เห็นน้องๆ หลานๆ หลานคนสนใจถามถึงเรื่องวิศวโยธา อยากจะยื่นแอดมินชั่นเข้าคณะวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นที่น่าปลาบปลื้มของคนที่จบวิศวโยธาอย่างผมเป็นยิ่งนัก
แต่เห็นน้องๆหลายคนก็ยังสงสัยอยู่ว่า วิศวกรรมโยธานี่เรียนอะไร จบมาแล้วทำอะไรบ้าง ขอถือโอกาสนี้เล่าประสบการณ์ของผมให้ฟังนะครับ ทั้งการเรียนและการทำงาน แล้วก็ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือผมพูดผิดพลาดอย่างไรก็แย้ง ก็สนับสนุนได้นะครับ
วิศกรรมโยธา หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Civil Engineer
Civil คือ พลเรือน, ประชาชน
แน่นนอนครับ Civil Engineer คือ วิศวกรที่มางานส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ของผู้คน อย่างเช่นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ใช้หลักการตามหลักวิศกรรมเพื่อตอนสนองความต้องการพื้นฐานถึงความตั้งการขั้นสูงในบางเรื่องของผู้คน
เค้าว่ากันว่าเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดเลยนะครับ (จริงรึเป่าก็ไม่รู้)
ในสาขาวิศกรรมโยธายังมีสาขาแยกย่อยไปอีก ได้แก่
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS)
อ้างอิงจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B2
และที่จริงก็ยังมีสาขาย่อยอื่นๆอีกครับ
ถ้าจะถามว่าสาขาย่อยพวกนี้ จะได้เรียนเมื่อไหร่
ตอบ ป.โท ครับ แต่ในระดับปริญาญาตรีก็จะมี วิชาในสาขาย่อยพวกนี้ให้เราเรียนวิชาสองวิชาพอให้รู้เป็นพื้นฐาน ซึ่งถ้าอยากจะลงแบบเจาะลึกลงไปก็ต้องลงวิชาเลือก (แค่วิชาบังคับก็จะเอาตัวไม่รอดแล้ว) หรืออยากจะเจาะลงไปลึกๆจริง ก็ต้องลงเรียนป.โท ซึ้งในระดับป.โทรจะเปิดรับให้เรียนกันในสาขาย่อยหรือเฉพาะทางครับ แต่บางสาขาเดี๋ยวนี้เป็นสอนในประดับ ป.ตรีแล้ว
มารู้เรื่องของวิศกรรมโยธากันก่อนจะเลือกเรียน
แต่เห็นน้องๆหลายคนก็ยังสงสัยอยู่ว่า วิศวกรรมโยธานี่เรียนอะไร จบมาแล้วทำอะไรบ้าง ขอถือโอกาสนี้เล่าประสบการณ์ของผมให้ฟังนะครับ ทั้งการเรียนและการทำงาน แล้วก็ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือผมพูดผิดพลาดอย่างไรก็แย้ง ก็สนับสนุนได้นะครับ
วิศกรรมโยธา หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Civil Engineer
Civil คือ พลเรือน, ประชาชน
แน่นนอนครับ Civil Engineer คือ วิศวกรที่มางานส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ของผู้คน อย่างเช่นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ใช้หลักการตามหลักวิศกรรมเพื่อตอนสนองความต้องการพื้นฐานถึงความตั้งการขั้นสูงในบางเรื่องของผู้คน
เค้าว่ากันว่าเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดเลยนะครับ (จริงรึเป่าก็ไม่รู้)
ในสาขาวิศกรรมโยธายังมีสาขาแยกย่อยไปอีก ได้แก่
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS)
อ้างอิงจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B2
และที่จริงก็ยังมีสาขาย่อยอื่นๆอีกครับ
ถ้าจะถามว่าสาขาย่อยพวกนี้ จะได้เรียนเมื่อไหร่
ตอบ ป.โท ครับ แต่ในระดับปริญาญาตรีก็จะมี วิชาในสาขาย่อยพวกนี้ให้เราเรียนวิชาสองวิชาพอให้รู้เป็นพื้นฐาน ซึ่งถ้าอยากจะลงแบบเจาะลึกลงไปก็ต้องลงวิชาเลือก (แค่วิชาบังคับก็จะเอาตัวไม่รอดแล้ว) หรืออยากจะเจาะลงไปลึกๆจริง ก็ต้องลงเรียนป.โท ซึ้งในระดับป.โทรจะเปิดรับให้เรียนกันในสาขาย่อยหรือเฉพาะทางครับ แต่บางสาขาเดี๋ยวนี้เป็นสอนในประดับ ป.ตรีแล้ว