นาฏศิลป์ไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยและเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ประจำชาติ นาฏศิลป์ไทยหลายชุด กำเนิดขึ้นจากอัจฉริยภาพของ ท่านผู้หญิง
แผ้ว สนิทวงศ์เสนี หม่อมอาจารย์ ผู้เป็นบรมครูนาฏศิลป์ไทย ท่านอุทิศกายใจฝึกฝน ถ่ายทอดศิลปะการแสดงมาตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งนับได้ว่าท่านคือผู้ดำรงรักษา และสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ไทยยาวนานถึง ๕ แผ่นดิน
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มีนามเดิมว่า แผ้ว สุทธิ์บูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ในครอบครัวคนสามัญจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ในสมัยนั้นโอกาสที่ ผู้หญิงจะรู้หนังสือหรือได้เล่าเรียนนั้นน้อยมาก ด้วยการศึกษาจำกัดอยู่ในวงแคบ เฉพาะผู้ชาย ส่วนสถานที่ที่สตรีเพศพอจะได้รับแหล่งวิชาความรู้คือ
ในวัง
ท่านผู้หญิงแผ้วเป็นหนึ่งในจำนวนผู้หญิงไม่กี่คนที่มีโอกาสได้เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และสามารถเรียนจนแตกฉานถึงขนาดแต่งกลอนได้
ท่านผู้หญิงแผ้ว ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของท่านเมื่อครั้งยังเยาว์วัยให้ลูกๆ ของท่านฟังว่า.........
เมื่อเด็กๆ แม่กับพ่อจัดของใส่หีบจะไปฝากแหม่มโคลที่โรงเรียน (โรงเรียนวังหลังหรือวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) ก็มีคนจากวังสวนกุหลาบมาบอกว่า พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธฯ ได้ตั้งโรงเรียนละครเด็กตัวเล็กๆ ในวัง จะให้เรียนหนังสือด้วยและมาขอให้เข้าไปเรียน ก็เลยไม่ได้ไปอยู่กับแหม่ม แต่ได้เข้าไปอยู่ในวังแทน
เมื่อเข้าไปอยู่ในวังได้ถวายตัวหัดรำละคร เรียนรำตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึง ๒ โมงเช้าจึงเสร็จ ถึงได้รับประทานอาหารเช้า ที่เรียนอยู่ไม่ได้เรียนรำอย่างเดียว เรียนทำกับข้าว ปั้นขนมจีบด้วย วันละครึ่งชั่วโมง ตอน ๕โมงเช้า แล้วเรียนเย็บปักสะดึงต่ออีกครึ่งชั่วโมง หนังสือก็ต้อง เรียนด้วยวันละชั่วโมง มีครูมาสอนทุกวัน
ท่านผู้หญิงแผ้ว ได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสามัญจากโรงเรียนในวังสวนกุหลาบ ยังรู้ภาษาฝรั่งเศส ที่ได้ร่ำเรียนกับแม่ชีที่โรงเรียนพระราชหฤทัย ภาษาอังกฤษที่เรียนกับ คุณหญิงราชา รวมถึงความรู้เรื่องมารยาทสังคมและการปรับตัวทำให้ท่านผู้หญิงแผ้วงดงามด้วยมารยาทอันถูกต้องเหมาะสม ในขณะที่การรำละครนั้นก็จัดได้ว่า มากด้วยความรู้และความสามารถ ทำให้ท่านมีความงดงามทั้งกายและใจ ที่ได้รับการอบรมบ่มสอนมา จึงทำให้ท่านผู้หญิงแผ้วเป็นสุภาพสตรีที่เพียบพร้อม
ด้วยคุณสมบัติของสุภาพสตรีครบถ้วนสมกับเป็น "กุลสตรีศรีสยาม"
" นาฏยาจารย์ ๕ แผ่นดิน ผู้สืบสร้างรำไทย "
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี หรือ หม่อมอาจารย์ เป็นบรม
ครูนาฏศิลป์ที่ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้ แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มที่ไม่มีหวง
แม้แต่น้อย ท่าน ดุ และเคี่ยวเข็ญ เพื์แสดงได้อย่างถูกต้อง
งดงาม ทั้งยังมีเมตตาให้ความรักและความรู้ในการดำเนินชีวิตด้าน
ต่างๆ เรียกได้ว่าท่านผู้หญิงเป็นมากกว่าครู และเปรียบเสมือน แม่
อีกคนหนึ่ง
นางเพชรพริ้ง สารสิน ทายาท (หลานยาย) ของท่านผู้หญิงแผ้ว
สนิทวงศ์เสนี เผยว่า ท่านผู้หญิงมีความรักในด้านการรำละครแต่เยาว์วัย
ได้รับการฝึกหัดจากครูนาฏศิลป์ในราชสำนักหลายท่าน จนมีความรู้
ความสามารถออกแสดงเป็นตัวละครเอก ถวายทอดพระเนตรต่อหน้า
พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง เช่น
