สืบเนื่องจากกรณีสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ฝากเงินที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นกว่า 200 ล้านบาท ใช้สิทธิเรียกร้องแทนสหกรณ์ฯ คลองจั่น ฟ้องวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) จำเลยที่1และ2 กรณีปรากฏหลักฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและเผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ ว่านายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นบริจาคเงินผ่านเช็คของสหกรณ์ฯ คลองจั่น หลายครั้ง ให้แก่วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีโดยตรงกว่า 900 ล้านบาท ช่วงปี พ.ศ. 2552 ซึ่งขณะนั้นนายศุภชัยดำรงตำแหน่งประธานฯ ของสหกรณ์ฯ คลองจั่น
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ศาลนัดไต่สวนคดี จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การว่า จำเลยรับเงินบริจาคจากนายศุภชัยโดยสุจริต จำเลยไม่รู้จักกับนายศุภชัยเป็นการส่วนตัว อีกทั้งไม่ทราบที่มาของเงินว่าเป็นของสหกรณ์ฯ คลองจั่นที่นายศุภชัยบริหาร คิดว่าเป็นเงินส่วนตัว รู้เพียงนายศุภชัยเป็นผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์สินเหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วไป โดยวัดนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น สร้างศาสนสถาน หรือจัดโครงการเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาโดยวัดพระธรรมกาย นอกจากนี้ยอมรับว่ารับเช็คจริงแต่มีเพียงแค่ 15 ใบจากที่โจทก์กล่าวหาว่ามี 16 ใบ
อนึ่ง นายศุภชัยเคยเป็นประธานกฐินวัดพระธรรมกายปี 2552 และร่วมเป็นไวยาวัจกร (ผู้ดูแลเงินของวัด) ต่อเนื่องหลายปี อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตวัดพระธรรมกาย ปทุมธานี มีทรัพย์สินมากกว่า 4,000 ล้านบาท นับเป็นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนียนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ฯคลองจั่นเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมายของสหกรณ์ฯ คลองจั่นขอให้ศาลวินิจฉัยอนุญาตเป็นโจทก์ร่วม แต่ผู้พิพากษาพิจารณาแล้วเห็นว่าหากสหกรณ์ฯ คลองจั่นต้องการเรียกเงินคืน สมควรฟ้องวัดพระธรรมกายเอง และศาลจึงเพิ่มให้สหกรณ์ฯคลองจั่นเป็นจำเลยร่วมกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีแทน(ทั้งนี้เพราะเงินที่บริจาคจ่ายโดยเช็คสหกรณ์ฯคลองจั่น) โดยศาลมีคำวินิจฉัยให้คู่กรณีเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน นัดไกล่เกลี่ยครั้งแรกวันที่ 15 กรกฏาคม 2557
ข้อมูลอ้างอิง
http://thaipublica.org/2014/07/credit-unions-klongchan-35/
ผู้ฝากเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฟ้องขอเงินคืน “วัดธรรมกาย” และ "ธัมมชโย"
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ศาลนัดไต่สวนคดี จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การว่า จำเลยรับเงินบริจาคจากนายศุภชัยโดยสุจริต จำเลยไม่รู้จักกับนายศุภชัยเป็นการส่วนตัว อีกทั้งไม่ทราบที่มาของเงินว่าเป็นของสหกรณ์ฯ คลองจั่นที่นายศุภชัยบริหาร คิดว่าเป็นเงินส่วนตัว รู้เพียงนายศุภชัยเป็นผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์สินเหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วไป โดยวัดนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น สร้างศาสนสถาน หรือจัดโครงการเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาโดยวัดพระธรรมกาย นอกจากนี้ยอมรับว่ารับเช็คจริงแต่มีเพียงแค่ 15 ใบจากที่โจทก์กล่าวหาว่ามี 16 ใบ
อนึ่ง นายศุภชัยเคยเป็นประธานกฐินวัดพระธรรมกายปี 2552 และร่วมเป็นไวยาวัจกร (ผู้ดูแลเงินของวัด) ต่อเนื่องหลายปี อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตวัดพระธรรมกาย ปทุมธานี มีทรัพย์สินมากกว่า 4,000 ล้านบาท นับเป็นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนียนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ฯคลองจั่นเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมายของสหกรณ์ฯ คลองจั่นขอให้ศาลวินิจฉัยอนุญาตเป็นโจทก์ร่วม แต่ผู้พิพากษาพิจารณาแล้วเห็นว่าหากสหกรณ์ฯ คลองจั่นต้องการเรียกเงินคืน สมควรฟ้องวัดพระธรรมกายเอง และศาลจึงเพิ่มให้สหกรณ์ฯคลองจั่นเป็นจำเลยร่วมกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีแทน(ทั้งนี้เพราะเงินที่บริจาคจ่ายโดยเช็คสหกรณ์ฯคลองจั่น) โดยศาลมีคำวินิจฉัยให้คู่กรณีเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน นัดไกล่เกลี่ยครั้งแรกวันที่ 15 กรกฏาคม 2557
ข้อมูลอ้างอิง
http://thaipublica.org/2014/07/credit-unions-klongchan-35/