งแต่เลิกไม้เรียว เลิกการซ้ำชั้น ตามด้วยการเลิกระบบสอบตกแล้วซ่อมด้วยการห้ามเด็กสอบตก จนมาถึงการลดการบ้านเพราะกลัวเด็กเครียด ซึ่งก็เป็นอย่างที่เห็น ทุกท่านไม่ต้องเชื่อผม ใครอยากรู้ความจริง หาเพื่อนพ้องญาติพี่น้อง (หรือหาแฟนก็ได้ ซึ่งผมไม่มีสิทธิ์ในฐานะนี้ T_T) ที่เป็นฝ่ายบุคคลในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วถามถึงคุณภาพเด็กจบใหม่ดู ท่านอาจจะต้องทนฟังคนกลุ่มดังกล่าวนั่งบ่นถึงปัญหาของเด็กรุ่นนี้ อย่างเป็นวรรคเป็นเวรได้ครึ่งค่อนชั่วโมงเลยก็เป็นได้ (เพราะผมโดนมาแล้ว - -!) ยังไม่นับเสียงบ่นของครูที่ต้องสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ว่าต้องเจออะไรกันบ้าง มีครั้งหนึ่งผมเคยยุขำๆ ให้ครูหนุ่มคนนึงไปหัดชกมวยกับยิงปืน เพราะเด็กบางคนโดนตีก็ไม่ได้ ด่าก็ไม่ได้ มันเอาพ่อแม่เอาพี่มันมาขู่ ทีนี้ถ้าเจอแบบนั้น ก็ฆ่ามันเลย (ไม่ได้พูดเล่น ผมอยากเห็นข่าวครูบันดาลโทสะ ฆ่าเด็กแย่ๆ กับพ่อแม่เลวๆ ด้วยสาเหตุที่ถูกกดดันทำนองนี้จริงๆ นะครับ เผื่อกระทรวงฯ และรัฐบาลจะได้หันมามองนโยบายที่ผิดพลาดของตัวเองบ้าง)
ดังนั้นสมมติฐานที่ว่า “ของเดิมคือแย่ ของใหม่น่าจะดีกว่า” อาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป เพราะวันนี้ก็เห็นแล้วว่า “นอกจากไม่ดีกว่าแล้ว มันยังแย่กว่าเดิมอีกด้วย” กล่าวคือจริงๆ แล้ว การมองเปรียบเทียบ มันต้องมี 3 ระดับ คือ “แย่กว่า ทรงตัว หรือดีกว่า” ซึ่งถ้าทำแล้วมันแย่กว่า ผมว่าให้มันทรงตัวแบบเดิม ยังพอจะประคองไปกันรอดได้ หากแต่คนกลุ่มนี้ดันลืมคำว่าทรงตัว แต่ไปมองเพียงแย่กับดีกว่าเท่านั้น
แล้วอะไรที่ทำให้เราเดินตามฝรั่งแล้วไม่ประสบความสำเร็จ? แถมกลายเป็นว่า “ยิ่งดิ้น ยิ่งเจ็บ” อีกต่างหาก
เล่าถึงตรงนี้ ผมขอยกเรื่องของเพื่อนผมคนหนึ่ง ที่มีโอกาสได้ไปอยู่อาศัยในเยอรมนี ในห้วงระยะสั้นๆ (ยาจกแบบผม อยากมีญาติอยู่ยุโรปหรืออเมริกามั่งอะ จะได้ไปท่องโลกกว้าง T_T) มันกลับมาเล่าให้ฟังว่า ประเทศนี้ “ครอบครัว” มีส่วนสำคัญมาก ในการหล่อหลอมบุคลิกภาพประชากรตั้งแต่แรกเกิด โดยยกตัวอย่าง 2 เหตุการณ์ เรื่องแรก อย่างที่เราทราบกันดี เยอรมนีและอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป แยกขยะกันเป็นเรื่องปกติ แต่คุณเพื่อนผมแกมาจากเมืองไทย เมืองที่อะไรๆ ก็ทิ้งรวมกันเป็นปกติ ปรากฏว่าโดนญาติต่อว่ายกใหญ่ครับ แล้วก็อธิบายว่าทำไมต้องแยกขยะ ส่วนเรื่องที่สอง เพื่อนผมเป็นเพศชาย ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะหา “หนังผู้ใหญ่” มาดูบ้าง แต่ด้วยความเป็นคนจากแดนสารขัณฑ์นครอย่างเราๆ ท่านๆ ที่อยากดูก็ดูคลิป ดูหนังพวกนี้กันตามใจชอบ ไม่เลือกเวลา-สถานที่ (ในสภาฯ มันยังแอบดูกันได้ - -!) แกก็ไปเปิดดูตอนกลางวัน ก็โดนญาติตำหนิเช่นเคย บอกว่าถ้าเด็กมาเห็นมันจะไม่ดี สรุปก็คือ จะดูก็ได้ แต่ต้องตอนดึกๆ ให้ลูกของญาติคนนี้เข้านอนไปก่อน
