สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ตอบทีละข้อเท่าที่ผมรู้และทำอยู่นะครับ
ส่วนใหญ่เป็นงานประจำหรือฟรีแลนซ์
- มีทั้งสองแบบครับ งานประจำก็คือนักแต่งเพลงแบบที่ได้เงินเดือนเป็นพนักงานประจำ ทุกเดือนๆ แบบนี้จะมีความมั่นคงทางการเงินมากกว่า
ในแบบฟรีแลนซ์หน่อยเพราะรับประกันค่าจ้างมาแล้ว ก็เหมือนพนักงานบริษัททั่วๆไปครับ ส่วนเรื่องที่ว่า เดือนๆนึงทำงานกันเท่าไหร่
ต้องเขียนกี่เพลง ทำอะไรบ้าง อันนี้มันแล้วแต่ๆละที่ครับ
ส่วนพวกฟรีแลนซ์ ก็เป็นแบบตัวผมเองนี่แหละ ก็คือ จะมีงานมาเป็นจ็อบๆ บางทีเข้ามาสองสามเพลงพร้อมกัน บางทีไม่มีเลย- -*
มันก็เป็นธรรมชาติของฟรีแลนซ์ครับที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แบบนี้เงินที่ได้ก็ จะได้เป็นครั้งๆไป
=====================================================
ถ้าแต่งแล้วไปเสนอนี่เสนอใครหรอครับแล้วเค้าจะซื้อเลยไหมหรือเก้บไว้ก่อนถ้าได้โปรดิวหรือโปรโมตค่อยได้ตัง
- คำว่าเสนอที่ว่านี่ น่าจะเป็นในลักษณะของ คนที่ส่งdemoเพื่อเสนอตัวเองมากกว่าว่า อยากมาเป็นนักดนตรีหรือนักร้อง
คำว่าเสนออันนั้นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอันแรกสุดที่สมัครเข้ามาอยู่ตรงนี้มากกว่า ประมาณว่า show me what you got อะไรแถวๆนั้น
เหมือนปาล์มมี่ที่เดินไปส่งเดโม่ที่แกรมมี่นั่นล่ะครับ
ส่วนใหญ่พอผ่านขั้นนั้นมา ก็ไม่ต้องเสนอแล้วว่าเค้าจะรับไม่รับ มีแต่ว่า ให้ลองทำมา ผ่านหรือไม่ผ่าน
คนทำเพลงก็จะต้องมีทีมของตัวเอง จะต้องรู้กันว่า ใครทำอะไรได้
งานของคนทำเพลง ทั้งคนทำเนื้อ ทำนอง หรือดนตรี มันเริ่มได้หลายๆแบบ
ทั้งในแบบที่ มีใบสั่งมา เช่น มีโครงการจะทำอัลบั้มของคนๆนี้ และวางคอนเซปต์เพลงไว้ คนทำเนื้อ หรือ คนทำดนตรี ก็จะเริ่มไปทำมา
ต่างคนต่างทำมาก่อนใครก็ได้ อาจจะเริ่มที่เนื้อก่อน คนทำเนื้อก็แต่งเพลงมา แล้วก็ส่งให้ที่ประชุมเคาะ ถ้าคนทำดนตรีเริ่มมาก่อน
ก็ส่งเข้าที่ประชุมให้เคาะเช่นกัน คือ จุดนี้ใครทำมาก่อนก็ได้ คนที่พิจารณา (โปรดิวเซอร์ หรือ เอ็กเซ็ก) จะเป็นคนตัดสินใจอีกทีว่า
ไอ้ที่ทำdemoคร่าวๆมานี่ น่าสนใจไหม ต่อยอดได้ไหม มีศักยภาพพอเป็นเพลงขายได้รึเปล่า
ปัจจุบันนี้ การทำงานเพลง ใช้วิธีการส่งเมลงานกันนะครับ ก็คือ ใครทำอะไรมาก็แปลงไฟล์แล้วก็ส่งให้กันฟังจากอีเมล
อีกคนก็รับไปทำต่อ แล้วก็ เพิ่มเติมมา ส่งกลับ เข้าที่ประชุม เคาะ อะไรประมาณนี้
ถ้าผ่าน มันก็อาจเป็นไปได้ว่า เดินหน้าลุยทำดนตรีตัวเต็มกันต่อเลย หรือจะเก็บไว้เป็นสต็อคก็ได้
ลักษณะทีมงานค่ายเพลงย่อยๆที่ใช้รูปแบบสต็อคเพลงเก็บ ก็มีอยู่เหมือนกัน ถึงเวลาเจอใครเหมาะสม ก็ดึงเพลงนั้นขึ้นมาใช้ได้
คนแต่งเพลงอย่างพวกผมก็ถือว่า เป็นส่วนของ Primary Production ในลูปวงจรนี้เลย คือเป็นตัวเริ่มทำสินค้า
มีหน้าที่ สร้างๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขึ้นมาอย่างเดียว (ไม้ยมกด้วยความอัดอั้น )
และสุดท้าย อย่างที่คุณถาม ถ้าเค้าเอาเพลงเราไปเข้าอัลบั้ม ทำขาย หรือเลือกโปรโมทเมื่อไหร่ คือ เคาะแล้วผ่าน และจะเอาไปใช้
นั่นละครับ ถึงจะได้ตังค์ (ฟรีแลนซ์นะ ส่วนคนทำประจำ ก็มีหน้าที่แค่ ทำงานให้ผ่าน เหมือนงานออฟฟิศทั่วๆไป และรอรับเงินเดือนแค่นั้น)