การแสดงเป็นอิเหนา และนางดรสา ในละครเรื่อง อิเหนา แสดงเป็น
พระพิราพ และทศกัณฐ์ ในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นต้น
ภายหลังเมื่อท่านสมรสกับพลตรีสนิทวงศ์เสนี (ม.ร.ว.ตัน สนิทวงศ์) และมีโอกาสติดตามสามีซึ่งรับราชการเป็นฑูตทหาร ไปประจำการในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลีและโปรตุเกส ท่านก็สนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง
ตอนที่ท่านกลับประเทศไทยและมาทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๑- ๒๕๓๕ ท่านได้นำวิชาความรู้ด้านนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ มาพัฒนาให้นาฏกรรมไทย " ซึ่งเคยเนิบช้า ให้มีความกระชับ" แต่ยังคงไว้ซึ่งความงดงามตามแบบแผน
ตัวอย่างเช่น ระบำม้า หรือ ระบำอัศวลีลา ท่านผู้หญิงเคยเล่าให้ดิฉันฟังว่า ลีลาท่าเต้นโขยกเขยกไปมาของผู้แสดงระบำม้านั้น ท่านจำมาจากประเทศโปรตุเกส แล้วนำมาปรับปรุงให้เป็นท่ารำแบบไทยๆ
สืบสานนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่
ในการแสดงนาฏศิลป์ครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้คัดเลือกผลงานที่โดดเด่นของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มาจัดแสดงได้แก่ ระบำสุโขทัย รำฉุยฉายเฮนา
นางพญาคำปินขอฝนออกฟ้อนจันทราพาฝัน รำมโนราห์บูชายัญออกรำซัดชาตรี รำลาวดวงเดือน
ละครนอกเรื่อง คาวี ตอนชุบตัวท้าวสันนุราชถึงคันธมาลีขึ้นหึง และโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนปราบกากนาสูร
ร่วมแสดงโดยศิลปินแห่งชาติ นาฏศิลปินอาวุโส นาฏศิลปินรับเชิญ
และนาฏศิลปินชั้นนำที่มีชื่อเสียงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
อย่างครบครัน
รายได้สมทบกองทุนท่านผู้หญิงแผ้ว เพื่อสืบสานงานนาฏศิลป์ไทย
และช่วยเหลือนาฏศิลปินอาวุโสต่อไป
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดงาน 109 ปีชาตกาล ท่านผู้หญิงแผ้ว
สนิทวงศ์เสนี โดยจัดแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็นผลงานของท่าน
ผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2528
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวามคม 2555 ที่ผ่านมา
ชนชื่นระยอนาม ศิลปินแห่งชาติไทย
ท่านผู้หญิงแผ้วนี้ คือผู้ที่ยิ่งเกินใคร
ประดิษฐ์ท่างามกระไร ช่างสมใจ สดุดตา
เอาภาร สั่งสอนศิษย์ อยู่เป็นนิจเสมอมา
ให้ียนเพียรศึกษา ด้วยเมตตามาแสนนาน
ชาวไทยก็ได้เห็น ละครเล่นได้ชื่นบาน
ชาวต่างประเทศขาน ศัพทเสียง สำเนียงชม
พระนิพนธ์
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวว่าสำนักการสังคีต รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมแสดงมุทิตาจิตจัดงานรำลึก ๑๐๙ ปีชาตกาล ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ท่านเป็นคลังความรู้ด้านนาฏศิลป์อย่างแท้จริง มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟู ปรับปรุง และวางรากฐานการแสดงหลายอย่างของกรมศิลปากร เพราะท่านเชี่ยวชาญท่ารำของตัวละครสรรพสัตว์ต่างๆ ที่ท่านประดิษฐ์ไว้อย่างวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถในการประพันธ์บทสำหรับการแสดงทั้งโขนและละครอีกด้วย
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติสูงสุดทางด้านนาฏศิลป์ของโลกละคร และเป็นครูผู้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่นาฏศิลปินไทยทุกคน ท่านมีความตั้งใจ ทุ่มเทเพื่อให้งานศิลปะแขนงนี้ได้รับการเชิดชู และดำรงสืบต่อชั่วลูกชั่วหลาน กล่าวได้ว่าท่านผู้หญิงแผ้วเป็นเสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นผู้รอบรู้ในศิลปะวิทยาการด้านนาฏศิลป์อย่างลึกซึ้ง ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
