วันนี้ ถ้าไม่พูดถึงทวีปแอฟริกา หรือ กาฬทวีป ก็เห็นว่าน่าจะเชย โดยเฉพาะประเทศแอฟริกาใต้ (The Republic of South Africa)
ดินแดนที่อัศจรรย์ ที่ทำให้คนทั้งโลกสะท้านสะเทือน ต้องหมกมุ่นอยู่หน้าจอทีวีติดตามความเคลื่อนไหว ในฐานะประเทศเจ้าภาพ
จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปัจจุบันประเทศแอฟริกาใต้มีประธานาธิบดีชื่อว่า Thabo Mbeki
ทวีป แอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๒ ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทั้งในด้านของพื้นที่และจำนวนประชากร
มีพื้นที่ ๓๐,๒๔๔,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร รวมหมู่เกาะที่อยู่ใกล้ หรือคิดเป็นพื้นที่ ๒๐.๓๐% ของพื้นดินบนโลก และมีประชากรรวม
มากกว่า ๘๐๐ ล้านคน ใน ๕๔ ประเทศ หรือคิดเป็น ๑ ใน ๗ ของประชากรทั่วโลก
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและ ปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน เช่น
เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น
ส่วน ศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพ
เข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดู รวมทั้งศาสนายิวก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง
ส่วนการนับถือพระพุทธศาสนา นั้น พระครูวิเทศพรหมคุณ (พระ ดร.มหาวินัย) เจ้าอาวาสวัดพรหมคุณาราม (Wat Promkunaram)
เมืองฟินิกซ์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา บอกว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเริ่มเข้าไปสู่ประเทศแอฟริกาใต้ โดย ท่านฮุย ลิ
ได้ก่อตั้งชมรมพุทธศาสนิกชนในแอฟริกาขึ้น และเปิดคอร์สอบรมสำหรับผู้ที่สนใจในพุทธศาสนา ซึ่งในปัจจุบันมีนักเรียนเกือบ ๒๐๐ คน
อายุระหว่าง ๑๘-๓๐ ปี จากประเทศต่างๆ ในแอฟริกา เช่น คองโก เคนยา มาลาวี รวันดา และซิมบับเว เป็นต้น
ทั้ง นี้นักเรียนที่เข้าร่วมอบรมจะอาศัยอยู่ในวัดและปฏิบัติพรหมจรรย์เช่นพระ ภิกษุสงฆ์เป็นเวลานานถึง ๓ ปี
เพื่อที่จะศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนาให้ถ่องแท้ จนสามารถนำไปปฏิบัติและเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้
ในปีแรกนั้น สอนหลักเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา ปีต่อมานักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบตะวันออก
และปีสุดท้ายจะได้ศึกษาปรัชญาขั้นสูงเกี่ยวกับพุทธศาสนาและการนำไปประยุกต์ ใช้
หลังจากเรียนจบแล้ว นักศึกษาสามารถไปปฏิบัติธรรมต่อที่ไต้หวัน หรือจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติที่บ้านเกิดของตน
โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ กับชมรมพุทธศาสนิกชนในแอฟริกา
สำหรับพระภิกษุรูปแรกของทวีปแอฟริกา คือ พระฮุย หลาน ฟา ซึ่งเป็นชาวคองโกที่สนใจในพุทธศาสนามานาน ท่านใช้เวลาศึกษาธรรมะที่วัด
ในประเทศจีนป็นเวลา ๒ ปี ก่อนจะไปศึกษาต่อที่ไต้หวันอีก ๓ ปีเต็ม และเข้าพิธีบวชที่วัดพุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งมีหลายคนที่นั่นค่อนข้าง
จะแปลกใจ เมื่อเห็นชาวแอฟริกันครองผ้าเหลือง
"วัดพุทธแห่งแรกในทวีปแอฟริกา คือ วัดหนานฮวา โดยหลวงพ่อฮุย ลิ จากไต้หวัน อาสาเป็นผู้นำในการก่อตั้งวัดหนานฮวา ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
และเปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ วัดแห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา เพื่อวางรากฐานการสืบทอด
พุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในแอฟริกาอย่างยั่งยืน มีการนำพระธรรมมาเผยแผ่แก่ชาวแอฟริกันให้เป็นที่รู้จัก จัดพิธีบวชพระภิกษุและสามเณร
รวมทั้งแปลพระไตรปิฎกและคำสอนที่สำคัญ" พระ ดร.มหาวินัยกล่าว
พร้อมกันนี้ พระ ดร.มหาวินัย ยังบอกด้วยว่า ในส่วนของพระธรรมทูตจากประเทศไทยนั้น วัดพระธรรมกาย โดย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ไ
ด้ส่งลูกศิษย์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปแอฟริกา ซึ่งลูกศิษย์ได้ปรารภถึงท่านไว้ว่า ท่านมีความรัก ความปรารถนาดีที่จะให้คนทั้งโลก
พบกับสันติสุขที่แท้จริง จึงได้ส่งพุทธบุตรไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำสารแห่งรักที่แท้จริงแจ้งแก่ผู้คนทั่วโลก จากจุดเริ่มต้นที่มีพระสงฆ์เดินทาง
ไปสอนสมาธิที่ประเทศแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้คนได้เข้าถึงสันติสุขภายใน ก่อให้เกิดความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปัน และเกิดการชักชวนบุคคลผู้เป็น
ที่รักของตนให้มาปฏิบัติธรรม เพื่อการเข้าถึงความสุขแท้จำนวนมากมาย แล้ววันนี้ความรักจึงเป็นดั่งดวงตะวันภายในที่เปล่งแสงสว่างไปทั่วดินแดน
แอฟริกาใต้ ภายใต้ชื่อ วัดพุทธโยฮันเนสเบิร์ก
หลวงพี่จากอูกันดา พระ ภิกษุ พุทธรักขิต (Most Ven. Bhikkhu Buddharakkhita) จากประเทศอูกันดา ทวีปแอฟริกา เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐาน
พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาเป็นรุ่นแรก และเป็นพระสงฆ์เถรวาทเป็นรูปแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งถือว่าเป็นทวีปที่ใหญ่รองจากทวีปเอเชีย
และมีกลุ่มประชากรโลกจำนวนมาก ที่พร้อมจะรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ หรือประจำชาติในอนาคต
ทุก ครั้งที่ท่านพุทธรักขิตเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจในประเทศไทย จะต้องเดินทางไปกราบนมัสการ พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
เป็นพิเศษ เนื่องจากการร่วมประชุมด้วยกันหลายครั้ง อาทิ การประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑-๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘
ที่หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพฝ่ายไทย การประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่ ๕
ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๓๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ นอกจากนั้นก็ยังเคยร่วมประชุมในประเทศจีน พม่า เวียดนาม เป็นต้น
ปัจจุบัน ท่านพุทธรักขิต เป็นพระภิกษุที่บวชฝ่ายเถรวาท และประจำอยู่ ณ ประเทศอูกันดา เป็นรูปแรก และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสั่งสอนประชาชนชาวอูกานดา
ให้หันมานับถือพระพุทธ ศาสนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลกทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน ได้เป็นตัวแทนพระสงฆ์อูกันดาเดินทาง
ไปประชุมยังประเทศต่างๆ บ่อยครั้ง จนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
พระเทพปริยัติวิมล บอกว่า "การเดินทางมาของท่านพุทธรักขิต ถือว่าเป็นส่วนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย
และพระสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศอูกันดา เป็นส่วนสำคัญให้เกิดความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เกิดความ มั่นคง
แผ่ขยายออกไปในทวีปแอฟริกา เกิดมิตรไมตรีระหว่างประชาชนชาวพุทธทั้งสองประเทศ ความเป็นกัลยาณมิตรย่อมนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาทั้งในส่วน มมร.
