แลหลัง "หนังไทยท้ายปี" ในรอบสิบปี "โก๊ะตี๋"-"พี่ยอร์ช" ครองสถิติ "แนวตลก" ยึดตลาด "ได้ร้อยล้าน" มาสามเรื่อง!!

กระทู้สนทนา
หลายคนคงจะมีความสุขและตื่นเต้นเป็นที่สุดในช่วงเทศกาล "ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่" ตามประเพณีสากล เพราะถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของศักราช และทุกๆ ปีก็จะมีกิจกรรมมากมายหลายหลาก ที่จะหยุดความทุกข์มารับและส่งในความสุขไว้ชั่วคราวข้ามปี ที่เห็นได้ชัดก็คือ การประมวลเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เด่นในรอบปี หรือจะเป็นการมอบความบันเทิงส่งท้ายปี ด้วยการจัดแสดงละครหรือภาพยนตร์ ที่เน้นความสนุกสนานเฮฮา โดยผู้ชมไม่ต้องพึ่งวิชาการอะไรมาก

สำหรับในประเทศไทย จะเห็นว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ที่เข้าโปรแกรมออกฉายส่งท้ายปี(ในที่นี้คือ หนังที่กำหนดฉายในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี คือระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค.) ก็มักจะเป็นหนังประเภทนี้เสียส่วนใหญ่ หลายเรื่องมีการใช้ดาราตัวเอกสุดฮอต เช่น พี่ติ๊ก พี่ชมพู่ ฯลฯ มาประชันการแสดงร่วมกับดาราตลกระดับแถวหน้า ถือเป็นการสร้างเซอร์ไพรส์ที่เรียกรอยยิ้มเคล้าเสียงหัวเราะได้ไม่เบาเลย ทั้งที่บางทีเราอาจได้เห็นหนังประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตลก อย่างเช่น หนังพีเรียด แอ็คชั่น ดราม่า หรือสยองขวัญแบบมีเหตุมีผล เข้ามาฉายส่งท้ายปีด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มีปริมาณที่น้ิอยมากเมื่อนับจากจำนวนผลงานที่ฉายท้ายปี 2543 ถึงปัจจุบัน หรือในยุคอุตสาหกรรมหนังไทยก้าวไปตลาดโลก

ตั้งแต่นั้น มี "หนังไทย" เรื่องอะไรบ้างที่ได้ลงล็อคโปรแกรมส่งท้ายปี ....

เริ่มจากปี 2543 กับ "บางระจัน" หนังไทยเพียงเรื่องเดียวที่เข้าโปรแกรมท้ายปี และเข้าวินสำเร็จในทุกด้าน นับจากวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม อันเป็นวันแรกที่หนังแนวพีเรียดแอ็คชั่นซึ่งสร้างจากเรื่องจริง โดยฝีมือของผู้กำกับหน้าเข้ม-ธนิตย์ จิตนุกูล หรือพี่ปื๊ด ฉายไปทั่วประเทศ ก็มีผู้ชมหลายกลุ่ม หลากวัย แห่แหนไปสัมผัสเหตุการณ์ครั้งเสียกรุงศรีฯ กันจนแน่นโรงแทบทุกรอบ(เหตุผลที่นึกได้ก็คือหนังฉายเข้ากับช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่พอดี หากว่างเว้นจากบ้านจากงาน คำตอบสุดท้่ายที่เลือกได้ หลายคนบอกว่า..ไปโรงหนังดีกว่า)  ในที่สุด หนึ่งเ้ดียวผู้นี้ก็คว้่าเงินเก็บนับร้อยล้านบาทเป็นการเปิดสหัสวรรษใหม่อย่างสวยงาม ผลพวงจากความสำเร็จอย่างมหาศาล ก็ได้มีโอกาสฉายต่อหน้าชาวต่างชาติต่างถิ่นอีกด้วย โดยทำบางระจันฉบับอินเตอร์ขึ้นมา อีกประการหนึ่งยังเป็นงานแจ้งเกิดของชาวบ้านหญิงคนหนึ่งนามอีสา หรือ บงกช คงมาลัย สาววัยสิบห้าในขณะนั้นนั่นเอง

