10 อันดับไวรัสที่ระบาดมากที่สุดในประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม 2012

กระทู้สนทนา



1.Defo  : กลับมาอยู่ที่อันดับ 1 อีกครั้งหลังห่างหายไประยะเวลาหนึ่ง  มีการระบาดที่ 10.20% เป็นภัยคุกคามประเภทไวรัสที่เข้าไปเกาะ Master Boot  Record (MBR) ของ Harddisk มีผลทำให้ CPU  ทำงานหนักขึ้นเมื่อมีการใช้เครื่อง สามารถกำจัดได้โดยการทำแผ่น Sysrescue  จากโปรแกรม ESET

2.Win32/Somoto.A:ภัย คุกคามประเภท Adware หรือเหล่าโฆษณาที่เพิ่งมาแรง มีการระบาดที่ 8.99%  แพร่กระจายผ่านทางเว็บไซต์กลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เว็บอนาจาร  เว็บแจกเครื่องมือแคร็ก เป็นต้น  เมื่อมีการติดที่เครื่องแล้วภัยคุกคามตัวนี้จะเข้าไปแก้ไขไฟล์ระบบ  ภายในคอมพิวเตอร์ทำให้รู้สึกได้ว่าคอมพิวเตอร์ไม่ปกติ  นอกจากนั้นมันอาจเข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่าที่เบราเซอร์ เพื่อให้ redirect  ไปยังเว็บไซต์กลุ่มเสี่ยงได้อีกด้วย

3.Win32/Sality.NBA:  ยังคงอยู่ใน Top 10 ของทุกเดือน โดยตัวนี้เป็นภัยคุกคามประเภทหนอน  และมีชื่อเสียงในความร้ายกาจยาวนานข้ามปี โดยพบอยู่ที่ 2.39%  พฤติกรรมของหนอนตัวนี้การเข้าไปค้นหาไฟล์นามสกุล .exe ทั้งจาก local และ  network drive สามารถแพร่กระจายได้โดยการแตกไฟล์ .exe  นั้นและแฝงตัวเพิ่มเข้าไปบางส่วนในไฟล์ .exe นั้น เมื่อมีการทำงานของไฟล์  .exe ตัวใดหนอนตัวนี้ก็จะถูกเปิดขึ้นมาด้วย  นอกจากนั้นยังเข้าไปปิดการทำงานต่าง ๆ ของระบบ,  ปิดการทำงานของระบบความปลอดภัย และ System Restore ของ Windows

4.INF/Autorun.gen:  รั้งอยู่ตำแหน่งเดิมโดยเป็นภัยคุกคามประเภทหนอน (Worm) หนึ่งในตระกูล  Autorun พบการระบาดที่ 2.31% มีการแพร่กระจายทั้งภายใน, เครือข่าย,  และอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งหลังจากที่มันก็ปปี้ตัวเองไปยังไดรฟ์แล้ว  หนอนนี้ก็จะสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่ชื่อว่า ‘autorun.inf’ ใน root  ของไดร์ฟเป้าหมาย โดยภายในไฟล์ autorun.inf  นี้จะถูกเขียนคำสั่งให้ทำงานหลังจากผู้ใช้เปิดไดร์ฟต่าง ๆ ขึ้นมา  ซึ่งทำให้หนอนตัวนี้ก็จะถูกก็อปปี้ตามไปด้วย  สามารถป้องกันได้โดยพยายามอัพเดทฐานข้อมูลไวรัส และ Windows อย่างสม่ำเสมอ,  สแกนอุปกรณ์ต่อพ่วงก่อนทุกครั้งที่จะใช้งาน และปิดการใช้งาน Windows  autorun

5.HTML/Iframe.B.Gen:  ถึงจะร่วงอันดับลงมาแต่ก็ยังคงเกาะกลุ่ม 10 อันดับไม่เปลี่ยนแปลง  โดยมันสามารถเปลี่ยนหน้า เว็บเพจในเบราเซอร์ไปยัง URL  ที่เป็นที่อยู่ของซอฟท์แวร์อันตราย  จากนั้นจะทำการดาวน์โหลดลงเครื่องของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ มีอัตราการระบาดที่  1.96%