จากเรื่องเล่าของเพื่อนผม ท่านมองเห็นอะไรที่แตกต่างระหว่างสังคมเขากับเราไหมครับ? ถ้าไม่เห็น ผมเฉลยก็ได้ว่า “ครอบครัว” คือตัวแปรที่สำคัญที่สุด (ขนาดคนไทยเราไปแต่งงานกับฝรั่ง อยู่ไปนานๆ ก็พาลคิดและทำแบบฝรั่งไปด้วย) เห็นไหมครับว่าครอบครัวเขาใส่ใจเด็กๆ ของเขามากในด้าน “บุคลิกภาพที่พึงประสงค์” ดังนั้นหน้าที่ของครู จึงมีเพียงประการเดียวคือ “ให้ความรู้ทางวิชาการ” เท่านั้น เรื่องบุคลิกภาพ คุณธรรม-จริยธรรม หรือแม้แต่การสอน “วิธีคิดอย่างเป็นระบบ” เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง
แล้วบ้านเราเป็นแบบเขาหรือเปล่า?
คำตอบคือไม่ใช่แน่นอน ตั้งแต่สมัยเราๆ ท่านๆ ยังเป็นนักเรียน จนมาถึงสมัยนี้ ถามว่ามีพ่อแม่-ผู้ปกครองสักกี่คน ที่ให้ความสนใจกับ “การพบปะพูดคุยกับโรงเรียน” หรือแม้กระทั่ง “การพยายามทำความเข้าใจการบ้านของลูกหลานของตน” เพราะที่เห็นๆ ขนาดลูกทำผิดกฏระเบียบโรงเรียน หรือลูกเรียนอ่อนวิชาไหน ครูจะเชิญผู้ปกครองมาพูดคุย ก็ยังเป็นเรื่องยากเย็น ด้วยเหตุผลเดียวคือ “ไม่มีเวลา เพราะต้องทำงาน” ซึ่งผมก็ไม่อยากจะโทษผู้ปกครองอีก เพราะตัวเองก็เป็นมนุษย์เงินเดือน รู้ดีว่าการจะลาหยุดสักวัน เป็นเรื่องใหญ่มาก ยิ่งถ้าเป็นแรงงานระดับล่างๆ ที่กินค่าแรงรายวันด้วยแล้ว ยิ่งยากไปใหญ่ เพราะหยุด 1 วัน ค่าแรงก็หายไป 1 วันเช่นกัน (ต่อให้เพิ่มเป็นวันละ 500 ได้ก็เท่านั้น เพราะยิ่งเพิ่ม ค่าครองชีพก็ยิ่งสูงไปอีก)
ด้วยความที่ครอบครัวไทยส่วนใหญ่บอกปัดเรื่องภาระการอบรมลูก โดยเฉพาะพ่อแม่สมัยนี้ ที่ต้องปากกัดเท้าถีบมากขึ้น ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป (สมัยก่อน พ่อทำงาน แม่อยู่บ้านเลี้ยงลูกได้ แต่สมัยนี้ ต่อให้ลูกแค่คนเดียว ถ้าท่านไม่รวยจริง ยังไงก็ไม่พอกิน จึงต้องไปทำงานทั้ง 2 คน) ผลคือ สังคมไทยจึงต้องฝากภาระการเลี้ยงดู อบรมทั้งทางวิชาการ และบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ ไว้ที่ครูบาอาจารย์ 100% ซึ่งก่อนหน้า 10 ปีล่าสุดนี้ ครูยังมีไม้เรียวไว้กำราบเด็กเกเร และครูไม่ต้องทำงานเอกสารมาก จึงมีเวลาสอนเด็กในชั้นเรียนอย่างที่ควรจะเป็น หรือครูบางคนยังอาจเหลือเวลาไว้อบรมเด็กได้อีก ในฐานะ “อาจารย์ที่ปรึกษา” ประจำห้อง (สมัยนี้ยังมีอยู่ไหม? และได้ทำหน้าที่ดังกล่าวเหมือนเมื่อก่อนหรือเปล่า? จำได้ว่าสมัยที่ผมเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คาบ อ.