ปี 2544 จึงได้ "มนต์รักทรานซิสเตอร์" งานชิ้นเอกโดยฝีมือ เป็นเอก รัตนเรือง มาลงคิวฉายส่งท้ายปีอย่างโดดเดี่ยวอีกเช่นกัน เริ่มฉายวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม แม้ว่าหนังแนวโรแมนติก-ดราม่า-ตลก ที่สะท้ิอนวิถีชาวทุ่งผ่านบทเพลงลูกทุ่งที่คุ้นหูหลายเพลง จะเก็บเงินได้จำนวนไม่ถึงเรื่องบางระจันอยู่หลายเท่าตัว แต่ก็พอจะบอกได้ว่านี่คืองานระดับมาสเตอร์พีซของหนุ่มกรุงนามเป็นเอก ที่สร้างความรู้สึกอิ่มเอิบได้อย่างพอเหมาะพอควร ซึ่งก็ได้รับรางวัลกลับมาจากหลายสถาบัน และทุกสาขาที่มีชื่อเข้าชิงซะด้วย รวมทั้งการแสดงอันเยี่ยมยอดของหนุ่มต๊อก-ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ และสาวอุ้ม-สิริยากร พุกกะเวส ที่วันนี้ต้องรับบทบาทคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ในชีวิตจริงไปแล้ว

ปี 2545 ก็มีหนังพีเรียดผจญภัยที่ชื่อ "ตะลุมพุก วาตภัยล้างแผ่นดิน" ออกมาสร้างความระทึกและรำลึกไปเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม ผลงานการกำกับของ ปิติ จตุรภัทร์ โดยมี อาร์เอส เป็นผู้ออกทุนสร้าง ที่กินเวลาดำเนินเรื่องต่อหน้าผู้ชมนานเกือบสองชั่วโมงครึ่ง แม้เหล่าสายตานักวิจารณ์และนักสันทัดกรณีอาจไม่ยกย่องให้เป็นงานที่ดีที่สุด ถึงจะใช้ซีจีและลงทุนไปมาก แต่ก็พอจะเรียกความรู้สึกสะเทือนใจได้เป็นอย่างดีในฐานะบทบันทึกเหตุการณ์จริงผ่านแบบจำลอง

ปีถัดมาคือ 2546 ไม่น่าเชื่อว่ามีหนังไทยที่กำหนดฉายวันที่ 26 ธันวาคมถึง 3 เรื่องรวด จากบริษัทผู้สร้าง 3 รายที่ภายหลังก็ล้วนเป็นค่ายหนังระดับแถวหน้าไปแล้ว ทั้ง "โอเคเบตง" ผลงานการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ดึงนางเอกแถวหน้าของวิกหมอชิตอย่าง จีรนันท์ มะโนแจ่ม มาขึ้นจอเงินเป็นครั้งแรก โดยบริษัท สหมงคลฟิล์ม "ฮวงจุ้ย ฟ้า-ดิน-คนลิขิต" ผลงานแนวไสยศาสตร์ จากการกำกับภาพยนตร์เพียงครั้งเดียวของ บุญถิ่น ทวยแก้ว ผู้ที่เคยมีชื่อมาแล้วในฐานะนักออกแบบงานสร้างของหนังระดับร้อยล้าน-บางระจัน และมีดาราระดับ จินตหรา สุขพัฒน์ กับ กรรชัย กำเนิดพลอย ร่วมแสดง โดยบริษัท ไฟว์สตาร์ และ "คนปีมะ" ผลงานแนวตลกล้วนๆ ดาวตลกก็คับคั่ง เพลงก็เพราะ ที่เข้าร่วมส่งท้ายปีไปด้วย จากฝีมือของ โน้ต เชิญยิ้ม ที่นั่งแท่นกำกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกอย่างเต็มตัว โดยบริษัท พระนครฟิลม์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่