รายการซื้อขายหุ้นรายการใหญ่แบบจับคู่หรือการซื้อขายหุ้นแบบ Big Lot นี่คือการที่ผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นจำนวนมากตกลงขายหุ้นให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่ต้องการซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก โดยปกติก็คือ คนที่ขายจะมีเพียงรายเดียวหรือไม่กี่รายที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันเช่นอยู่ในครอบครัวเดียวกันหรือกลุ่มบริษัทเดียวกัน ส่วนคนที่ซื้อนั้น บางครั้งก็มีรายเดียวหรือไม่กี่รายที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มักจะเป็นสถาบันที่ต้องการได้หุ้นจำนวนมาก แต่บางครั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นการขายหุ้นก้อนโตมหาศาลหลาย ๆ พันหรือเป็นหมื่นล้านบาทขึ้นไปก็จะมีผู้ซื้อรายใหญ่จำนวนมากเป็นสิบ ๆ รายหรือเป็นร้อยรายที่ต่างก็เข้ามาแสดงความจำนงซื้อหุ้นผ่านโบรกเกอร์ที่จะทำหน้าที่ในการขายหุ้นให้กับคนที่ต้องการขาย การซื้อ-ขายหุ้นแบบ Big Lot นี้ มักทำกันแบบ “Over Night” หรือทำแบบ “ข้ามคืน” ในช่วงที่ตลาดหุ้นปิดแล้ว ซึ่งการตกลงทุกอย่างจะทำภายในคืนนั้นและมา “จับคู่” ซื้อขายหุ้นกันในเช้าวันรุ่งขึ้น โดยทั่วไปราคา ซื้อ-ขาย มักจะต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อนเล็กน้อยประมาณ 3-5% ในกรณีที่เป็นรายการที่ไม่ใหญ่มาก แต่ในกรณีที่เป็นรายการใหญ่มาก บางทีอาจจะต่ำกว่า 10% ก็มี
สัญญาณจากการขายแบบ Big Lot นั้น แม้ว่าในหลาย ๆ กรณีผู้ขายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้บริหาร แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณลบเสมอไป อย่าลืมว่าการขายของเขานั้นอาจจะมาจากเรื่องของการต้องการใช้เงินหรือเป็นการลดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงก็ได้ ไม่ใช่แปลว่าหุ้นจะไม่ดี เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนที่ซื้อเองนั้นก็เป็นนักลงทุนรายใหญ่และส่วนใหญ่เป็นสถาบัน ดังนั้น ถ้าหุ้นไม่ดีหรือไม่คุ้มค่าพวกเขาก็คงไม่ซื้อ สิ่งที่จะเป็นลบที่เห็นได้ชัดเจนจากการทำ Big Lot ก็คือ ราคาหุ้นที่ซื้อขายนั้นจะต่ำกว่าราคาหุ้นบนกระดาน ดังนั้น คนที่ซื้อบางรายอาจจะรีบ “ทำกำไร” ทันทีโดยการขายหุ้นที่ได้มาในตลาด และนี่ทำให้ราคาหุ้นในวันแรกที่ทำ Big Lot มักจะตกลงมาใกล้เคียงกับราคาที่มีการตกลงซื้อขายกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากวันแรกไปแล้ว ราคาหุ้นก็มักจะกลับมาซื้อขายกันตามพื้นฐานที่ควรจะเป็น ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ การขาย Big Lot ในระยะสั้นอาจจะเป็นลบเล็กน้อย แต่ในระยะยาวแล้วก็ไม่มีผลอะไร ว่าที่จริงในบางกรณีกลับเป็นบวก เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นตัวนั้นอาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากมีนักลงทุนสถาบันเข้าลงทุนมากขึ้น สภาพคล่องดีขึ้น ทำให้ราคาหุ้นดีขึ้น
บทความของ ดร.นิเวศน์ ที่เคยเขียนไว้ กับการทำ Big Lot
สัญญาณจากการขายแบบ Big Lot นั้น แม้ว่าในหลาย ๆ กรณีผู้ขายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้บริหาร แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณลบเสมอไป อย่าลืมว่าการขายของเขานั้นอาจจะมาจากเรื่องของการต้องการใช้เงินหรือเป็นการลดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงก็ได้ ไม่ใช่แปลว่าหุ้นจะไม่ดี เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนที่ซื้อเองนั้นก็เป็นนักลงทุนรายใหญ่และส่วนใหญ่เป็นสถาบัน ดังนั้น ถ้าหุ้นไม่ดีหรือไม่คุ้มค่าพวกเขาก็คงไม่ซื้อ สิ่งที่จะเป็นลบที่เห็นได้ชัดเจนจากการทำ Big Lot ก็คือ ราคาหุ้นที่ซื้อขายนั้นจะต่ำกว่าราคาหุ้นบนกระดาน ดังนั้น คนที่ซื้อบางรายอาจจะรีบ “ทำกำไร” ทันทีโดยการขายหุ้นที่ได้มาในตลาด และนี่ทำให้ราคาหุ้นในวันแรกที่ทำ Big Lot มักจะตกลงมาใกล้เคียงกับราคาที่มีการตกลงซื้อขายกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากวันแรกไปแล้ว ราคาหุ้นก็มักจะกลับมาซื้อขายกันตามพื้นฐานที่ควรจะเป็น ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ การขาย Big Lot ในระยะสั้นอาจจะเป็นลบเล็กน้อย แต่ในระยะยาวแล้วก็ไม่มีผลอะไร ว่าที่จริงในบางกรณีกลับเป็นบวก เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นตัวนั้นอาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากมีนักลงทุนสถาบันเข้าลงทุนมากขึ้น สภาพคล่องดีขึ้น ทำให้ราคาหุ้นดีขึ้น