ไฟนอล เดสติเนชั่น คือหนังชุดที่จะ ทำให้คุณรู้สึกผวา, แม้กระทั่งกับพวก ของใช้ภายในบ้าน ซึ่งหาเจอกันง่าย
ตั้งแต่เตียงอาบแดด ยางรถยนต์ ถุงลมนิรภัย ไปจนถึงอุปกรณ์ออกกำลังกาย
แฟรนไชส์นี้ นำเสนอเรื่องราวการตาย อันพิลึกพิลั่น และมาเหนือเมฆ
อีกทั้งกำลังจะมี ภาพยนตร์ภาคใหม่, ในชื่อไฟนอล เดสติเนชั่น ทายาทโกงตาย (Final Destination: Bloodlines)
การเดินทางจาก สถานีปลายทาง (Final Destination) เริ่มต้นจากเมื่อ 25 ปีก่อน, ตอนภาคแรกฉาย มีนาคม ค.ศ. 2000
เพื่อเฉลิมฉลอง โอกาสครบรอบเลขสวย, ของหนังสยองขวัญที่ น่าจะตายยากสุดชุดหนึ่ง ในศตวรรษนี้
เว็บไซต์ต่างประเทศ (DigitalSpy) ได้รวบรวมนักแสดง และผู้อยู่เบื้องหลัง การผลิตภาพยนตร์เรื่องแรก
มาร่วมพูดคุยกันถึง จุดกำเนิดของตำนาน, กับสิ่งที่กลายเป็น สูตรสำเร็จของแฟรนไชส์ ที่ตกทอดสู่ภาค 2, 3, 4...เรื่อยมา
ต้นกำเนิด
7 ต้องตาย โกงความตาย (Final Destination 2000) เริ่มต้นจากบทละคร ที่เจฟฟรีย์ เรดดิค
เขียนขึ้นสำหรับตอนหนึ่ง ของซีรีส์แฟ้มลับคดีพิศวง (The X-Files)
แต่ New Line เล็งเห็น ศักยภาพของแนวคิดนี้ ที่สามารถนำไปสร้าง เป็นภาพยนตร์
เรดดิคได้ร่วมงานกับ โปรดิวเซอร์อย่าง เคร็ก เพอร์รี่ (Craig Perry) และวอร์เรน ไซด์ (Warren Zide)
เปลี่ยนแนวคิดดังกล่าว สู่ทรีทเมนต์ (เอกสารที่นำเสนอ แนวคิดของเรื่องราว) ยาว 12 หน้า
เขาเขียน ร่างบทภาพยนตร์ฉบับแรก ก่อนที่เกลน มอร์แกน (Glen Morgan) และเจมส์ หว่อง (James Wong)
จะเข้ามาช่วย เขียนบทร่างอีกฉบับ, โดยมีหว่อง เป็นผู้กำกับ
เคร็ก เพอร์รี่ (โปรดิวเซอร์): "ผมรู้จักเรื่องนี้ครั้งแรก เมื่อหุ้นส่วนเก่าส่งแฟกซ์โครงร่าง 3 หน้า
เกี่ยวกับไอเดียเด่นของมัน สู่โรงแรมที่กำลังพักอยู่ ณ ช่วงสุดสัปดาห์ แถวซานฟรานซิสโก
ผมรู้สึกชอบมันมาก, เมื่อกลับมาถึง ลอสแองเจลิส จึงได้นั่งคุยกับเจฟฟรีย์
เพื่อเปลี่ยน โครงร่างดังกล่าว ให้เป็นทรีทเมนต์ฉบับเต็ม
ที่ New Line จะซื้อไป และเจฟฟรีย์ได้ใช้สร้างเป็น บทภาพยนตร์ของเขา"
เจฟฟรีย์ เรดดิค (ผู้สร้าง): "มันเปลี่ยนไปจาก ตอนเป็นทรีทเมนต์มาก
ในบทฉบับ The X-Files พี่ชายของสคัลลี คือผู้เห็นนิมิต ที่พาพวกเขาลงจากเครื่องบิน
