"พงษ์ศักดิ์"เร่งฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังในปีนี้ โดยเฉพาะโครงการแลนบริดจ์ หรือ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างทะเลฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเดิมเป็นโครงการที่จะดำเนินการครบวงจร ทั้งท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แต่ตนเองจะปรับแผนการพัฒนาใหม่ เป็นโครงการ เอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ (Energy Bridge ) เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็วขึ้น
"หากเป็นไปตามแผนเดิมของโครงการแลนด์บริดจ์ จะเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ แต่หากตัดเฉพาะคลัง และท่อส่งน้ำมันออกมาลงทุน น่าจะเป็นไปได้มากกว่า ซึ่งจะเป็นการลงทุนเชื่อมโยงระหว่าง ชายฝั่งทะเลตะวันตก(ทะเลอันดามัน) กับชายฝั่งทะเลตะวันออก(อ่าวไทย) โดยขณะนี้มีเอกชนสนใจลงทุนมาก ทั้งผู้ส่งออกและผู้ซื้อน้ำมัน ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ไทยได้ประโยชน์มหาศาล โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณ เพียงแต่ดึงประเทศผู้ซื้อและผู้ขายให้มาเจรจากัน และรัฐเป็นตัวกลางเท่านั้น " นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือขนถ่ายน้ำมันหลักจากตะวันออกกลางมายังประเทศผู้ใช้ในแถบเอเชียติดขัดมาก หากมีอุบัติเหตุ จะเกิดปัญหาใหญ่ทันที ดังนั้นโครงการเอ็นเนอร์จี่ บริดจ์จะเป็นทางเลือกที่สำคัญ โดยเบื้องต้นความยาวของท่อน้ำมันเชื่อมสองฝั่งจะไม่เกิน 500 กม.และวางขนานไปกับถนน ทำให้เวนคืนที่ดินไม่มากนัก ทั้งการลงทุนยังถูกกว่า นอกจากนี้ยังคงศักยภาพในการลดระยะเวลาการเดินทาง 3-7 วัน เมื่อเทียบเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งหากขนถ่ายโดยใช้ทางเลือกนี้ จะเกิดคลังน้ำมันลอยกลางทะเล 2 ฝั่ง และคลังบนบก รวมถึงท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อจากฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สนพ.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการ เอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอนายพงษ์ศักดิ์พิจารณา เพื่อผลักดันโครงการนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามโครงการเอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ จะเข้ามารองรับยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันของประเทศได้เป็นอย่างดี ส่วนการลงทุนนั้น มีหลายแนวทาง ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา โดยทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด น่าจะเป็นการลงทุนร่วม โดยรัฐและเอกชน แต่รัฐไม่ต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาลงทุนทั้งก้อน เพียงแต่แปลงทรัพย์สินเป็นทุน อาทิ ที่ดิน และเปิดให้เอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุน
ทั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาเทิร์น ซีบอร์ด ) ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีในปี 2540 กำหนดที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน บริเวณบ้านทับละมุ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา และฝั่งอ่าวไทย บริเวณบ้านบางปอ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ต่อมาในปี 2547 มีมติเห็นชอบโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Landbridge) ประกอบด้วย ฝั่งอันดามัน ที่จะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ถังเก็บน้ำมันสำรอง และวางท่อส่งน้ำมันดิบใต้ดินเชื่อมฝั่งตะวันตก - ฝั่งตะวันออก ส่วนฝั่งอ่าวไทย จะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ถังเก็บ น้ำมันดิบและนิคมอุตสาหกรรม บริเวณตอนเหนือ อ.สิชล รวมทั้งพัฒนาท่าเรือน้ำลึก อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดสึนามิ ทำให้โครงการต้องพิจารณาความเป็นไปได้อีกครั้งหนึ่ง ปรับแผนใหม่ เพื่อให้โครงการ เดินหน้าได้เร็วขึ้น
เห็นข่าวนี้รู้สึกดีใจเล็กๆ เพราะมองเห็นอนาคตประเทศไทย จะมีโอกาสใช้พลังงานราคาถูกลง เนื่องจากจะเป็นยุทธศาสตร์ของการปรับโครงสร้างด้านระบบการนขนส่งพลังงานของไทยเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาเหมือนที่ รัฐบมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสะท้อน ปัจจุบันช่องแคบมะละกาประสบปัญหาความแออัดขั้นรุนแรง ประกับจากแผนพัฒนาดังกล่าวนี้จะทำให้ประเทสไทยมีความมั่นคงในเรื่องของระบบคลังสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนาโครงการดังกล่าวนี้จะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อพ้องน้องพี่ประชาชนคนไทยน่ะค่ะ พวกต่อต้านก็ขอให้คำนึงถึงประโยชนืของประเทศชาติมากกว่าพวกพ้องหรือหลักการกีดกั้นความเจริญของประเทศน่ะค่ะ หันมามองปัจัยและตัวแปรที่แปลกใหม่กันบ้างเพื่อรับศักราชใหม่ ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคใหม่ๆกันบ้าง
