เนื่องจากดูรายการเจาะข่าวตื้น แล้วผู้ว่าบอกว่าเหตุในการสร้างสนามฟุตซอลไม่ทัน เพราะรัฐบาลอนุมัติช้า แล้วก็อนุมัติเงินมาให้แค่ 1 ล้านบาท เท่านั้น เลยไปค้นมา เจอะ ผู้จัดการเคยลง เลย ตัดแปะมา ครับ
อยากให้ช่วยกันดูว่า เป็นจริงตามนี้หรือไม่ประการใด ไม่อยากให้คุณกรุงเทพฯ ถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหลอกครับ แล้วก็รบกวนถ้าจะไม่ ด่าฉายากันได้จะดีมาก อยากให้ถกกันในเรื่องข้อเท็จจริงครับ
40 ข้อเท็จจริง กับ วิบากกรรมการสร้างสนามฟุตซอลกทม.
กทม.ยอมรับผิดแต่เพียงผู้เดียวที่สร้างไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่สุด
ทำให้ฟีฟ่า ไม่ขอใช้สนามแห่งนี้ ในการแข่งขันชิงแชมป์โลก
แต่ คนไทย และคนกรุงเทพฯ มีสิทธิ์ ที่จะได้รู้ข้อเท็จจริง ..ระหว่างก่อสร้าง !!
น่าแปลกใจ และน่าเห็นใจ กทม.นะครับที่ คนยอมรับผิดมีแค่คนเดียว...
....................................................................................
Tamm Ishot
เรามาดูรายละเอียดการสร้างบางกอกฟุตซอลอารีนากันนะครับ
ใน ๔๐ ข้อเท็จจริงสนามบางกอกฟุตซอลอารีนาหนองจอกครับ
๑. ฟีฟ่าเลือกไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนมี.ค. ๒๕๕๓
๒. ภาระการสร้างสนามอยู่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและและกีฬา
๓. ขณะนั้นชุมพล ศิลปอาชาพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นเจ้ากระทรวง
๔. กทม.ถูกจับให้รับภารกิจนี้หลังฟีฟ่าเลือกไทยเป็นเจ้าภาพแล้ว
๕. ครม.มีมติให้ใช้พื้นที่ที่หนองจอกสร้างสนามเมื่อพ.ย. ๒๕๕๓
๖. ซึ่งพื้นที่นี้เป็นของกทมเอง หลังจากเจ้าของพื้นที่ที่อื่นๆ ปฏิเสธ
๗. กทม.จ้างม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้ออกแบบต้นปี ๒๕๕๔
๘. ตามสัญญาม.จะใช้เวลา ๑ ปี แต่กทม.ขอเร่งรัดจนเสร็จใน ๖ เดือน
๙. จากนั้นต้องผ่านความเห็นชอบของรมว.กระทรวงมหาดไทย
๑๐. รมว.มหาดไทยในขณะนั้นคือยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
๑๑. แล้วเรื่องก้อต้องไปผ่านสำนักงบประมาณของรัฐบาลต่ออีกทีหนึ่ง
๑๒. สำนักงบประมาณยื่นเรื่องเห็นชอบกลับมาปลายเดือนธ.ค.๒๕๕๔
๑๓. เบ็ดเสร็จรัฐบาลใช้เวลาในการผ่านความเห็นชอบถึง ๖ เดือนเต็ม
๑๔. โดยกทม.ได้ผู้รับเหมาคือบริษัทอีเอ็มซี (มหาชน) ตั้งแต่ก.ค. ๒๕๕๔
๑๕. แต่กว่าจะลงมือก่อสร้างได้จริงก็ล่วงเข้าเดือนม.ค. ๒๕๕๕ แล้ว
๑๖. สิริเวลาในการก่อสร้างสนามแห่งนี้จนถึงวันนี้ต่ำกว่า ๑๐ เดือนเต็ม
๑๗. ในส่วนงบประมาณรัฐบาลปชป.อนุมัติวงเงิน ๑,๒๓๙ ล้านบาท
๑๘. ซึ่งเป็นวงเงินที่อนุมัติไว้เมื่อเดือนพ.ค.๒๕๕๔ ระยะเวลา ๓ ปี
๑๙. นับตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔-๒๕๕๖