================================
แล้วนอกจากเป็นผู้แต่งนี่ต้องทำอะไรอย่างอื่นในเพลงไหมครับ แล้วเพลงต้องอัดเป็นเดโม่ส่งเลยหรือว่าเป้นแค่เนื้อเพลง มีโน้ตดนตรี
- ตรงจุดนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้แต่งนี่ มันมีหลายความหมาย ทั้งcomposer หรือ lyricist ใหญ่ๆแล้วคนทำเพลงจะมีอยู่สองส่วน
ที่จะแยกกันชัดเจน แต่บางคนก็สามารถ ทำได้ทุกอย่างและดีด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ๆแล้วจะมี
1. คนเขียนเนื้อ หรือ lyricist ส่วนใหญ่คนเขียนเนื้อจะถนัดและทำด้าน คิดคอนเซปต์เพลง แต่งเนื้อ และแต่งทำนองหรือเมโลดี้
งานสำหรับมือโปรที่จะวัดกันว่าใครเจ๋งใครไม่เจ๋งในสายนี้ คือความสามารถในการคิดคอนเซปต์เพลงเจ๋งๆรวมถึงฮุค และความสามารถในการใส่คำให้ลงพอดีกับเมโลดี้ โดยที่ไม่โกงหรือฝืนโน้ตมากไปนัก ซึ่งปัจจุบันนี้หาคนเก่งๆได้น้อยลงเรื่อยๆ ต้องมือเก๋าๆรุ่นสิบกว่าปีก่อนทั้งนั้น
ที่ผมนับถือว่า คนพวกนี้เก่งจริงๆ เพราะปัจจุบัน โกงโน้ตฝืนโน้ตกันกระจาย และรวมถึงการเลือกใช้คำที่ยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ขาดสัมผัสขาดความสวยงาม คนเก่งๆที่ผมนับถือในความสามารถด้านเขียนเพลงจริงๆ มือหนึ่งเลย ไม่มีหลุดทั้งคอนเซปต์และการใช้คำ
ผมยกให้พี่บั๋ง สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา ณ อาร์เอสเลย
นอกจากนี้ระดับท็อปๆในสายตาผม(อาจารย์ผมทั้งนั้น)ก็มีพี่ดี้ , พี่บอยด์ โกสิยพงษ์ , พี่เจษ เจษฎา หันช่อ , คงเดช จาตุรันต์รัศมี รวมถึงโจอี้บอย
รวมถึงรุ่นใหม่ที่ผมสนใจและนับถืออย่าง ฟองเบียร์ แสตมป์ และฟักกลิ้งฮีโร่ด้วย พวกนี้คือ Lyricist ที่เด็ดๆ
2. คนทำดนตรี ก็ตรงตัวตามนั้น ก็คือคนที่อยู่ในเครดิต "เรียบเรียง" ที่เราเห็นๆกันในปกเทปแหละครับ ถึงแม้จะดูว่า มันน้อยกว่าคนแต่งเพลง
แบบเขียนเนื้อ แต่จริงๆแล้วหนักหนาสาหัสระดับที่พอๆกัน เพราะการเรียบเรียง มันต้องทำดนตรีทุกไลน์ที่มีในเพลง ต้องคิดกลอง คิดกีต้าร์ไลน์เปียโน รวมถึงลูกเล่นเทคนิคต่างๆโดยเฉพาะปัจจุบันที่เครื่องซินธ์ฯมันมีอิทธิพลในเพลงสมัยใหม่มาก
เรียกได้ว่า ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้ทางด้านดนตรีอย่างหนักหน่วงและแท้จริงเลย เพลงดีไม่ดี ดนตรีและซาวด์นี่แหละ สำคัญมาก
ส่วนใหญ่แล้ว คนแต่งเพลง ก็จะมีสองแบบใหญ่ๆนี่แหละครับแยกกันชัดว่า คนนี้เก่งด้านเนื้อร้อง ทำนอง ก็เป็นคนแต่งเนื้อ อีกคนเป็นนักดนตรี ก็ทำในส่วนของภาคดนตรีไป ส่วนใหญ่ทีมที่เข้าขากันดี และทีมเวิร์คเยี่ยม ก็จะเป็นสัดส่วนแบบนี้แหละครับคือ มีคนทำเนื้อ ที่เข้าใจกับ คนทำดนตรี
สองคนนี้ สามารถสร้างเพลงออกมาได้ไม่รู้จักหมดสิ้น มีบางประเภทที่อยู่ระดับเจ๋งๆที่สามารถทำได้ทั้ง เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียง เช่นกัน
ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำดนตรีมากกว่า เพราะLyricistไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านดนตรีก็ได้ จึงทำให้ส่วนใหญ่ทำดนตรีไม่ค่อยเก่ง แต่คนดนตรีบางครั้งสามารถแต่งเมโลดี้ และหัดเขียนเนื้อลงไปด้วยตัวเองได้เลย ถ้าใครจะเป็นLyricistอย่างเดียว งานต้องดีและเจ๋งพอจริงๆ คือลายมือต้องยอดเยี่ยม แบบพี่ดี้พี่บั๋ง เป็นต้น เมื่อนั้น ดนตรีจะต้องมาง้อสิ่งที่อยู่ในหัวคุณ
