TIP-TODAY – ไรท์ Audio CD ให้อ่านชื่อเพลงได้ขณะเล่น

กระทู้สนทนา
"..SONY กับ PHILIPS จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา Audio CD รูปแบบใหม่ขึ้นในปี 1996 โดยใส่รายละเอียดต่างๆ พื้นฐานต่างๆ ลงไปใน Audio CD ด้วย ทำให้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์ได้.."

TIP-TODAY – ไรท์ Audio CD ให้อ่านชื่อเพลงได้ขณะเล่น
(เรียบเรียงโดย นายบิ๊กเสี่ยว BIGSIAW)

ปัญหาหนึ่งที่ใครหลายๆ คนเจอเวลาเล่นซีดีเพลง หรือที่รู้จักกันอีกในชื่อ Audio CD คือ มันไม่แสดงรายละเอียดต่างๆ ของเพลง เช่น ชื่อศิลปิน ชื่อเพลง ชื่ออัลบั้มฯ แต่มันกลับแสดงเป็น Track01, Track02, Track03, … หรือบางทีก็ดันแสดงเป็น Artist Unknown แทนซะนี่ (ดังรูป) ตายล่ะสิจะรู้ได้ไงหว่า ว่าตอนนี้มันเล่นเพลงอะไรอยู่ วันนี้ผมมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการแก้ปัญหานี้มาฝากครับ

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



ก่อนที่จะไปถึงวิธีการแก้ปัญหา ผมขอเกริ่นเกร็ดบางอย่างให้เป็นพื้นฐานความรู้ก่อนดังนี้ครับ

ดั้งเดิมนั้น Audio CD มีรูปแบบมาตรฐานของชื่อเป็น TrackXX.cda (CD Audio format) และไม่สามารถอ่านรายละเอียดต่างๆ จาก CD ได้เลย นอกจากต้องอ่านมันจากปก CD หรือปกอัลบั้มเท่านั้น ซึ่งแน่นอนล่ะ หากมันหายไปก็จะเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ฟัง ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน Optical Drive ได้แก่ SONY กับ PHILIPS จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา Audio CD รูปแบบใหม่ขึ้นในปี 1996 โดยใส่รายละเอียดต่างๆ พื้นฐานต่างๆ ลงไปใน Audio CD ด้วย ทำให้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์ได้ อาทิ ชื่อศิลปิน ชื่อเพลง ชื่ออัลบั้ม ลำดับของเพลง เป็นต้น นี่ก็เป็นเวลาเนิ่นมาถึง 10 ปีไปแล้วที่มาตรฐานนี้ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน การใส่รายละเอียดต่างๆ ลงไปใน Audio CD นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า “CD-Text”

ดังนั้นขณะที่เล่น Audio CD อยู่จะแสดงรายละเอียดของเพลงได้ก็ต่อเมื่อ
• CD/CDRW/DVD/DVDRW นั้นต้องสนับสนุนเทคโนโลยี CD-Text ซึ่งปัจจุบันสนับสนุนทั้งหมดแล้ว
• โปรแกรมที่เล่น Audio CD นั้นต้องสนับสนุนเทคโนโลยี CD-Text ซึ่งปัจจุบันสนับสนุนทั้งหมดแล้ว
• Audio CD นั้นต้องใส่รายละเอียดตามเทคโนโลยี CD-Text ด้วย

ที่ผมเล่ามามีเพียงข้อสุดท้ายเท่านั้น ที่เราจะไปเกี่ยวข้องกับมันได้ มาว่ากันเลยดีกว่าครับ

สิ่งที่ต้องมี
1. เครื่องไรท์ CD
2. โปรแกรม JetAudio
3. ไฟล์ต้นฉบับ อาจจะเป็นไฟล์ MP3
4. แผ่น CD เปล่า

ผลลัพธ์ที่ได้
1. ขณะเล่นเพลง Audio จะแสดงรายละเอียดของเพลงได้
2. การแสดงชื่อไฟล์ใน Windows Explorer จะยังคงแสดงเป็นชื่อมาตรฐานของ Audio CD อยู่ คือแสดงเป็น TrackXX.cda
3. คุณภาพเสียงของ Audio CD ที่ได้ขึ้นกับแต่ละโปรแกรมที่ใช้ สำหรับเจ้า JetAudio ถือว่าเสียงดีมาก

