เกริ่นนำ+ชวนคุยก่อน
สวัสดีทุกท่านอีกครั้งครับ กับกระทู้ผมที่นานน๊านทีจะมาที ฮ่าๆ
ที่จริงแล้วหัวข้อนี้ผมกะลงตั้งแต่ช่วงปีใหม่แล้วแต่กำลังมึนกับระบบใหม่พันทิป (ตอนนี้ก็ยังเบลอๆ)
เลยขยับมาจะลงตอนวันเกิดผม ตอน 13 มกราที่ผ่านไปแล้ว แต่ติดงานแต่งเพื่อนตอนวันที่ 12 และไอ้โน่นไอ้นี่อีกจนต้องเลยมาถึงวันนี้แน่ะ...
กระทู้นี้ผมต้องให้เครดิตเอาไว้ก่อน จาก
http://news.nationalgeographic.com
และ
http://www.universetoday.com
เนื่องจากบทความนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นเองทั้งหมดแบบกระทู้เก่าๆ แต่ปรับปรุงและเรียบเรียงจากบทความของสองเว็บนี้ รวมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมในอีกหลายๆทีครับ
อย่างที่หัวข้อกล่าวไว้ กระทู้นี้เป็นเกี่ยวกับ "ภาพถ่าย" ทางดาราศาสตร์ตรงๆ เสริมคำบรรยายไปนิดหน่อยครับ
วิชาดาราศาสตร์น่าจะเป็นแขนงของวิทยาศาสตร์แรกๆที่เด็กคนนึงจะรู้จัก (กับผมมันเป็นอันแรก)
และ "ภาพถ่าย" ทางดาราศาสตร์นี่แหละครับที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กๆ แม้ว่าภายหลังจะไม่ได้ศึกษาต่อในด้านนี้ก็ตาม
อวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลมีอะไรสวยๆงามๆให้เราดูอยู่เสมอ ภาพถ่ายเหล่านี้นอกจากจะงดงามแล้วยังบรรจุข้อมูลที่สำคัญต่อนักดาราศาสตร์มากมายในการไขความลับของจักรวาล รวมไปถึงสถานะของตัวเราในเอกภพที่น่าทึ่งนี้
ดาราศาสตร์เองก็มีหลายสาขาครับ ผมเลยขอจัดกลุ่มภาพถ่ายออกเป็นหมวดๆ เริ่มจากใกล้ๆตัวครับ
***กระทู้นี้ไม่ใช่ Topten ครับ ลำดับของภาพไม่ได้แสดงถึงภาพไหนเด็ดกว่าแต่อย่างใด ทุกภาพมีความงามและความหมายของมัน***
***ชื่อของภาพผมแต่งขึ้นมาเองตามสุนทรีย์ มิได้เกี่ยวข้องหรือพาดพิงอะไร(พูดเผื่อไว้ ฮ่าๆ)***
1. ดาราศาสตร์ดาวเคราะห์โลก (Earth Astronomy)
สาขานี้ศึกษาร่วมกับวิทยาศาสตร์โลก(Earth Science) ซึ่งประกอบด้วยธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา รวมกับศาสตร์เล็กศาสตร์น้อยอีกหลากหลาย มีเป้าหมายเพื่อศึกษาระบบพลศาสตร์ของโลกเราในด้านต่างๆครับ
ภาพที่ 1 "Infinity" สายสัมพันธ์ไร้สิ้นสุดแห่งโลกชีวมณฑล
ESA, Envisat
ถ่ายตั้งแต่ปลายปี 2011 แต่เผยแพร่ปี 2012 ภาพถ่ายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ ประมาณ 600 กิโลเมตรทางตะวันออกของเกาะฟอล์กแลนโดยดาวเทียมสำรวจขององกรณ์อวกาศยุโรป (ESA) Envisat ครับ
เลข 8 ขนาดมหึมาซึ่งเกิดจาก 'ไฟโตแฟลงตอน' บลูม และโดนกระแสน้ำพัดพาไป
ไฟโตแพลงตอนเมื่อรวมกันมากๆสามารถเห็นได้โดยง่ายจากห้วงอวกาศครับ พวกมันเรืองแสงได้ และมีสีต่างๆกันไปได้อีก