ที่ปรึกษาต้องมาพบนักเรียนห้องที่ตนรับผิดชอบ) ที่ถือว่าอุดช่องว่างของครอบครัวแบบไทยๆ ได้ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเด็กฝรั่งไม่ต้องใช้ไม้เรียว , ทำไมไม่ต้องมีเครื่องแบบ-ทรงผม และทำไมไม่ต้องมีการบ้านเยอะ เพราะครอบครัวของเขาถือความรับผิดชอบ ในฐานะที่ทำให้เขาเกิดมา แต่บ้านเราคิดกันแต่เพียงว่า “ให้ข้าวกิน ให้เงินใช้ ส่งให้เรียน แล้วจะเอาอะไรอีก” (ถามว่าพ่อแม่ในไทยสักกี่คนที่จะรู้หลักวิชาเรื่องการเลี้ยงลูก โดยเฉพาะพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ซึ่งมันไม่ต้องใช้เงินมากอย่างที่เข้าใจกัน) แต่บ้านเรา ด้วยวัฒนธรรมก็ดี เศรษฐกิจก็ดี เราทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะขนาดเด็กในเมือง วันๆ จะเจอพ่อแม่หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะต่างคนต่างทำงานกลับก็ดึกดื่น ยิ่งไปดูเด็กในต่างจังหวัด ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไปทำงานในเมือง ทั้ง กทม. และตัว จว. ใหญ่ๆ ทิ้งให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ที่ช่องว่างระหว่างวัยมันห่างกัน จนคุยกันแทบไม่รู้เรื่อง ขณะที่เมืองฝรั่งเขา ไม่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำแบบเรา เขาก็อยู่ได้ (กฏหมายแรงงานเขาแข็งแรงจริงๆ ทำให้สวัสดิการเขาดีไปด้วย ซึ่งไม่รู้จะเป็นปัญหาหรือเปล่า อย่างฝรั่งเศส เอะอะๆ ก็นัดหยุดงาน) ดังนั้นเราจึงฝากความหวังให้ครู แต่เมื่อเราให้หน้าที่ แต่ไม่ให้อำนาจ เหมือนจ้างคนมาเป็นกุนซือ แต่ไม่ให้ดาบอาญาสิทธิ์ไว้กำราบพวกนอกลู่นอกทาง ผลคือกองทัพหรือองค์กรนั้นๆ ก็เละในที่สุด
ครอบครัวเป็นองคาพยพที่สำคัญที่สุด (สำคัญกว่าโรงเรียน สังคม หรือรัฐบาลด้วยซ้ำ) แต่ในเมื่อครอบครัวเราส่วนใหญ่ไม่ได้เดินบนเส้นทางสายเดียวกับเขา แล้วจะให้เราทำทุกอย่าง เช่นเดียวกับสังคมของเขา เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างที่เขาเป็นมาแล้ว ได้อย่างไร?
ผมถึงว่า..ถึงเวลาแล้ว ที่เราอาจจะต้องเลิกตามฝรั่ง แล้วหันกลับมาดูตัวเอง ว่าในเมื่อรากฐานสังคมเรา (อย่างน้อยก็ ณ วันนี้) ไม่เหมือนเขา และรัฐคงไม่สามารถไปสั่งครอบครัวแต่ละครอบครัว ให้เดินไปในทางสายเดียวกับตะวันตกได้ แล้วเราจะออกแบบหลักสูตรใหม่ ให้เข้ากับบริบทสังคมของเรายังไง?