หมายเหตุ
1. วิธีการที่นำเสนอนี้ไม่ใช่วิธีการเดียวที่แก้ปัญหานี้ แต่ยังมีอีกหลายวิธี
2. โปรแกรมที่สนับสนุนเทคโนโลยี CD-Text นั้นยังมีอีกมากมายหลายโปรแกรม
3. ไฟล์ต้นฉบับอาจจะมีผลต่อรายละเอียดที่โปรแกรมไรท์นั้นๆ ป้อนให้กับ Audio CD

ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดโปรแกรมจากลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.cowonamerica.com/products/jetaudio/
http://www.cowonamerica.com/products/jetaudio/features_03.html

คลิกที่ปุ่ม Burn ดังรูป



คลิกตามรูปอีกครับ

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



อยากได้เพลงไหนใส่ใน Audio CD ก็คลิกระบายมัน ตามด้วยปุ่ม Open

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



• ถ้าต้องการปรับเวลาระหว่างเพลง ก็เลือกเวลาตามต้องการ (ในที่นี้คือ 2 วินาที)
• ถ้าต้องการปรับระดับความดังของเพลงให้เท่ากันก็ติ๊กเลือกที่ Normalize volume แล้วระบุระดับตามต้องการ (ในที่นี้คือ Level 5)
• ถ้าต้องการเริ่มกระบวนการก็คลิกที่ Start ได้เลย

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



เลือกตามรูปครับ

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



อันนี้สำคัญมาก หากต้องการไรท์ Audio CD ด้วยเทคโนโลยี CD-Text ต้องเลือกที่ Disc-at-once (DAO) และต้องเลือกที่ Write CD-Text Information ตอบ OK

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



อันนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การป้อนรายละเอียดให้กับ Audio CD

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



หลังจากตอบ OK แล้ว เจ้า JetAudio จะเริ่มกระบวนการอ่านระดับความดังของแต่ละเพลง เพื่อปรับให้เท่ากัน ด้วยวิธีการ Normalizing นั่นเอง

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



เสร็จกระบวนการ Normalizing ก็จะเริ่ม Writing โดยเพลงไหนที่ไรท์เสร็จแล้วจะมีเครื่องหมายถูกสีน้ำเงินอยู่ด้านหน้า Track ส่วนที่เป็นลูกศรสีเหลืองแสดงว่ากำลังไรท์อยู่ และช่องสีดำก็คือยังไม่ได้ไรท์นั่นเอง

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



เมื่อเสร็จทุกไฟล์ก็จะเห็นดังรูป ให้รอจนกระทั่งมันดีดแผ่น Audio CD ออกมา

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



ใส่แผ่นกลับเข้าไปใหม่ แล้วกลับสู่หน้าต่างหลัก จากนั้นให้เลือกที่ Disc mode



เลือกไดร์ฟที่อ่าน Audio CD ให้ถูกต้อง



ที่เมนู ALBUM ให้เลือกที่ Read CD-Text



ระบบเสียงยังสามารถเลือกฟังแบบ Analog หรือ Digital ก็ได้



ที่แถบ Display Information ยังสามารถแสดงรายละเอียดไฟล์ได้หลายแบบ โดยคลิกตรงวงกลม



อันนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไรท์ Audio CD จาก Nero โดยให้ป้อนรายละเอียดต่างๆ ด้วย

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



ลากไฟล์ที่ต้องการมาใส่ในช่อง Audio1

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



เมื่อได้ตามต้องการก็สั่ง Burn

คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง



หลังจากไรท์ด้วย Nero แล้ว หากลองเอามาอ่านด้วย JetAudio ก็อ่านชื่อไฟล์ได้เช่นเดียวกัน



ปัญหาที่อ่านชื่อศิลปิน ชื่อเพลง ชื่ออัลบั้มไม่ได้ก็คงลดน้อยลงไปบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมที่เล่น Audio CD นั้นสนับสนุนภาษาไทยด้วยหรือไม่ ถ้าสนับสนุนก็แสดงว่าคุณปฏิบัติการสำเร็จแล้วครับ

ปล. ยินดีที่ได้แบ่งปัน

บิ๊กเสี่ยว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่