พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?




คำนำ
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี
คำสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึ้น
มีสำนักต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละหมู่คณะก็มีความเห็นของตน
หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์

แล้วเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
ลองพิจารณาหาคำตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร
ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว้
แล้วตรัสบอกวิธีป้องกันและแก้ไขเหตุเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้.

ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?
ที่พุทธบริษัทจะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย
จากองค์พระสังฆบิดา อันวิญญูชนพึงปฏิบัติและรู้ตามได้เฉพาะตน ดังนี้.


๑๐ พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษาแต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น

๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด

อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าว
เรื่องนั้น ๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่
ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำ
อยู่เป็นประจำ ดังนี้.

มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่

บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก),
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก),
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก),
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก),
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ).

มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น
ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไมแย้ง้กันเป็น ประการอื่นเลย.

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือปลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่น
ทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้า
หลายครั้งหลายคราวเช่น นั้นนานเข้า ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น;

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู;เธอจักไม่ฟังัด้วยดี
จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่า เรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เป็น คำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิต
เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็น
ข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วย
อาการอย่างนี้ แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็น คำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟ่ง
ด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู; เธอย่อม
ฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้.

ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิด ไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.

ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา) มีอรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา)
เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา) อันบุคคลนำ
มากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่  พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟังตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่าข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไรดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่ เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่ควํ่าอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา  เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลายที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็น สิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่ควํ่าอยู่
ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่าง ๆ ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา  (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไปแล)

ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.


http://www.watnapahpong.com:8080/media/10_Sutta_TH.pdf


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่