ถอยหลัง-ล้าหลัง ไม่น่าอายหรอกครับ อย่างน้อยถ้าถอยแล้วยังยืนอยู่ได้ ไม่ใช่เดินหน้าอย่างเท่ๆ แม้ว่าข้างหน้าจะตกเหวไปก็ตาม
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า วาเลนไทน์ (ขอดราม่าหนักๆ ซะทีนะครับ รอบหน้า เอิกๆ)
.............................................
Siam Shinsengumi
การศึกษาไทย : แน่ใจหรือว่าเราจะยังคงเดินตาม “ฝรั่ง”?
E-Mail : siam_shinsengumi@hotmail.com
FaceBook : Siam Shinsengumi
ก่อนตัดสินใจเขียนบทความนี้ ผมถอนหายใจพลางส่ายหัวอีกครั้ง หลังจากที่สัปดาห์ก่อน ผมเพิ่งพูดถึงเรื่องการแข่งขัน ประชันเสื้อผ้าหน้าผมในโรงเรียน ซึ่งเครื่องแบบและทรงผมแม้ว่าจะช่วยไม่ได้ 100% แต่ก็ถือว่าได้เกินครึ่งในการจำกัดเพดานการเปรียบเทียบ ขณะที่ยังไม่พ้นสัปดาห์ นโยบายอันพิลึกพิลั่นของกระทรวงศึกษาธิการก็มาอีกแล้ว นั่นคือการ “ลดการบ้านเด็ก” เพราะกลัวเด็กเครียด ซึ่งแน่นอนว่า มันได้กลายเป็นวิวาทะต่อเนื่องบนโลกออนไลน์และโลกภายนอกทันที ระหว่างเพื่อนพ้องมิตรสหายสาย Conservative (ท่านไม่เห็นเราเป็นมิตร เราไม่ว่า) ที่เห็นบทเรียนจากการ “ริบไม้เรียว” มาแล้ว กับอริศัตรูปรปักษ์สาย Liberal (อย่างน้อยผมคนหนึ่งที่เห็นคนกลุ่มนี้เป็นศัตรู) ที่วันๆ เชิดชูแต่ “เสรีภาพส่วนบุคคล” และมองว่าทุกวันนี้มีแต่แย่ลง ดังนั้นลองเปลี่ยนดู อะไรๆ อาจจะดีขึ้นก็ได้
พูดถึงเรื่องการบ้าน ก่อนอื่นผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าการบ้านเด็กสมัยนี้เยอะจริงๆ อย่างน้อยๆ ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีก่อน สมัยที่ผมยังละอ่อนเป็นเด็กมัธยม การบ้านไม่เยอะเท่านี้ (เว้นแต่เฉพาะเด็กวิทย์-คณิต แต่ถ้าเทียบกันเฉพาะสาย เด็กวิทย์สมัยก่อน การบ้านก็ยังน้อยกว่าเด็กวิทย์สมัยนี้อยู่ดี) ทีนี้คือ อะไรทำให้ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ เด็กต้องทำการบ้านมากขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับการกวดวิชาอย่างมหาโหดแล้ว ไม่แปลกที่เด็กจะเครียด
คำตอบอยู่ที่ “กระทรวงศึกษาธิการ”
ทำไมผมถึงชี้ไปที่กระทรวงฯ ก่อนหน่วยงานอื่น? นั่นเพราะบรรดาผู้บริหารที่นั่งออกนโยบาย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ท่านได้ “เพิ่มภาระ” ให้ครูอย่างมหาศาล ในด้านเอกสารเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ และใช้มาตรฐานนี้กับทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนดังๆ ในเขตตัวเมืองแต่ละจังหวัด ไปจนถึงโรงเรียนธรรมดาๆ ในเขตห่างไกล ซึ่งผลก็เป็นอย่างที่ทุกท่านทราบดี