.................................รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 ในการจัดทำโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2551-2555)
เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรที่ปัจจุบันพบว่า ผู้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมมีจำนวนลดน้อยลง และคาดการณ์ว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้จะเหลือเพียงร้อยละ 30 และอายุโดยเฉลี่ยของเกษตรกรจะสูงขึ้น คือ มากกว่า 55 ปี ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาพบว่า มีผู้สนใจเรียนทางด้านการเกษตรและวิชาที่เกี่ยวข้องน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรบุคคล และการลงทุนทางการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวทั้ง 3 หลักสูตรตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจและการตอบรับของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากกว่าแผน โดยมีทั้งสิ้น 31,045 ราย จากแผนงานจำนวน 26,760 ราย ได้แก่
1) หลักสูตรการพัฒนาผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 4,185 ราย
2) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรอย่างยั่งยืน เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,677 ราย
3) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพยุคใหม่ (ปวช./ปวส.) เกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25,183 ราย
.................................อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายได้มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เสนอให้ขยายความร่วมมือต่อไปอีก โดยให้เชิญหน่วยงานภาคีเข้าร่วมดำเนินงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิจัยทางการเกษตร (สวก.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง เพื่อเพิ่มบุคลากรภาคการเกษตรที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศในอนาคต.
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/agriculture/173652
ขยายเวลาพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่
เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรที่ปัจจุบันพบว่า ผู้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมมีจำนวนลดน้อยลง และคาดการณ์ว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้จะเหลือเพียงร้อยละ 30 และอายุโดยเฉลี่ยของเกษตรกรจะสูงขึ้น คือ มากกว่า 55 ปี ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาพบว่า มีผู้สนใจเรียนทางด้านการเกษตรและวิชาที่เกี่ยวข้องน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรบุคคล และการลงทุนทางการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวทั้ง 3 หลักสูตรตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจและการตอบรับของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากกว่าแผน โดยมีทั้งสิ้น 31,045 ราย จากแผนงานจำนวน 26,760 ราย ได้แก่
1) หลักสูตรการพัฒนาผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 4,185 ราย
2) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรอย่างยั่งยืน เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,677 ราย
3) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพยุคใหม่ (ปวช./ปวส.) เกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25,183 ราย
.................................อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายได้มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เสนอให้ขยายความร่วมมือต่อไปอีก โดยให้เชิญหน่วยงานภาคีเข้าร่วมดำเนินงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิจัยทางการเกษตร (สวก.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง เพื่อเพิ่มบุคลากรภาคการเกษตรที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศในอนาคต.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/agriculture/173652