ส่วนที่ถามว่า เพลงต้องอัดเป็นเดโม่ไหมหรือส่งเป็นเนื้อเพลง มีโน้ต
ต้องทำความเข้าใจคำว่าเดโม่ก่อน เดโม่ไม่ได้แปลว่าจะต้องมีดนตรีฟุลออฟฯรวมมาเลย ทั้งกลอง กีต้าร์เบส ฯลฯ
แต่เดโม่คือทุกอย่างที่รวมความหมายของคำว่า เพลงตัวอย่างไว้ เช่น ผมแต่งเนื้อร้องทำนอง ร้องคลอไปกับดีดกีต้าร์ ก็เป็นเดโม่แล้ว
หรือ มีแต่เนื้อ กับ ทำนอง ฮัมๆส่งไป แบบนี้ยังเป็นเดโม่ได้เลย คือถือเป็นตัวอย่างในรูปแบบหนึ่ง
ส่วนที่ จขกท อยากรู้ว่า ต้องอัดส่งยังไง อันนี้มันแล้วแต่ครับ อยู่ที่วิธีการทำงานในเพลงนั้นๆ
กล่าวคือ "เริ่มที่ส่วนไหน เนื้อร้อง หรือ ดนตรี ส่วนนั้นก็จะมาก่อน"
เช่น บางครั้ง เริ่มจากดนตรีก่อน คนทำดนตรี ก็จะทำดนตรีเปล่าๆมา มีกลองมีกีต้าร์ มีแนวเพลงคร่าวๆที่จะเป็นในเพลงนั้นๆ ส่งมาเปล่าๆ
ก็คือ ส่งดนตรีเปล่านั่นแหละสรุป จากนั้นมันก็จะforwardต่อไปยัง คนที่มีหน้าที่แต่งเนื้อร้อง หรือรวมถึงทำนองด้วย ที่จะเอาไอ้ดนตรีเปล่าๆนั้น
มาลงเนื้อ ลงทำนองให้มันพอเหมาะ ให้เข้ากับเพลง วิธีการแบบนี้ก็ดีที่จะทำให้ เนื้อร้อง เหมาะและเข้ากับดนตรีมาก ไม่หลุดธีม
และแบบนี้ สำหรับคนเขียนเนื้อแล้ว สบายกว่าการครีเอทเองทั้งหมดตั้งแต่แรก คือเอาง่ายๆ การส่งงานเพลง ส่วนที่เป็นคนรับต่อ
จะง่ายกว่าคนที่ต้องคิดทุกอย่างเป็นคนแรกสุดครับ
อ่ะ อีกรูปแบบ คิดว่าคงเป็นอย่างที่ จขกท สงสัย ก็คือ นักแต่งเพลงในความหมายของคนเขียนเนื้อ
ต้องส่งเพลงยังไง ส่วนใหญ่คนเขียนเนื้อก็จะแต่งเป็น เนื้อร้อง กับ ทำนอง ที่ิคิดขึ้นมา และส่งคลอไปกับเครื่องดนตรีที่เขาใช้
หากใครเล่นเปียโนเป็น ก็จะมีไลน์เปียโนคร่าวๆ มากับเนื้อร้องทำนองที่ร้องใส่มา และก็ส่งต่อให้คนทำดนตรี
หรือถ้าเป็นตัวผมเอง ผมก็จะเล่นกีต้าร์ ตีคอร์ด เล่นจังหวะและอารมณ์ลงไปคร่าวๆ แล้วก็ร้องอัดเนื้อร้อง และทำนองลงไป
เอาง่ายๆ เหมือนเพลงอะคูสติคที่มีแค่ร้องกับกีต้าร์ ประมาณนั้น นี่ก็คือลักษณะของเดโม่ฝั่งคนเขียนเนื้อที่จะมีเนื้อร้องทำนอง ไปกับดนตรี
ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนนั้นให้อีตาคนทำดนตรีมันไปคิดกันเอาเอง
======================================
แล้วสมัยก่อนนี่นักแต่งเพลงมีรายได้ไม่ต่่างจากนักร้องนี่จริงไหมครับ ถ้าได้ลงอัลบั้มที่มียอดขายสูงหรือเป็นซาวน์แทรคหนังดัง ละครดัง
- รายได้สมัยก่อน มันเหมือนอะไรที่เป็นความฝันมากและปัจจุบันคงไม่มีทางเป็นแบบนั้นแล้ว เค้าว่ากันว่าเพลงบางเพลงที่ดังๆจัด
นักแต่งเพลงเอาตังค์ส่วนแบ่ง ไปซื้อควายได้ฝูงนึง ไปซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์มานอนเล่นได้ 1หลัง
ก็ถ้ามันดังจริงนะ อย่างที่ด้านบนๆบอกแหละ มันมีเปอร์เซ็นต์ที่คนแต่งจะได้ด้วย แต่ปัจจุบันนี้มันไม่เป็นแบบนั้นแล้วเพราะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์นี่ล่ะ
ถ้าให้เลือกได้ ผมชอบยุคเก่ามากกว่าที่เพลงทุกเพลง ต้องเสียเงินและฟังจากแผ่นซีดีเท่านั้น มันทำให้คนทำเพลงมีตังค์กินข้าวด้วย
ส่วนรายได้ .. อืม ปัจจุบันนี้ ผมก็ไม่อยากพูดมากเดี๋ยวจะหาว่า ออกมาบ่น ออกมานู่นนั่นนี่อีก