และพระพุทธศาสนาในประเทศอูกันดาไปด้วยกัน"
"วัดพุทธแห่งแรกในทวีป แอฟริกา คือ วัดหนานฮวา ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา เพื่อวางรากฐานการสืบทอดพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในแอฟริกาอย่างยั่งยืน"
<<พระพุทธศาสนา>> ความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในประเทศแอฟริกาใต้
ดินแดนที่อัศจรรย์ ที่ทำให้คนทั้งโลกสะท้านสะเทือน ต้องหมกมุ่นอยู่หน้าจอทีวีติดตามความเคลื่อนไหว ในฐานะประเทศเจ้าภาพ
จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปัจจุบันประเทศแอฟริกาใต้มีประธานาธิบดีชื่อว่า Thabo Mbeki
ทวีป แอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๒ ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทั้งในด้านของพื้นที่และจำนวนประชากร
มีพื้นที่ ๓๐,๒๔๔,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร รวมหมู่เกาะที่อยู่ใกล้ หรือคิดเป็นพื้นที่ ๒๐.๓๐% ของพื้นดินบนโลก และมีประชากรรวม
มากกว่า ๘๐๐ ล้านคน ใน ๕๔ ประเทศ หรือคิดเป็น ๑ ใน ๗ ของประชากรทั่วโลก
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและ ปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน เช่น
เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น
ส่วน ศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพ
เข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดู รวมทั้งศาสนายิวก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง
ส่วนการนับถือพระพุทธศาสนา นั้น พระครูวิเทศพรหมคุณ (พระ ดร.มหาวินัย) เจ้าอาวาสวัดพรหมคุณาราม (Wat Promkunaram)
เมืองฟินิกซ์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา บอกว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเริ่มเข้าไปสู่ประเทศแอฟริกาใต้ โดย ท่านฮุย ลิ
ได้ก่อตั้งชมรมพุทธศาสนิกชนในแอฟริกาขึ้น และเปิดคอร์สอบรมสำหรับผู้ที่สนใจในพุทธศาสนา ซึ่งในปัจจุบันมีนักเรียนเกือบ ๒๐๐ คน
อายุระหว่าง ๑๘-๓๐ ปี จากประเทศต่างๆ ในแอฟริกา เช่น คองโก เคนยา มาลาวี รวันดา และซิมบับเว เป็นต้น
ทั้ง นี้นักเรียนที่เข้าร่วมอบรมจะอาศัยอยู่ในวัดและปฏิบัติพรหมจรรย์เช่นพระ ภิกษุสงฆ์เป็นเวลานานถึง ๓ ปี
เพื่อที่จะศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนาให้ถ่องแท้ จนสามารถนำไปปฏิบัติและเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้
ในปีแรกนั้น สอนหลักเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา ปีต่อมานักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบตะวันออก
และปีสุดท้ายจะได้ศึกษาปรัชญาขั้นสูงเกี่ยวกับพุทธศาสนาและการนำไปประยุกต์ ใช้
หลังจากเรียนจบแล้ว นักศึกษาสามารถไปปฏิบัติธรรมต่อที่ไต้หวัน หรือจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติที่บ้านเกิดของตน
โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ กับชมรมพุทธศาสนิกชนในแอฟริกา
สำหรับพระภิกษุรูปแรกของทวีปแอฟริกา คือ พระฮุย หลาน ฟา ซึ่งเป็นชาวคองโกที่สนใจในพุทธศาสนามานาน ท่านใช้เวลาศึกษาธรรมะที่วัด
ในประเทศจีนป็นเวลา ๒ ปี ก่อนจะไปศึกษาต่อที่ไต้หวันอีก ๓ ปีเต็ม และเข้าพิธีบวชที่วัดพุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งมีหลายคนที่นั่นค่อนข้าง
จะแปลกใจ เมื่อเห็นชาวแอฟริกันครองผ้าเหลือง
"วัดพุทธแห่งแรกในทวีปแอฟริกา คือ วัดหนานฮวา โดยหลวงพ่อฮุย ลิ จากไต้หวัน อาสาเป็นผู้นำในการก่อตั้งวัดหนานฮวา ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
และเปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ วัดแห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา เพื่อวางรากฐานการสืบทอด
พุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในแอฟริกาอย่างยั่งยืน มีการนำพระธรรมมาเผยแผ่แก่ชาวแอฟริกันให้เป็นที่รู้จัก จัดพิธีบวชพระภิกษุและสามเณร
