4G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาอีกระดับของการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือซึ่งหลายประเทศให้ความสำคัญเพราะถือว่าเป็นกลยุทธ์ตัวหนึ่งที่สงเสริมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากับการที่ต้องติดต่อกันเช่นอุปกรณ์สื่อสาร ความบันเทิงรูปแบบต่างๆ หรือแม้กระทั้งการศึกษา
การก้าวไปเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีไม่ใช่แค่มีความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น หากสามารถพัฒนาระบบที่รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารและอุปกรณ์การสื่อสารได้ก็จะเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อการที่ประเทศต่างๆต้องการจะมีและกำลังปรับตัวเพื่อใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางการค้าอย่างใหญ่หลวง
4G หรือ 4th Generation เป็นการพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลที่แก้จุดบอดของ 3G ที่คาดว่าจะทำได้ในช่วงการออกแบบ โดยปรับปรุงการสื่อสารมัลติมีเดียให้มีประสิทธิ์ภาพสูงจริงเพื่อสู้กับคุณภาพของตัวมัลติมีเดียเองที่ก็พัฒนาอยู่เช่นกันเช่น ส่งข้อมูลวิดีโอคุณภาพสูงเทียบเท่า HD หรือพวก DVD ได้ การสื่อสารบน Internet Protocol ที่มีคุณภาพภาพและเสียงที่ดีขึ้นเนื่องจาก 4G มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลและ Bandwidth ที่กว้าง ขึ้นทั้งยังจะผสานระบบ Bio Matrix เพื่อให้ช่วยรองรับการพิสูจน์อัตลักษณ์(พูดซะนึกถึงพิสูจน์ศพเลย)ที่ให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยสูงขึ้น
ทั้งนี้ยุคแรกเริ่ม 1st Generation นั้นถูกออกแบาให้รองรับระบบ Analog ที่เป็นที่นิยมกันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ส่วนตัว 2nd Generation ได้ออกแบบให้การสื่อสารทั้งหมดเป็น Digital โดยใช้การเข้ารหัสสัญญาณเสียงและ Package ข้อมูลของข้อความขนาดเล็ก (ที่ทำให้เราสามารถส่งข้อความทาง Pager หรือ sms ทางโทรศัพท์มือถือกันได้) อีกทั้งมีการแพร่หลายในการใช้ Global System for Mobile หรือ GSM เข้ามาแต่ยังมีราคาค่อนข้างสูง (หรือต้องการให้ราคาสูงไม่ทราบแน่) ซึ่งยังจำกันได้ไหมประเทศไทยสมัยนั้นมีการลงทะเบียน SIM แบ่งเป็นภาค (ดีนะไม่แบ่งจังหวัด) ถ้าเป็นตอนนี้ขัดใจตายเลย ต่อมามีการเพื่อเติมของการพัฒนา 2G อีกในส่วนของความเร็วให้เป็น 460 Mbps แต่เอาเข้าจริงๆได้มาแค่ 384 Mbps ทำให้เราสามารถเอามือถือมาต่อ Computer หรือเล่น Wap กันที่ GPRS (เกรด10) และ EDGE กันในปัจจุบัน แล้วเรียกมันว่า 2.5G และ 2.75G ตามลำดับ ส่วน 3rd Generation ออกแบบมาให้รองรับมัลติมีเดียเป็นหลัก และPackage ข้อมูลของข้อความที่ขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ Internet Mobile Service เป็นบริการที่แพร่หลาย
เท่าที่กล่าวมาคือมีในเมืองไทยถึงแม้ 3G จะเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของประเทศก็ตาม
ทั้งนี้ยังมี 3.5G ที่เป็น HSDPA 3.75G ที่เป็น HSUPA 3.8G ที่เป็น Enhancements HSPA 3.85G ที่เพิ่ม MIMO ซึ่งจะยังไม่ขอกล่าว จนมาถึง 3.9G ที่ไทยเราเคยคิดและอาจจะยังคิดจะนำมาใช้เพื่อให้ล่ำหน้าประเทศต่างๆ (ในภูมิภาคเดียวกันนะ) ซึ่งเป็น Long Team Evolution ที่นำระบบ GPRS เดิมมาปรับและประกบเข้าเพื่อให้ได้อัตราการส่งถ่ายข้อมูลและ Bandwidth ที่กว้าง
มาถึงหัวข้อที่ว่า 4G เร็วแค่ไหน หากจะตอบเป็นอัตราส่งถ่ายข้อมูลก็คงจะเป็นแคัวเลขแต่ไม่สามารถทำให้รู้สึกได้นอกจากจินตนาการ ฉะนั้นจะบอกได้เพียงสั้นๆว่า 4G เร็วแค่ไหนหนะหรือครับ ในไทยก็คงอีกหลายปีอยู่
http://tonketenke.wordpress.com/about-me/
4G เร็วแค่ไหนกัน
4G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาอีกระดับของการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือซึ่งหลายประเทศให้ความสำคัญเพราะถือว่าเป็นกลยุทธ์ตัวหนึ่งที่สงเสริมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากับการที่ต้องติดต่อกันเช่นอุปกรณ์สื่อสาร ความบันเทิงรูปแบบต่างๆ หรือแม้กระทั้งการศึกษา
http://tonketenke.wordpress.com/about-me/