.. . . I S O . . . .มัน ม า กั บ ค วา ม มื ด . . . .

กระทู้สนทนา


หมายเหตุก่อนอ่าน เนื่องจากมีผู้รู้ได้ส่งจดหมายหลังไมค์มาหากระผม

ว่าการเพิ่ม ISO คือการเร่งสัญญานของโฟตอนให้แรงขึ้นนั้น ผิด

ทุกท่านจึงควรใช้วิจารณญานในการอ่าน และเมื่อผมพบคำตอบแล้ว

และผมจะมาแก้ไขกระทู้ในบัดดลครับ^^



แก้ไขเพิ่มเติมแล้วในความเห็นที่ 1 ครับ^^


*************




สวัสดีสาธุชนผู่ใคร่ในการถ่ายภาพทุกท่านครับ

หลังจากตอนที่ผ่านมา เราได้สนทนากันถึงเรื่องความสัมพันธ์อันแน่นหนัก

ระหว่างตัวแปรทั้งสามตัว คือ  ISO ความไวแสงของตัวรับภาพ

Aperture ขนาดของรูรับแสงและ Shutter Speed ความเร็วของม่านชัตเตอร์

หรือระยะเวลาที่ม่านชัตเตอร์เปิดกันมาแล้ว

ใน .... The Exposure Triangle . . . .ส า ม พ ลั งร ว ม แ ส ง . . . .



วันนี้จะมาสนทนากันต่อแบบลงลึกไปอีกนิด กับตัวแปรตัวแรกกันนะครับ

ชื่อของมันคือ ISO หรือความไวแสงของตัวรับภาพ นั่นเอง


ISO หรืออ้ายทิดโสตัวนี้ มีชื่อเต็มๆว่า International Organization for Standardization

แปลว่า องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ครับ

เจ้าเดียวกันกับ ISO 9001 ที่เราคุ้นๆกันนั่นแหละครับ

หน้าที่ขององค์กรนี้คือ มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสากลให้กับสินค้า

หรือกระบวนการต่างๆนานา

ถ้าแหนมป้าย่นอยากให้มีมาตรฐานสากล

 ก็ต้องไปขอให้องค์กรนี้มาทำการกำหนดมาตรฐานให้ครับ

ทีนี้มันเกี่ยวกับการถ่ายภาพยังไง?

มันเกี่ยวก็เพราะว่าสมัยนั้น นานมาแล้ว

เรายังถ่ายภาพกันโดยใช้ฟิล์มกันครึกโครมอยู่นั้น

ฟิล์มมันก็มีหลายประเภทตามการใช้งาน

การที่จะแบ่งฟิล์มออกเป็นแต่ละประเภท

มันจึงต้องมีมาตรฐานการกำหนดว่า

ฟิล์มนั้นๆ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะเรียกมันว่า ฟิล์ม ISO 100


ณ บัดนั้นเอง องค์กรที่ว่านี้ก็เลยโผล่หน้าแป้นแล้น

มาทำหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาทันที


จำเนียรกาลผ่านไปหลายปี เมื่อ Digital Photography เข้ามามีบทบาทเฟื่องฟู

บรรดาฟิล์มก็ได้ทำการถอยทัพกลับไปเป็นอันมาก สิ่งที่เข้ามาแทนที่ฟิล์มก็คือ

เซ็นเซอร์แบบ CMOS  และ CCD อย่างที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้ นั่นเอง



บทความนี้แปลจากหลายที่ (ตั้ง 2ที่)

ตามลิ้งค์ที่แนบไว้นี้นะครับ

ขอขอบคุณเจ้าของบทความด้วยเจ้าข้าเอ๋ย


ผิดตกยกเว้น ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลกันด้วยครับ

Photography - ISO, What it Means and What it Does


Understanding Digital Camera Sensors





ภาพประกอบ ใช้ ISO 100 ถ้วนๆ

ส่วนภาพปิดท้ายกระทู้ ใช้  ISO 6400 ถ้วน

โปรดสังเกตความแตกต่างนะครับ




แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่