การแก้ปัญหาเรื่องความงมงายโดยการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอนะ
นักวิทยาศาสตร์อาจจะเหนื่อยเปล่า ถ้ากระบวนการทางสังคมอื่นๆ ไม่ปรับตัวตาม
เพราะถ้าเรามองถึงสาเหตุของการพึ่งพาไสยศาสตร์ สิ่งลี้ลับต่างๆ บางทีมันก็ไม่ได้เกิดจากความงมงายอย่างเดียวนะ
แต่มันเกิดจากความผิดหวัง การไม่เชื่อ การไม่ไว้วางใจ ในระบบต่างๆ ของสังคมที่ตนอยู่
เช่น
- ระบบรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คนบางคนของหายก็ต้องไปพึ่งพวกหมอดู ร่างทรง ให้ช่วยดูว่าของอยู่ไหน ใครเอาไป
นี่ก็เพราะเขาไม่ไว้วางใจระบบตำรวจ หรือเคยไปแจ้งตำรวจแล้วแต่ตำรวจไม่ตาม ไม่ใส่ใจ ฯลฯ
- ระบบสาธารณสุขที่ไม่ทั่วถึง คนบางคนเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข หรือเข้าถึง แต่เงินน้อยเลยได้รับการบริการและการรักษาที่ไม่มีคุณภาพ
เขาก็ต้องหันไปพึ่งพาการรักษาแบบไสยศาสตร์อีก
- ระบบสวัสดิการ ความมั่นคงในชีวิตที่ไม่เท่าเทียม ทำให้คนบางคนต้องไปหาหมอดู เพราะอยากรู้ว่าเมื่อไหร่จะรวย แก่แล้วจะลำบากหรือสบาย
ต้องทำบุญหวังผล สวดอ้อนวอน ขอพรให้ตนเองร่ำๆ รวยๆ
- ระบบการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ทำให้คนขาดความมั่นใจในตนเอง คนจำนวนมากต้องไปพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการทำธุรกิจ
นักธุรกิจบางคนต้องมีหมอดูเป็นที่ปรึกษาเลยเชียวละ
- ระบบการศึกษาที่ล้มเหลว อันนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก
ฯลฯ อีกมากมาย
ถ้าเราจะทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ โดยมองว่า "ความงมงาย" เป็นปัญหาหลัก เราก็จะยัดเอาความรู้วิทยาศาสตร์ใส่เข้าไปหนักๆ
เพื่อล้างความงมงาย แต่ผมคิดว่ามันไม่ได้ผลเต็มที่
สิ่งเหล่านี้ "บางครั้ง" มันเกิดจากการที่คนบางคนเขารู้สึกว่าเขาไม่มีทางเลือก และสิ้นหวังกับกลไกแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่
จะแก้ความงมงายอย่างถาวร ผมว่ากระบวนการทางสังคมอื่นๆ ต้องร่วมปรับตัวด้วย
ป.ล. ย้ำกันเน้นๆ ตรงนี้ว่า
ผมเข้าใจว่าห้องหว้ากอ พูดคุยกันเรื่องวิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ก็ทำตามหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดแล้ว คงไปก้าวก่ายเรื่องทางสังคมมากไม่ได้
แต่ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพียงจะพยายามทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความเห็นว่า ทำไมทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทำงานเผยแพร่ความรู้กันอย่างหนัก แต่สังคมไทยก็ยังพึ่งพาไสยศาสตร์กันอยู่
*** การแก้ปัญหาเรื่องความงมงายโดยการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ
นักวิทยาศาสตร์อาจจะเหนื่อยเปล่า ถ้ากระบวนการทางสังคมอื่นๆ ไม่ปรับตัวตาม
เพราะถ้าเรามองถึงสาเหตุของการพึ่งพาไสยศาสตร์ สิ่งลี้ลับต่างๆ บางทีมันก็ไม่ได้เกิดจากความงมงายอย่างเดียวนะ
แต่มันเกิดจากความผิดหวัง การไม่เชื่อ การไม่ไว้วางใจ ในระบบต่างๆ ของสังคมที่ตนอยู่
เช่น
- ระบบรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คนบางคนของหายก็ต้องไปพึ่งพวกหมอดู ร่างทรง ให้ช่วยดูว่าของอยู่ไหน ใครเอาไป
นี่ก็เพราะเขาไม่ไว้วางใจระบบตำรวจ หรือเคยไปแจ้งตำรวจแล้วแต่ตำรวจไม่ตาม ไม่ใส่ใจ ฯลฯ
- ระบบสาธารณสุขที่ไม่ทั่วถึง คนบางคนเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข หรือเข้าถึง แต่เงินน้อยเลยได้รับการบริการและการรักษาที่ไม่มีคุณภาพ
เขาก็ต้องหันไปพึ่งพาการรักษาแบบไสยศาสตร์อีก
- ระบบสวัสดิการ ความมั่นคงในชีวิตที่ไม่เท่าเทียม ทำให้คนบางคนต้องไปหาหมอดู เพราะอยากรู้ว่าเมื่อไหร่จะรวย แก่แล้วจะลำบากหรือสบาย
ต้องทำบุญหวังผล สวดอ้อนวอน ขอพรให้ตนเองร่ำๆ รวยๆ
- ระบบการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ทำให้คนขาดความมั่นใจในตนเอง คนจำนวนมากต้องไปพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการทำธุรกิจ
นักธุรกิจบางคนต้องมีหมอดูเป็นที่ปรึกษาเลยเชียวละ
- ระบบการศึกษาที่ล้มเหลว อันนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก
ฯลฯ อีกมากมาย
ถ้าเราจะทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ โดยมองว่า "ความงมงาย" เป็นปัญหาหลัก เราก็จะยัดเอาความรู้วิทยาศาสตร์ใส่เข้าไปหนักๆ
เพื่อล้างความงมงาย แต่ผมคิดว่ามันไม่ได้ผลเต็มที่
สิ่งเหล่านี้ "บางครั้ง" มันเกิดจากการที่คนบางคนเขารู้สึกว่าเขาไม่มีทางเลือก และสิ้นหวังกับกลไกแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่
จะแก้ความงมงายอย่างถาวร ผมว่ากระบวนการทางสังคมอื่นๆ ต้องร่วมปรับตัวด้วย
ป.ล. ย้ำกันเน้นๆ ตรงนี้ว่า
ผมเข้าใจว่าห้องหว้ากอ พูดคุยกันเรื่องวิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ก็ทำตามหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดแล้ว คงไปก้าวก่ายเรื่องทางสังคมมากไม่ได้
แต่ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพียงจะพยายามทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความเห็นว่า ทำไมทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทำงานเผยแพร่ความรู้กันอย่างหนัก แต่สังคมไทยก็ยังพึ่งพาไสยศาสตร์กันอยู่