เจ้าสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วพวกนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจวัฎจักรคาร์บอนและกลไกสภาพอากาศของโลก เนื่องจากมันเป็นชีวิตพวกแรกๆที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
ภาพ(ชุด)ที่ 2 "Blue Marble" ประกายแสงจากบ้านของเราในห้วงอวกาศ
NASA/NOAA/GSFC/Suomi NPP/VIIRS
ถ่ายโดยดาวเทียมสำรวจ NASA Suomi NPP ต้นปี 2012 ภาพที่ล่างถ่ายในมุมเดียวกันกับ Blue Marble อันโด่งดังที่จับภาพโดยนักบินยานอพอลโล 17 แต่ต่างกันตรงที่ภาพนี้ถูกถ่ายจากระยะใกล้กว่ามากและใช้หลายภาพประกอบต่อกันเป็นภาพความละเอียดสูงขนาดใหญ่
ภาพ(ชุด)ที่ 3 "Black Marble" อัญมณีแม้นไร้แสงก็งดงาม
จับภาพโดยดาวเทียม Suomi NPP ของ NASA เช่นกัน ดาวเทียมดวงนี้โคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 800 กิโลเมตรในวงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar orbit) จึงมีความสามารถในการจับภาพทุกส่วนบนผิวโลก
ภาพนี้เกิดจากการประกอบภาพหลายภาพเข้าด้วยกัน จุดสีที่เห็นทุกท่านคงรู้ว่ามันคือแสงจากตัวเมืองนั่นเอง
ข้อมูลจากภาพเหล่านี้จะถูกใช้ในการศึกษารูปแบบการกระจายตัวของสังคมเมืองมนุษย์ ผนวกกับข้อมูลปริมาณแก๊ส CO
2 และมลภาวะอื่นๆก็จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่ามนุษย์ส่งผลกระทบอะไรต่อโลกของเราบ้าง
ภาพที่ 4 "Artificial Trail" นี่ไม่ใช่แค่ควันที่ยึกยือไปมา แต่เป็นพลวัตซับซ้อนของระบบบรรยากาศโลกต่างหาก
ถ่ายโดยลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) สิ่งที่ท่านเห็นคือ "ควัน" ที่เกิดจากจรวดโซยุสซึ่งพานักบินอวกาศ Expedition 33 ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ
ควันนี้ยาวหลายกิโลเมตรและการที่มันเบ้ไปเบ้มานั่นแสดงถึงการไหลของอากาศรอบๆมันครับ ภาพนี้ทำให้เราพอเห็นว่าบรรยากาศของโลกนั้นสลับซับซ้อนเพียงใด
รูปแบบการกระจายของควันเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อพัฒนาแบบจำลองบรรยากาศโลกที่ถูกต้องมากขึ้นในอนาคต เพราะบรรยากาศโลกมิได้ประกอบด้วยชั้นไม่กี่ชั้นอย่างที่เราจำๆกัน แต่ภายในชั้นหลักนั้นมีโครงสร้างเล็กๆซ้อนๆกันอยู่มากมายทีเดียว
ภาพที่ 5 "Noctilucent" พรายเรืองแสงลึกลับที่ขอบอวกาศ
มิถุนายน 2012 เหนือท้องฟ้าทิเบต นักบินอวกาศจาก ISS จับภาพนี้ได้ สิ่งนี้เป็นเมฆครับ แต่ัมันไม่ใช่เมฆที่เรารู้จักกันดี
เมฆ 99.9% ในโลกปรากฎอยู่ในชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งอยู่สูงไม่เกิน 12 กิโลเมตรจากพื้นโลกเท่านั้น... แล้วเจ้าเมฆนี่มันอยู่ในชั้นนี้รึเปล่า?
