เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติ 16 มกราคมที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ นักวิชาการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ บอกว่า จากผลการสำรวจพบ 6 ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรค ประกอบด้วย
1) ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน 22.93%
2) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ 18.57%
3) ขาดทักษะด้านไอซีที 16.8%
4) ครูรุ่นใหม่ ขาดจิตวิญญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว 16.49%
5) ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น 14.33% และ
6) ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน 10.88%
สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า อันดับ 1 คือ การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ 19.32%, การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที 19%, การเพิ่มฝ่ายธุรการ 18.01%, ปรับการประเมินวิทยฐานะ 17.12%, การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42% และการปลดล็อกโรงเรียนขนาดเล็ก 13.13%
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยฉุดรั้งการทำงานของครูไทยมีทั้งปัจจัยที่มาจากครูผู้สอน และปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งเสริมที่ครูต้องการพบว่า 39% เป็นปัจจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงสะท้อนให้ถึงจิตวิญญาณของความเป็นครู
นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวว่า การสอนของครูในปัจจุบันพบว่า เกือบ 100% ยังถ่ายทอดความรู้แบบสอนวิชา ส่งผลให้เด็กมีคุณสมบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ ขาดภาวะผู้นำ เด็กจะมีทักษะความเป็นผู้นำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจในตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่จึงต้องเรียนโดยลงมือทำ ฝึกให้ปฏิบัติจริงและมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนเอง ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มเป็น ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงบทบาทครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้ ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนในยุคสมัยใหม่ ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 7 ด้าน ได้แก่ 1.ทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง 2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ 3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง 4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง 5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด 6.ทักษะในการประยุกต์ใช้ และ 7.ทักษะในการประเมินผล
ครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก แทนที่ จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน
ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3723
"6 ปัญหา ครูไทย"
เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติ 16 มกราคมที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้สำรวจความเห็นของครูสอนดี จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูและแนวทางการส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ นักวิชาการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ บอกว่า จากผลการสำรวจพบ 6 ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรค ประกอบด้วย
1) ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน 22.93%
2) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ 18.57%
3) ขาดทักษะด้านไอซีที 16.8%
4) ครูรุ่นใหม่ ขาดจิตวิญญาณ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว 16.49%
5) ครูสอนหนัก ส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น 14.33% และ
6) ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน 10.88%
สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า อันดับ 1 คือ การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ 19.32%, การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที 19%, การเพิ่มฝ่ายธุรการ 18.01%, ปรับการประเมินวิทยฐานะ 17.12%, การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42% และการปลดล็อกโรงเรียนขนาดเล็ก 13.13%
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยฉุดรั้งการทำงานของครูไทยมีทั้งปัจจัยที่มาจากครูผู้สอน และปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งเสริมที่ครูต้องการพบว่า 39% เป็นปัจจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงสะท้อนให้ถึงจิตวิญญาณของความเป็นครู
นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวว่า การสอนของครูในปัจจุบันพบว่า เกือบ 100% ยังถ่ายทอดความรู้แบบสอนวิชา ส่งผลให้เด็กมีคุณสมบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ ขาดภาวะผู้นำ เด็กจะมีทักษะความเป็นผู้นำได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจในตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่จึงต้องเรียนโดยลงมือทำ ฝึกให้ปฏิบัติจริงและมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น แต่ไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนเอง ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก สามารถประเมินลูกศิษย์แต่ละคนได้ว่ามีพื้นความรู้เพียงใด เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มเป็น ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงบทบาทครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้ ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนในยุคสมัยใหม่ ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 7 ด้าน ได้แก่ 1.ทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง 2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ 3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง 4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง 5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น หรือตกผลึกทางความคิด 6.ทักษะในการประยุกต์ใช้ และ 7.ทักษะในการประเมินผล
ครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก แทนที่ จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน
ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=3723