ว่าง ๆ นั่งวาดดอกศรีตรังสีม่วงสด แบบชิล ๆ ด้วยเทคนิคสีน้ำ ชอบดอกไม้ชนิดนี้จังสีม่วงสดใส ดอกเป็นช่อ และถือว่าเป็นดอกไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งอีกทั้งเป็นดอกไม้ประจำ มอ ซึ่งถือเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยพี่น้องกับมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นลูกองค์สมเด็จพระราชบิดาเหมือนกัน ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเป็นสร้างคนที่ดีและมีคุณภาพต่อสังคม นอกจากนี้ต้นศรีตรังยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตรังและเป็นต้นไม้ประจำสถานศึกษาต่าง ๆ มากมาย
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
รวมทั้งในอดีตมหาวิทยาลัยมหิดลก็เคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแต่เมื่อศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข ได้นำต้นไม้นี้ไปปลูกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยที่นั่นไปแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเปลี่ยนไปใช้ต้นกันภัยมหิดลเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศรีตรัง - วิกิพีเดีย
ได้มีโอกาสไปพูดเรื่องภาพประกอบทางการแพทย์ ที่คณะแพทย์ เลยขอถือโอกาสนำเรื่องราวของศาสตร์อีกแขนงที่กำลังจะถูกลืม มีคนทำน้อยลงทุกที
หรื่อที่เรียกกันว่า ภาพวาดทางวิชาการทางการแพทย์
สื่อการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
การวาดทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ สัตว์ แมลง ปลา นก รวมถึงการศึกษาทางด้านแพทย์ศาสตร์ เพื่อนำเสนอและบันทึก สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อใช้ในการวิจัยและการจัดการศึกษา การเรียนการสอน การทำสื่อด้วยวิธีทางการแพทย์ด้วยสื่อแบบต่าง ๆ การทำหนังสือ คู่มือ ตำรำ สื่อการเรียนการสอน และการสนับสนุนผลงานการวิจัย ให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนี่งภาพสามารถแทนคำพูดนับล้านคำ” คงไม่มีใครปฏิเสธคำพูดดังกล่าวได้ว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนช่วยอธิบายเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายขึ้น เรื่องที่มีเนื้อหาสลับซับซ้อน จนยากที่จะอธิบายด้วยตัวอักษร หรือคำพูดได้ แต่เมื่อมีภาพประกอบอธิบาย จะทำให้เรื่องนั้นเข้าใจได้ง่ายและมีคุณค่าช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการชักนำจินตนาการและเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นเป็นรูปธรรมแห่งความเป็นจริง จึงจักจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาพประกอบ เพื่อเสริมเนื้อหาในการเรียน
ความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป
หากกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป ต่างกันอย่างไร อะไรเป็นข้อแตกต่าง คำถามนี้อาจเกิดขึ้นในใจว่าจะวัดอะไรว่า ภาพลักษณะนี้คือภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ภาพลักษณะนี้ คือภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ซึ่งสามารถแยกย่อยได้มากมาย หากเปรียบความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์และภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ว่ามีความแตกต่างกันเช่นไร ก็อาจเปรียบดัง ลูกที่เกิดมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน ลูกที่เกิดมาย่อมมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน แต่นิสัยก็อาจมีความแตกต่างกันบ้าง อยู่ที่หน้าที่ในการนำไปใช้ประโยชน์ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ ภาพวาดทางการแพทย์ จะคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นสำคัญ มากว่าความสวยงามมีคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งถ้าสามารถวาดได้ถูกต้องและสวยงาม ก็จะทำให้งานชิ้นนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากภาพวาดชนิดอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน ซึ่งผิดกับภาพวาดทั่วไป ที่จะเน้นสุนทรียศาสตร์ภาพทางอารมณ์ และจินตนาการเป็นหลัก ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญในการเชื่อมโยงความคิดและจินตนาการ ไปสู่ผู้รับ เพื่อให้เห็นภาพโดยเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมให้เห็นเนื้อเรื่อง ให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนและดึงดูดความสนใจมากยิ่งขึ้น
การเขียนภาพภาพทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะขอกล่าวถึง เรื่องการเขียนภาพวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมมาประกอบเพื่อใช้ประกอบคำบรรยาย เรื่องต่าง ๆ โดยยึดหลักความถูกต้องและง่ายในการทำความเข้าใจเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เพียงแต่ใช้การวาดในการสื่อความหมาย โดยคำนึงถึงความถูกต้อง และสวยงามเพื่อให้ภาพวาดวิชาการทางการแพทย์ที่วาดมีความถูกต้องและน่าสนใจ เป็นการรวมกันของศาสตร์และศิลปิน เพื่อช่วยเสริมแต่งให้เนื้อหารทางวิชาการง่ายและน่าสนใจ ซึ่งจะเน้นการวาดในลักษณะการแทนค่าแบบไดอะแกรมอย่างง่าย ๆ ซึ่งจะต่างจากภาพวาดวิชาการทางวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ที่จะเน้นการวาดให้เหมือนจริง ทั้งสีสัน และ รูปร่าง รูปทรง ภาพวาดวิชาการทางวิทยาศาสตร์จะเน้นการจำลองภาพจากสิ่งเสมือนจริงซึ่งต่างจากการวาดภาพทางการแพทย์ที่เน้นในการจำลองภาพให้ง่ายขึ้น เพื่อให้ง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น บางครั้งการที่เราอ่านตำราที่มีแต่ข้อเขียนมีแต่ตัวหนังสือ หนังสือเล่มนั้นก็คงขาดรสชาติ ขาดความน่าสนใจ การใช้ภาพเขียนเข้ามาประกอบ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการผสานความเข้าใจให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการใช้คำพูดที่สั้นและได้ใจความและชัดเจนที่สุดผ่านการอธิบายด้วยภาพ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยทำให้สื่อที่นำเสนอง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ภาพวาดแนววิทยาศาสตร์ โบทานิคอล งานฝีมือยามว่าง
