คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
จริงๆต้องรื้อระบบการจ้างงานของราชการเลย ว่ากระทรวงไหน หน่วยไหน ควรมีอัตรากำลังคนเป็นอย่างไร
วิชาชีพไหนขาดแคลน พื้นที่ไหนขาดแคลน พื้นที่ไหนเสี่ยง พื้นที่ไหนลำบากกันดาร แล้วทำอัตราบรรจุออกมาให้ชัดเจน ทำประชาพิจารด้วย
เช่น พื้นที่ กทม. เมืองใหญ่ๆ ควรจะมีอัตราบรรจุที่พอดีไปทางตึงๆหน่อย แล้วเปิดให้พื้นที่ขาดแคลน มีอัตราบรรจุเยอะ เพื่อดึงดูให้ยอมไปประจำแถวนั้นบ้าง ไม่งั้นกระจุตัวอยู่แต่ กทม. ซึ่งมีทรัพยากรต่างๆมากพออยู่แล้ว
วิชาชีพไหนขาดแคลน พื้นที่ไหนขาดแคลน พื้นที่ไหนเสี่ยง พื้นที่ไหนลำบากกันดาร แล้วทำอัตราบรรจุออกมาให้ชัดเจน ทำประชาพิจารด้วย
เช่น พื้นที่ กทม. เมืองใหญ่ๆ ควรจะมีอัตราบรรจุที่พอดีไปทางตึงๆหน่อย แล้วเปิดให้พื้นที่ขาดแคลน มีอัตราบรรจุเยอะ เพื่อดึงดูให้ยอมไปประจำแถวนั้นบ้าง ไม่งั้นกระจุตัวอยู่แต่ กทม. ซึ่งมีทรัพยากรต่างๆมากพออยู่แล้ว
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ในฐานะที่อยู่ใกล้สธ. และการเรียกร้องที่เกิดขึ้นครั้งแรกๆเกิดจากน้องๆพยาบาล จนทำให้วิชาชีพอื่นตามมาเรียกร้องบ้าง
วิชาชีพพยาบาลจริงๆเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน แต่ที่ผ่านมาผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวงสธ.เป็นแพทย์กันหมด ก็เลยสนใจดูแลความก้าวหน้าให้แต่แพทย์สถานเดียว(ความเป็นจริงที่เจ็บปวด) พยาบาลซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ถูกสอนมาให้ยอม เสียสละเพื่อคนอื่น สงบปากสงบคำมาตลอด และหลังๆมายิ่งถูกละเลย ซีตันที่ 7 ซี8มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนพยาบาล (ขอเรียกแบบเดิมนะคะแบบใหม่ยาวเวิ่นเว้อ)
แต่คุณไปดูที่โรงพยาบาลสิ คุณเห็นพยาบาลหนีงานไหม ทำงานวันหนึ่งมากกว่า 8ชั่วโมง คุณไปโรงพยาบาลเวลาไหนคุณได้รับการบริการจากพยาบาลแน่นอน แต่คนที่ก้าวหน้าในวิชาชีพทั้งๆที่นอนอยู่บ้านทั้งๆที่ชื่ออยู่เวรคือ หมอต่างหาก ที่.. ได้ทั้งเงินค่าเวร ค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว และความก้าวหน้าในวิชาชีพ หมออายุ 30กว่า ซี 9 นะคะ
หลานเราสอบได้พยาบาลในมหาลัยของรัฐที่ดังๆ ครอบครัวยังให้สละสิทธิ์เลย พี่น้องบ้านเราจะเป็นครูเยอะ ซี 8 หมดแล้ว แต่หลานที่เป็นพยาบาลเพิ่งได้เงินเดือนเลย15000มานิดเดียว เพิ่งได้สิทธิ์ทำซี 7 ดีอย่างเดียวมีค่าเวรเยอะแต่ก็เหนื่อยแฮ่กๆกว่าจะได้มา งานหนัก ความรับผิดชอบสูงเิกินตำแหน่ง คอยรับหน้าผู้ป่วยและญาติๆเวลาหมอไม่มาตรวจง่าย เวลาด่าหรือต่อว่าก็มาว่าพยาบาล พอหมอมากลับเงียบพินอบพิเทาซะงั้น กำลังลุ้นให้หลานย้ายงานไปอยู่กับเทศบาลดีกว่า ก้าวหน้ากว่าพยาบาลในโรงพยาบาล
