‘สุรินทร์ พิศสุวรรณ’กับทรรศนะเขาพระวิหาร

กระทู้สนทนา
ทันทีที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับอาเซียนด้วยการเยือน 3 ประเทศคือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย

ภายหลังที่นายชินโซ อาเบะ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว นายชินโซ อาเบะ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เปิดแถลงการณ์ร่วมกัน ตอนหนึ่งของแถลงการณ์นั้นนายชินโซให้สาระไว้น่าสนใจว่า อาเซียนมีความสำคัญดังนี้ ประเทศกลุ่มอาเซียนมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ประเทศมหาอำนาจจึงให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นพิเศษ แต่จุดที่สำคัญนั้นอาเซียนจะต้องรวมตัวกันและแก้ไขปัญหาความแตกแยกและให้มีการประนีประนอมโดยสันติ

การให้ความเห็นของนายชินโซ อาเบะ เป็นการให้ทางออกในการแก้ไขความขัดแย้ง นี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว

ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนหมาดๆ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นจำเป็นจะต้องใช้เวลาเพื่อศึกษาและแสวงหาหนทางที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ

ความเห็นของนายสุรินทร์นั้นน่าสนใจตรงที่มีความสอดคล้องกับความเห็นของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ตรงที่เป็นการเสนอหนทางให้แก้ไขปัญหาโดยสันติ ไม่ขัดแย้งระหว่างกัน

ประการต่อมานั้นความน่าสนใจอยู่ตรงที่นายสุรินทร์เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในสมัยของนายชวน หลีกภัย และเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ด้วย

ความน่าสนใจอีกประการคือ นายสุรินทร์นั้นเป็นสมาชิกระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบัน และมีความเห็นไปในแนวทางสันติ ไม่สนับสนุนหนทางความขัดแย้งระหว่างไทยและเขมร ซึ่งถือว่าสวนทางกับทรรศนะของนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคในปัจจุบันนี้

เพราะหัวแถวของขบวนการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ส่วนใหญ่ได้หลงไปทางลัทธิชาตินิยม ไม่ยอมรับหนทางที่จะแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชาในกรณีเขาพระวิหาร สรุปแล้วคือ ขบวนการส่วนใหญ่ของประชาธิปัตย์ในขณะนี้ไม่สนับสนุนแนวทางสันติภาพนั่นเอง และมองไม่ออกว่าการแสวงหาทางออกของทั้ง 2 ประเทศนั้นคือการแสวงหาสันติภาพที่เป็นทางออกที่ดีที่สุด

ข้อสังเกตประการสุดท้ายคือ พรรคประชาธิปัตย์ในการนำของนายอภิสิทธิ์ยังสนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาเขาพระวิหารที่ไม่แสวงหาความสงบและประนีประนอมระหว่างไทยและกัมพูชา

ภาพรวมโดยสรุปแล้วสะท้อนว่าพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ ตราบใดที่นายอภิสิทธิ์ยังเป็นหัวหน้าพรรคอยู่หนทางใช้ประโยชน์ร่วมกันคงจะไม่มีความเป็นไปได้ จึงเกิดคำถามว่าเป็นเพราะความรู้และความเข้าใจของนายอภิสิทธิ์มีเพียงเท่านี้ใช่หรือไม่? จึงทำให้จุดยืนและวิสัยทัศน์ของประชาธิปัตย์มองไม่เห็นหนทางของการใช้ประโยชน์ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ

มาถึงตรงจุดนี้เราจึงมีข้อสรุปขั้นสุดท้ายว่า ตราบใดที่นายอภิสิทธิ์ยังเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อยู่จะดำเนินนโยบายระหว่างไทยกัมพูชาอย่างผิดพลาดต่อไป

ทั้งยังเกิดคำถามสำคัญว่าถ้าเราจะแก้ไขปัญหาเขาพระวิหาร เราจำเป็นจะต้องแก้ไขหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วยหรือไม่? ถึงเวลาที่จะต้อง Change แล้วหรือยัง?

หรือเกิดคำถามว่าคนที่มีแนวความคิดแบบนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ จะก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแทนนายอภิสิทธิ์จะเป็นไปได้ไหม?

ตรงนี้จึงเป็นการ Change ที่สำคัญที่สุด! Change นี้เท่ากับเป็นการ Change เพื่อแก้ไขปัญหาภายในพรรค และเพื่อให้ประชาธิปัตย์เดินไปในทางที่ถูกต้องทั้งการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ควบคู่กันไประหว่างแก้ไขปัญหาภายในพรรคและแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา และยังส่งผลถึงแก้ไขปัญหาอาเซียนด้วย

นี่จึงเป็นคำตอบที่ต้องบอกว่าจำเป็นจะต้อง Change ในพรรคประชาธิปัตย์เสียก่อน คือการ Change หัวหน้าพรรค ทุกอย่างจะ Change ตามไปด้วย

ถึงคราวที่ประชาธิปัตย์จะต้องเปลี่ยนหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ให้เลิกเป็นหัวหน้าพรรคเสียที!

**********************************************************************

ที่มา : http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=81267
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่