สิบปีก่อนรายได้ยังไง ปัจจุบันก็ยังเท่าเดิม อย่างที่รู้ๆกัน เบสของค่าจ้างคนเขียนเนื้อทำนอง ก็จะอยู่แถวๆห้าพันบาท แถวๆนั้น
และปัจจุบันส่วนใหญ่ก็เป็นการซื้อขาด และไม่มีเปอร์เซ็นต์ ก็เหมือนกับเป็นลูกจ้าง แต่งเพลงมาแล้วก็รับตังค์ เพลงก็เป็นของเจ้าของค่ายไป
เนื้อร้องห้าพัน ถ้ามีทำนองด้วย ก็ได้อีก อาจจะ สี่พัน ห้าพัน ก็ว่ากันไป แต่ก็อยู่แถวๆนี้ คนทำดนตรีก็จะได้แถวๆเดียวกัน ตั้งแต่ห้าพันขึ้นไป
อยู่ที่ว่า ทำเยอะน้อยขนาดไหน คือตรงนี้ ฟรีแลนซ์มันไม่ตายตัวครับ แล้วแต่งานจ้างว่า ผจก เค้าไปดีลกับลูกค้าได้ราคามาเท่าไหร่
ค่าจ้างมันก็จะลดหลั่นไล่เลี่ยกันไปแล้วแต่จ็อบ - -*
และ เอาความเป็นจริงเลย เพลงมันไม่ได้เป็นชิ้นงานที่จะเข้ามาทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ตายตัว บางทีเดือนนึงยังไม่มีเลย
อาจจะมาสัก ครึ่งเดือนเพลงหนึ่ง อะไรงี้ อย่าเอาไปเทียบกับตัวเป้งระดับตัวพ่อแล้วนะครับ อย่างพี่ดี้ ฟองเบียร์ พี่บั๋ง พี่หนึ่ง ฯลฯ
พวกนี้เค้าติดลมบนไปแล้ว เพลงไหลเข้ามาหาเรื่อยๆแน่นอน แต่พวกตัวเล็กๆโนเนมแบบผมนี่ เพลงโฆษณาเล็กๆเข้ามาอันนึง ก็แทบจะกราบแล้ว
และอย่างที่บอก นานๆมาที รายได้ผมมันก็จะได้มาเหมือนค่าขนมเท่านั้น คือ เดือนครึ่ง อ่ะ เพลงผ่าน ได้ตังค์แระ ห้าพัน..
ขอย้ำว่า ห้าพัน ลองนึกดูเหมือนมันจะสวยหรูแต่จริงๆแล้ว เงินเท่านี้มันไม่พอค่าใช้จ่ายทั้งเดือนหรอกครับ และก็ไม่ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ด้วย
ถ้าคนที่มาอ่านกระทู้นี้ น่าจะเคยเห็นข้อความของท่านอื่นๆบ้างแล้วว่า ทำดนตรี ทำเพลง มันต้องใจรักจริงๆ แต่จะยึดเอาเป็นอาชีพหลักไม่ได้
ถ้าไม่ใช่ระดับตัวเป้งๆจริงๆ อยู่ยากมาก ไอ้ที่ผมพูดตรงนี้เรื่องจำนวนเงิน แค่จะยกตัวอย่างให้ดูชัดเจนครับว่า
จำนวนเงินตรงนี้ มันได้แค่เท่านี้ และก็ไม่ได้ทุกเดือนด้วย คือมันมาไม่สม่ำเสมอ บางเดือนมีงาน บางเดือนไม่มีงาน
ดังนั้นความมั่นคงน้อยมาก สำหรับฟรีแลนซ์ตัวเล็กๆแบบผมนี่ที่ไม่ได้อยู่ค่ายใหญ่ด้วย
คห มันไม่พอ ต่อ ด้านล่างอีกนิดนะครับ
V
V
ส่วนใหญ่เป็นงานประจำหรือฟรีแลนซ์
- มีทั้งสองแบบครับ งานประจำก็คือนักแต่งเพลงแบบที่ได้เงินเดือนเป็นพนักงานประจำ ทุกเดือนๆ แบบนี้จะมีความมั่นคงทางการเงินมากกว่า
ในแบบฟรีแลนซ์หน่อยเพราะรับประกันค่าจ้างมาแล้ว ก็เหมือนพนักงานบริษัททั่วๆไปครับ ส่วนเรื่องที่ว่า เดือนๆนึงทำงานกันเท่าไหร่
ต้องเขียนกี่เพลง ทำอะไรบ้าง อันนี้มันแล้วแต่ๆละที่ครับ
ส่วนพวกฟรีแลนซ์ ก็เป็นแบบตัวผมเองนี่แหละ ก็คือ จะมีงานมาเป็นจ็อบๆ บางทีเข้ามาสองสามเพลงพร้อมกัน บางทีไม่มีเลย- -*
มันก็เป็นธรรมชาติของฟรีแลนซ์ครับที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แบบนี้เงินที่ได้ก็ จะได้เป็นครั้งๆไป
=====================================================
ถ้าแต่งแล้วไปเสนอนี่เสนอใครหรอครับแล้วเค้าจะซื้อเลยไหมหรือเก้บไว้ก่อนถ้าได้โปรดิวหรือโปรโมตค่อยได้ตัง
- คำว่าเสนอที่ว่านี่ น่าจะเป็นในลักษณะของ คนที่ส่งdemoเพื่อเสนอตัวเองมากกว่าว่า อยากมาเป็นนักดนตรีหรือนักร้อง
คำว่าเสนออันนั้นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอันแรกสุดที่สมัครเข้ามาอยู่ตรงนี้มากกว่า ประมาณว่า show me what you got อะไรแถวๆนั้น