แล้วถ้าทำงานหนัก ความก้าวหน้าไม่มี ใครจะมีกะจิตกะใจทำงานล่ะคะ เราว่าดีแล้วที่น้องๆพยาบาลและวิชาชีพอื่นๆออกมาเรียกร้องให้สังคมได้รับรู้บ้างว่าในสธ.ไม่ได้มีแต่วิชาชีพแพทย์
อยากให้สังคมเห็นใจวิชาชีพอื่นๆในสธ.บ้างน่ะค่ะ
วิชาชีพพยาบาลจริงๆเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน แต่ที่ผ่านมาผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวงสธ.เป็นแพทย์กันหมด ก็เลยสนใจดูแลความก้าวหน้าให้แต่แพทย์สถานเดียว(ความเป็นจริงที่เจ็บปวด) พยาบาลซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ถูกสอนมาให้ยอม เสียสละเพื่อคนอื่น สงบปากสงบคำมาตลอด และหลังๆมายิ่งถูกละเลย ซีตันที่ 7 ซี8มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนพยาบาล (ขอเรียกแบบเดิมนะคะแบบใหม่ยาวเวิ่นเว้อ)
แต่คุณไปดูที่โรงพยาบาลสิ คุณเห็นพยาบาลหนีงานไหม ทำงานวันหนึ่งมากกว่า 8ชั่วโมง คุณไปโรงพยาบาลเวลาไหนคุณได้รับการบริการจากพยาบาลแน่นอน แต่คนที่ก้าวหน้าในวิชาชีพทั้งๆที่นอนอยู่บ้านทั้งๆที่ชื่ออยู่เวรคือ หมอต่างหาก ที่.. ได้ทั้งเงินค่าเวร ค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว และความก้าวหน้าในวิชาชีพ หมออายุ 30กว่า ซี 9 นะคะ
หลานเราสอบได้พยาบาลในมหาลัยของรัฐที่ดังๆ ครอบครัวยังให้สละสิทธิ์เลย พี่น้องบ้านเราจะเป็นครูเยอะ ซี 8 หมดแล้ว แต่หลานที่เป็นพยาบาลเพิ่งได้เงินเดือนเลย15000มานิดเดียว เพิ่งได้สิทธิ์ทำซี 7 ดีอย่างเดียวมีค่าเวรเยอะแต่ก็เหนื่อยแฮ่กๆกว่าจะได้มา งานหนัก ความรับผิดชอบสูงเิกินตำแหน่ง คอยรับหน้าผู้ป่วยและญาติๆเวลาหมอไม่มาตรวจง่าย เวลาด่าหรือต่อว่าก็มาว่าพยาบาล พอหมอมากลับเงียบพินอบพิเทาซะงั้น กำลังลุ้นให้หลานย้ายงานไปอยู่กับเทศบาลดีกว่า ก้าวหน้ากว่าพยาบาลในโรงพยาบาล
แล้วถ้าทำงานหนัก ความก้าวหน้าไม่มี ใครจะมีกะจิตกะใจทำงานล่ะคะ เราว่าดีแล้วที่น้องๆพยาบาลและวิชาชีพอื่นๆออกมาเรียกร้องให้สังคมได้รับรู้บ้างว่าในสธ.ไม่ได้มีแต่วิชาชีพแพทย์
อยากให้สังคมเห็นใจวิชาชีพอื่นๆในสธ.บ้างน่ะค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมรัฐบาลถึงให้โอกาสพนักงานราชการ กระทรวงสาธารสุข ก้าวหน้าเพียงกระทรวงเดียว
แบบนี้ ผมว่าฝนตกไม่ทั่วฟ้า เอาแบบที่พนักงานราชการคนไหนอยากก้าวหน้า ไม่ต้องสอบ ก็ประท้วง ออกทีวี แบบ พนักงานบางกระทรวง ทำ ก็เป็นข่าว ทำให้ได้รับการชดเชย บรรจุข้าราชการ หรือ ร่าง พรบ.พนักงานประจำกระทรวงฯ เหมือน กระทรวงสาธารณสุข แบบนี้ดีกว่าไหมครับ
จะอ่านหนังสือเตรียมสอบไปทำไมให้ปวดหัว ประท้วงโดยอ้างว่า พนักงานฯ ลูกจ้างฯ กระทรวงสาธารณสุข ยังทำได้เลย