(วิเคราะห์/มติชนรายวัน 27 มกราคม 2556)
นับเป็นการแข่งขันที่เร้าใจอีกครั้งหนึ่ง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นับถึงวันศุกร์ที่25 ม.ค.ที่ผ่านมา
อันเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร มีจำนวนผู้สมัครถึง 25 คน
อย่างไรก็ตาม โดยชื่อชั้นและแบ๊กอัพ เป็นอันว่า สปอตไลต์การเมือง
ฉายจับไปที่ 2 คน
หนึ่งคือ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรอง ผบ.ตร. อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.
จากพรรคเพื่อไทย
ถอดเครื่องแบบมาลงสมัคร ไม่ต้องจับสลาก แต่ได้เบอร์ 9 ไปแบบเฮงๆ
อีกหนึ่ง ได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ที่ยื่นใบลาออก
2-3 วันก่อนครบวาระ จับได้เบอร์ 16 จากพรรคประชาธิปัตย์
ทันทีที่ได้เบอร์ พรรคเพื่อไทยเปิดเกมรุกทันที แบบไม่ให้อีกฝ่ายหายใจหายคอ
ด้วยกิจกรรมเดินพบประชาชน แล้วเปิดปราศรัยที่ลานคนเมือง
หน้าศาลาว่าการกรุงเทพฯ
ชิงทำคะแนนจากภาคสนาม เคลื่อนไหวคล่องแคล่วแทบไม่หยุด อันเป็นบุคลิก
เฉพาะ ของ พล.ต.อ.พงศพัศ
ตรงกันข้ามกับภาพเก้ๆ กังๆ ฝืดๆ ของผู้สมัครคู่แข่ง
วัดน้ำหนักตัว ประสบการณ์ และสภาพร่างกาย การฟิตซ้อม จะพบว่าผู้สมัคร
พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแชมป์เก่า แต่กลับไม่ได้เปรียบผู้สมัครพรรคเพื่อไทย
สักเท่าไหร่
เจ้าของสมญาหวาน จูดี้ เป็นตำรวจที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำงาน
สัมผัสประชาชนมาโดยตลอด
ความถนัดที่ไม่แพ้พรรคประชาธิปัตย์ของ จูดี้ คือการพูดจาอธิบายความ
แม้กระทั่งการโต้ตอบผ่านสื่อ ในที่สาธารณะ ในฐานะที่เคยเป็นโฆษก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การทำงานแบบ ไฮเปอร์ ไม่ยอมอยู่นิ่งของ พล.ต.อ.พงศพัศ ทำให้ได้ใจ
ประชาชนไปมากแล้ว
ลงสมัครผู้ว่าฯเที่ยวนี้ จูดี้น่าจะรู้ว่า ไม่ใช่โอกาสที่หล่นใส่ใครได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะการลงสังกัดพรรคใหญ่ อย่างพรรคเพื่อไทย
หากแจ้งเกิดได้ ชีวิตหลังเกษียณ จะมีรสชาติน่าสนใจอย่างยิ่ง
ส่วน จุดอ่อน ของ พล.ต.อ.พงศพัศได้แก่ การเป็นผู้สมัครหน้าใหม่
สมัยแรก แต่ต้องทำศึกในสนามใหญ่ ที่ถือเอาทั้ง กทม.เป็นสนามเลือกตั้ง
ไม่ อึด จริงๆ ยากที่จะยืนระยะไปจนถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง
ย้อนกลับไปดูแชมป์เก่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีฐาน ส.ส.และ ส.ก.-ส.ข.ในกรุงเทพฯ
มากกว่าพรรคเพื่อไทย ในพรรคอุดมไปด้วยนักพูด นักปราศรัยที่มีคารมคมคาย
กลายเป็นสมมติฐานว่า คุณชายหมู มีกลไกหาเสียงในมือมากกว่าพรรคเพื่อไทย
ความเป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์มากกว่า ผ่านตำแหน่ง
รมช.ต่างประเทศ มาแล้ว ก็อาจถือเป็นข้อได้เปรียบ
แต่จุดอ่อนของคุณชายก็คือ ความสามารถในการปราศรัย ตอบโต้
ไม่คล่องแคล่ว ต่างจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั่วไป
รวมถึง ผลงาน ในห้วง 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.