ก่อนพวกคนที่ ลงจากเครื่องบิน ทยอยถูกฆ่า, และเขาตกเป็น ผู้ต้องสงสัยอันดับ 1"
"ผมเป็นแฟนตัวยงของ Nightmare on Elm Street ดังนั้นในบทดั้งเดิมของผม
'ความตาย' ทำพลาดในครั้งแรก พวกเขารอดตัวไปได้
จากนั้นเลยหันไป ใช้วิธีทรมานเหยื่อ ในแบบเดียวกับ Nightmare on Elm Street
เพื่อให้เด็ก ๆ ฆ่าตัวตาย, ซึ่งแบบว่า ก็ดาร์ก ๆ หน่อย"
"ผมคิดว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุด ที่เจมส์และเกล็นทำ
คือการเพิ่มกลไกแบบ ปฏิกิริยาลูกโซ่ (ในวิธีตาย ของตัวละคร)
ซึ่งผมมองว่า วิธีนี้ได้ผลกว่า, มันทำให้ 'ความตาย' เป็นสากลมากขึ้น
คุณไม่จำเป็นต้อง ทำให้มันสะท้อนถึง วัฒนธรรมใด ๆ
แถมยังเล่นกับข้อเท็จจริง ที่ว่าทุกสิ่งรอบตัวคุณ สามารถฆ่าคุณ ได้อย่างดี, นี่จึงได้ผลดีที่สุด"
เคร็ก เพอร์รี่ (โปรดิวเซอร์): "การถกเถียงกัน ในช่วงแรกคือ เราจะนำเสนอ 'ความตาย' แบบเป็นรูปธรรม ได้อย่างไร
ก่อนมอร์แกนและหว่อง คิดนอกกรอบ และบอกว่า "แล้วถ้าความตาย คือพลังที่มองไม่เห็นล่ะ ?'"
เจฟฟรีย์ เรดดิค (ผู้สร้าง): "ความท้าทาย ใหญ่หลวงที่สุด
คือสตูดิโอ ยากจะเข้าใจแนวคิด การใช้ 'ความตาย' โดยไม่มีฆาตกรได้
ปกติต้อง มีฆาตกร อยู่เสมอ, คนที่คุณมองเห็น หรือสู้กลับได้
แต่นี่ไม่ใช่ฆาตกร ที่พวกเขาสู้ด้วยได้, และเราจะไม่ แสดงฆาตกรให้เห็น"
"เดิมทีจุดหักมุมคือ นายอำเภอ – ซึ่งช่วยพวกเขาสืบคดี – และเสียชีวิต
ระหว่างปฏิบัติหน้าที่, เวลาเดียวกับที่ เครื่องบินตก
ได้ถูก 'ความตาย' เข้าควบคุม และสั่งให้เขา ออกไปเก็บกวาด, โดยไล่สังหาร เหล่าผู้ที่เคย โกงความตาย"
"ในทรีทเมนต์ พวกเขาล้วนเป็น ตัวละครผู้ใหญ่ ที่ลงจากเครื่องบิน, ยกเว้นอเล็กซ์ (พระเอกภาคแรก) ซึ่งตอนนั้นอายุ 20 ต้น ๆ
แต่ระหว่างพัฒนาโครงการ ร่วมกับ New Line, ภาพยนตร์ Scream ก็ฉาย
ทำให้พวกวัยรุ่น กลับมาสนใจ หนังแนวสยองขวัญกัน
พวกเขาจึงคิดว่า 'ทำไมไม่ให้ พวกนั้นทั้งหมด เป็นวัยรุ่นล่ะ'
และแทนที่ 'ความตาย' จะยึดร่างใคร ออกไล่ฆ่าคน, เราก็ให้ 'ความตาย' ที่ล่องหน ลงมือเองเลย"
ย้อนรอยหนังชุด อายุ 25 ปี >>เบื้องหลังการถือกำเนิดของ Final Destination (by Filmaneo)