๒๐. นับเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๒๑. แต่เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขึ้นมาบริหารกลับไม่มีการโอนเงินให้
๒๒. กทม.ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบจนได้เงินมา ๔๐๒ ล้านบาท
๒๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งงบประมาณปี ๒๕๕๕ มาให้ ๑ ล้านบาท
๒๔. ขณะนั้นกทม.จะใช้งบสำรองตอกเสาเข็มก่อนก็ยังทำไม่ได้
๒๕. เหตุผลคือแบบยังไม่ผ่านการเห็นชอบ (ซึ่งผ่านเมื่อธ.ค. ๒๕๕๔)
๒๖. ระหว่างนั้นมีการยื้องบประมาณจากกรมบัญชีกลาง
๒๗. และปัญหาโรงงานวัสดุก่อสร้างประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีก่อน
๒๘. ขณะก่อสร้าง กทม.สั่งพื้นปูสนามจากอเมริกาเมื่อมิ.ย. ๒๕๕๕
๒๙. มีใบกำกับสินค้าว่าส่งมาจากต้นทางตั้งแต่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕
๓๐. แต่จากใบกำกับสินค้าที่ต้องส่งตรงมาคลองเตย เรือกลับไปที่จีน
๓๑. ซึ่งทำให้เกิดปัญหาส่งออกสินค้าล็อตนี้กลับมาไทยล่าช้า
๓๒. ขณะที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมากสั่งพื้นสนามไป ๕ ก.ย. ๒๕๕๕
๓๓. แต่อินดอร์ฯ กลับได้รับพื้นสนามมาติดตั้งแล้วเสร็จก่อนกำหนด
๓๔. ระหว่างนั้นกทม.ตัดสินใจสั่งพื้นสนามจากมาเลเซียไต้หวันและอิตาลี
๓๕. ของล็อตนี้เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๕
๓๖. แต่ฟีฟ่าขอให้กทม.รอพื้นสนามที่สั่งจากอเมริกาที่จะมาถึงใน ๒ วัน
๓๗. ซึ่งสุดท้ายแล้วพื้นสนามจากอเมริกามาถึงไทยเมื่อ ๑ พ.ย. ๒๕๕๕
๓๘. เมื่อถึงกำหนดเส้นตายฟีฟ่าประกาศไม่ให้ใช้สนามนี้แข่งขัน
๓๙. โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ
๔๐. แม้วิศวกรรมสถานของไทยได้ออกใบรับรองความปลอดภัยให้แล้ว
สรุปจากบทความ
อนุสรณ์สถานบางกอกฟุตซอลอารีนาความตั้งใจที่สูญเปล่าของกทม.
โดยรัชญา จันทะรัง
ASTVผู้จัดการออนไลน์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
40 ข้อเท็จจริง กับ วิบากกรรมการสร้างสนามฟุตซอลกทม. จริงเท็จประการใด?
อยากให้ช่วยกันดูว่า เป็นจริงตามนี้หรือไม่ประการใด ไม่อยากให้คุณกรุงเทพฯ ถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหลอกครับ แล้วก็รบกวนถ้าจะไม่ ด่าฉายากันได้จะดีมาก อยากให้ถกกันในเรื่องข้อเท็จจริงครับ
40 ข้อเท็จจริง กับ วิบากกรรมการสร้างสนามฟุตซอลกทม.
กทม.ยอมรับผิดแต่เพียงผู้เดียวที่สร้างไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่สุด
ทำให้ฟีฟ่า ไม่ขอใช้สนามแห่งนี้ ในการแข่งขันชิงแชมป์โลก
แต่ คนไทย และคนกรุงเทพฯ มีสิทธิ์ ที่จะได้รู้ข้อเท็จจริง ..ระหว่างก่อสร้าง !!
น่าแปลกใจ และน่าเห็นใจ กทม.นะครับที่ คนยอมรับผิดมีแค่คนเดียว...
....................................................................................