ต้องยอมรับว่า มีปัญหาเกิดขึ้นไม่น้อย
โดยเฉพาะบทบาทในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การสร้างสนามฟุตซอล
และยังมีเรื่องการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอส
ที่กลายเป็นคดีความ จนดีเอสไอเข้ามาดำเนินการ กลายเป็นคดีความไป
เป็นเรื่องที่ต้องการคำชี้แจงพอสมควร แต่เมื่อเจ้าตัวเองกลับไม่ถนัด
ในเรื่องการชี้แจงแถลงไข ก็ทำให้เสียโอกาสจะพลิกคะแนนในส่วนนี้
ก่อนออกสตาร์ต และทันทีที่ออกสตาร์ต ฝ่ายกองเชียร์ ปชป.พยายามเปิดประเด็น
ถล่ม พล.ต.อ.พงศพัศด้วยเรื่องราวเก่าๆ
ตั้งแต่ชื่อเล่น จูดี้ เรื่องเล่าลือสมัยไปเรียนต่างประเทศ ฯลฯ
แต่ก็เจอแม่ไม้แจกแจงถึงลูกถึงคนของจูดี้ ทำให้จุดไม่ติด
การหาเสียงจึงกลายเป็นการชิงกันเสนอแนวทาง นโยบาย ซึ่ง
พล.ต.อ.พงศพัศ ชูการบริหาร ไร้รอยต่อ ดึงเอารัฐบาลกลางเข้า
มาสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพฯ
แผนบริการเรือฟรี-รถเมล์ฟรี ของ พล.ต.อ.พงศพัศที่เรียกเสียงฮือฮา
ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พยายามเข้ามาตัดเกม ด้วยการประกาศจะเอา
ผิดทางกฎหมายว่า เป็นการหาเสียงเกินอำนาจของผู้ว่าฯ
ทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศตอบโต้ว่า เป็นเรื่องทำได้ เพราะผู้ว่าฯสามารถ
ประสานให้รัฐบาลกลางทำตามนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนได้
ไม่น่าแปลกใจ ที่ผลการสำรวจความเห็นประชาชน โดยเอแบคโพลล์
ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า คะแนนนิยมของ
พล.ต.อ.พงศพัศ พุ่งแซง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ในทุกด้าน
แม้จะยังไม่ทิ้่งห่างมากนัก แต่ก็ต้องถือว่ามีนัยยะสำคัญ เนื่องจากก่อน
เปิดรับสมัคร มีการเปิดเผยโพลภายใน ปรากฏว่า พล.ต.อ.พงศพัศเป็นรอง
โดยเฉพาะในเขตใจกลางกรุงเทพฯ
ส่งผลให้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ปรับแผนพลิกเกมกันจ้าละหวั่น
เพราะถ้าเพลี่ยงพล้ำในสนามใจกลางประเทศแห่งนี้ อาจมีผลเป็นลูกโซ่ติดตาม
มาอีกอย่างต่อเนื่องแน่นอน
เวลาที่เหลืออยู่อีกไม่มากไม่น้อย ประมาณ 1 เดือนเศษ ก่อนถึงวันลงคะแนน
3 มี.ค. จึงเป็นห้วงเวลาชี้เป็นชี้ตาย
การรักษาสถานะได้เปรียบไม่ง่าย การพลิกจากสถานะเสียเปรียบก็ไม่ง่ายเช่นกัน
จะนำม้วนเดียวจบ หรือเร่งเครื่องแซงกลับ ล้วนเป็นไปได้
ที่สำคัญก็คือ ผลสำรวจหรือโพลที่ออกมา จะส่งผลต่ออุณหภูมิการแข่งขัน
ที่น่าห่วงก็คือ ความมุ่งหวังเอาชัยชนะจน หน้ามืด หลงลืมหลักการ
ละเลยกฎกติกามารยาท งัดเอา วิชามาร มาใช้
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ก็เพื่อเฟ้นหาคนที่เหมาะสมมา
บริหารงาน แก้ปัญหากรุงเทพฯ
ผู้ที่เข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ นอกจากมีความสามารถทางการบริหาร มีแนวนโยบาย
เป็นที่ยอมรับ ยังควรจะมาด้วยกระบวนการอันเหมาะสม โปร่งใส
ไม่ใช่ได้มาด้วยการสาดโคลน สาดสี ตีตราผู้สมัครอื่นเป็นผู้ร้าย
ต่อสู้กันในที่สว่างอย่างสุภาพบุรุษ แพ้ชนะให้ประชาชนตัดสินดีที่สุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359259360&grpid=01&catid=&subcatid=
เชียร์เบอร์ 9 เก็บตกมาให้อ่านกัน ไม่วิจารณ์ ไม่เสี้ยม ไม่เกรียน
อ้อ ...ที่เขาเขียนมา ตรงไหน ไม่พอใจ ก็วิจารณ์กันไปเลย
"จูดี้"แซง"ชายหมู" เขย่าบัลลังก์แชมป์ แนวรบ"พท.-ปชป."ระอุ วิเคราะห์การเมือง ...มติชนออนไลน์
นับเป็นการแข่งขันที่เร้าใจอีกครั้งหนึ่ง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นับถึงวันศุกร์ที่25 ม.ค.ที่ผ่านมา
อันเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร มีจำนวนผู้สมัครถึง 25 คน
อย่างไรก็ตาม โดยชื่อชั้นและแบ๊กอัพ เป็นอันว่า สปอตไลต์การเมือง
ฉายจับไปที่ 2 คน
หนึ่งคือ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรอง ผบ.ตร. อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.
