ภาพวาดสีน้ำปักน้อย คู่ขวัญหมาปั๊ก Puggy ตูบหน้าบี้
ในปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักสุนัขสายพันธุ์ปั๊กเป็นแน่ เนื่องด้วยกระแสความนิยมในสุนัขสายพันธุ์นี้ที่เริ่มมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะด้วยอุปนิสัยน่ารักน่าเลี้ยงก็ดี หรือจะด้วยรูปร่างหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ มองอย่างไรก็ไม่เบื่อ ชวนให้หัวเราะแล้วอารมณ์ดีทุกคราที่มองปั๊กน้อย สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยหันมาเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มากขึ้นตามลำดับ ด้วยความร่าเริงที่ไม่เหมือนใคร หน้าตาแลดูฉงนปนทะเล้น และอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปั๊กไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกอีกด้วย
มาตรฐานสายพันธุ์
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
กลุ่ม Toy
หัว หัวกะโหลกมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่ หนังบริเวณหน้าผากมีรอยย่นมาก
หู ขนาดเล็ก ใบหูค่อนข้างบาง มีหู 2 ชนิด คือหูตูบแบบบูลด็อก และหูพับแบบลูกกระดุม แต่จะนิยมหูพับมากกว่า
ตา ดวงตากลมโต สีเข้ม
ปากสั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส กรามล่างจะยื่นออก
จมูก สั้น สีด
ฟัน ขบกันแบบกรรไกร
ลำตัว สั้น หลังตรง ล่ำสัน และมีกล้ามเนื้อแข็งแรง
คอ สั้น โค้งเล็กน้อย
อก กว้าง
ขา ขาหน้าเหยียดตรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ความยาวปานกลาง เท้าไม่กลมเหมือนเท้าแมว เล็บสีดำ
หาง หางชี้ขึ้นด้านบน แต่ลักษณะม้วนเป็นวงจนติดบั้นเอว หากม้วนได้ 2 รอบ ถือว่าเป็นลักษณะที่สมบูรณ์
ขน สั้นละเอียดเป็นประกาย ไม่ปุกปุย
สี สีน้ำตาลแบบลูกวัว สีเงิน หรือสีดำ มีาร์คกิ้งสีดำที่หน้าและใบหู
ขนาด สูง 10-11 นิ้ว น้ำหนัก 6.5 - 8.2 กิโลกรัม
การเดิน และการวิ่ง คล่องแคล่ว ปราดเปรียว
ลักษณะที่ถือว่าบกพร่อง หัวกะโหลกเล็ก ช่วงปากยาว ตาเล็ก รอยย่นเห็นไม่ชัด
ช่วยชีวิตเฉลี่ย 12 - 14 ปี
ข้อมูลดีดีจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
นางแบบ น้องสาคูล แมวทางเหนือ
แมวสถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Felis
สปีชีส์: F. catus
ชื่อทวินาม
Felis catus
Linnaeus, 1758[1][2]
ชื่อพ้อง
Felis catus domestica (ชื่อพ้องผิด)
Felis silvestris catus
แมว หรือ แมวบ้าน(ชื่อภาษาอังกฤษ:Cat, ภาษาญี่ปุ่น:neko,)(ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันทาง
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน
1 ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
2 แมวพันธุ์ต่าง ๆ
2.1 การจัดจำแนกแมว
3 แมวไทย
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงคลายเหงาที่นิยมมากชนิดหนึ่งใกล้เคียงกับสุนัข แมวบางสายพันธุ์เช่น แมวสีสวาด และแมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยที่สวยงามเป็นที่ชื่นชอบทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์ มีการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์เพื่อขาย ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้อุจจาระของแมวสามารถนำมาทำปุ๋ยได้
แมวพันธุ์ต่าง ๆ
แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือ สิงโต แมวเลี้ยง หรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมวสยาม บาลิเนส อะบิสสิเนียน และโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช 1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก
การจัดจำแนกแมว โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แมวมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น แมวเปอร์เซีย แมววิเชียรมาศ ฯลฯ