ว่าทุกวันนี้ครูไม่มีเวลาสอนหนังสือ เพราะต้องเอาเวลาไปทำเอกสาร ทั้งของส่วนบุคคลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และของส่วนรวมตามนโยบายผู้บริหารโรงเรียน ที่นับวันมีแต่จะพยายามยกระดับโรงเรียนของตนให้เป็น A หรือ S Class ให้ได้ ยามที่มีผู้มาประเมิน (ซึ่งก็รู้กันดีว่าการประเมินทุกครั้ง มันก็แค่ภาพลวงตา คุณภาพของเด็กไม่ได้ดีจริงๆ แต่อย่างใด)
เมื่อครูไม่มีเวลาสอนหนังสือ แต่หน้าที่ “สอน” ยังเป็นหน้าที่หลักของครู ทั้งตามกฏระเบียบของกระทรวง และจากความคาดหวังของสังคม ซึ่งหวังว่าเมื่อเด็กมาเรียนแล้ว พ่อแม่ก็เสียค่าเทอมแล้ว (นโยบายเรียนฟรี ก็ยังถือว่าพ่อแม่เสียค่าเทอมทางอ้อม ในรูปของภาษี) ผลคือครูก็ต้องใช้วิธี “แจกชีท-ให้การบ้าน” แล้วให้เด็กไปทำกันเอง ผมไม่ได้ล้อเล่นนะครับ ถ้าใครเป็นคนยุคเดียวกับผม (เรียนจบ ม.6 ในหลักสูตรเก่า ซึ่งรุ่นสุดท้ายคือพวกที่จบต้นปี 2547) เชื่อเถอะครับ รุ่นพวกเราจำนวนการบ้านไม่มากไปกว่าเด็กสมัยนี้แน่นอน ถ้าท่านไม่เชื่อผม ท่านลองนึกดูก็ได้ ว่าพวกรุ่นน้องเราๆ ท่านๆ ที่ใช้หลักสูตรใหม่ ได้ชีทเอกสารวันๆ หนึ่งเท่าไร มีการบ้านทำ Powerpoint , พิมพ์รายงานเท่าไร ขณะที่รุ่นเราหรือก่อนหน้าเรา อาจจะได้จด Lecture หน้าห้อง รวมถึงอาจจะโดนอาจารย์จี้ถามเป็นรายบุคคลมากกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งผมไม่โทษครู เพราะอย่างน้อยที่แจกๆ ไป ไม่ว่าเด็กมันจะทำเองหรือลอก มันก็ยังเข้าหัวบ้างไม่มากก็น้อย ก็น่าจะมีคนได้ความรู้บ้าง (เพียงแต่มันไม่ตอบโจทย์ ในการพัฒนาความรู้ให้กับคนจำนวนมากๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการศึกษาในระดับมหภาค)
ทีนี้ผมกลับมาที่คำถามบนหัวข้อบทความ ว่าสมควรแล้วหรือ? ที่เราจะยังพยายามเดินตามฝรั่งต่อไป ซึ่งไม่ว่าใครจะตอบยังไงก็ตาม สำหรับผม..ผมว่า “พอเถอะครับ เลิกพยายามเดินตามเขาเถอะ” พูดแบบนี้บรรดาอริศัตรูของผม คงจะได้ใจและทับถมว่า “เห็นไหม มันไม่อยากเห็นการพัฒนา มันเป็นพวกศักดินาล้าหลัง” ซึ่งคำพูดแบบนี้ล่ะครับ ที่ทำให้ผมเห็นปัญหาเกี่ยวกับระบบคิดของคนกลุ่มนี้ได้ประการหนึ่ง
นั่นก็คือ “ของเดิมคือแย่ ของใหม่น่าจะดีกว่า”