"พงษ์ศักดิ์"เร่งฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังในปีนี้ โดยเฉพาะโครงการแลนบริดจ์ หรือ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างทะเลฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเดิมเป็นโครงการที่จะดำเนินการครบวงจร ทั้งท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แต่ตนเองจะปรับแผนการพัฒนาใหม่ เป็นโครงการ เอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ (Energy Bridge ) เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็วขึ้น
"หากเป็นไปตามแผนเดิมของโครงการแลนด์บริดจ์ จะเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ แต่หากตัดเฉพาะคลัง และท่อส่งน้ำมันออกมาลงทุน น่าจะเป็นไปได้มากกว่า ซึ่งจะเป็นการลงทุนเชื่อมโยงระหว่าง ชายฝั่งทะเลตะวันตก(ทะเลอันดามัน) กับชายฝั่งทะเลตะวันออก(อ่าวไทย) โดยขณะนี้มีเอกชนสนใจลงทุนมาก ทั้งผู้ส่งออกและผู้ซื้อน้ำมัน ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ไทยได้ประโยชน์มหาศาล โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณ เพียงแต่ดึงประเทศผู้ซื้อและผู้ขายให้มาเจรจากัน และรัฐเป็นตัวกลางเท่านั้น " นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือขนถ่ายน้ำมันหลักจากตะวันออกกลางมายังประเทศผู้ใช้ในแถบเอเชียติดขัดมาก หากมีอุบัติเหตุ จะเกิดปัญหาใหญ่ทันที ดังนั้นโครงการเอ็นเนอร์จี่ บริดจ์จะเป็นทางเลือกที่สำคัญ โดยเบื้องต้นความยาวของท่อน้ำมันเชื่อมสองฝั่งจะไม่เกิน 500 กม.และวางขนานไปกับถนน ทำให้เวนคืนที่ดินไม่มากนัก ทั้งการลงทุนยังถูกกว่า นอกจากนี้ยังคงศักยภาพในการลดระยะเวลาการเดินทาง 3-7 วัน เมื่อเทียบเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งหากขนถ่ายโดยใช้ทางเลือกนี้ จะเกิดคลังน้ำมันลอยกลางทะเล 2 ฝั่ง และคลังบนบก รวมถึงท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อจากฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สนพ.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการ เอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอนายพงษ์ศักดิ์พิจารณา เพื่อผลักดันโครงการนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามโครงการเอ็นเนอร์จี่ บริดจ์ จะเข้ามารองรับยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันของประเทศได้เป็นอย่างดี ส่วนการลงทุนนั้น มีหลายแนวทาง ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา โดยทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด น่าจะเป็นการลงทุนร่วม โดยรัฐและเอกชน แต่รัฐไม่ต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาลงทุนทั้งก้อน เพียงแต่แปลงทรัพย์สินเป็นทุน อาทิ ที่ดิน และเปิดให้เอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุน
ทั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาเทิร์น ซีบอร์ด ) ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีในปี 2540 กำหนดที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน บริเวณบ้านทับละมุ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา และฝั่งอ่าวไทย บริเวณบ้านบางปอ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ต่อมาในปี 2547 มีมติเห็นชอบโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Landbridge) ประกอบด้วย ฝั่งอันดามัน ที่จะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ถังเก็บน้ำมันสำรอง และวางท่อส่งน้ำมันดิบใต้ดินเชื่อมฝั่งตะวันตก - ฝั่งตะวันออก ส่วนฝั่งอ่าวไทย จะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ถังเก็บ น้ำมันดิบและนิคมอุตสาหกรรม บริเวณตอนเหนือ อ.สิชล รวมทั้งพัฒนาท่าเรือน้ำลึก อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดสึนามิ ทำให้โครงการต้องพิจารณาความเป็นไปได้อีกครั้งหนึ่ง ปรับแผนใหม่ เพื่อให้โครงการ เดินหน้าได้เร็วขึ้น
เห็นข่าวนี้รู้สึกดีใจเล็กๆ เพราะมองเห็นอนาคตประเทศไทย จะมีโอกาสใช้พลังงานราคาถูกลง เนื่องจากจะเป็นยุทธศาสตร์ของการปรับโครงสร้างด้านระบบการนขนส่งพลังงานของไทยเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาเหมือนที่ รัฐบมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสะท้อน ปัจจุบันช่องแคบมะละกาประสบปัญหาความแออัดขั้นรุนแรง ประกับจากแผนพัฒนาดังกล่าวนี้จะทำให้ประเทสไทยมีความมั่นคงในเรื่องของระบบคลังสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนาโครงการดังกล่าวนี้จะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อพ้องน้องพี่ประชาชนคนไทยน่ะค่ะ พวกต่อต้านก็ขอให้คำนึงถึงประโยชนืของประเทศชาติมากกว่าพวกพ้องหรือหลักการกีดกั้นความเจริญของประเทศน่ะค่ะ หันมามองปัจัยและตัวแปรที่แปลกใหม่กันบ้างเพื่อรับศักราชใหม่ ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคใหม่ๆกันบ้าง