ภาพวาดสีน้ำดอกกันภัยมหิดล ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

กระทู้สนทนา
ภาพวาดสีน้ำดอกกันภัยมหิดล
ผู้วาด พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ภาพวาดสีน้ำดอกกันภัยมหิดล วาดไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์
วาดเอาไปร่วมแสดงงานนิทรรศการพืชสวนไทย ที่จะจัดขึ้นในเดือนแห่งความรักที่จะถึง ถือเป็นภาพวาดอีกภาพที่ใช้เวลาวาดนานมาก ตั้งแต่ขั้นร่างภาพ และขั้นตอนการลงสี เป็นงานเลี้ยงฝันที่ใช้เวลาการวาด และวัสดุอุปกรณ์มาก มีคุณค่าในใจเสมอ
งานประจำทำเลี้ยงชีพ งานอดิเรกทำเลี้ยงฝัน
กันภัยมหิดล หรือ กันภัย เป็นชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir.[1] ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[1]
ไม้เถาชนิดนี้ เกษม จันทรประสงค์ ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานนามว่า กันภัยมหิดล ให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[ต้องการอ้างอิง] ด้วยเหตุว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย ปลูกง่าย นามเป็นมงคลและพ้องกับชื่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นไม้เถาแต่ก็มีลักษณะสวยงาม สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ อายุยืน โดยเมื่อเถาแห้งไปก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ซึ่งความเป็นไม้เถาแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี
กันภัยมหิดลนี้ได้รับการเสนอเข้าประกวด[ที่ไหน?] โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ รศ.วงศ์สถิตย์ ถั่วกุล และ ผศ.นพมาศ สรรพคุณ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาณาจักร:    Plantae
ดิวิชั่น:    Magnoliophyta
ชั้น:    Magnoliopsida
อันดับ:    Fabales
วงศ์:    Fabaceae
วงศ์ย่อย:    Faboideae
เผ่า:    Millettieae
สกุล:    Afgekia
สปีชีส์:    A. mahidolae
ข้อมูลความรู้ดีดีจาก  วิกิพีเดีย
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม

ภาพวาดจากโครงการ สคส สานสัมพันธ์ผองเราชาวมหิดล ออนไลท์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่