Tamm Ishot
เรามาดูรายละเอียดการสร้างบางกอกฟุตซอลอารีนากันนะครับ
ใน ๔๐ ข้อเท็จจริงสนามบางกอกฟุตซอลอารีนาหนองจอกครับ
๑. ฟีฟ่าเลือกไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนมี.ค. ๒๕๕๓
๒. ภาระการสร้างสนามอยู่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและและกีฬา
๓. ขณะนั้นชุมพล ศิลปอาชาพรรคชาติไทยพัฒนาเป็นเจ้ากระทรวง
๔. กทม.ถูกจับให้รับภารกิจนี้หลังฟีฟ่าเลือกไทยเป็นเจ้าภาพแล้ว
๕. ครม.มีมติให้ใช้พื้นที่ที่หนองจอกสร้างสนามเมื่อพ.ย. ๒๕๕๓
๖. ซึ่งพื้นที่นี้เป็นของกทมเอง หลังจากเจ้าของพื้นที่ที่อื่นๆ ปฏิเสธ
๗. กทม.จ้างม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้ออกแบบต้นปี ๒๕๕๔
๘. ตามสัญญาม.จะใช้เวลา ๑ ปี แต่กทม.ขอเร่งรัดจนเสร็จใน ๖ เดือน
๙. จากนั้นต้องผ่านความเห็นชอบของรมว.กระทรวงมหาดไทย
๑๐. รมว.มหาดไทยในขณะนั้นคือยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
๑๑. แล้วเรื่องก้อต้องไปผ่านสำนักงบประมาณของรัฐบาลต่ออีกทีหนึ่ง
๑๒. สำนักงบประมาณยื่นเรื่องเห็นชอบกลับมาปลายเดือนธ.ค.๒๕๕๔
๑๓. เบ็ดเสร็จรัฐบาลใช้เวลาในการผ่านความเห็นชอบถึง ๖ เดือนเต็ม
๑๔. โดยกทม.ได้ผู้รับเหมาคือบริษัทอีเอ็มซี (มหาชน) ตั้งแต่ก.ค. ๒๕๕๔
๑๕. แต่กว่าจะลงมือก่อสร้างได้จริงก็ล่วงเข้าเดือนม.ค. ๒๕๕๕ แล้ว
๑๖. สิริเวลาในการก่อสร้างสนามแห่งนี้จนถึงวันนี้ต่ำกว่า ๑๐ เดือนเต็ม
๑๗. ในส่วนงบประมาณรัฐบาลปชป.อนุมัติวงเงิน ๑,๒๓๙ ล้านบาท
๑๘. ซึ่งเป็นวงเงินที่อนุมัติไว้เมื่อเดือนพ.ค.๒๕๕๔ ระยะเวลา ๓ ปี
๑๙. นับตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔-๒๕๕๖
๒๐. นับเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๒๑. แต่เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขึ้นมาบริหารกลับไม่มีการโอนเงินให้
๒๒. กทม.ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบจนได้เงินมา ๔๐๒ ล้านบาท
๒๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งงบประมาณปี ๒๕๕๕ มาให้ ๑ ล้านบาท
๒๔. ขณะนั้นกทม.จะใช้งบสำรองตอกเสาเข็มก่อนก็ยังทำไม่ได้
๒๕. เหตุผลคือแบบยังไม่ผ่านการเห็นชอบ (ซึ่งผ่านเมื่อธ.ค. ๒๕๕๔)
๒๖. ระหว่างนั้นมีการยื้องบประมาณจากกรมบัญชีกลาง
๒๗. และปัญหาโรงงานวัสดุก่อสร้างประสบปัญหาอุทกภัยเมื่อปีก่อน
๒๘. ขณะก่อสร้าง กทม.สั่งพื้นปูสนามจากอเมริกาเมื่อมิ.ย. ๒๕๕๕
๒๙. มีใบกำกับสินค้าว่าส่งมาจากต้นทางตั้งแต่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕
๓๐. แต่จากใบกำกับสินค้าที่ต้องส่งตรงมาคลองเตย เรือกลับไปที่จีน
๓๑. ซึ่งทำให้เกิดปัญหาส่งออกสินค้าล็อตนี้กลับมาไทยล่าช้า
๓๒. ขณะที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมากสั่งพื้นสนามไป ๕ ก.ย. ๒๕๕๕
๓๓. แต่อินดอร์ฯ กลับได้รับพื้นสนามมาติดตั้งแล้วเสร็จก่อนกำหนด
๓๔. ระหว่างนั้นกทม.ตัดสินใจสั่งพื้นสนามจากมาเลเซียไต้หวันและอิตาลี
๓๕. ของล็อตนี้เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๕
๓๖. แต่ฟีฟ่าขอให้กทม.รอพื้นสนามที่สั่งจากอเมริกาที่จะมาถึงใน ๒ วัน
๓๗. ซึ่งสุดท้ายแล้วพื้นสนามจากอเมริกามาถึงไทยเมื่อ ๑ พ.ย. ๒๕๕๕
๓๘. เมื่อถึงกำหนดเส้นตายฟีฟ่าประกาศไม่ให้ใช้สนามนี้แข่งขัน
๓๙. โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ
๔๐. แม้วิศวกรรมสถานของไทยได้ออกใบรับรองความปลอดภัยให้แล้ว
สรุปจากบทความ
อนุสรณ์สถานบางกอกฟุตซอลอารีนาความตั้งใจที่สูญเปล่าของกทม.
โดยรัชญา จันทะรัง
ASTVผู้จัดการออนไลน์
๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