ชั้นโทรโพสเฟียร์อยู่ใต้เส้นสีน้ำเงินเข้มติดพื้นโลกในภาพน่ะครับ... แสดงว่าเมฆนี้อยู่สูงมาก มันอยู่ไปถึงชั้นมีโซสเฟียร์ ราว 80 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกครับ
มองเห็นได้จากโลกบ้างจากใกล้ๆขั้วโลก พวกมันเป็นริ้วเล็กๆ เรืองแสงสีฟ้าอ่อนและพบเห็นได้สั้นมากก่อนจะหายตัวไป ภาพนี้เป็นครั้งแรกที่มีการจับภาพเมฆ "นอคทิลูเซนต์" ได้จากอวกาศ
จนถึงวันนี้เรายังไม่ทราบว่าเมฆนี้มีที่มาอย่างไร มันอาจมาจากแก๊สของบรรดาผีพุ่งใต้ที่เหลือทิ้งไว้ อย่างน้อยเราพอทราบอย่างนึงว่าเมฆชนิดนี้ดูจะสว่างขึ้นและพบมากขึ้น และดูสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนซะด้วย
การทำความเข้าใจมันก็เป็นอีกคีย์หนึ่งต่อภาพรวมระบบสภาพอากาศอันสลับซับซ้อนของโลกใบนี้ครับ
ภาพที่ 6 "Icy current" วงวนเืยือกแข็งที่ทั้งสวยและอันตราย
จับภาพโดยนักบิน ISS เดือนมีนาคม 2012 บริเวณคาบสมุทร Kamchatka ของรัสเซีย ที่เห็นม้วนๆนั่นไม่ใช่เมฆนะครับ แต่เป็นแพน้ำแข็งขนาดเล็กมากมายที่แตกตัวจากนั้นกระแสน้ำ Kamchatka ก็พามันออกไป
สภาพใต้ทะเลที่ไม่ราบเรียบทำให้เกิดการหมุนวนของน้ำขึ้น เหมือนวังวนเล็กๆตอนที่เราวาดมือผ่านน้ำนี่แหละครับ แต่อันนี้มันใหญ่มากจนแม้มองจากเครื่องบินก็เห็นได้ไม่หมด
วังวนน้ำแข็งนี้เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ และพบบ่อยขึ้นจากทะเลที่อุ่นขึ้นด้วย
ภาพที่ 7 "The Great Mirror" กระจกบานยักษ์ในผืนทวีปอเมริกา
ถ่ายจาก ISS เหนือทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณทะเลสาปใหญ่ั้ทั้งห้า ในภาพเห็นเพียงสามคือทะเลสาปอีรี่ (ซ้าย) ทะเลสาปฮูรอน (บน) และทะเลสาปออนตาริโอ (ล่าง) ยังมีทะเลสาปแนวยาวเล็กๆด้านซ้ายมือของออนตาริโอที่เรียกว่า Finger Lake ให้เห็นด้วย
ด้านบนภาพที่ปกคลุมด้วยเมฆเกือบหมดเป็นแคนาดา ล่างมาก็สหรัฐอเมริกา
END of Reply#0
ECOS
[ECOS news] ประมวลภาพ... สุดยอดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2012 (โหลดโหด)
สวัสดีทุกท่านอีกครั้งครับ กับกระทู้ผมที่นานน๊านทีจะมาที ฮ่าๆ
ที่จริงแล้วหัวข้อนี้ผมกะลงตั้งแต่ช่วงปีใหม่แล้วแต่กำลังมึนกับระบบใหม่พันทิป (ตอนนี้ก็ยังเบลอๆ)
เลยขยับมาจะลงตอนวันเกิดผม ตอน 13 มกราที่ผ่านไปแล้ว แต่ติดงานแต่งเพื่อนตอนวันที่ 12 และไอ้โน่นไอ้นี่อีกจนต้องเลยมาถึงวันนี้แน่ะ...
