รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น ยืนยัน ยกหนี้ให้พม่า 3 แสนล้านเยน (ราว 1.04 แสนล้านบาท) พร้อมให้เงินกู้ก้อนใหม่แก่พม่าเป็นจำนวน 5 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) ทั้งยังตกลงรับพิจารณาโครงการทวาย
ในวันนี้ (4 มกราคม 2556) เว็บไซต์ไชน่าโพสต์ ของไต้หวัน มีรายงานว่า นายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น ได้เผยระหว่างการหารือกับประธานาธิบดีเทียน เส่ง ของพม่า ที่กรุงเนปีดอว์ ว่า รัฐบาลชุดใหม่ของญี่ปุ่น ยังยืนยันที่จะยกหนี้ให้พม่า เป็นเงิน 3 แสนล้านเยน (ราว 1.04 แสนล้านบาท) จากจำนวนหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านเยน (ราว 1.74 แสนล้านบาท) ตามนโยบายที่รัฐบาลชุดก่อนได้ประกาศไว้ ทั้งยังตกลงที่จะรับพิจารณาคำเชิญชวนของเต็ง เส่ง ที่ขอให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ด้วย
อีกทั้ง ญี่ปุ่น ยังจะให้เงินกู้ก้อนใหม่แก่พม่าเป็นจำนวน 5 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้า, พัฒนาชนบท และสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงท่าเรือในโครงการทิวาลา ใกล้นครย่างกุ้ง ที่มีเนื้อที่ 15,000 ไร่ ซึ่งมีกิจการร่วมค้าของญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนหลัก ประกอบด้วยบริษัท มิตซูบิชิ, ซูมิโตโม และมารุเบนี โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการในปี 2558
สำหรับ พม่า นั้นได้มีการปฏิรูปทางการปกครองและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ ประธานาธิบดีเทียน เส่ง ได้นำพม่าออกจากการปกครองด้วยทหาร ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งญี่ปุ่นก็ได้เคลื่อนเข้ามาสานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรแห่งนี้ เพื่อชดเชยกับการเติบโตของเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่นที่ไม่สดใสนัก
ที่มา Kapook
รัฐบาลญี่ปุ่น ประกาศยกหนี้ให้พม่ากว่า 1 แสนล้านบาท
ในวันนี้ (4 มกราคม 2556) เว็บไซต์ไชน่าโพสต์ ของไต้หวัน มีรายงานว่า นายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น ได้เผยระหว่างการหารือกับประธานาธิบดีเทียน เส่ง ของพม่า ที่กรุงเนปีดอว์ ว่า รัฐบาลชุดใหม่ของญี่ปุ่น ยังยืนยันที่จะยกหนี้ให้พม่า เป็นเงิน 3 แสนล้านเยน (ราว 1.04 แสนล้านบาท) จากจำนวนหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านเยน (ราว 1.74 แสนล้านบาท) ตามนโยบายที่รัฐบาลชุดก่อนได้ประกาศไว้ ทั้งยังตกลงที่จะรับพิจารณาคำเชิญชวนของเต็ง เส่ง ที่ขอให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ด้วย
อีกทั้ง ญี่ปุ่น ยังจะให้เงินกู้ก้อนใหม่แก่พม่าเป็นจำนวน 5 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้า, พัฒนาชนบท และสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงท่าเรือในโครงการทิวาลา ใกล้นครย่างกุ้ง ที่มีเนื้อที่ 15,000 ไร่ ซึ่งมีกิจการร่วมค้าของญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนหลัก ประกอบด้วยบริษัท มิตซูบิชิ, ซูมิโตโม และมารุเบนี โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการในปี 2558
สำหรับ พม่า นั้นได้มีการปฏิรูปทางการปกครองและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ ประธานาธิบดีเทียน เส่ง ได้นำพม่าออกจากการปกครองด้วยทหาร ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งญี่ปุ่นก็ได้เคลื่อนเข้ามาสานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรแห่งนี้ เพื่อชดเชยกับการเติบโตของเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่นที่ไม่สดใสนัก
ที่มา Kapook