เพราะคิดกันแบบนี้ เราจึงทำทุกอย่างที่จะเดินตามฝรั่ง ตั้งแต่เลิกไม้เรียว เลิกการซ้ำชั้น ตามด้วยการเลิกระบบสอบตกแล้วซ่อมด้วยการห้ามเด็กสอบตก จนมาถึงการลดการบ้านเพราะกลัวเด็กเครียด ซึ่งก็เป็นอย่างที่เห็น ทุกท่านไม่ต้องเชื่อผม ใครอยากรู้ความจริง หาเพื่อนพ้องญาติพี่น้อง (หรือหาแฟนก็ได้ ซึ่งผมไม่มีสิทธิ์ในฐานะนี้ T_T) ที่เป็นฝ่ายบุคคลในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วถามถึงคุณภาพเด็กจบใหม่ดู ท่านอาจจะต้องทนฟังคนกลุ่มดังกล่าวนั่งบ่นถึงปัญหาของเด็กรุ่นนี้ อย่างเป็นวรรคเป็นเวรได้ครึ่งค่อนชั่วโมงเลยก็เป็นได้ (เพราะผมโดนมาแล้ว - -!) ยังไม่นับเสียงบ่นของครูที่ต้องสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ว่าต้องเจออะไรกันบ้าง มีครั้งหนึ่งผมเคยยุขำๆ ให้ครูหนุ่มคนนึงไปหัดชกมวยกับยิงปืน เพราะเด็กบางคนโดนตีก็ไม่ได้ ด่าก็ไม่ได้ มันเอาพ่อแม่เอาพี่มันมาขู่ ทีนี้ถ้าเจอแบบนั้น ก็ฆ่ามันเลย (ไม่ได้พูดเล่น ผมอยากเห็นข่าวครูบันดาลโทสะ ฆ่าเด็กแย่ๆ กับพ่อแม่เลวๆ ด้วยสาเหตุที่ถูกกดดันทำนองนี้จริงๆ นะครับ เผื่อกระทรวงฯ และรัฐบาลจะได้หันมามองนโยบายที่ผิดพลาดของตัวเองบ้าง)
ดังนั้นสมมติฐานที่ว่า “ของเดิมคือแย่ ของใหม่น่าจะดีกว่า” อาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป เพราะวันนี้ก็เห็นแล้วว่า “นอกจากไม่ดีกว่าแล้ว มันยังแย่กว่าเดิมอีกด้วย” กล่าวคือจริงๆ แล้ว การมองเปรียบเทียบ มันต้องมี 3 ระดับ คือ “แย่กว่า ทรงตัว หรือดีกว่า” ซึ่งถ้าทำแล้วมันแย่กว่า ผมว่าให้มันทรงตัวแบบเดิม ยังพอจะประคองไปกันรอดได้ หากแต่คนกลุ่มนี้ดันลืมคำว่าทรงตัว แต่ไปมองเพียงแย่กับดีกว่าเท่านั้น
แล้วอะไรที่ทำให้เราเดินตามฝรั่งแล้วไม่ประสบความสำเร็จ? แถมกลายเป็นว่า “ยิ่งดิ้น ยิ่งเจ็บ” อีกต่างหาก
เล่าถึงตรงนี้ ผมขอยกเรื่องของเพื่อนผมคนหนึ่ง ที่มีโอกาสได้ไปอยู่อาศัยในเยอรมนี ในห้วงระยะสั้นๆ (ยาจกแบบผม อยากมีญาติอยู่ยุโรปหรืออเมริกามั่งอะ จะได้ไปท่องโลกกว้าง T_T) มันกลับมาเล่าให้ฟังว่า ประเทศนี้ “ครอบครัว” มีส่วนสำคัญมาก ในการหล่อหลอมบุคลิกภาพประชากรตั้งแต่แรกเกิด โดยยกตัวอย่าง 2 เหตุการณ์ เรื่องแรก อย่างที่เราทราบกันดี เยอรมนีและอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป แยกขยะกันเป็นเรื่องปกติ แต่คุณเพื่อนผมแกมาจากเมืองไทย เมืองที่อะไรๆ ก็ทิ้งรวมกันเป็นปกติ ปรากฏว่าโดนญาติต่อว่ายกใหญ่ครับ แล้วก็อธิบายว่าทำไมต้องแยกขยะ ส่วนเรื่องที่สอง เพื่อนผมเป็นเพศชาย ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะหา “หนังผู้ใหญ่” มาดูบ้าง แต่ด้วยความเป็นคนจากแดนสารขัณฑ์นครอย่างเราๆ ท่านๆ ที่อยากดูก็ดูคลิป ดูหนังพวกนี้กันตามใจชอบ ไม่เลือกเวลา-สถานที่ (ในสภาฯ มันยังแอบดูกันได้ - -!) แกก็ไปเปิดดูตอนกลางวัน ก็โดนญาติตำหนิเช่นเคย บอกว่าถ้าเด็กมาเห็นมันจะไม่ดี สรุปก็คือ จะดูก็ได้ แต่ต้องตอนดึกๆ ให้ลูกของญาติคนนี้เข้านอนไปก่อน
