วันนี้ ( 7 ม.ค. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ว่า ด้วยอัตราการเกิดของประชากรเกาหลีใต้ที่ต่ำมากในปัจจุบัน อาจส่งผลให้ประชากรวัยเด็กและหนุ่มสาวลดลงถึงครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2603
รายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว เผยแพร่ในวันนี้ ระบุว่า เกาหลีใต้มีประชากรอายุระหว่าง 9-24 ปี มากที่สุดเมื่อปี 2523 โดยอยู่ที่ราว 14 ล้านคน คิดเป็น 36.8% ของพลเมืองเกาหลีใต้ในขณะนั้น ทว่าจำนวนประชากรในช่วงวัยดังกล่าวกลับลดลงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนเหลืออยู่ราว 10.2 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว หรือราว 20.4% ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้ แนวโน้มประชากรเกาหลีใต้ในวัยหนุ่มสาวจะลดลงอีกจนเหลือเพียง 9.6 ล้านคน ภายในปี 2558 7.1 ล้านคน ภายในปี 2573 5.9 ล้านคน ภายในปี 2593 และท้ายที่สุดจะเหลืออยู่เพียง 5 ล้านคน ภายในปี 2603 กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย เนื่องจากการที่ประชากรวัยรุ่น และวัยทำงานลดลง เท่ากับว่าประชากรสูงอายุจะเพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐต้องบ่งสรรงบประมาณไปดูแลกลุ่มคนสูงวัยมากขึ้น
ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( โออีซีดี ) ระบุว่า อัตราเจริญพันธุ์ หรือ ค่าเฉลี่ยจำนวนบุตรที่สตรีเกาหลีใต้ให้กำเนิดตลอดช่วงชีวิต เมื่อปี 2554 อยู่ที่เพียง 1.01 ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 1.71
http://www.dailynews.co.th/world/176697
เห็นที่ไทยเยอะอยู่นา
เกาหลีใต้ประสบปัญหาประชากรหนุ่มสาวลดลงต่อเนื่อง
รายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว เผยแพร่ในวันนี้ ระบุว่า เกาหลีใต้มีประชากรอายุระหว่าง 9-24 ปี มากที่สุดเมื่อปี 2523 โดยอยู่ที่ราว 14 ล้านคน คิดเป็น 36.8% ของพลเมืองเกาหลีใต้ในขณะนั้น ทว่าจำนวนประชากรในช่วงวัยดังกล่าวกลับลดลงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนเหลืออยู่ราว 10.2 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว หรือราว 20.4% ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้ แนวโน้มประชากรเกาหลีใต้ในวัยหนุ่มสาวจะลดลงอีกจนเหลือเพียง 9.6 ล้านคน ภายในปี 2558 7.1 ล้านคน ภายในปี 2573 5.9 ล้านคน ภายในปี 2593 และท้ายที่สุดจะเหลืออยู่เพียง 5 ล้านคน ภายในปี 2603 กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย เนื่องจากการที่ประชากรวัยรุ่น และวัยทำงานลดลง เท่ากับว่าประชากรสูงอายุจะเพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐต้องบ่งสรรงบประมาณไปดูแลกลุ่มคนสูงวัยมากขึ้น
ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( โออีซีดี ) ระบุว่า อัตราเจริญพันธุ์ หรือ ค่าเฉลี่ยจำนวนบุตรที่สตรีเกาหลีใต้ให้กำเนิดตลอดช่วงชีวิต เมื่อปี 2554 อยู่ที่เพียง 1.01 ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 1.71
http://www.dailynews.co.th/world/176697
เห็นที่ไทยเยอะอยู่นา