เหมือนปาล์มมี่ที่เดินไปส่งเดโม่ที่แกรมมี่นั่นล่ะครับ
ส่วนใหญ่พอผ่านขั้นนั้นมา ก็ไม่ต้องเสนอแล้วว่าเค้าจะรับไม่รับ มีแต่ว่า ให้ลองทำมา ผ่านหรือไม่ผ่าน
คนทำเพลงก็จะต้องมีทีมของตัวเอง จะต้องรู้กันว่า ใครทำอะไรได้
งานของคนทำเพลง ทั้งคนทำเนื้อ ทำนอง หรือดนตรี มันเริ่มได้หลายๆแบบ
ทั้งในแบบที่ มีใบสั่งมา เช่น มีโครงการจะทำอัลบั้มของคนๆนี้ และวางคอนเซปต์เพลงไว้ คนทำเนื้อ หรือ คนทำดนตรี ก็จะเริ่มไปทำมา
ต่างคนต่างทำมาก่อนใครก็ได้ อาจจะเริ่มที่เนื้อก่อน คนทำเนื้อก็แต่งเพลงมา แล้วก็ส่งให้ที่ประชุมเคาะ ถ้าคนทำดนตรีเริ่มมาก่อน
ก็ส่งเข้าที่ประชุมให้เคาะเช่นกัน คือ จุดนี้ใครทำมาก่อนก็ได้ คนที่พิจารณา (โปรดิวเซอร์ หรือ เอ็กเซ็ก) จะเป็นคนตัดสินใจอีกทีว่า
ไอ้ที่ทำdemoคร่าวๆมานี่ น่าสนใจไหม ต่อยอดได้ไหม มีศักยภาพพอเป็นเพลงขายได้รึเปล่า
ปัจจุบันนี้ การทำงานเพลง ใช้วิธีการส่งเมลงานกันนะครับ ก็คือ ใครทำอะไรมาก็แปลงไฟล์แล้วก็ส่งให้กันฟังจากอีเมล
อีกคนก็รับไปทำต่อ แล้วก็ เพิ่มเติมมา ส่งกลับ เข้าที่ประชุม เคาะ อะไรประมาณนี้
ถ้าผ่าน มันก็อาจเป็นไปได้ว่า เดินหน้าลุยทำดนตรีตัวเต็มกันต่อเลย หรือจะเก็บไว้เป็นสต็อคก็ได้
ลักษณะทีมงานค่ายเพลงย่อยๆที่ใช้รูปแบบสต็อคเพลงเก็บ ก็มีอยู่เหมือนกัน ถึงเวลาเจอใครเหมาะสม ก็ดึงเพลงนั้นขึ้นมาใช้ได้
คนแต่งเพลงอย่างพวกผมก็ถือว่า เป็นส่วนของ Primary Production ในลูปวงจรนี้เลย คือเป็นตัวเริ่มทำสินค้า
มีหน้าที่ สร้างๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขึ้นมาอย่างเดียว (ไม้ยมกด้วยความอัดอั้น )
และสุดท้าย อย่างที่คุณถาม ถ้าเค้าเอาเพลงเราไปเข้าอัลบั้ม ทำขาย หรือเลือกโปรโมทเมื่อไหร่ คือ เคาะแล้วผ่าน และจะเอาไปใช้
นั่นละครับ ถึงจะได้ตังค์ (ฟรีแลนซ์นะ ส่วนคนทำประจำ ก็มีหน้าที่แค่ ทำงานให้ผ่าน เหมือนงานออฟฟิศทั่วๆไป และรอรับเงินเดือนแค่นั้น)
================================
แล้วนอกจากเป็นผู้แต่งนี่ต้องทำอะไรอย่างอื่นในเพลงไหมครับ แล้วเพลงต้องอัดเป็นเดโม่ส่งเลยหรือว่าเป้นแค่เนื้อเพลง มีโน้ตดนตรี
- ตรงจุดนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้แต่งนี่ มันมีหลายความหมาย ทั้งcomposer หรือ lyricist ใหญ่ๆแล้วคนทำเพลงจะมีอยู่สองส่วน
ที่จะแยกกันชัดเจน แต่บางคนก็สามารถ ทำได้ทุกอย่างและดีด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ๆแล้วจะมี
1. คนเขียนเนื้อ หรือ lyricist ส่วนใหญ่คนเขียนเนื้อจะถนัดและทำด้าน คิดคอนเซปต์เพลง แต่งเนื้อ และแต่งทำนองหรือเมโลดี้
งานสำหรับมือโปรที่จะวัดกันว่าใครเจ๋งใครไม่เจ๋งในสายนี้ คือความสามารถในการคิดคอนเซปต์เพลงเจ๋งๆรวมถึงฮุค และความสามารถในการใส่คำให้ลงพอดีกับเมโลดี้ โดยที่ไม่โกงหรือฝืนโน้ตมากไปนัก ซึ่งปัจจุบันนี้หาคนเก่งๆได้น้อยลงเรื่อยๆ ต้องมือเก๋าๆรุ่นสิบกว่าปีก่อนทั้งนั้น
ที่ผมนับถือว่า คนพวกนี้เก่งจริงๆ เพราะปัจจุบัน โกงโน้ตฝืนโน้ตกันกระจาย และรวมถึงการเลือกใช้คำที่ยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ขาดสัมผัสขาดความสวยงาม คนเก่งๆที่ผมนับถือในความสามารถด้านเขียนเพลงจริงๆ มือหนึ่งเลย ไม่มีหลุดทั้งคอนเซปต์และการใช้คำ