จากเรื่องเล่าของเพื่อนผม ท่านมองเห็นอะไรที่แตกต่างระหว่างสังคมเขากับเราไหมครับ? ถ้าไม่เห็น ผมเฉลยก็ได้ว่า “ครอบครัว” คือตัวแปรที่สำคัญที่สุด (ขนาดคนไทยเราไปแต่งงานกับฝรั่ง อยู่ไปนานๆ ก็พาลคิดและทำแบบฝรั่งไปด้วย) เห็นไหมครับว่าครอบครัวเขาใส่ใจเด็กๆ ของเขามากในด้าน “บุคลิกภาพที่พึงประสงค์” ดังนั้นหน้าที่ของครู จึงมีเพียงประการเดียวคือ “ให้ความรู้ทางวิชาการ” เท่านั้น เรื่องบุคลิกภาพ คุณธรรม-จริยธรรม หรือแม้แต่การสอน “วิธีคิดอย่างเป็นระบบ” เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง
แล้วบ้านเราเป็นแบบเขาหรือเปล่า?
คำตอบคือไม่ใช่แน่นอน ตั้งแต่สมัยเราๆ ท่านๆ ยังเป็นนักเรียน จนมาถึงสมัยนี้ ถามว่ามีพ่อแม่-ผู้ปกครองสักกี่คน ที่ให้ความสนใจกับ “การพบปะพูดคุยกับโรงเรียน” หรือแม้กระทั่ง “การพยายามทำความเข้าใจการบ้านของลูกหลานของตน” เพราะที่เห็นๆ ขนาดลูกทำผิดกฏระเบียบโรงเรียน หรือลูกเรียนอ่อนวิชาไหน ครูจะเชิญผู้ปกครองมาพูดคุย ก็ยังเป็นเรื่องยากเย็น ด้วยเหตุผลเดียวคือ “ไม่มีเวลา เพราะต้องทำงาน” ซึ่งผมก็ไม่อยากจะโทษผู้ปกครองอีก เพราะตัวเองก็เป็นมนุษย์เงินเดือน รู้ดีว่าการจะลาหยุดสักวัน เป็นเรื่องใหญ่มาก ยิ่งถ้าเป็นแรงงานระดับล่างๆ ที่กินค่าแรงรายวันด้วยแล้ว ยิ่งยากไปใหญ่ เพราะหยุด 1 วัน ค่าแรงก็หายไป 1 วันเช่นกัน (ต่อให้เพิ่มเป็นวันละ 500 ได้ก็เท่านั้น เพราะยิ่งเพิ่ม ค่าครองชีพก็ยิ่งสูงไปอีก)
ด้วยความที่ครอบครัวไทยส่วนใหญ่บอกปัดเรื่องภาระการอบรมลูก โดยเฉพาะพ่อแม่สมัยนี้ ที่ต้องปากกัดเท้าถีบมากขึ้น ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป (สมัยก่อน พ่อทำงาน แม่อยู่บ้านเลี้ยงลูกได้ แต่สมัยนี้ ต่อให้ลูกแค่คนเดียว ถ้าท่านไม่รวยจริง ยังไงก็ไม่พอกิน จึงต้องไปทำงานทั้ง 2 คน) ผลคือ สังคมไทยจึงต้องฝากภาระการเลี้ยงดู อบรมทั้งทางวิชาการ และบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ ไว้ที่ครูบาอาจารย์ 100% ซึ่งก่อนหน้า 10 ปีล่าสุดนี้ ครูยังมีไม้เรียวไว้กำราบเด็กเกเร และครูไม่ต้องทำงานเอกสารมาก จึงมีเวลาสอนเด็กในชั้นเรียนอย่างที่ควรจะเป็น หรือครูบางคนยังอาจเหลือเวลาไว้อบรมเด็กได้อีก ในฐานะ “อาจารย์ที่ปรึกษา” ประจำห้อง (สมัยนี้ยังมีอยู่ไหม? และได้ทำหน้าที่ดังกล่าวเหมือนเมื่อก่อนหรือเปล่า? จำได้ว่าสมัยที่ผมเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คาบ อ.