การรวบรวมข้อมูลอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของปี 2550 จากบริษัทกว่า 1,200 แห่งที่ติดตั้งผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย สรุปผลได้ว่า เกือบ 72 % ของบริษัทที่มีคอมพิวเตอร์มากกว่า 100 เครื่องมีมัลแวร์กำลังแพร่กระจายอยู่ในเครือข่าย ข้อมูลนี้รวบรวมจากผลการศึกษาที่จัดทำขึ้นในไตรมาสที่สองของปีนี้โดย PandaLabs ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์และตรวจจับมัลแวร์ของ Panda Security
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การเปิดเผยจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี การป้องกัน ที่ติดมัลแวร์ (ทั้งที่ใช้ภายในบ้านและองค์กร)
การศึกษาครั้งนี้ยังวิเคราะห์ถึงประเภทของระบบป้องกันที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ โดยพบว่าระบบที่ป้องกันโดย
=> Computer Associates ติดมัลแวร์ 4.55 %
=> Trend Micro ติดมัลแวร์ 4.3%
=> Symantec 2.8 % McAfee 2.28%
=> Panda 0.73%
จากวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คิดค้นมัลแวร์ซึ่งในขณะนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางการเงินเป็นหลัก จึงทำให้จำนวนของมัลแวร์ในระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ระบบการป้องกันแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป และต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมการสแกนออนไลน์ที่จะทำงานเป็นระยะ
มัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
จากข้อมูลที่รวบรวมในผลการศึกษาพบว่า มีผู้ใช้เพียง 37.45 % เท่านั้นที่อัพเดตซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ส่วนผู้ใช้ที่เหลือไม่มีการป้องกันหรือมีระบบการป้องกันที่ล้าสมัย
ผลการวิจัยของ PandaLabs ยังเปิดเผยว่า 22.97 % ของคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมด้านความปลอดภัยรุ่นล่าสุดติดมัลแวร์ ในขณะที่คอมพิวเตอร์ซึ่งไม่มีระบบป้องกันติดมัลแวร์สูงถึง 33.28%
ประเภทของมัลแวร์
=> แอดแวร์ คือ มัลแวร์ที่พบสูงสุดทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร ( 63.04%) และภายในบ้าน (54.50%)
=> ส่วนโทรจันมาเป็นลำดับสองในอัตรา 12.57 % ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร และ 15.46% ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
นอกจากนี้โทรจันสำหรับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งส่วนใหญ่พบในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร
=> ในขณะเดียวกันจำนวนของ rootkit (โปรแกรมที่ใช้ในการโจรกรรมทางไซเบอร์เพื่อปกปิดขั้นตอนการทำงานของรหัสที่เป็นภัยคุกคาม และทำให้การตรวจจับทำได้ยากขึ้น) ก็เพิ่มสูงขึ้นทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายบ้านและองค์กร จนอยู่ในลำดับที่สามของมัลแวร์ที่ตรวจพบมากที่สุด
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :
คุณวรวุฒิ บูรณมณีศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัท Panda Security สาขาประจำประเทศไทย
คุณวรวุฒิ บูรณมณีศิลป์
72 % ของคอมพิวเตอร์ในบริษัทติดไวรัส
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การเปิดเผยจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี การป้องกัน ที่ติดมัลแวร์ (ทั้งที่ใช้ภายในบ้านและองค์กร)
การศึกษาครั้งนี้ยังวิเคราะห์ถึงประเภทของระบบป้องกันที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ โดยพบว่าระบบที่ป้องกันโดย
=> Computer Associates ติดมัลแวร์ 4.55 %
=> Trend Micro ติดมัลแวร์ 4.3%
=> Symantec 2.8 % McAfee 2.28%
=> Panda 0.73%
จากวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คิดค้นมัลแวร์ซึ่งในขณะนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางการเงินเป็นหลัก จึงทำให้จำนวนของมัลแวร์ในระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ระบบการป้องกันแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป และต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมการสแกนออนไลน์ที่จะทำงานเป็นระยะ
มัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
จากข้อมูลที่รวบรวมในผลการศึกษาพบว่า มีผู้ใช้เพียง 37.45 % เท่านั้นที่อัพเดตซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ส่วนผู้ใช้ที่เหลือไม่มีการป้องกันหรือมีระบบการป้องกันที่ล้าสมัย
ผลการวิจัยของ PandaLabs ยังเปิดเผยว่า 22.97 % ของคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมด้านความปลอดภัยรุ่นล่าสุดติดมัลแวร์ ในขณะที่คอมพิวเตอร์ซึ่งไม่มีระบบป้องกันติดมัลแวร์สูงถึง 33.28%
ประเภทของมัลแวร์
=> แอดแวร์ คือ มัลแวร์ที่พบสูงสุดทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร ( 63.04%) และภายในบ้าน (54.50%)
=> ส่วนโทรจันมาเป็นลำดับสองในอัตรา 12.57 % ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร และ 15.46% ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
นอกจากนี้โทรจันสำหรับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งส่วนใหญ่พบในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร
=> ในขณะเดียวกันจำนวนของ rootkit (โปรแกรมที่ใช้ในการโจรกรรมทางไซเบอร์เพื่อปกปิดขั้นตอนการทำงานของรหัสที่เป็นภัยคุกคาม และทำให้การตรวจจับทำได้ยากขึ้น) ก็เพิ่มสูงขึ้นทั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายบ้านและองค์กร จนอยู่ในลำดับที่สามของมัลแวร์ที่ตรวจพบมากที่สุด
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :
คุณวรวุฒิ บูรณมณีศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัท Panda Security สาขาประจำประเทศไทย
คุณวรวุฒิ บูรณมณีศิลป์