กระทู้นี้ผมต้องให้เครดิตเอาไว้ก่อน จาก
http://news.nationalgeographic.com
และ
http://www.universetoday.com
เนื่องจากบทความนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นเองทั้งหมดแบบกระทู้เก่าๆ แต่ปรับปรุงและเรียบเรียงจากบทความของสองเว็บนี้ รวมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมในอีกหลายๆทีครับ
อย่างที่หัวข้อกล่าวไว้ กระทู้นี้เป็นเกี่ยวกับ "ภาพถ่าย" ทางดาราศาสตร์ตรงๆ เสริมคำบรรยายไปนิดหน่อยครับ
วิชาดาราศาสตร์น่าจะเป็นแขนงของวิทยาศาสตร์แรกๆที่เด็กคนนึงจะรู้จัก (กับผมมันเป็นอันแรก)
และ "ภาพถ่าย" ทางดาราศาสตร์นี่แหละครับที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กๆ แม้ว่าภายหลังจะไม่ได้ศึกษาต่อในด้านนี้ก็ตาม
อวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลมีอะไรสวยๆงามๆให้เราดูอยู่เสมอ ภาพถ่ายเหล่านี้นอกจากจะงดงามแล้วยังบรรจุข้อมูลที่สำคัญต่อนักดาราศาสตร์มากมายในการไขความลับของจักรวาล รวมไปถึงสถานะของตัวเราในเอกภพที่น่าทึ่งนี้
ดาราศาสตร์เองก็มีหลายสาขาครับ ผมเลยขอจัดกลุ่มภาพถ่ายออกเป็นหมวดๆ เริ่มจากใกล้ๆตัวครับ
***กระทู้นี้ไม่ใช่ Topten ครับ ลำดับของภาพไม่ได้แสดงถึงภาพไหนเด็ดกว่าแต่อย่างใด ทุกภาพมีความงามและความหมายของมัน***
***ชื่อของภาพผมแต่งขึ้นมาเองตามสุนทรีย์ มิได้เกี่ยวข้องหรือพาดพิงอะไร(พูดเผื่อไว้ ฮ่าๆ)***
1. ดาราศาสตร์ดาวเคราะห์โลก (Earth Astronomy)
สาขานี้ศึกษาร่วมกับวิทยาศาสตร์โลก(Earth Science) ซึ่งประกอบด้วยธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา รวมกับศาสตร์เล็กศาสตร์น้อยอีกหลากหลาย มีเป้าหมายเพื่อศึกษาระบบพลศาสตร์ของโลกเราในด้านต่างๆครับ
ESA, Envisat
ถ่ายตั้งแต่ปลายปี 2011 แต่เผยแพร่ปี 2012 ภาพถ่ายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ ประมาณ 600 กิโลเมตรทางตะวันออกของเกาะฟอล์กแลนโดยดาวเทียมสำรวจขององกรณ์อวกาศยุโรป (ESA) Envisat ครับ
เลข 8 ขนาดมหึมาซึ่งเกิดจาก 'ไฟโตแฟลงตอน' บลูม และโดนกระแสน้ำพัดพาไป
ไฟโตแพลงตอนเมื่อรวมกันมากๆสามารถเห็นได้โดยง่ายจากห้วงอวกาศครับ พวกมันเรืองแสงได้ และมีสีต่างๆกันไปได้อีก
เจ้าสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วพวกนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจวัฎจักรคาร์บอนและกลไกสภาพอากาศของโลก เนื่องจากมันเป็นชีวิตพวกแรกๆที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
NASA/NOAA/GSFC/Suomi NPP/VIIRS
ถ่ายโดยดาวเทียมสำรวจ NASA Suomi NPP ต้นปี 2012 ภาพที่ล่างถ่ายในมุมเดียวกันกับ Blue Marble อันโด่งดังที่จับภาพโดยนักบินยานอพอลโล 17 แต่ต่างกันตรงที่ภาพนี้ถูกถ่ายจากระยะใกล้กว่ามากและใช้หลายภาพประกอบต่อกันเป็นภาพความละเอียดสูงขนาดใหญ่
จับภาพโดยดาวเทียม Suomi NPP ของ NASA เช่นกัน ดาวเทียมดวงนี้โคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 800 กิโลเมตรในวงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar orbit) จึงมีความสามารถในการจับภาพทุกส่วนบนผิวโลก