แมวไทย คนไทยน้อยคนนักที่จะรู้จักว่าแมวไทยจริงๆนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ทว่าแมวไทยพันธุ์แท้นั้นกลับไปมีชื่อเสียงโด่งดังที่ต่างประเทศมากกว่าในเมืองไทย ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นพันธุ์อันเลิศพันธุ์หนึ่งในโลก และมีความมหัศจรรย์ยิ่งกว่าพันธุ์ใดๆ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ชาวอังกฤษชื่อนายโอเวน กูลด์ (Owen Gould) กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้นำแมวไทยคู่หนึ่งจากประเทศไทยไปฝากน้องสาวที่อังกฤษ อีกหนึ่งปีต่อมา แมวคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานประกวดแมวที่คริสตัลพาเลซ กรุงลอนดอน ปรากฏว่าชนะเลิศได้รางวัลที่หนึ่ง ทำให้ชาวอังกฤษพากันแตกตื่นเลี้ยงแมวไทยกันจนมีสโมสรแมวไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 ชื่อว่า The Siamese Cat Clubs ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ได้มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักรวรรดิอังกฤษขึ้น หรือ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นมาอีกสมาคมหนึ่ง
แมวที่นายโอเวน กูลด์ นำไปจากประเทศไทยนั้น มีแต้มสีครั่งหรือน้ำตาลไหม้เก้าแห่ง คือหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และอวัยวะเพศ ซึ่งถือว่าเป็นแต้มสีที่อยู่ในบริเวณที่เหมาะสมและไม่เลอะเทอะเหมือนแมวพันธุ์อื่น และเมื่อนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์อื่น จะได้แต้มสีตามร่างกายในตำแหน่งเดียวกัน แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่า และอุปนิสัยจะไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งแมวไทยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์แรกที่ชาวต่างชาติรู้จัก จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า Siamese Cat หรือ Seal Point ส่วนในสมุดข่อยโบราณของไทยให้ชื่อแมวไทยลักษณะนี้ว่า "แมววิเชียรมาศ" คุณสมบัติอันโดดเด่นของแมวไทยอีกประการหนึ่งก็คือ อุปนิสัยที่มีความฉลาด รักบ้าน รักเจ้าของ เป็นตัวของตัวเอง รู้จักประจบ และที่สำคัญคือ การรักอิสระเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัว และทำให้แมวไทยเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก และเป็นที่น่าสังเกตว่า การผสมพันธุ์ระหว่างแมวไทยและแมวต่างชาตินั้น แม้จะได้แมวที่มีลักษณะและสีเหมือนแมวไทย แต่จะไม่ได้อุปนิสัยตามอย่างแมวไทยไปด้วย นอกจากว่าจะเป็นการผสมระหว่างแมวไทยด้วยกันเองเท่านั้น
ในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยไว้ถึง 23 ชนิด ซึ่งเป็นแมวดี (แมวให้คุณ) 17 ชนิด และแมวร้าย (แมวให้โทษ) 6 ชนิด ซึ่งในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 13 ชนิด เหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในปัจจุบัน ได้แก่แมววิเชียรมาศ แมวโคราช แมวศุภลักษณ์ และแมวโกญจา ส่วนแมวขาวมณีนั้นแม้จะไม่ได้บันทึกอยู่ในสมุดข่อยก็ตาม แต่ก็ถือเป็นแมวไทย ต่อมาภายหลังได้ค้นพบแมวแซมเสวตรซึ่งเดิมทีเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยค้นพบไม่กี่ปีมานี้
นกกระเต็นอกขาว (White-throated kingfisher) นกกระเต็นอกขาวเป็นนกในวงศ์นกกระเต็น หรือนกกินปลา (Alcedinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halcyon smyrnensis เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 24 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น ปากยาวใหญ่สีแดงสด ปลายปากแหลม ขาสั้นและไม่แข็งแรง ขนด้านหลังสีแดงและขนปีกสีฟ้าสด หัวด้านหลังคอและท้องสีน้ำตาลแดง ตัดกับคอด้านหน้าและอกซึ่งเป็นสีขาว
นกกระเต็นอกขาวมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ในตะวันออกกลาง อินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะอันดามัน
นกกระเต็นอกขาวเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามที่โล่งใกล้ แหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ทุ่งโล่ง ป่าละเมาะ ป่าชายเลน และพื้นที่ เกษตรกรรม ตามสายไฟฟ้าสองฟากถนน และตามป่าโปร่ง เช่น ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง มักพบหากินเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ เกาะอยู่ตามสายไฟฟ้า กิ่งไม้ หรือตอไม้ ในลักษณะตัวตั้งเกือบตรงคอยจ้องจับแมลง และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ปลา กุ้ง กบ เขียด และสัตว์อื่นๆ เมื่อเห็นเหยื่อมันจะบินเข้าจับอย่าง รวดเร็ว แล้วนำกลับมากินยังที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง ผสมพันธุ์ในช่วง ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมีย จะช่วยกันขุดดินริมฝั่งแม่น้ำที่สูงชัน เพื่อทำเป็นโพรงลึกเข้าไปประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปากโพรงกว้าง 40-50 เซนติเมตร ด้านในสุดของโพรง จะกว้างที่สุด เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ กกไข่ และให้ลูกนกเจริญเติบโต ทั้งพ่อนก และแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 19-21 วัน
