คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เท่าที่ทำอัควาฤเกีย(aqua regia) มา หากผสมเลยจากกรดเกลือเข้มข้นแลกรดดินประสิวเข้มข้น
เล็งเอาด้วยตากะตามปริมาตรได้เปน HCl 4:1 HNO3 เลย (ประมาณจากความเข้มข้นกรดแลความหนาแน่นของเหลวแล้ว)
หรือหากโดยโมลก็ 3:1 ดังความคิดเห็นด้านบนกล่าวไว้
ผสมช้าๆจักเกิดความร้อนหากเทใส่ไวไปจะได้ควันส้ม
ยามผสมพร้อมบริบูรณ์แล้วจงรีบใช้ อย่าเก็บไว้หลายยามจักสลายตัวได้
ทั้งนี้ปริมาณของอัควาฤเกียที่ใช้นั้นต้องมากพอที่จะละลายสารที่จักวิเคราะห์ได้หมด
ทั้งนี้โดยปกติแล้วเพียงเติมให้ท่วมธุลีตัวอย่างนั้นก็มีปริมาณกรดมากพอแล้ว
อาจลองเติมให้ท่วมแลทำให้ร้อนก่อนแล้วค่อยเพิ่มลงอีกทีละน้อย
จนตะกอนที่เหลือหามีการเปลี่ยนแปลงปริมาณอีกต่อไปไม่
จึงจักตั้งสมมติฐานว่าโลหะหนักทั้งหลายนั้นสลายลงเป็นไอออนหมด
ทั้งนี้มีข้อสังเกตคือ ธาตุเงิน(Ag) จักไม่ละลายในกรดนี้
แต่หากตกเป็นตะกอนขาวของสินแร่ คลอระจิไร แทน(Chloroagyrite; AgCl)
มิทราบว่าท่านจขกทจักนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ด้วยกลใดต่อ
วิธีบุราณเช่นการทดสอบด้วยสารละลายต่างๆแล้วดูสีหรือการตกตะกอน
ฤๅใช้เครื่อง ปรมาณูอัชโฌหรติทัศนุมาตร (atomic absorption spectrometer: AA) ?
เล็งเอาด้วยตากะตามปริมาตรได้เปน HCl 4:1 HNO3 เลย (ประมาณจากความเข้มข้นกรดแลความหนาแน่นของเหลวแล้ว)
หรือหากโดยโมลก็ 3:1 ดังความคิดเห็นด้านบนกล่าวไว้
ผสมช้าๆจักเกิดความร้อนหากเทใส่ไวไปจะได้ควันส้ม
ยามผสมพร้อมบริบูรณ์แล้วจงรีบใช้ อย่าเก็บไว้หลายยามจักสลายตัวได้
ทั้งนี้ปริมาณของอัควาฤเกียที่ใช้นั้นต้องมากพอที่จะละลายสารที่จักวิเคราะห์ได้หมด
ทั้งนี้โดยปกติแล้วเพียงเติมให้ท่วมธุลีตัวอย่างนั้นก็มีปริมาณกรดมากพอแล้ว
อาจลองเติมให้ท่วมแลทำให้ร้อนก่อนแล้วค่อยเพิ่มลงอีกทีละน้อย
จนตะกอนที่เหลือหามีการเปลี่ยนแปลงปริมาณอีกต่อไปไม่
จึงจักตั้งสมมติฐานว่าโลหะหนักทั้งหลายนั้นสลายลงเป็นไอออนหมด
ทั้งนี้มีข้อสังเกตคือ ธาตุเงิน(Ag) จักไม่ละลายในกรดนี้
แต่หากตกเป็นตะกอนขาวของสินแร่ คลอระจิไร แทน(Chloroagyrite; AgCl)
มิทราบว่าท่านจขกทจักนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ด้วยกลใดต่อ
วิธีบุราณเช่นการทดสอบด้วยสารละลายต่างๆแล้วดูสีหรือการตกตะกอน
ฤๅใช้เครื่อง ปรมาณูอัชโฌหรติทัศนุมาตร (atomic absorption spectrometer: AA) ?
แสดงความคิดเห็น
ปรึกษาเกี่ยวกับการ digestion ด้วยกรดค่ะ