ควรเพิ่มการเรียน ภาษาอาหรับ และ ภาษามลายู เป็นภาษาที่สาม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและ AEC ไหมครับ

ช่วงนี้ มีรณรงค์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม
http://www.dailynews.co.th/politics/179097

ตัดมาบางส่วนนะ

...โดยได้ชูนโยบายมหานครแห่งทุกคน จึงจะเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างกรุงเทพ ผ่านระบบ I-Bangkok เป็นระบบอินเตอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ก เชื่อมระหว่างสังคมทั้งในและนอกกรุงเทพฯ กับฝ่ายบริหารสร้างนโยบายรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ดุแลทุกข์สุขของประชาชนได้ตลอดเวลา และแก้ไขได้ทันสถานการณ์ นอกจากนี้ปัจจุบันเป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยี จึงจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นยุคใหม่ในการอำนวยความสะดวกกับผู้นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยในกรุงเทพฯ กว่า 600,000 คน ร่วมถึงต่างจังหวัดและท่องเที่ยวด้วย ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่อยู่ในอาเซียนเป็นชาวมุสลิม และประมาณ 2 ล้านคนเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และยังมีนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางประมาณ 600,000 คน มาเที่ยวประเทศไทยอยู่นานถึง 12 วัน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้จ่ายประมาณวันละ 5,000 บาท จึงจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับคนเหล่านั้นในการทำแอพพลิเคชันเชื่อมต่อสถานที่ตั้งของมัสยิดและร้านอาหารฮาลาล

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ขอประกาศต่อยอดโครงการที่ทำสำเร็จแล้ว เช่น โรงเรียนสังกัด กทม.ที่สอนภาษาอาหรับ จาก 62 โรงเรียน เป็น 80 โรงเรียน โดยพิจารณาเปิดสอนตามสัดส่วนนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 50 ขึ้นไป และพัฒนาครูผู้สอนและหลักสูตรอิสลามศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และขยายสู่กลุ่มประชาชาติมุสลิม เพราะปัจจุบันมีชาวมุสลิมที่เป็นสมาชิกอาเซียน 400 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้จะพูดคุยภาษามาลายู จึงจะให้มีการสอนมาลายูเกิดขึ้น

---------------------------
ผมก็เลยแปลกใจ เพราะเพิ่งรู้ว่า โรงเรียน ของกทม จำนวนหนึ่ง มีการสอนภาษาอาหรับอยู่แล้ว  ตามข่าวเข้าใจว่าโรงเรียนเหล่านี้ยังไม่มีการสอนภาษามลายู ถึงได้มีการพูดว่าจะให้ภาษามลายูเพิ่ม (เข้าใจผิดแก้ได้นะครับ ผมจากชีวิตโรงเรียนมานานแล้ว )

ผมเข้าใจว่า ภาษาอาหรับนั้นก็เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง เนื้อข่าวก็พูดถึง การพัฒนาแอพพลิเคชัน เพื่อค้นหาร้านฮาลาล
ส่วนภาษามลายูก็ เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC  เพราะมาเลย์ อินโด แม้คนจะใช้อังกฤษกันได้ แต่พูดมาลายูได้ คงได้ใจเขามากกว่า  ซึ่งก็เรื่องธรรมดา ฝรั่งพูดภาษาไทยได้เราก็ดีใจ

คิดว่ายังไงครับ  ผมเฉยๆนะ อย่าง ป้ายบอกทาง มีการใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษอยู่แล้ว  ร้านอาหาร บางร้านก็มีชื่อป้ายทั้งไทยและจีน จะเพิ่มภาษาอีกก็ไม่เป็นไร  ยังไงกรุงเทพฯก็ไม่ต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆทั่วโลก  ก็เป็นเมืองหลายเชื้อชาติ หลายภาษาอยู่แล้ว

กรุงเทพฯ ก็มี สถานบริการที่ทำธุรกิจกับลูกค้าจากตะวันออกกลาง  โรงพยาบาลเอกชนหลายๆโรง ก็ รับผู้ใช้บริการที่เป็นแขกจากประเทศเหล่านี้อยู่  

ข่าวมีแต่ข้อดี ข้อเสียก็อาจจะมีบ้างจริงไหม  อยากทราบความเห็นของท่านอื่นๆครับ ทั้งข้อดีและเสีย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
พัฒนาภาษาอังกฤษให้ดีก่อนดีกว่าไหมคะ ในอาเซียน คิดว่าไทยเราอยู่ที่เท่าไหร่คะ สำหรับผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้
กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง ยังสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไม่ดีเลย
ภาษาไทยเอง ก็ต้องฟื้นฟูกันด่วนๆ ค่ะ ผันวรรณยุกต์ คะ ค่ะ ยังผิดกันทั้งเมืองค่ะ
ภาษาฝรั่งเศส ก็มีเป็นแผนการเรียน ม.ปลายกันมาตั้งแต่รุ่นแม่ค่ะ ยังไม่กระดิกกันเลยเช่นกันนะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่