ผมยกให้พี่บั๋ง สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา ณ อาร์เอสเลย
นอกจากนี้ระดับท็อปๆในสายตาผม(อาจารย์ผมทั้งนั้น)ก็มีพี่ดี้ , พี่บอยด์ โกสิยพงษ์ , พี่เจษ เจษฎา หันช่อ , คงเดช จาตุรันต์รัศมี รวมถึงโจอี้บอย
รวมถึงรุ่นใหม่ที่ผมสนใจและนับถืออย่าง ฟองเบียร์ แสตมป์ และฟักกลิ้งฮีโร่ด้วย พวกนี้คือ Lyricist ที่เด็ดๆ
2. คนทำดนตรี ก็ตรงตัวตามนั้น ก็คือคนที่อยู่ในเครดิต "เรียบเรียง" ที่เราเห็นๆกันในปกเทปแหละครับ ถึงแม้จะดูว่า มันน้อยกว่าคนแต่งเพลง
แบบเขียนเนื้อ แต่จริงๆแล้วหนักหนาสาหัสระดับที่พอๆกัน เพราะการเรียบเรียง มันต้องทำดนตรีทุกไลน์ที่มีในเพลง ต้องคิดกลอง คิดกีต้าร์ไลน์เปียโน รวมถึงลูกเล่นเทคนิคต่างๆโดยเฉพาะปัจจุบันที่เครื่องซินธ์ฯมันมีอิทธิพลในเพลงสมัยใหม่มาก
เรียกได้ว่า ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้ทางด้านดนตรีอย่างหนักหน่วงและแท้จริงเลย เพลงดีไม่ดี ดนตรีและซาวด์นี่แหละ สำคัญมาก
ส่วนใหญ่แล้ว คนแต่งเพลง ก็จะมีสองแบบใหญ่ๆนี่แหละครับแยกกันชัดว่า คนนี้เก่งด้านเนื้อร้อง ทำนอง ก็เป็นคนแต่งเนื้อ อีกคนเป็นนักดนตรี ก็ทำในส่วนของภาคดนตรีไป ส่วนใหญ่ทีมที่เข้าขากันดี และทีมเวิร์คเยี่ยม ก็จะเป็นสัดส่วนแบบนี้แหละครับคือ มีคนทำเนื้อ ที่เข้าใจกับ คนทำดนตรี
สองคนนี้ สามารถสร้างเพลงออกมาได้ไม่รู้จักหมดสิ้น มีบางประเภทที่อยู่ระดับเจ๋งๆที่สามารถทำได้ทั้ง เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียง เช่นกัน
ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำดนตรีมากกว่า เพราะLyricistไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านดนตรีก็ได้ จึงทำให้ส่วนใหญ่ทำดนตรีไม่ค่อยเก่ง แต่คนดนตรีบางครั้งสามารถแต่งเมโลดี้ และหัดเขียนเนื้อลงไปด้วยตัวเองได้เลย ถ้าใครจะเป็นLyricistอย่างเดียว งานต้องดีและเจ๋งพอจริงๆ คือลายมือต้องยอดเยี่ยม แบบพี่ดี้พี่บั๋ง เป็นต้น เมื่อนั้น ดนตรีจะต้องมาง้อสิ่งที่อยู่ในหัวคุณ
ส่วนที่ถามว่า เพลงต้องอัดเป็นเดโม่ไหมหรือส่งเป็นเนื้อเพลง มีโน้ต
ต้องทำความเข้าใจคำว่าเดโม่ก่อน เดโม่ไม่ได้แปลว่าจะต้องมีดนตรีฟุลออฟฯรวมมาเลย ทั้งกลอง กีต้าร์เบส ฯลฯ
แต่เดโม่คือทุกอย่างที่รวมความหมายของคำว่า เพลงตัวอย่างไว้ เช่น ผมแต่งเนื้อร้องทำนอง ร้องคลอไปกับดีดกีต้าร์ ก็เป็นเดโม่แล้ว
หรือ มีแต่เนื้อ กับ ทำนอง ฮัมๆส่งไป แบบนี้ยังเป็นเดโม่ได้เลย คือถือเป็นตัวอย่างในรูปแบบหนึ่ง
ส่วนที่ จขกท อยากรู้ว่า ต้องอัดส่งยังไง อันนี้มันแล้วแต่ครับ อยู่ที่วิธีการทำงานในเพลงนั้นๆ
กล่าวคือ "เริ่มที่ส่วนไหน เนื้อร้อง หรือ ดนตรี ส่วนนั้นก็จะมาก่อน"
เช่น บางครั้ง เริ่มจากดนตรีก่อน คนทำดนตรี ก็จะทำดนตรีเปล่าๆมา มีกลองมีกีต้าร์ มีแนวเพลงคร่าวๆที่จะเป็นในเพลงนั้นๆ ส่งมาเปล่าๆ
ก็คือ ส่งดนตรีเปล่านั่นแหละสรุป จากนั้นมันก็จะforwardต่อไปยัง คนที่มีหน้าที่แต่งเนื้อร้อง หรือรวมถึงทำนองด้วย ที่จะเอาไอ้ดนตรีเปล่าๆนั้น
มาลงเนื้อ ลงทำนองให้มันพอเหมาะ ให้เข้ากับเพลง วิธีการแบบนี้ก็ดีที่จะทำให้ เนื้อร้อง เหมาะและเข้ากับดนตรีมาก ไม่หลุดธีม