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
รวมทั้งในอดีตมหาวิทยาลัยมหิดลก็เคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแต่เมื่อศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข ได้นำต้นไม้นี้ไปปลูกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยที่นั่นไปแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเปลี่ยนไปใช้ต้นกันภัยมหิดลเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศรีตรัง - วิกิพีเดีย
ได้มีโอกาสไปพูดเรื่องภาพประกอบทางการแพทย์ ที่คณะแพทย์ เลยขอถือโอกาสนำเรื่องราวของศาสตร์อีกแขนงที่กำลังจะถูกลืม มีคนทำน้อยลงทุกที
หรื่อที่เรียกกันว่า ภาพวาดทางวิชาการทางการแพทย์
สื่อการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
การวาดทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ สัตว์ แมลง ปลา นก รวมถึงการศึกษาทางด้านแพทย์ศาสตร์ เพื่อนำเสนอและบันทึก สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อใช้ในการวิจัยและการจัดการศึกษา การเรียนการสอน การทำสื่อด้วยวิธีทางการแพทย์ด้วยสื่อแบบต่าง ๆ การทำหนังสือ คู่มือ ตำรำ สื่อการเรียนการสอน และการสนับสนุนผลงานการวิจัย ให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนี่งภาพสามารถแทนคำพูดนับล้านคำ” คงไม่มีใครปฏิเสธคำพูดดังกล่าวได้ว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนช่วยอธิบายเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายขึ้น เรื่องที่มีเนื้อหาสลับซับซ้อน จนยากที่จะอธิบายด้วยตัวอักษร หรือคำพูดได้ แต่เมื่อมีภาพประกอบอธิบาย จะทำให้เรื่องนั้นเข้าใจได้ง่ายและมีคุณค่าช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการชักนำจินตนาการและเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นเป็นรูปธรรมแห่งความเป็นจริง จึงจักจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาพประกอบ เพื่อเสริมเนื้อหาในการเรียน
ความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป
หากกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป ต่างกันอย่างไร อะไรเป็นข้อแตกต่าง คำถามนี้อาจเกิดขึ้นในใจว่าจะวัดอะไรว่า ภาพลักษณะนี้คือภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ภาพลักษณะนี้ คือภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ซึ่งสามารถแยกย่อยได้มากมาย หากเปรียบความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์และภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ว่ามีความแตกต่างกันเช่นไร ก็อาจเปรียบดัง ลูกที่เกิดมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน ลูกที่เกิดมาย่อมมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน แต่นิสัยก็อาจมีความแตกต่างกันบ้าง อยู่ที่หน้าที่ในการนำไปใช้ประโยชน์ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ ภาพวาดทางการแพทย์ จะคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นสำคัญ มากว่าความสวยงามมีคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งถ้าสามารถวาดได้ถูกต้องและสวยงาม ก็จะทำให้งานชิ้นนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากภาพวาดชนิดอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน ซึ่งผิดกับภาพวาดทั่วไป ที่จะเน้นสุนทรียศาสตร์ภาพทางอารมณ์ และจินตนาการเป็นหลัก ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญในการเชื่อมโยงความคิดและจินตนาการ ไปสู่ผู้รับ เพื่อให้เห็นภาพโดยเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมให้เห็นเนื้อเรื่อง ให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนและดึงดูดความสนใจมากยิ่งขึ้น
การเขียนภาพภาพทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะขอกล่าวถึง เรื่องการเขียนภาพวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมมาประกอบเพื่อใช้ประกอบคำบรรยาย เรื่องต่าง ๆ โดยยึดหลักความถูกต้องและง่ายในการทำความเข้าใจเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เพียงแต่ใช้การวาดในการสื่อความหมาย โดยคำนึงถึงความถูกต้อง และสวยงามเพื่อให้ภาพวาดวิชาการทางการแพทย์ที่วาดมีความถูกต้องและน่าสนใจ เป็นการรวมกันของศาสตร์และศิลปิน เพื่อช่วยเสริมแต่งให้เนื้อหารทางวิชาการง่ายและน่าสนใจ ซึ่งจะเน้นการวาดในลักษณะการแทนค่าแบบไดอะแกรมอย่างง่าย ๆ ซึ่งจะต่างจากภาพวาดวิชาการทางวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ที่จะเน้นการวาดให้เหมือนจริง ทั้งสีสัน และ รูปร่าง รูปทรง ภาพวาดวิชาการทางวิทยาศาสตร์จะเน้นการจำลองภาพจากสิ่งเสมือนจริงซึ่งต่างจากการวาดภาพทางการแพทย์ที่เน้นในการจำลองภาพให้ง่ายขึ้น เพื่อให้ง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น บางครั้งการที่เราอ่านตำราที่มีแต่ข้อเขียนมีแต่ตัวหนังสือ หนังสือเล่มนั้นก็คงขาดรสชาติ ขาดความน่าสนใจ การใช้ภาพเขียนเข้ามาประกอบ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการผสานความเข้าใจให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการใช้คำพูดที่สั้นและได้ใจความและชัดเจนที่สุดผ่านการอธิบายด้วยภาพ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยทำให้สื่อที่นำเสนอง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น