รวมทั้งแปลพระไตรปิฎกและคำสอนที่สำคัญ" พระ ดร.มหาวินัยกล่าว
พร้อมกันนี้ พระ ดร.มหาวินัย ยังบอกด้วยว่า ในส่วนของพระธรรมทูตจากประเทศไทยนั้น วัดพระธรรมกาย โดย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ไ
ด้ส่งลูกศิษย์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปแอฟริกา ซึ่งลูกศิษย์ได้ปรารภถึงท่านไว้ว่า ท่านมีความรัก ความปรารถนาดีที่จะให้คนทั้งโลก
พบกับสันติสุขที่แท้จริง จึงได้ส่งพุทธบุตรไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำสารแห่งรักที่แท้จริงแจ้งแก่ผู้คนทั่วโลก จากจุดเริ่มต้นที่มีพระสงฆ์เดินทาง
ไปสอนสมาธิที่ประเทศแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้คนได้เข้าถึงสันติสุขภายใน ก่อให้เกิดความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปัน และเกิดการชักชวนบุคคลผู้เป็น
ที่รักของตนให้มาปฏิบัติธรรม เพื่อการเข้าถึงความสุขแท้จำนวนมากมาย แล้ววันนี้ความรักจึงเป็นดั่งดวงตะวันภายในที่เปล่งแสงสว่างไปทั่วดินแดน
แอฟริกาใต้ ภายใต้ชื่อ วัดพุทธโยฮันเนสเบิร์ก
หลวงพี่จากอูกันดา
พระ ภิกษุ พุทธรักขิต (Most Ven. Bhikkhu Buddharakkhita) จากประเทศอูกันดา ทวีปแอฟริกา เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐาน
พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาเป็นรุ่นแรก และเป็นพระสงฆ์เถรวาทเป็นรูปแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งถือว่าเป็นทวีปที่ใหญ่รองจากทวีปเอเชีย
และมีกลุ่มประชากรโลกจำนวนมาก ที่พร้อมจะรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ หรือประจำชาติในอนาคต
ทุก ครั้งที่ท่านพุทธรักขิตเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจในประเทศไทย จะต้องเดินทางไปกราบนมัสการ พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
เป็นพิเศษ เนื่องจากการร่วมประชุมด้วยกันหลายครั้ง อาทิ การประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑-๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘
ที่หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพฝ่ายไทย การประชุมสุดยอดผู้นำพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่ ๕
ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๓๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ นอกจากนั้นก็ยังเคยร่วมประชุมในประเทศจีน พม่า เวียดนาม เป็นต้น
ปัจจุบัน ท่านพุทธรักขิต เป็นพระภิกษุที่บวชฝ่ายเถรวาท และประจำอยู่ ณ ประเทศอูกันดา เป็นรูปแรก และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสั่งสอนประชาชนชาวอูกานดา
ให้หันมานับถือพระพุทธ ศาสนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลกทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน ได้เป็นตัวแทนพระสงฆ์อูกันดาเดินทาง
ไปประชุมยังประเทศต่างๆ บ่อยครั้ง จนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
พระเทพปริยัติวิมล บอกว่า "การเดินทางมาของท่านพุทธรักขิต ถือว่าเป็นส่วนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย
และพระสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศอูกันดา เป็นส่วนสำคัญให้เกิดความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เกิดความ มั่นคง
แผ่ขยายออกไปในทวีปแอฟริกา เกิดมิตรไมตรีระหว่างประชาชนชาวพุทธทั้งสองประเทศ ความเป็นกัลยาณมิตรย่อมนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาทั้งในส่วน มมร.
และพระพุทธศาสนาในประเทศอูกันดาไปด้วยกัน"
"วัดพุทธแห่งแรกในทวีป แอฟริกา คือ วัดหนานฮวา ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา เพื่อวางรากฐานการสืบทอดพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นในแอฟริกาอย่างยั่งยืน"