ภาพนี้เกิดจากการประกอบภาพหลายภาพเข้าด้วยกัน จุดสีที่เห็นทุกท่านคงรู้ว่ามันคือแสงจากตัวเมืองนั่นเอง
ข้อมูลจากภาพเหล่านี้จะถูกใช้ในการศึกษารูปแบบการกระจายตัวของสังคมเมืองมนุษย์ ผนวกกับข้อมูลปริมาณแก๊ส CO2 และมลภาวะอื่นๆก็จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่ามนุษย์ส่งผลกระทบอะไรต่อโลกของเราบ้าง
ถ่ายโดยลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) สิ่งที่ท่านเห็นคือ "ควัน" ที่เกิดจากจรวดโซยุสซึ่งพานักบินอวกาศ Expedition 33 ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ
ควันนี้ยาวหลายกิโลเมตรและการที่มันเบ้ไปเบ้มานั่นแสดงถึงการไหลของอากาศรอบๆมันครับ ภาพนี้ทำให้เราพอเห็นว่าบรรยากาศของโลกนั้นสลับซับซ้อนเพียงใด
รูปแบบการกระจายของควันเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อพัฒนาแบบจำลองบรรยากาศโลกที่ถูกต้องมากขึ้นในอนาคต เพราะบรรยากาศโลกมิได้ประกอบด้วยชั้นไม่กี่ชั้นอย่างที่เราจำๆกัน แต่ภายในชั้นหลักนั้นมีโครงสร้างเล็กๆซ้อนๆกันอยู่มากมายทีเดียว
มิถุนายน 2012 เหนือท้องฟ้าทิเบต นักบินอวกาศจาก ISS จับภาพนี้ได้ สิ่งนี้เป็นเมฆครับ แต่ัมันไม่ใช่เมฆที่เรารู้จักกันดี
เมฆ 99.9% ในโลกปรากฎอยู่ในชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งอยู่สูงไม่เกิน 12 กิโลเมตรจากพื้นโลกเท่านั้น... แล้วเจ้าเมฆนี่มันอยู่ในชั้นนี้รึเปล่า?
ชั้นโทรโพสเฟียร์อยู่ใต้เส้นสีน้ำเงินเข้มติดพื้นโลกในภาพน่ะครับ... แสดงว่าเมฆนี้อยู่สูงมาก มันอยู่ไปถึงชั้นมีโซสเฟียร์ ราว 80 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกครับ
มองเห็นได้จากโลกบ้างจากใกล้ๆขั้วโลก พวกมันเป็นริ้วเล็กๆ เรืองแสงสีฟ้าอ่อนและพบเห็นได้สั้นมากก่อนจะหายตัวไป ภาพนี้เป็นครั้งแรกที่มีการจับภาพเมฆ "นอคทิลูเซนต์" ได้จากอวกาศ
จนถึงวันนี้เรายังไม่ทราบว่าเมฆนี้มีที่มาอย่างไร มันอาจมาจากแก๊สของบรรดาผีพุ่งใต้ที่เหลือทิ้งไว้ อย่างน้อยเราพอทราบอย่างนึงว่าเมฆชนิดนี้ดูจะสว่างขึ้นและพบมากขึ้น และดูสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนซะด้วย
การทำความเข้าใจมันก็เป็นอีกคีย์หนึ่งต่อภาพรวมระบบสภาพอากาศอันสลับซับซ้อนของโลกใบนี้ครับ
จับภาพโดยนักบิน ISS เดือนมีนาคม 2012 บริเวณคาบสมุทร Kamchatka ของรัสเซีย ที่เห็นม้วนๆนั่นไม่ใช่เมฆนะครับ แต่เป็นแพน้ำแข็งขนาดเล็กมากมายที่แตกตัวจากนั้นกระแสน้ำ Kamchatka ก็พามันออกไป
สภาพใต้ทะเลที่ไม่ราบเรียบทำให้เกิดการหมุนวนของน้ำขึ้น เหมือนวังวนเล็กๆตอนที่เราวาดมือผ่านน้ำนี่แหละครับ แต่อันนี้มันใหญ่มากจนแม้มองจากเครื่องบินก็เห็นได้ไม่หมด
วังวนน้ำแข็งนี้เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ และพบบ่อยขึ้นจากทะเลที่อุ่นขึ้นด้วย
ถ่ายจาก ISS เหนือทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณทะเลสาปใหญ่ั้ทั้งห้า ในภาพเห็นเพียงสามคือทะเลสาปอีรี่ (ซ้าย) ทะเลสาปฮูรอน (บน) และทะเลสาปออนตาริโอ (ล่าง) ยังมีทะเลสาปแนวยาวเล็กๆด้านซ้ายมือของออนตาริโอที่เรียกว่า Finger Lake ให้เห็นด้วย
ด้านบนภาพที่ปกคลุมด้วยเมฆเกือบหมดเป็นแคนาดา ล่างมาก็สหรัฐอเมริกา
END of Reply#0
ECOS