6.Win32/Agent.RNS:  ไต่ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 6  ภัยคุกคามที่เพิ่งติดอันดับเข้ามาใหม่พบการระบาดอยู่ที่ 1.95%  เป็นภัยคุกคามประเภท Backdoor มีจุดประสงค์ในการลบไฟล์สำคัญ  และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์คถูกปิดอย่างสมบูรณ์  ซึ่งไม่ได้ใช้ทรัพยากรเน็ตเวิร์คในการแพร่กระจาย  แต่สามารถกระจายผ่านทะลุระบบเน็ตเวิร์คได้โดยแนบตัวเองไปกับ worm อื่นๆ  นอกจากนั้น Win32/Agent.RNS  นี้ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกชนิดที่ถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ เช่น  ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น  ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดภัยคุกคามเป็นการโจมตีแบบ  botnet ได้อีกด้วย

7.HTML/ScrInject.B.Gen:  ร่วงลงมาอันดับ 7 ในประเทศไทย ถูกพบอยู่ตามเว็บเพจที่มีการใส่ script  อย่างไม่เป็นระเบียบ หรือมี iframe tags อยู่ซึ่งผู้ใช้จะถูกเปลี่ยน  หน้าเพจไปดาวน์โหลดภัยคุกคามเข้ามาที่เครื่องผู้ใช้โดยอัตโนมัติ  (ผู้ใช้จะพบเพียงหน้าเปล่า ๆ หลังจากถูกเปลี่ยนหน้าเพจไปแล้ว)  มีอัตราการระบาดที่ 1.91%

8.INF/Autorun.Sz:  หนอนตระกูล Autorun ที่เขยิบอันดับขึ้นมาเล็กน้อย พบการระบาดที่ 1.39%โดย  หลังจากที่มันก็ปปี้ตัวเองไปยังไดรฟ์แล้ว  หนอนนี้ก็จะสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่ชื่อว่า ‘autorun.inf’  ซึ่งจะถูกเขียนคำสั่งให้ทำงานหลังจากผู้ใช้เปิดไดร์ฟต่าง ๆ  ขึ้นมาเองโดนอัตโนมัติ สามารถป้องกันได้โดยพยายามอัพเดทฐานข้อมูลไวรัส และ  Windows อย่างสม่ำเสมอ, สแกนอุปกรณ์ต่อพ่วงก่อนทุกครั้งที่จะใช้งาน  และปิดการใช้งาน Autorun

9.LNK/Autostart.A:  ภัยคุกคามประเภทหนอนที่เริ่มมาแรง พบการระบาดที่ 1.18%   ส่วนใหญ่มีเป้าหมายในการโจมตีเครือข่ายองค์กร โดยแอบเข้ามาทางรูรั่วของ  Windows Shell รหัสรูรั่วที่ได้รับคือ CVE-2010-2568  ซึ่งเมื่อเข้ามาในเครื่องของเหยื่อแล้วนักโจมตีก็จะสามารถส่งโค้ดอะไรก็ได้  ตามที่ต้องการเข้ามาในเครื่องผ่าน shortcut นามสกุล *.lnk, *.pif  เมื่อไอคอนนั้นมีการเปิดแสดงอยู่ สามารถป้องกันได้โดยการหมั่นอัพเดท patch  และแอนตี้ไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

10.Win32/Ramnit.A:ภัย คุกคามประเภทไวรัสมี พบอยู่ที่ 1.17%  โดยตัวมันเองมีความสามารถถ่ายภาพหน้าจอ,  ส่งข้อมูลบนเครื่องของเหยื่อไปยังนักโจมตี,  ดาวน์โหลดไฟล์จากคอมพิวเตอร์ควบคุมระยะไกล หรือจากอินเตอร์เน็ต, สั่งไฟล์  .exe ให้ทำงาน และสั่ง shut down หรือ รีสตาร์ตคอมพิวเตอร์ได้

Powered by:


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่