ผมว่าถึงอย่างไร รัฐบาลก็ยังคานกับอํานาจ ตุลาการ ได้อยู่...... อยู่ที่ว่าจะกล้าหรือไม่เท่านั้น

กระทู้สนทนา
..เมื่ออํานาจตุลาการ เป็นปฏิปักษ์
ไม่สนองต่อนโยบายของรัฐบาล ในการที่จะนํามาซึ่งความปรองดอง

..คดีไหน ที่สวนทางกับความรู้สึก หรือ บางฝ่ายมองว่าไม่เป็นธรรม
จนอาจจะนํามาซึ่งความแตกแยก ส่งผลกระทบกับความมั่นคงของประเทศ
รัฐบาลก็ควรแก้ปัญหา ด้วยวิธีการออกกฏหมายนิรโทษกรรม เสียให้หมด

..ทุกคนย่อมมีความเท่าเทียมกันทางกฏหมาย
..แต่ในมุมของรัฐบาล  การบริหารประเทศ ผมว่าจะมองในเชิงกฏหมายอย่างเดียวคงไม่ได้
ต้องยึดเอา รัฐศาสตร์เป็นหลัก
..อย่าลืม  รัฐบาลไม่ใช่อํานาจตุลาการ รัฐบาลคืออํานาจฝ่ายบริหาร
หน้าที่หลัก ทําอย่างไรให้ประเทศเกิดความสงบ ปรองดอง

หากศาลพิพากษาลงโทษใคร (ต้องเข้าใจว่า นั่นเป็นเรื่องของกระบวนการ ยุติธรรม)
แต่หากการลงโทษนั้น อาจนํามาซึ่งความความแตกแยก จนมีผลกระทบกับความมั่นคง
รัฐบาลก็มีสิทธิ ใช้อํานาจในเชิงบริหาร ยับยั้งเอาไว้ เพราะนี่ เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
ในการที่จะทําให้บ้านเมือง กลัยคืนสู่ความสงบปรองดอง

ในเชิงรัฐศาตร์   การบริหารประเทศ หรือ บริหารองค์กร
แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันไป ตามลําดับชั้นความสําคัญ

หนือแม้แต่ในกองทัพ  ทางกฏหมายทั่วไป ผบ.สูงสุด แม้จะเทียบเท่ากับ พลทหาร
แต่ในเชิงการบริหาร จะให้ ผบ.สูงสุด มีความสําคัญ เทียบเท่ากับ พลทหาร ย่อมเป็นไปไม่ได้

มันอยู่ที่ความเข้าใจของแต่ละคนว่า จะพูด หรือ มองจากมุมไหน
ตุลาการ จะพูดในเชิงกฏหมายก็ปล่อยให้พวกท่านว่ากันไป(ตามสบาย)
แต่ในมุมรัฐบาล
ผมว่าควรยึดเอาเรื่องการบริหาร หรือ รัฐศาสตร์ ไว้เป็นหลักดีกว่าครับ
อย่าไปหลงคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งศาล
ไม่งั้นรัฐบาล ก็ไม่ต่างอะไรกับองค์กรอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้อํานาจตุลาการ

แม้แต่งานพระราชพิธี
ยังจัดลําดับชั้นให้นายก มีความสําคัญสูงสุด
รองลงมาคือ ประธานสภา ประธานศาลฏีกา  ตามลําดับ
เพระ นายก คือตัวแทนของรัฐบาล ที่มาจากอํานาจสูงสุดในประเทศนี้ ก็คือ อํานาจของประชาชน

เป็นดังนี้แล้ว  กล้าหน่อยสิครับ อย่าปล่อยให้..................... ความกลัวทําให้เสื่อม

--------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่