เรื่องเก่าครับ ขอนำมาเล่าใหม่ ครับ
การชำระภาษีเงินได้ ในกรณีที่มียอดต้องชำระ เกินกว่า 3000 บาท ขึ้นไป ทางกรมสรรพากร มีกำหนดเงื่อนไขว่า สามารถให้ ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี สามารถแบ่งจ่ายชำระภาษีได้ 3 งวด
โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษี ดังนี้
ดังนี้
- มีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปี และภาษีสิ้นปี
- ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวด เท่าๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ย หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบ บ.ช.35 จำนวน 1 ชุด (กรณียื่นแบบกระดาษ) หรือทางเว็บไซต์สรรพากร (กรณียื่นภาษีออนไลน์)
การแบ่งจ่ายชำระภาษี 3 งวด ทางสรรพากรมีการบริการ ส่ง SMS แจ้งเตือนการที่จะต้องชำระภาษีงวดต่อไป ให้กับผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไว้ด้วย
แต่บ่อยครั้งที่ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี ลืมชำระภาษีภายในกำหนด แล้วไม่รู้ขั้นตอนต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไร
ก็ขอเอาเรื่องเก่า(เคยโพสไว้นานแล้ว) มาเล่าใหม่ครับ
กรณีที่ ลืมชำระภาษีงวดที่สอง (งวดแรกไม่มีทางลืม) วิธีการคือให้เข้าไปชำระภาษีงวดที่ลืม พร้อมชำระค่าปรับ 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฏากร...** เมื่อก่อนต้องไปที่ สำนักสรรพากรสาขา แต่ปัจจุบันนี้(คิดว่า) สามารถชำระภาษีล่าช้าทางออนไลน์ได้แล้ว
กรณีลืมชำระภาษีงวดที่สอง จะต้องชำระภาษีงวดที่ สองพร้อมค่าปรับ ***แล้วก็ต้องชำระภาษีงวดที่สามด้วยเลย ไม่สามารถผ่อนจ่ายได้แล้ว
หมายความว่า การแบ่งชำระภาษี สามงวด ในวันที่ 30 ของทุกเดือน (3เดือน) งวดแรกชำระแล้ว งวดที่สอง ภายในวันที่ 30ของเดือนถัดไป
แต่พอถึงเดือนถัดไปลืมจ่าย ไปรู้ตัวอีกที่ วันที่ 4 ของอีกเดือนถัดไป
แบบนี้ต้องชำระงวดที่สองพร้อมเบี้ยปรับ 1.5% แล้วต้องชำระงวดที่สามด้วยเลย หมดสิทธิผ่อนแล้ว
แต่ถ้างวดที่สองจ่ายตรงเวลา 30ของเดือน แต่ลืมชำระงวดที่ สาม
นึกออกเมื่อไรก็ไปชำระงวดที่สาม พร้อมเบี้ยปรับอย่างเดียว ลืมกี่เดือนก็เดือนละ 1.5%
SMS ที่ทางสรรพากรมีบริการแจ้งเตือน อาจจะส่งบ้างไม่ส่งบ้าง อาจจะส่งแต่เราไม่ได้รับ หรืออาจจะส่งมาเนิ่นเกิน บางที่ส่งมาวันที่ 17-18 ของเดือน เตือนให้ไปชำระภาษี วันที่ 30 มันเนิ่นเกินทำให้ลืมได้
ทางออกที่ดี ก็หาทางเตือนตัวเองไว้ด้วย ตั้งเป็น Memo ในมือถือ หรือไปก็ Post-it ไว้หน้าจอ คอม จะได้ไม่พลาด
ที่เอามาเตือนนี่ไม่ใช่อะไรหรอก เมื่อก่อนนู้นเคยลืม แล้วก็ลืมบ่อยด้วย ชอบหนีเที่ยว เลยลืม แล้วยอดภาษีมันเยอะ จ่างงวดเดียวไม่ไหวหน้ามืด ต้องแบ่งจ่ายเอา โดนเบี้ยปรับด้วย เซ็งเลย
