ทำไมเราจะต้องคิดถึงชาติหน้าครับ... แล้วทำไมเราจะต้องแสวงหานิพพาน

ทำกรรมดี.....  ชาติหน้าได้เกิดเป็นคนอีก....     ทำดีไปเรื่อยๆ  เข้าสู่นิพพาน

ทำกรรมชั่ว   ชาติหน้า เกิดเป็นหนอนบ้าง   เกิดเป็นคนที่มีชีวิตแย่บ้าง...

แต่ผมสงสัยว่า......  ชาตินี้และชาติหน้า  เราก็ไม่รู้จักกันอยู่แล้ว   จำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว   เหมือนเป็นคนละคน.....  ถ้าผมทำเลวในชาตินี้... แล้วผมจะไปแคร์อะไรกับตัวผมในชาติหน้า  มันจะไปเกิดเป็นอะไร  จะเจออะไรก็ไม่ส่งผมมาถึงผมอยู่แล้ว   ..... แล้วจะไปสนใจอะไรกับชาติหน้าครับ   ชาติหน้ามีจริงมั๊ยยังไม่มีใครยืนยันด้วยซ้ำ

แล้วนิพพาน.....  นิพพานมีจริงไหมก็ยังไม่แน่นอน....  แล้วนิพพานแล้วได้อะไรครับ??  ไม่ต้องเกิดใหม่??  งั้นจุดสุดท้ายของศาสนาคือในจักรวาลนี้ไม่มีสิ่งมีชีวิตเลยใช่หรือไม่?  เพราะทุกคนนิพพานหมด?  แล้วถ้านิพพานมีจริง....  แปลว่าจำนวนสิ่งมีชีวิตในโลกต้องคงที่ จริงหรือ...
แล้วที่จำนวนมนุษย์มากขึ้นในรอบหลายร้อยปีหลัง  เพราะสัตว์มันทำกรรมดีมากกขึ้นเหรอ?

ตกลงทำไมเราต้องคิดถึงชาติหน้าครับ   การไม่ต้องเกิดก็ดีครับ  แต่การได้เกิดมาก็ดีเช่นกัน  แล้วเราจะเข้าสู่นิพพานเพื่ออะไรครับ

ไม่ได้มาหาเรื่องนะครับ ตอบใจเย็นๆ  แค่สงสัยครับ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
เรื่องชีวิตหลังความตาย  มันไม่มีข้อพิสูจน์ มนุษย์เราเลย"กลัว"

ที่คนคิดถึงเรื่อง ชาติหน้า  เพราะ "ความกลัว"   กลัวจะลำบาก กลัวจะเกิดมาในสภาพแย่ๆ

ศาสนาที่ไม่เชื่อเรื่อง ชาติหน้า สอนว่าตายแล้วถ้าทำดีได้ไปอยู่กับพระเจ้า  ทำชั่วตกนรก  แสดงว่าถึงไม่มีชาติหน้า ก็มีชีวิตหลังความตายอีกรูปแบบหนึ่ง    ซึ่งก็ทำให้คน "กลัว" ในผลการกระทำของตัวเองเช่นกัน  

ความเชื่อทางศาสนามีเพื่อให้คนกลัวในการกระทำสิ่งไม่ดี      
  แต่ความรู้สึกผิดบาปเกิดขึ้นในใจมนุษย์เองโดยไม่ต้องมีความเชื่อทางศาสนาใด   ที่เขาเรียกสวรรค์ในอกนรกในใจ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ทำไมจึงคิดถึงชาติหน้า?
ก็เพราะถูกศาสนาบอกให้คิด

ความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่า เครื่องมือกำกับควบคุมสังคม เช่นเดียวกับกฎหมาย
เป็นสิ่งที่ศาสนานำมากล่าวอ้างเพื่อให้ผู้คนเกรงกลัวและปฏิบัติตามคำสอน
เพราะ ความกลัวตาย เป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ยิ่งเป็นความกลัวหลังความตาย ยิ่งน่ากลัวเข้าไปอีก

เนื่องจากไม่มีใครทราบว่าเมื่อตายแล้วจะเป็นอย่างไร
นักบวชและผู้นำทางศาสนาจึงนำจุดนี้มาเป็นเครื่องมือ กล่าวอ้างว่า เมื่อตายไปแล้วจะเป็น อย่างนั้นอย่างนี้
ทำ...แล้วตายไปจะทุกทรมาน ดังนั้นจงทำ....แล้วจะได้เสวยสุข
แน่นอนว่า หลังตายไปแล้วจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ก็ไม่มีทางบอกได้
วิธีนี้จึงเป็นจิตวิทยาแบบหนึ่งที่เล่นกับ "ความไม่แน่นอน" และความคิดว่า "ถ้ามันเป็นจริง ก็กลับมาแก้ไขไม่ได้"
ดังนั้น "ผู้ที่เชื่อ" ก็จะยอมทำตามคำสั่งสอน

แสวงหานิพพานไปทำไม?
การจะจูงใจให้ผู้คนทำสิ่งใดๆ นั้น ลำพังความกลัวตามที่กล่าวมามักไม่เพียงพอ
เนื่องจากคำสอนหรือหลักปฏิบัติของศาสนา มักแตกต่างและขัดแย้งจากการใช้ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์
เช่น การห้ามใช่กำลังแย่งชิง ห้ามมีเพศสัมพันธ์ หรือห้ามรับประทานอาหารบางชนิด
พูดให้ง่ายก็คือ ห้ามทำตามใจตนเอง
การจะให้ผู้คนปฏิบัติตามได้โดยไม่เลิกล้มเสียก่อนจึงต้องมี "รางวัล" เป็นเป้าหมายด้วย
ซึ่ง รางวัล นี้แตกต่างกันไปตามแต่ละศาสนา

ด้วยระบบนี้
ศาสนาจึงอยู่ในฐานะเครื่องมือในการควบคุมสังคมรวมกับกฎหมาย
โดยศาสนาสามารถอุดช่องโห่วของกฎหมาย
ซึ่งก็คือ การควบคุมได้แต่การกระทำ
เนื่องจากกฎหมายลงโทษบุคคลได้ ต่อเมื่อการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว และลงโทษสูงสุดได้แค่ ความตาย
จึงต้องมีศาสนามา ความคุมความคิดผู้คนไม่ให้คิดก่ออาชาญากรรม และลงโทษผู้กระทำผิด "หลังความตาย"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่