ที่ปรึกษาต้องมาพบนักเรียนห้องที่ตนรับผิดชอบ) ที่ถือว่าอุดช่องว่างของครอบครัวแบบไทยๆ ได้ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเด็กฝรั่งไม่ต้องใช้ไม้เรียว , ทำไมไม่ต้องมีเครื่องแบบ-ทรงผม และทำไมไม่ต้องมีการบ้านเยอะ เพราะครอบครัวของเขาถือความรับผิดชอบ ในฐานะที่ทำให้เขาเกิดมา แต่บ้านเราคิดกันแต่เพียงว่า “ให้ข้าวกิน ให้เงินใช้ ส่งให้เรียน แล้วจะเอาอะไรอีก” (ถามว่าพ่อแม่ในไทยสักกี่คนที่จะรู้หลักวิชาเรื่องการเลี้ยงลูก โดยเฉพาะพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ซึ่งมันไม่ต้องใช้เงินมากอย่างที่เข้าใจกัน) แต่บ้านเรา ด้วยวัฒนธรรมก็ดี เศรษฐกิจก็ดี เราทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะขนาดเด็กในเมือง วันๆ จะเจอพ่อแม่หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะต่างคนต่างทำงานกลับก็ดึกดื่น ยิ่งไปดูเด็กในต่างจังหวัด ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไปทำงานในเมือง ทั้ง กทม. และตัว จว. ใหญ่ๆ ทิ้งให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ที่ช่องว่างระหว่างวัยมันห่างกัน จนคุยกันแทบไม่รู้เรื่อง ขณะที่เมืองฝรั่งเขา ไม่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำแบบเรา เขาก็อยู่ได้ (กฏหมายแรงงานเขาแข็งแรงจริงๆ ทำให้สวัสดิการเขาดีไปด้วย ซึ่งไม่รู้จะเป็นปัญหาหรือเปล่า อย่างฝรั่งเศส เอะอะๆ ก็นัดหยุดงาน) ดังนั้นเราจึงฝากความหวังให้ครู แต่เมื่อเราให้หน้าที่ แต่ไม่ให้อำนาจ เหมือนจ้างคนมาเป็นกุนซือ แต่ไม่ให้ดาบอาญาสิทธิ์ไว้กำราบพวกนอกลู่นอกทาง ผลคือกองทัพหรือองค์กรนั้นๆ ก็เละในที่สุด
ครอบครัวเป็นองคาพยพที่สำคัญที่สุด (สำคัญกว่าโรงเรียน สังคม หรือรัฐบาลด้วยซ้ำ) แต่ในเมื่อครอบครัวเราส่วนใหญ่ไม่ได้เดินบนเส้นทางสายเดียวกับเขา แล้วจะให้เราทำทุกอย่าง เช่นเดียวกับสังคมของเขา เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างที่เขาเป็นมาแล้ว ได้อย่างไร?
ผมถึงว่า..ถึงเวลาแล้ว ที่เราอาจจะต้องเลิกตามฝรั่ง แล้วหันกลับมาดูตัวเอง ว่าในเมื่อรากฐานสังคมเรา (อย่างน้อยก็ ณ วันนี้) ไม่เหมือนเขา และรัฐคงไม่สามารถไปสั่งครอบครัวแต่ละครอบครัว ให้เดินไปในทางสายเดียวกับตะวันตกได้ แล้วเราจะออกแบบหลักสูตรใหม่ ให้เข้ากับบริบทสังคมของเรายังไง?
ถอยหลัง-ล้าหลัง ไม่น่าอายหรอกครับ อย่างน้อยถ้าถอยแล้วยังยืนอยู่ได้ ไม่ใช่เดินหน้าอย่างเท่ๆ แม้ว่าข้างหน้าจะตกเหวไปก็ตาม
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า วาเลนไทน์ (ขอดราม่าหนักๆ ซะทีนะครับ รอบหน้า เอิกๆ)
.............................................
Siam Shinsengumi