เดี่ยวนี้ดีขึ้นไม่ค่อยหนีเที่ยวแล้ว แล้วก็ยอดภาษีก็ลดลงมาเยอะ จ่ายงวดเดียวจบ สบายใจครับ
เอามาเตือนกันครับ
**ตัวอย่างการชำระปีภาษี 2566 ชำระปี 2567
การผ่อนชำระภาษีเงินได้ สามงวด กรณีลืมชำระภาษี งวดที่สอง
การชำระภาษีเงินได้ ในกรณีที่มียอดต้องชำระ เกินกว่า 3000 บาท ขึ้นไป ทางกรมสรรพากร มีกำหนดเงื่อนไขว่า สามารถให้ ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี สามารถแบ่งจ่ายชำระภาษีได้ 3 งวด
การแบ่งจ่ายชำระภาษี 3 งวด ทางสรรพากรมีการบริการ ส่ง SMS แจ้งเตือนการที่จะต้องชำระภาษีงวดต่อไป ให้กับผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไว้ด้วย
แต่บ่อยครั้งที่ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี ลืมชำระภาษีภายในกำหนด แล้วไม่รู้ขั้นตอนต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไร
ก็ขอเอาเรื่องเก่า(เคยโพสไว้นานแล้ว) มาเล่าใหม่ครับ
กรณีที่ ลืมชำระภาษีงวดที่สอง (งวดแรกไม่มีทางลืม) วิธีการคือให้เข้าไปชำระภาษีงวดที่ลืม พร้อมชำระค่าปรับ 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฏากร...** เมื่อก่อนต้องไปที่ สำนักสรรพากรสาขา แต่ปัจจุบันนี้(คิดว่า) สามารถชำระภาษีล่าช้าทางออนไลน์ได้แล้ว
กรณีลืมชำระภาษีงวดที่สอง จะต้องชำระภาษีงวดที่ สองพร้อมค่าปรับ ***แล้วก็ต้องชำระภาษีงวดที่สามด้วยเลย ไม่สามารถผ่อนจ่ายได้แล้ว
หมายความว่า การแบ่งชำระภาษี สามงวด ในวันที่ 30 ของทุกเดือน (3เดือน) งวดแรกชำระแล้ว งวดที่สอง ภายในวันที่ 30ของเดือนถัดไป
แต่พอถึงเดือนถัดไปลืมจ่าย ไปรู้ตัวอีกที่ วันที่ 4 ของอีกเดือนถัดไป
แบบนี้ต้องชำระงวดที่สองพร้อมเบี้ยปรับ 1.5% แล้วต้องชำระงวดที่สามด้วยเลย หมดสิทธิผ่อนแล้ว
แต่ถ้างวดที่สองจ่ายตรงเวลา 30ของเดือน แต่ลืมชำระงวดที่ สาม
นึกออกเมื่อไรก็ไปชำระงวดที่สาม พร้อมเบี้ยปรับอย่างเดียว ลืมกี่เดือนก็เดือนละ 1.5%
SMS ที่ทางสรรพากรมีบริการแจ้งเตือน อาจจะส่งบ้างไม่ส่งบ้าง อาจจะส่งแต่เราไม่ได้รับ หรืออาจจะส่งมาเนิ่นเกิน บางที่ส่งมาวันที่ 17-18 ของเดือน เตือนให้ไปชำระภาษี วันที่ 30 มันเนิ่นเกินทำให้ลืมได้
ทางออกที่ดี ก็หาทางเตือนตัวเองไว้ด้วย ตั้งเป็น Memo ในมือถือ หรือไปก็ Post-it ไว้หน้าจอ คอม จะได้ไม่พลาด
ที่เอามาเตือนนี่ไม่ใช่อะไรหรอก เมื่อก่อนนู้นเคยลืม แล้วก็ลืมบ่อยด้วย ชอบหนีเที่ยว เลยลืม แล้วยอดภาษีมันเยอะ จ่างงวดเดียวไม่ไหวหน้ามืด ต้องแบ่งจ่ายเอา โดนเบี้ยปรับด้วย เซ็งเลย
เดี่ยวนี้ดีขึ้นไม่ค่อยหนีเที่ยวแล้ว แล้วก็ยอดภาษีก็ลดลงมาเยอะ จ่ายงวดเดียวจบ สบายใจครับ
เอามาเตือนกันครับ
**ตัวอย่างการชำระปีภาษี 2566 ชำระปี 2567