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ข้อมูลดีดี จากอินเตอร์เน็ต
ขิงแดง
ข้อมูลดีดีจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ขิงแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia purpurata (Vielle.) Schum.;อังกฤษ: Red Gingerหรือ Ostrich Plume และ Pink Cone Ginger)เป็นพืชพื้นเมืองของมาเลเซียที่มีดอกสวยงาม ส่วนที่เป็นมีสีสดใสเป็นกาบหุ้มช่อดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็กอยู่ข้างบน แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ Jungle King และ Jungle Queen ขิงแดงสามารถพบได้ในฮาวาย เปอร์โตริโก และหลายประเทศในอเมริกากลาง รวมทั้งเบลิซ พบได้ในซามัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของซามัว มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "teuila" นอกจากนั้น ยังพบในทางใต้ของฟลอริดา บริเวณที่ไม่มีหิมะปกคลุม ชอบอากาศที่มีร่มเงาและชุ่มชื้น ทนต่อแสงแดดจัดได้ แต่ไม่ชอบอากาศแล้ง สามารถปลูกเป็นไม้ในบ้านได้ และเป็นไม้ตัดดอกได้เช่นกัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae ดิวิชั่น: Magnoliophyta ชั้น: Liliopsida อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae สกุล: Alpinia สปีชีส์: purpurata
ภาพวาดจากสมุดวิชา พาราไซโตโลจิ วาดในวิชาเรียนแลป เพื่อใช้อ่านสอบ และให้สามารถบอกตำแหน่งส่วนประกอบพาราไซชนิดต่าง ๆ ได้
เป็นการผสานความรู้ทางการแพทย์ ผสมผสานการศึกษาเรียนรู้และทักษะการวาดภาพ ผมมีความเชื่อว่าถ้าวาดภาพได้ ก็น่าจะตอบคำถามสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้ อบรมสั่งสอนครับ วิชานี้วาดครบทุกตัวครับ และอาจเอาสมุดฮิตโตโลจิ เอมปริโอ มาให้ชมกันครับ
นักวาดภาพสัตว์เลี้ยงแสนรักนำภาพวาดสวย ๆ มาฝากเป็นแกลลี่ รวมภาพวาดสิ่งมีชีวิต พร้อมความรู้และกิจกรรมดีดี
ในปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักสุนัขสายพันธุ์ปั๊กเป็นแน่ เนื่องด้วยกระแสความนิยมในสุนัขสายพันธุ์นี้ที่เริ่มมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะด้วยอุปนิสัยน่ารักน่าเลี้ยงก็ดี หรือจะด้วยรูปร่างหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ มองอย่างไรก็ไม่เบื่อ ชวนให้หัวเราะแล้วอารมณ์ดีทุกคราที่มองปั๊กน้อย สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยหันมาเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มากขึ้นตามลำดับ ด้วยความร่าเริงที่ไม่เหมือนใคร หน้าตาแลดูฉงนปนทะเล้น และอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปั๊กไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกอีกด้วย
มาตรฐานสายพันธุ์
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
กลุ่ม Toy
หัว หัวกะโหลกมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่ หนังบริเวณหน้าผากมีรอยย่นมาก
หู ขนาดเล็ก ใบหูค่อนข้างบาง มีหู 2 ชนิด คือหูตูบแบบบูลด็อก และหูพับแบบลูกกระดุม แต่จะนิยมหูพับมากกว่า
ตา ดวงตากลมโต สีเข้ม
ปากสั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส กรามล่างจะยื่นออก
จมูก สั้น สีด
ฟัน ขบกันแบบกรรไกร
ลำตัว สั้น หลังตรง ล่ำสัน และมีกล้ามเนื้อแข็งแรง
คอ สั้น โค้งเล็กน้อย
อก กว้าง
ขา ขาหน้าเหยียดตรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ความยาวปานกลาง เท้าไม่กลมเหมือนเท้าแมว เล็บสีดำ
หาง หางชี้ขึ้นด้านบน แต่ลักษณะม้วนเป็นวงจนติดบั้นเอว หากม้วนได้ 2 รอบ ถือว่าเป็นลักษณะที่สมบูรณ์
ขน สั้นละเอียดเป็นประกาย ไม่ปุกปุย
สี สีน้ำตาลแบบลูกวัว สีเงิน หรือสีดำ มีาร์คกิ้งสีดำที่หน้าและใบหู
ขนาด สูง 10-11 นิ้ว น้ำหนัก 6.5 - 8.2 กิโลกรัม
การเดิน และการวิ่ง คล่องแคล่ว ปราดเปรียว
ลักษณะที่ถือว่าบกพร่อง หัวกะโหลกเล็ก ช่วงปากยาว ตาเล็ก รอยย่นเห็นไม่ชัด
ช่วยชีวิตเฉลี่ย 12 - 14 ปี
ข้อมูลดีดีจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