จากพรรคเพื่อไทย
ถอดเครื่องแบบมาลงสมัคร ไม่ต้องจับสลาก แต่ได้เบอร์ 9 ไปแบบเฮงๆ
อีกหนึ่ง ได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ที่ยื่นใบลาออก
2-3 วันก่อนครบวาระ จับได้เบอร์ 16 จากพรรคประชาธิปัตย์
ทันทีที่ได้เบอร์ พรรคเพื่อไทยเปิดเกมรุกทันที แบบไม่ให้อีกฝ่ายหายใจหายคอ
ด้วยกิจกรรมเดินพบประชาชน แล้วเปิดปราศรัยที่ลานคนเมือง
หน้าศาลาว่าการกรุงเทพฯ
ชิงทำคะแนนจากภาคสนาม เคลื่อนไหวคล่องแคล่วแทบไม่หยุด อันเป็นบุคลิก
เฉพาะ ของ พล.ต.อ.พงศพัศ
ตรงกันข้ามกับภาพเก้ๆ กังๆ ฝืดๆ ของผู้สมัครคู่แข่ง
วัดน้ำหนักตัว ประสบการณ์ และสภาพร่างกาย การฟิตซ้อม จะพบว่าผู้สมัคร
พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแชมป์เก่า แต่กลับไม่ได้เปรียบผู้สมัครพรรคเพื่อไทย
สักเท่าไหร่
เจ้าของสมญาหวาน จูดี้ เป็นตำรวจที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำงาน
สัมผัสประชาชนมาโดยตลอด
ความถนัดที่ไม่แพ้พรรคประชาธิปัตย์ของ จูดี้ คือการพูดจาอธิบายความ
แม้กระทั่งการโต้ตอบผ่านสื่อ ในที่สาธารณะ ในฐานะที่เคยเป็นโฆษก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การทำงานแบบ ไฮเปอร์ ไม่ยอมอยู่นิ่งของ พล.ต.อ.พงศพัศ ทำให้ได้ใจ
ประชาชนไปมากแล้ว
ลงสมัครผู้ว่าฯเที่ยวนี้ จูดี้น่าจะรู้ว่า ไม่ใช่โอกาสที่หล่นใส่ใครได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะการลงสังกัดพรรคใหญ่ อย่างพรรคเพื่อไทย
หากแจ้งเกิดได้ ชีวิตหลังเกษียณ จะมีรสชาติน่าสนใจอย่างยิ่ง
ส่วน จุดอ่อน ของ พล.ต.อ.พงศพัศได้แก่ การเป็นผู้สมัครหน้าใหม่
สมัยแรก แต่ต้องทำศึกในสนามใหญ่ ที่ถือเอาทั้ง กทม.เป็นสนามเลือกตั้ง
ไม่ อึด จริงๆ ยากที่จะยืนระยะไปจนถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง
ย้อนกลับไปดูแชมป์เก่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีฐาน ส.ส.และ ส.ก.-ส.ข.ในกรุงเทพฯ
มากกว่าพรรคเพื่อไทย ในพรรคอุดมไปด้วยนักพูด นักปราศรัยที่มีคารมคมคาย
กลายเป็นสมมติฐานว่า คุณชายหมู มีกลไกหาเสียงในมือมากกว่าพรรคเพื่อไทย
ความเป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์มากกว่า ผ่านตำแหน่ง
รมช.ต่างประเทศ มาแล้ว ก็อาจถือเป็นข้อได้เปรียบ
แต่จุดอ่อนของคุณชายก็คือ ความสามารถในการปราศรัย ตอบโต้
ไม่คล่องแคล่ว ต่างจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั่วไป
รวมถึง ผลงาน ในห้วง 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.