~o~o~O~o~o~....... นาฏยาจารย์ ๕ แผ่นดิน ผู้สืบสร้างรำไทย ......~o~o~O~o~o~
แผ้ว สนิทวงศ์เสนี หม่อมอาจารย์ ผู้เป็นบรมครูนาฏศิลป์ไทย ท่านอุทิศกายใจฝึกฝน ถ่ายทอดศิลปะการแสดงมาตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งนับได้ว่าท่านคือผู้ดำรงรักษา และสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ไทยยาวนานถึง ๕ แผ่นดิน
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มีนามเดิมว่า แผ้ว สุทธิ์บูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ในครอบครัวคนสามัญจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ในสมัยนั้นโอกาสที่ ผู้หญิงจะรู้หนังสือหรือได้เล่าเรียนนั้นน้อยมาก ด้วยการศึกษาจำกัดอยู่ในวงแคบ เฉพาะผู้ชาย ส่วนสถานที่ที่สตรีเพศพอจะได้รับแหล่งวิชาความรู้คือ
ในวัง
ท่านผู้หญิงแผ้วเป็นหนึ่งในจำนวนผู้หญิงไม่กี่คนที่มีโอกาสได้เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และสามารถเรียนจนแตกฉานถึงขนาดแต่งกลอนได้
ท่านผู้หญิงแผ้ว ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของท่านเมื่อครั้งยังเยาว์วัยให้ลูกๆ ของท่านฟังว่า.........
เมื่อเด็กๆ แม่กับพ่อจัดของใส่หีบจะไปฝากแหม่มโคลที่โรงเรียน (โรงเรียนวังหลังหรือวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) ก็มีคนจากวังสวนกุหลาบมาบอกว่า พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธฯ ได้ตั้งโรงเรียนละครเด็กตัวเล็กๆ ในวัง จะให้เรียนหนังสือด้วยและมาขอให้เข้าไปเรียน ก็เลยไม่ได้ไปอยู่กับแหม่ม แต่ได้เข้าไปอยู่ในวังแทน
เมื่อเข้าไปอยู่ในวังได้ถวายตัวหัดรำละคร เรียนรำตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึง ๒ โมงเช้าจึงเสร็จ ถึงได้รับประทานอาหารเช้า ที่เรียนอยู่ไม่ได้เรียนรำอย่างเดียว เรียนทำกับข้าว ปั้นขนมจีบด้วย วันละครึ่งชั่วโมง ตอน ๕โมงเช้า แล้วเรียนเย็บปักสะดึงต่ออีกครึ่งชั่วโมง หนังสือก็ต้อง เรียนด้วยวันละชั่วโมง มีครูมาสอนทุกวัน
ท่านผู้หญิงแผ้ว ได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสามัญจากโรงเรียนในวังสวนกุหลาบ ยังรู้ภาษาฝรั่งเศส ที่ได้ร่ำเรียนกับแม่ชีที่โรงเรียนพระราชหฤทัย ภาษาอังกฤษที่เรียนกับ คุณหญิงราชา รวมถึงความรู้เรื่องมารยาทสังคมและการปรับตัวทำให้ท่านผู้หญิงแผ้วงดงามด้วยมารยาทอันถูกต้องเหมาะสม ในขณะที่การรำละครนั้นก็จัดได้ว่า มากด้วยความรู้และความสามารถ ทำให้ท่านมีความงดงามทั้งกายและใจ ที่ได้รับการอบรมบ่มสอนมา จึงทำให้ท่านผู้หญิงแผ้วเป็นสุภาพสตรีที่เพียบพร้อม
ด้วยคุณสมบัติของสุภาพสตรีครบถ้วนสมกับเป็น "กุลสตรีศรีสยาม"
" นาฏยาจารย์ ๕ แผ่นดิน ผู้สืบสร้างรำไทย "
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี หรือ หม่อมอาจารย์ เป็นบรม
ครูนาฏศิลป์ที่ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้ แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มที่ไม่มีหวง
แม้แต่น้อย ท่าน ดุ และเคี่ยวเข็ญ เพื์แสดงได้อย่างถูกต้อง
งดงาม ทั้งยังมีเมตตาให้ความรักและความรู้ในการดำเนินชีวิตด้าน
ต่างๆ เรียกได้ว่าท่านผู้หญิงเป็นมากกว่าครู และเปรียบเสมือน แม่
อีกคนหนึ่ง
นางเพชรพริ้ง สารสิน ทายาท (หลานยาย) ของท่านผู้หญิงแผ้ว
สนิทวงศ์เสนี เผยว่า ท่านผู้หญิงมีความรักในด้านการรำละครแต่เยาว์วัย
ได้รับการฝึกหัดจากครูนาฏศิลป์ในราชสำนักหลายท่าน จนมีความรู้
ความสามารถออกแสดงเป็นตัวละครเอก ถวายทอดพระเนตรต่อหน้า
พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง เช่น
การแสดงเป็นอิเหนา และนางดรสา ในละครเรื่อง อิเหนา แสดงเป็น
