วิศวกรอัตโนมัติคือใคร ?
วิศวกรอัตโนมัติคือวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ สร้าง พัฒนา และจัดการระบบต่าง ๆ เช่น ระบบโรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) กระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Process Automation) ตลอดจนอาคารที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ (Building and Home Automation) เพื่อให้ระบบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำงานได้โดยตัวเองหรือพึ่งพาผู้ปฏิบัติงานน้อยที่สุด
วิศวกรรมอัตโนมัติเรียนเกี่ยวกับอะไร ?
วิศวกรรมอัตโนมัติเป็นการบูรณาการระหว่างพื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ร่วมกับเทคโนโลยี สารสนเทศ และการจัดการดังนั้น
วิศวกรรมอัตโนมัติ = พื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ + เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ
Automation Engineering = Standard Engineering Fields + Management Information Technology
หมายเหตุ
• พื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ หมายถึง ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การวัดและควบคุม อุตสาหการและ เครื่องกล
• เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร ระบบเครือข่าย และการบริหารการจัดการสารสนเทศ
ผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง ?
ผู้ที่จะเข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมอัตโนมัติควรมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ที่ชอบคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความมุ่งมั่นและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนและประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ?
สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มต่าง ๆ เช่นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่ม บริษัทผู้ออกแบบ ติดตั้ง และจำหน่ายสินค้าทางด้านระบบอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับ
• อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
• อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
• อุตสาหกรรม Fine chemical
• อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์และเซรามิค
• อุตสาหกรรมเหล็ก
• อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป
• อุตสาหกรรมกระดาษ
• อุตสาหกรรมยานยนต์
• อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับระบบอุปโภคต่าง ๆ
• อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแก้วและกระจก
นอกจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแล้วยังมีงานที่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติอื่น ๆ อีกเช่น อาคารที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ (Building and Home Automation) จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมพลังงาน ระบบ รักษาความปลอดภัย ผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่า B.I.A.S. (Building Information & Automation System) เป็นต้น
ศึกษาข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่
http://www.kmitl.ac.th/automation/
หากน้องๆคนไหนสนใจ หรือมีคำถามต่างๆ สามารถร่วมพูดคุยกับพี่ๆได้ที่
https://www.facebook.com/AutomationKmitl
แนะนำน้องๆหลักสูตร "วิศวกรรมอัตโนมัติ" พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
วิศวกรอัตโนมัติคือใคร ?
วิศวกรอัตโนมัติคือวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ สร้าง พัฒนา และจัดการระบบต่าง ๆ เช่น ระบบโรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) กระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Process Automation) ตลอดจนอาคารที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ (Building and Home Automation) เพื่อให้ระบบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำงานได้โดยตัวเองหรือพึ่งพาผู้ปฏิบัติงานน้อยที่สุด
วิศวกรรมอัตโนมัติเรียนเกี่ยวกับอะไร ?
วิศวกรรมอัตโนมัติเป็นการบูรณาการระหว่างพื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ร่วมกับเทคโนโลยี สารสนเทศ และการจัดการดังนั้น
วิศวกรรมอัตโนมัติ = พื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ + เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ
Automation Engineering = Standard Engineering Fields + Management Information Technology
หมายเหตุ
• พื้นฐานทางวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ หมายถึง ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การวัดและควบคุม อุตสาหการและ เครื่องกล
• เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร ระบบเครือข่าย และการบริหารการจัดการสารสนเทศ
ผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง ?
ผู้ที่จะเข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมอัตโนมัติควรมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ที่ชอบคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความมุ่งมั่นและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนและประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ?
สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มต่าง ๆ เช่นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่ม บริษัทผู้ออกแบบ ติดตั้ง และจำหน่ายสินค้าทางด้านระบบอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับ
• อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
• อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
• อุตสาหกรรม Fine chemical
• อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์และเซรามิค
• อุตสาหกรรมเหล็ก
• อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป
• อุตสาหกรรมกระดาษ
• อุตสาหกรรมยานยนต์
• อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับระบบอุปโภคต่าง ๆ
• อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแก้วและกระจก
นอกจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแล้วยังมีงานที่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติอื่น ๆ อีกเช่น อาคารที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ (Building and Home Automation) จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมพลังงาน ระบบ รักษาความปลอดภัย ผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่า B.I.A.S. (Building Information & Automation System) เป็นต้น
ศึกษาข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kmitl.ac.th/automation/
หากน้องๆคนไหนสนใจ หรือมีคำถามต่างๆ สามารถร่วมพูดคุยกับพี่ๆได้ที่ https://www.facebook.com/AutomationKmitl