และแบบนี้ สำหรับคนเขียนเนื้อแล้ว สบายกว่าการครีเอทเองทั้งหมดตั้งแต่แรก คือเอาง่ายๆ การส่งงานเพลง ส่วนที่เป็นคนรับต่อ
จะง่ายกว่าคนที่ต้องคิดทุกอย่างเป็นคนแรกสุดครับ
อ่ะ อีกรูปแบบ คิดว่าคงเป็นอย่างที่ จขกท สงสัย ก็คือ นักแต่งเพลงในความหมายของคนเขียนเนื้อ
ต้องส่งเพลงยังไง ส่วนใหญ่คนเขียนเนื้อก็จะแต่งเป็น เนื้อร้อง กับ ทำนอง ที่ิคิดขึ้นมา และส่งคลอไปกับเครื่องดนตรีที่เขาใช้
หากใครเล่นเปียโนเป็น ก็จะมีไลน์เปียโนคร่าวๆ มากับเนื้อร้องทำนองที่ร้องใส่มา และก็ส่งต่อให้คนทำดนตรี
หรือถ้าเป็นตัวผมเอง ผมก็จะเล่นกีต้าร์ ตีคอร์ด เล่นจังหวะและอารมณ์ลงไปคร่าวๆ แล้วก็ร้องอัดเนื้อร้อง และทำนองลงไป
เอาง่ายๆ เหมือนเพลงอะคูสติคที่มีแค่ร้องกับกีต้าร์ ประมาณนั้น นี่ก็คือลักษณะของเดโม่ฝั่งคนเขียนเนื้อที่จะมีเนื้อร้องทำนอง ไปกับดนตรี
ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนนั้นให้อีตาคนทำดนตรีมันไปคิดกันเอาเอง
======================================
แล้วสมัยก่อนนี่นักแต่งเพลงมีรายได้ไม่ต่่างจากนักร้องนี่จริงไหมครับ ถ้าได้ลงอัลบั้มที่มียอดขายสูงหรือเป็นซาวน์แทรคหนังดัง ละครดัง
- รายได้สมัยก่อน มันเหมือนอะไรที่เป็นความฝันมากและปัจจุบันคงไม่มีทางเป็นแบบนั้นแล้ว เค้าว่ากันว่าเพลงบางเพลงที่ดังๆจัด
นักแต่งเพลงเอาตังค์ส่วนแบ่ง ไปซื้อควายได้ฝูงนึง ไปซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์มานอนเล่นได้ 1หลัง
ก็ถ้ามันดังจริงนะ อย่างที่ด้านบนๆบอกแหละ มันมีเปอร์เซ็นต์ที่คนแต่งจะได้ด้วย แต่ปัจจุบันนี้มันไม่เป็นแบบนั้นแล้วเพราะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์นี่ล่ะ
ถ้าให้เลือกได้ ผมชอบยุคเก่ามากกว่าที่เพลงทุกเพลง ต้องเสียเงินและฟังจากแผ่นซีดีเท่านั้น มันทำให้คนทำเพลงมีตังค์กินข้าวด้วย
ส่วนรายได้ .. อืม ปัจจุบันนี้ ผมก็ไม่อยากพูดมากเดี๋ยวจะหาว่า ออกมาบ่น ออกมานู่นนั่นนี่อีก
สิบปีก่อนรายได้ยังไง ปัจจุบันก็ยังเท่าเดิม อย่างที่รู้ๆกัน เบสของค่าจ้างคนเขียนเนื้อทำนอง ก็จะอยู่แถวๆห้าพันบาท แถวๆนั้น
และปัจจุบันส่วนใหญ่ก็เป็นการซื้อขาด และไม่มีเปอร์เซ็นต์ ก็เหมือนกับเป็นลูกจ้าง แต่งเพลงมาแล้วก็รับตังค์ เพลงก็เป็นของเจ้าของค่ายไป
เนื้อร้องห้าพัน ถ้ามีทำนองด้วย ก็ได้อีก อาจจะ สี่พัน ห้าพัน ก็ว่ากันไป แต่ก็อยู่แถวๆนี้ คนทำดนตรีก็จะได้แถวๆเดียวกัน ตั้งแต่ห้าพันขึ้นไป
อยู่ที่ว่า ทำเยอะน้อยขนาดไหน คือตรงนี้ ฟรีแลนซ์มันไม่ตายตัวครับ แล้วแต่งานจ้างว่า ผจก เค้าไปดีลกับลูกค้าได้ราคามาเท่าไหร่
ค่าจ้างมันก็จะลดหลั่นไล่เลี่ยกันไปแล้วแต่จ็อบ - -*
และ เอาความเป็นจริงเลย เพลงมันไม่ได้เป็นชิ้นงานที่จะเข้ามาทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ตายตัว บางทีเดือนนึงยังไม่มีเลย
อาจจะมาสัก ครึ่งเดือนเพลงหนึ่ง อะไรงี้ อย่าเอาไปเทียบกับตัวเป้งระดับตัวพ่อแล้วนะครับ อย่างพี่ดี้ ฟองเบียร์ พี่บั๋ง พี่หนึ่ง ฯลฯ
พวกนี้เค้าติดลมบนไปแล้ว เพลงไหลเข้ามาหาเรื่อยๆแน่นอน แต่พวกตัวเล็กๆโนเนมแบบผมนี่ เพลงโฆษณาเล็กๆเข้ามาอันนึง ก็แทบจะกราบแล้ว
และอย่างที่บอก นานๆมาที รายได้ผมมันก็จะได้มาเหมือนค่าขนมเท่านั้น คือ เดือนครึ่ง อ่ะ เพลงผ่าน ได้ตังค์แระ ห้าพัน..