พระพิราพ และทศกัณฐ์ ในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นต้น
ภายหลังเมื่อท่านสมรสกับพลตรีสนิทวงศ์เสนี (ม.ร.ว.ตัน สนิทวงศ์) และมีโอกาสติดตามสามีซึ่งรับราชการเป็นฑูตทหาร ไปประจำการในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลีและโปรตุเกส ท่านก็สนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง
ตอนที่ท่านกลับประเทศไทยและมาทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๑- ๒๕๓๕ ท่านได้นำวิชาความรู้ด้านนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ มาพัฒนาให้นาฏกรรมไทย " ซึ่งเคยเนิบช้า ให้มีความกระชับ" แต่ยังคงไว้ซึ่งความงดงามตามแบบแผน
ตัวอย่างเช่น ระบำม้า หรือ ระบำอัศวลีลา ท่านผู้หญิงเคยเล่าให้ดิฉันฟังว่า ลีลาท่าเต้นโขยกเขยกไปมาของผู้แสดงระบำม้านั้น ท่านจำมาจากประเทศโปรตุเกส แล้วนำมาปรับปรุงให้เป็นท่ารำแบบไทยๆ
สืบสานนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่
ในการแสดงนาฏศิลป์ครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้คัดเลือกผลงานที่โดดเด่นของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มาจัดแสดงได้แก่ ระบำสุโขทัย รำฉุยฉายเฮนา
นางพญาคำปินขอฝนออกฟ้อนจันทราพาฝัน รำมโนราห์บูชายัญออกรำซัดชาตรี รำลาวดวงเดือน
ละครนอกเรื่อง คาวี ตอนชุบตัวท้าวสันนุราชถึงคันธมาลีขึ้นหึง และโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนปราบกากนาสูร
ร่วมแสดงโดยศิลปินแห่งชาติ นาฏศิลปินอาวุโส นาฏศิลปินรับเชิญ
และนาฏศิลปินชั้นนำที่มีชื่อเสียงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
อย่างครบครัน
รายได้สมทบกองทุนท่านผู้หญิงแผ้ว เพื่อสืบสานงานนาฏศิลป์ไทย
และช่วยเหลือนาฏศิลปินอาวุโสต่อไป
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดงาน 109 ปีชาตกาล ท่านผู้หญิงแผ้ว
สนิทวงศ์เสนี โดยจัดแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็นผลงานของท่าน
ผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2528
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวามคม 2555 ที่ผ่านมา
ชนชื่นระยอนาม ศิลปินแห่งชาติไทย
ท่านผู้หญิงแผ้วนี้ คือผู้ที่ยิ่งเกินใคร
ประดิษฐ์ท่างามกระไร ช่างสมใจ สดุดตา
เอาภาร สั่งสอนศิษย์ อยู่เป็นนิจเสมอมา
ให้ียนเพียรศึกษา ด้วยเมตตามาแสนนาน
ชาวไทยก็ได้เห็น ละครเล่นได้ชื่นบาน
ชาวต่างประเทศขาน ศัพทเสียง สำเนียงชม
พระนิพนธ์
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวว่าสำนักการสังคีต รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมแสดงมุทิตาจิตจัดงานรำลึก ๑๐๙ ปีชาตกาล ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ท่านเป็นคลังความรู้ด้านนาฏศิลป์อย่างแท้จริง มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟู ปรับปรุง และวางรากฐานการแสดงหลายอย่างของกรมศิลปากร เพราะท่านเชี่ยวชาญท่ารำของตัวละครสรรพสัตว์ต่างๆ ที่ท่านประดิษฐ์ไว้อย่างวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถในการประพันธ์บทสำหรับการแสดงทั้งโขนและละครอีกด้วย
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติสูงสุดทางด้านนาฏศิลป์ของโลกละคร และเป็นครูผู้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่นาฏศิลปินไทยทุกคน ท่านมีความตั้งใจ ทุ่มเทเพื่อให้งานศิลปะแขนงนี้ได้รับการเชิดชู และดำรงสืบต่อชั่วลูกชั่วหลาน กล่าวได้ว่าท่านผู้หญิงแผ้วเป็นเสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นผู้รอบรู้ในศิลปะวิทยาการด้านนาฏศิลป์อย่างลึกซึ้ง ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live