นางแบบ น้องสาคูล แมวทางเหนือ
แมวสถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Felis
สปีชีส์: F. catus
ชื่อทวินาม
Felis catus
Linnaeus, 1758[1][2]
ชื่อพ้อง
Felis catus domestica (ชื่อพ้องผิด)
Felis silvestris catus
แมว หรือ แมวบ้าน(ชื่อภาษาอังกฤษ:Cat, ภาษาญี่ปุ่น:neko,)(ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันทาง
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน
1 ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
2 แมวพันธุ์ต่าง ๆ
2.1 การจัดจำแนกแมว
3 แมวไทย
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงคลายเหงาที่นิยมมากชนิดหนึ่งใกล้เคียงกับสุนัข แมวบางสายพันธุ์เช่น แมวสีสวาด และแมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยที่สวยงามเป็นที่ชื่นชอบทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์ มีการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์เพื่อขาย ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้อุจจาระของแมวสามารถนำมาทำปุ๋ยได้
แมวพันธุ์ต่าง ๆ
แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือ สิงโต แมวเลี้ยง หรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมวสยาม บาลิเนส อะบิสสิเนียน และโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช 1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก
การจัดจำแนกแมว โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แมวมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น แมวเปอร์เซีย แมววิเชียรมาศ ฯลฯ
แมวไทย คนไทยน้อยคนนักที่จะรู้จักว่าแมวไทยจริงๆนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ทว่าแมวไทยพันธุ์แท้นั้นกลับไปมีชื่อเสียงโด่งดังที่ต่างประเทศมากกว่าในเมืองไทย ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นพันธุ์อันเลิศพันธุ์หนึ่งในโลก และมีความมหัศจรรย์ยิ่งกว่าพันธุ์ใดๆ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ชาวอังกฤษชื่อนายโอเวน กูลด์ (Owen Gould) กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้นำแมวไทยคู่หนึ่งจากประเทศไทยไปฝากน้องสาวที่อังกฤษ อีกหนึ่งปีต่อมา แมวคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานประกวดแมวที่คริสตัลพาเลซ กรุงลอนดอน ปรากฏว่าชนะเลิศได้รางวัลที่หนึ่ง ทำให้ชาวอังกฤษพากันแตกตื่นเลี้ยงแมวไทยกันจนมีสโมสรแมวไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 ชื่อว่า The Siamese Cat Clubs ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ได้มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักรวรรดิอังกฤษขึ้น หรือ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นมาอีกสมาคมหนึ่ง
แมวที่นายโอเวน กูลด์ นำไปจากประเทศไทยนั้น มีแต้มสีครั่งหรือน้ำตาลไหม้เก้าแห่ง คือหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และอวัยวะเพศ ซึ่งถือว่าเป็นแต้มสีที่อยู่ในบริเวณที่เหมาะสมและไม่เลอะเทอะเหมือนแมวพันธุ์อื่น และเมื่อนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์อื่น จะได้แต้มสีตามร่างกายในตำแหน่งเดียวกัน แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่า และอุปนิสัยจะไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งแมวไทยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์แรกที่ชาวต่างชาติรู้จัก จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า Siamese Cat หรือ Seal Point ส่วนในสมุดข่อยโบราณของไทยให้ชื่อแมวไทยลักษณะนี้ว่า "แมววิเชียรมาศ" คุณสมบัติอันโดดเด่นของแมวไทยอีกประการหนึ่งก็คือ อุปนิสัยที่มีความฉลาด รักบ้าน รักเจ้าของ เป็นตัวของตัวเอง รู้จักประจบ และที่สำคัญคือ การรักอิสระเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัว และทำให้แมวไทยเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก และเป็นที่น่าสังเกตว่า การผสมพันธุ์ระหว่างแมวไทยและแมวต่างชาตินั้น แม้จะได้แมวที่มีลักษณะและสีเหมือนแมวไทย แต่จะไม่ได้อุปนิสัยตามอย่างแมวไทยไปด้วย นอกจากว่าจะเป็นการผสมระหว่างแมวไทยด้วยกันเองเท่านั้น
ในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยไว้ถึง 23 ชนิด ซึ่งเป็นแมวดี (แมวให้คุณ) 17 ชนิด และแมวร้าย (แมวให้โทษ) 6 ชนิด ซึ่งในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 13 ชนิด เหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในปัจจุบัน ได้แก่แมววิเชียรมาศ แมวโคราช แมวศุภลักษณ์ และแมวโกญจา ส่วนแมวขาวมณีนั้นแม้จะไม่ได้บันทึกอยู่ในสมุดข่อยก็ตาม แต่ก็ถือเป็นแมวไทย ต่อมาภายหลังได้ค้นพบแมวแซมเสวตรซึ่งเดิมทีเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยค้นพบไม่กี่ปีมานี้
นกกระเต็นอกขาว (White-throated kingfisher) นกกระเต็นอกขาวเป็นนกในวงศ์นกกระเต็น หรือนกกินปลา (Alcedinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halcyon smyrnensis เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 24 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น ปากยาวใหญ่สีแดงสด ปลายปากแหลม ขาสั้นและไม่แข็งแรง ขนด้านหลังสีแดงและขนปีกสีฟ้าสด หัวด้านหลังคอและท้องสีน้ำตาลแดง ตัดกับคอด้านหน้าและอกซึ่งเป็นสีขาว
นกกระเต็นอกขาวมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ในตะวันออกกลาง อินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะอันดามัน
นกกระเต็นอกขาวเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามที่โล่งใกล้ แหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ทุ่งโล่ง ป่าละเมาะ ป่าชายเลน และพื้นที่ เกษตรกรรม ตามสายไฟฟ้าสองฟากถนน และตามป่าโปร่ง เช่น ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง มักพบหากินเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ เกาะอยู่ตามสายไฟฟ้า กิ่งไม้ หรือตอไม้ ในลักษณะตัวตั้งเกือบตรงคอยจ้องจับแมลง และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ปลา กุ้ง กบ เขียด และสัตว์อื่นๆ เมื่อเห็นเหยื่อมันจะบินเข้าจับอย่าง รวดเร็ว แล้วนำกลับมากินยังที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง ผสมพันธุ์ในช่วง ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมีย จะช่วยกันขุดดินริมฝั่งแม่น้ำที่สูงชัน เพื่อทำเป็นโพรงลึกเข้าไปประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปากโพรงกว้าง 40-50 เซนติเมตร ด้านในสุดของโพรง จะกว้างที่สุด เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ กกไข่ และให้ลูกนกเจริญเติบโต ทั้งพ่อนก และแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 19-21 วัน
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ข้อมูลดีดี จากอินเตอร์เน็ต
ขิงแดง
ข้อมูลดีดีจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ขิงแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia purpurata (Vielle.) Schum.;อังกฤษ: Red Gingerหรือ Ostrich Plume และ Pink Cone Ginger)เป็นพืชพื้นเมืองของมาเลเซียที่มีดอกสวยงาม ส่วนที่เป็นมีสีสดใสเป็นกาบหุ้มช่อดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็กอยู่ข้างบน แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ Jungle King และ Jungle Queen ขิงแดงสามารถพบได้ในฮาวาย เปอร์โตริโก และหลายประเทศในอเมริกากลาง รวมทั้งเบลิซ พบได้ในซามัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของซามัว มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "teuila" นอกจากนั้น ยังพบในทางใต้ของฟลอริดา บริเวณที่ไม่มีหิมะปกคลุม ชอบอากาศที่มีร่มเงาและชุ่มชื้น ทนต่อแสงแดดจัดได้ แต่ไม่ชอบอากาศแล้ง สามารถปลูกเป็นไม้ในบ้านได้ และเป็นไม้ตัดดอกได้เช่นกัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae ดิวิชั่น: Magnoliophyta ชั้น: Liliopsida อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae สกุล: Alpinia สปีชีส์: purpurata
ภาพวาดจากสมุดวิชา พาราไซโตโลจิ วาดในวิชาเรียนแลป เพื่อใช้อ่านสอบ และให้สามารถบอกตำแหน่งส่วนประกอบพาราไซชนิดต่าง ๆ ได้
เป็นการผสานความรู้ทางการแพทย์ ผสมผสานการศึกษาเรียนรู้และทักษะการวาดภาพ ผมมีความเชื่อว่าถ้าวาดภาพได้ ก็น่าจะตอบคำถามสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้ อบรมสั่งสอนครับ วิชานี้วาดครบทุกตัวครับ และอาจเอาสมุดฮิตโตโลจิ เอมปริโอ มาให้ชมกันครับ