ขอย้ำว่า ห้าพัน ลองนึกดูเหมือนมันจะสวยหรูแต่จริงๆแล้ว เงินเท่านี้มันไม่พอค่าใช้จ่ายทั้งเดือนหรอกครับ และก็ไม่ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ด้วย
ถ้าคนที่มาอ่านกระทู้นี้ น่าจะเคยเห็นข้อความของท่านอื่นๆบ้างแล้วว่า ทำดนตรี ทำเพลง มันต้องใจรักจริงๆ แต่จะยึดเอาเป็นอาชีพหลักไม่ได้
ถ้าไม่ใช่ระดับตัวเป้งๆจริงๆ อยู่ยากมาก ไอ้ที่ผมพูดตรงนี้เรื่องจำนวนเงิน แค่จะยกตัวอย่างให้ดูชัดเจนครับว่า
จำนวนเงินตรงนี้ มันได้แค่เท่านี้ และก็ไม่ได้ทุกเดือนด้วย คือมันมาไม่สม่ำเสมอ บางเดือนมีงาน บางเดือนไม่มีงาน
ดังนั้นความมั่นคงน้อยมาก สำหรับฟรีแลนซ์ตัวเล็กๆแบบผมนี่ที่ไม่ได้อยู่ค่ายใหญ่ด้วย
คห มันไม่พอ ต่อ ด้านล่างอีกนิดนะครับ
V
V
ความคิดเห็นที่ 8
ที่พูดเรื่องรายได้ปัจจุบัน แค่อยากยกตัวอย่างครับ
ผมไม่เถียงหรอกว่า คนเราทำงานก็อยากได้เงินที่มากกว่านี้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของเรา แต่ทุกวันนี้ ผมก็มีความสุขนะไม่ใช่ไม่มี
คือมันเป็นเหมือน ค่าขนม กับความสุขที่ได้ทำตามความฝันของเรามากกว่า เป็นความฝันของผมตั้งแต่ ม ปลายที่เริ่มแต่งเพลง
ผ่านมหาลัย จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีความสุขเวลาที่เพลงเราเสร็จ เพลงสมบูรณ์และมีคนเสียงดีๆมาร้องเพลงเรา ตรงนี้มันhappyมากๆ
และก็ขอขอบคุณคนที่ให้โอกาสผม และเชื่อมั่นในฝีมือของผมจนถึงตอนนี้ ขอบคุณพี่โอ พี่ฟอร์ด พี่อู๋ด้วย ที่ทำงานด้วยกันและให้โนเนมแบบผม
ได้มีผลงานและมีโอกาสแต่งเพลง ทุกวันนี้ก็แฮปปี้ครับ แต่เพียงแต่ว่า เราจะยึดอาชีพนี้เป็นหลักของชีวิตไม่ได้อย่างที่บอก ผมเองก็ต้องดิ้นรนหารายได้จากหลายๆแห่ง แล้วก็พัฒนาตัวเอง เรียนต่อระดับสูงเพื่อที่จะเอา เงินรายได้จากส่วนอื่น มาหล่อเลี้ยงความฝันในการขึ้นเป็นนักแต่งเพลงมือหนึ่งของประเทศต่อๆไป หาเงินเพื่อคงอาชีพนี้ละครับ
พอจะนึกภาพออกนะครับ หวังว่าคงมีประโยชน์และเห็นภาพบางส่วน ของอาชีพนักแต่งเพลงบ้าง
จริงๆมีแง่มุมอื่นๆอีกของคนทำเพลง หรือคนที่เป็นนักดนตรี หรือทำงานประจำ รอท่านอื่นช่วยมาเสริมแล้วกันครับ
ผมไม่เถียงหรอกว่า คนเราทำงานก็อยากได้เงินที่มากกว่านี้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของเรา แต่ทุกวันนี้ ผมก็มีความสุขนะไม่ใช่ไม่มี
คือมันเป็นเหมือน ค่าขนม กับความสุขที่ได้ทำตามความฝันของเรามากกว่า เป็นความฝันของผมตั้งแต่ ม ปลายที่เริ่มแต่งเพลง
ผ่านมหาลัย จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีความสุขเวลาที่เพลงเราเสร็จ เพลงสมบูรณ์และมีคนเสียงดีๆมาร้องเพลงเรา ตรงนี้มันhappyมากๆ
และก็ขอขอบคุณคนที่ให้โอกาสผม และเชื่อมั่นในฝีมือของผมจนถึงตอนนี้ ขอบคุณพี่โอ พี่ฟอร์ด พี่อู๋ด้วย ที่ทำงานด้วยกันและให้โนเนมแบบผม
ได้มีผลงานและมีโอกาสแต่งเพลง ทุกวันนี้ก็แฮปปี้ครับ แต่เพียงแต่ว่า เราจะยึดอาชีพนี้เป็นหลักของชีวิตไม่ได้อย่างที่บอก ผมเองก็ต้องดิ้นรนหารายได้จากหลายๆแห่ง แล้วก็พัฒนาตัวเอง เรียนต่อระดับสูงเพื่อที่จะเอา เงินรายได้จากส่วนอื่น มาหล่อเลี้ยงความฝันในการขึ้นเป็นนักแต่งเพลงมือหนึ่งของประเทศต่อๆไป หาเงินเพื่อคงอาชีพนี้ละครับ
พอจะนึกภาพออกนะครับ หวังว่าคงมีประโยชน์และเห็นภาพบางส่วน ของอาชีพนักแต่งเพลงบ้าง
จริงๆมีแง่มุมอื่นๆอีกของคนทำเพลง หรือคนที่เป็นนักดนตรี หรือทำงานประจำ รอท่านอื่นช่วยมาเสริมแล้วกันครับ
แสดงความคิดเห็น
เดี๋ยวนี้อาชีพนักแต่งเพลงได้เงินกันยังไงหรอครับ แล้วส่วนใหญ่เป็นงานประจำหรือฟรีแลนท์
แล้วนอกจากเป็นผู้แต่งนี่ต้องทำอะไรอย่างอื่นในเพลงไหมครับ แล้วเพลงต้องอัดเป็นเดโม่ส่งเลยหรือว่าเป้นแค่เนื้อเพลง มีโน้ตดนตรี
แล้วสมัยก่อนนี่นักแต่งเพลงมีรายได้ไม่ต่่างจากนักร้องนี่จริงไหมครับ ถ้าได้ลงอัลบั้มที่มียอดขายสูงหรือเป็นซาวน์แทรคหนังดัง ละครดัง