ต้องยอมรับว่า มีปัญหาเกิดขึ้นไม่น้อย
โดยเฉพาะบทบาทในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การสร้างสนามฟุตซอล
และยังมีเรื่องการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอส
ที่กลายเป็นคดีความ จนดีเอสไอเข้ามาดำเนินการ กลายเป็นคดีความไป
เป็นเรื่องที่ต้องการคำชี้แจงพอสมควร แต่เมื่อเจ้าตัวเองกลับไม่ถนัด
ในเรื่องการชี้แจงแถลงไข ก็ทำให้เสียโอกาสจะพลิกคะแนนในส่วนนี้
ก่อนออกสตาร์ต และทันทีที่ออกสตาร์ต ฝ่ายกองเชียร์ ปชป.พยายามเปิดประเด็น
ถล่ม พล.ต.อ.พงศพัศด้วยเรื่องราวเก่าๆ
ตั้งแต่ชื่อเล่น จูดี้ เรื่องเล่าลือสมัยไปเรียนต่างประเทศ ฯลฯ
แต่ก็เจอแม่ไม้แจกแจงถึงลูกถึงคนของจูดี้ ทำให้จุดไม่ติด
การหาเสียงจึงกลายเป็นการชิงกันเสนอแนวทาง นโยบาย ซึ่ง
พล.ต.อ.พงศพัศ ชูการบริหาร ไร้รอยต่อ ดึงเอารัฐบาลกลางเข้า
มาสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพฯ
แผนบริการเรือฟรี-รถเมล์ฟรี ของ พล.ต.อ.พงศพัศที่เรียกเสียงฮือฮา
ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พยายามเข้ามาตัดเกม ด้วยการประกาศจะเอา
ผิดทางกฎหมายว่า เป็นการหาเสียงเกินอำนาจของผู้ว่าฯ
ทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศตอบโต้ว่า เป็นเรื่องทำได้ เพราะผู้ว่าฯสามารถ
ประสานให้รัฐบาลกลางทำตามนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนได้
ไม่น่าแปลกใจ ที่ผลการสำรวจความเห็นประชาชน โดยเอแบคโพลล์
ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า คะแนนนิยมของ
พล.ต.อ.พงศพัศ พุ่งแซง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ในทุกด้าน
แม้จะยังไม่ทิ้่งห่างมากนัก แต่ก็ต้องถือว่ามีนัยยะสำคัญ เนื่องจากก่อน
เปิดรับสมัคร มีการเปิดเผยโพลภายใน ปรากฏว่า พล.ต.อ.พงศพัศเป็นรอง
โดยเฉพาะในเขตใจกลางกรุงเทพฯ
ส่งผลให้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ปรับแผนพลิกเกมกันจ้าละหวั่น
เพราะถ้าเพลี่ยงพล้ำในสนามใจกลางประเทศแห่งนี้ อาจมีผลเป็นลูกโซ่ติดตาม
มาอีกอย่างต่อเนื่องแน่นอน
เวลาที่เหลืออยู่อีกไม่มากไม่น้อย ประมาณ 1 เดือนเศษ ก่อนถึงวันลงคะแนน
3 มี.ค. จึงเป็นห้วงเวลาชี้เป็นชี้ตาย
การรักษาสถานะได้เปรียบไม่ง่าย การพลิกจากสถานะเสียเปรียบก็ไม่ง่ายเช่นกัน
จะนำม้วนเดียวจบ หรือเร่งเครื่องแซงกลับ ล้วนเป็นไปได้
ที่สำคัญก็คือ ผลสำรวจหรือโพลที่ออกมา จะส่งผลต่ออุณหภูมิการแข่งขัน
ที่น่าห่วงก็คือ ความมุ่งหวังเอาชัยชนะจน หน้ามืด หลงลืมหลักการ
ละเลยกฎกติกามารยาท งัดเอา วิชามาร มาใช้
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ก็เพื่อเฟ้นหาคนที่เหมาะสมมา
บริหารงาน แก้ปัญหากรุงเทพฯ
ผู้ที่เข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ นอกจากมีความสามารถทางการบริหาร มีแนวนโยบาย
เป็นที่ยอมรับ ยังควรจะมาด้วยกระบวนการอันเหมาะสม โปร่งใส
ไม่ใช่ได้มาด้วยการสาดโคลน สาดสี ตีตราผู้สมัครอื่นเป็นผู้ร้าย
ต่อสู้กันในที่สว่างอย่างสุภาพบุรุษ แพ้ชนะให้ประชาชนตัดสินดีที่สุด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359259360&grpid=01&catid=&subcatid=
เชียร์เบอร์ 9 เก็บตกมาให้อ่านกัน ไม่วิจารณ์ ไม่เสี้ยม ไม่เกรียน
อ้อ ...ที่เขาเขียนมา ตรงไหน ไม่พอใจ ก็วิจารณ์กันไปเลย